Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ใครอยากเรียนคณะสาธารณสุข กระทู้นี้เลย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
วันนี้ถึงกับตัดสินใจสมัครเว็บเด็กดีเพื่ออยากจะมาบอกน้องๆที่กำลังคิดจะสอบเข้าคณะสาธารณสุข เข้าคณะนี้ต้องเรียนสายวิทย์-คณิต นะเพราะวิชาที่เรียนในปีแรก เน้นๆชีวะ อนาโตมีเลย   
        มาเกริ่นกันก่อน ตอนนี้ในวงการสาธารณสุข จะมีอาชีพต่างๆ เช่น แพทย์ พยาบาล สาธารณสุข เภสัช   จพ.ฉุกเฉิน เวชระเบียน และอีกหลายๆ อาชีพสาธารณสุขก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่น้องๆหลายคนอยากเรียน โดยเฉพาะช่วงหลังช่วงโควิดเนี่ย เด็กๆหลายคนสนใจด้านสาธารณสุขมากๆ คิดว่าโควิดระบาดแล้วอนาคตเค้าคงเปิดตำแหน่งรองรับเพื่อพัฒนาองค์กรมากขึ้น แต่เปล่าเลย เค้าไม่ได้รับคนเพิ่มขึ้นนะ เค้ามอบหมายงานให้บุคลากรเพิ่มมากขึ้นแทนแต่
     อาชีพสาธารณสุข สาขาสาธารณสุขชุมชนเเนี่ยแหละ ที่หลายๆมหาลัยชอบเปิดกัน อาจจะเพราะว่ามันเปิดง่ายไม่ยุ่งยากเท่าพยาบาล แล้วก็ได้ค่าเทอมสูง เด็กๆที่อยากเรียนก็เยอะ แต่สถาบันพวกนี้ไม่ได้คำนึงเลย ว่านักศึกษาที่จบออกมาจะไปทำงานอะไรต่อ มหาลัยโปรโมทสวยหรู จบออกมาเป็นนักวิชาการ เป็นข้าราชการ ทำงานในโรงพยาบาล รัฐหรือเอกชน 
   แต่จากประสบการณ์ที่ได้ทำมานะเอาระบบราชการก่อน
1.ข้าราชการ = เงินเดือนเริ่ม 15,000  น้องๆต้องสอบภาค ก ข ค  ให้ได้ก่อน จบออกมาส่วนใหญ่ก็ต้องรอสอบกันไม่ได้บรรจุกันเลยนะ ตอนนี้ของสถาบันสายตรงจบออกมาแล้วบรรจุเลยเหมือนสมัยก่อนนะ แน่นอนจบออกมาน้องๆยังไม่ได้เป็น ขรก.น้องๆก็จะต้องหางานทำไปก่อน ก็คือการเป็น
1.พนักงานกระทรวงสาธารณสุข = บางที่มีการสอบแข่งขัน บางที่ก็รับเลย แล้วแต่โอกาส ซึ่งนานๆจะรับสมัครสักทีเพราะต้องใช้เงินของหน่วยงานออกเอง ไม่เหมือน ขรก.ที่กรมบัญชีกลางจ่ายเลย เนื่องจากต้องใช้เงินบำรุงจ่าย ก็เลยต้องคิดอย่างหนักว่าจะเปิดจ้างดีมั้ย เงินเดือนเรื่ม 18,XXX ต่อสัญญางาน 4 ปี ครั้ง ข้อดีคือเงินเยอะกว่า ขรก. แต่เกษียญไม่ได้บำเหน็จ บำนาญนะ ไม่ได้สิทธิการรักษากรมบัญชีกลางด้วย แล้วก็ไม่ได้อายุงานราชการ
2.ลูกจ้างชั่วคราว รายวัน/รายเดือน = เหมือนพนักงานกระทรวงเลยแต่ต่อสัญญางานปีละครั้งเงินเดือนเริ่ม 11,xxx เงินน้อยรับสมัครเยอะกว่าพนักงงานกระทรวงเพราะเงินเดือนน้อยกว่า แต่ข้อดีคือนับอายุงานราชการ  เช่นเราเป็นลูกจ้างมา 4 ปี วันดีคืนดีสอบบรจุได้ เราก็จะมีอายุงานราชการ 4 ปีเลย

***บางคนก็ทำงานไม่ตรงสายก็มีเพราะหน่วยงานตำแหน่งเต็ม หรือหัวหน้าไม่อยากให้สมัครตำแหน่งนี้เพราะค่าใช้จ่ายสูง เช่น จบสาธารณสุขตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข แต่ให้ทำตำแหน่ง ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ,พนักงานธุรการ,พนักงานไอที ก็มีซึ่งเงินเดือนมันก็จะน้อยกว่า แล้วก็ไม่ได้อายุงานสะสม บางตำแหน่งก็ไม่ให่ค่า ฉ.11 อีก (ค่า ฉ.11 คือค่าตอบแทนว่าด้วยค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฎิบัติงานให้กับหน่วยบริการ) ส่วนใหญ่จะให้กับบุคลากรที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาล และ รพ.สต.

งานสาธารณสุขทำงานไม่เหมือนกันนะ
1.โรงพยาบาล  ถ้าน้องทำงานตรงตำแหน่ง ส่วนใหญ่จะได้ทำงานที่ฝ่ายเวชครอบครัว เช่น วางแผนครอบครัว  พัฒนาการเด็ก รณรงค์ให้ความรู้ต่างๆเพื่อป้องกันโรค ฯลฯ เน้นทำงานวิจัยต่างเขียนโครงการด้านสุขภาพ
2. สาธารณสุขจังหวัด   สาธารณสุขอำเภอ   ส่วนใหญ่จะทำงานเรื่องเดียวเน้นๆ   เช่นรับงานระบาดก็ทำระบาดไปเลย   รับงานโภชนาการก็เน้นๆอย่างเดียวไปเลย ถ้า สสอ.คนน้อย ก็อาจจะต้องรับ 2 งานขึ้นไป งานที่รับมาก็จะต้องประสานให้ รพ.สต.ต่อเพื่อดำเนินงาน
3.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรือชื่อเก่าคือสถานีอนามัย จะต้องทำเป็นหลายๆอย่างต้องทำหัตถการได้ บำบัดโรคเบื้องต้น จ่ายยาเบื้องต้นได้ เด็กจบใหม่ส่วนใหญ่จะต้องรับงานในการทำโครงการแล้วก็งานวิจัย งานระบาดวิทยา เพราะเป็นงานที่ยาก555 ไม่ๆๆ เพราะงานพวกนี้พวกเราพึ่งเรียนกันมาน่าจะทำได้ดีที่สุด
4.องค์การบริหารส่วนตำบล/จังหวัด ส่วนใหญ่เน้นงานที่เกี่ยวกับอนามัยสิ่งแวดล้อมเพราะส่วนใหญ่จะเป็นพวกปัญหาต่างๆในชุมชน เช่นเหตุรบกวนต่างๆ  กลิ่นเห็น เสียงดัง แล้วก็จะเน้นการรณรงค์ป้องกันโรคต่างๆ จะต้องทำงานพวกโครงการ และงานเอกสารเก่ง เพราะงานเอกสารเยอะมากๆๆ
***จริงๆเป็นนักสาธารณสุข ควรเก่งเรื่องการทำโครงงาน โครงการ เอกสาร และงานวิจัย  ของสาธารณสุขจะแตกต่างจากพยาบาลก็ตรงนี้แหละ พยาบาลจะเก่งด้านหัตถการ   ถ้าพูดถึงสาธารณสุขต้องเก่งงานเอกสารและวิจัย และนักสาธารณสุขควรพูดเก่ง สื่อสารเก่ง เพราะต้องให้ความรู้ข่าวสารสุขภาพอยู่เสมอ เพราะหลายๆงานต้องเป็นวิทยาการด้วย

     ถ้าเป็นหน่วยงานของเอกชน แน่นอนค่าตอบแทนมากกว่า สบายกว่า  หรือจะทำงานในคลินิกต่างๆก็ได้ แต่ก็จะไม่ได้อายุงานราชการ ส่วนใหญ่เรียนสาธารณสุข เป้าหมายก็คือบรรจุราชการกัน เพราะสายงานเรามันไม่ได้มั่นคงเหมือนสายอาชีพอื่น แล้วคลินิกโรงพยาบาลในเอกชน ส่วนใหญ่ก็จะรับพยาบาลซะมากกว่า เอกชนบางที่ก็กดเงินเดือนซะด้วยซ้ำแถมทำงานหนักกว่าก็มี ถ้าอยากมั่นคงจริงๆหรือมีตำแหน่งที่สูงขึ้นก็ต้องบรรจุ ขรก.     

        พูดมาซะเยอะแล้วขอเข้าเรื่องเลยแล้วกัน  คือตอนนี้มหาลัยเปิดหลักสูตรนี้เยอะมากๆ   ขนาดสาธารณสุขสายตรง (ไม่ขอเอ่ยชื่อแล้วกัน) ที่เปิดสอนหลักสูตรสาธารณสุขโดยเฉพาะ บางที่ยังต้องเปิดปีเว้นปีเลย จากที่มีทุน มีโควต้า มีงานรองรับ ตอนนี้ก็ไม่มีแล้วเพราะนักศึกษาเยอะ แต่ตำแหน่งงานสาธารณสุขก็ไม่ได้ขาดแคลนขนาดเหมือนสมัยก่อน  ส่วนสถาบันอื่นๆถ้า นศษ.เก่งจริงๆก็หางานง่ายหน่อย แต่ถ้าไม่ได้เก่งมากจบออกมาก็จะทำงานไม่ตรงสาย ยอมโดนลดสายงานลงมา ได้เงินเดือนที่ต่ำกว่า

        เรื่องของสถาบันมีส่วนสำคัญเหมือนกันนะเวลาทำงาน จริงๆอยากให้น้องๆสมัครของส่วนตรงไปเลย ถึงสถาบันสายตรงเค้าถึงจะไม่มีทุน ไม่มีโควต้าแล้ว แต่ของเค้ามันสายตรงไง แล้วองค์กรเค้าก็ประสานงานกันบ่อย องค์กรบางแห่งอยากรับพนักงานเพิ่ม ก็ไปสอบถามสถาบันเลยนะแล้วสถาบันจะส่งยอดนักศึกษามาให้ดูเลย ว่าปีนี้มีหลักสูตรไหนจบกี่คน ทำให้ นศษ. จบปุ๊บทำงานปั๊ป ไม่ต้องหางานเอง  แต่ก็ไม่ได้มีงานรองรับ100%นะ อีกอย่างชื่อเสียงและผลงานรุ่นพี่ของสถาบันมีส่วนสำคัญจริงๆ หรือถ้าน้องๆคิดว่าตนเองเก่งจริงๆ จะเรียนที่ไหนก็ได้ จบออกมาก็รอสอบ กพ. สอบภาค กขค. แล้วบรรจุทำงานเเป็นข้าราชการไปเลย  ซึ่งมันก็ต้องใช้เวลาหน่อยนะเพราะต้องสอบภาค ก ข ค. 3 ภาคเลย รอเรียกตัวอีก นศษ.ที่สอบผ่านเร็วๆ แบบจบปุ๊บสอบผ่านปั๊บก็รอเกือบ 2-3 ปี เพราะแต่ละภาคก็ต้องรอเรีก รอสัมภาษณ์กัน
       ตอนนี้นักสาธารณสุขมีใบประกอบวิชาชีพกันแล้ว แต่ยังไม่มีค่าวิทยฐานะเหมือนอาชีพอื่นๆ ตอนนี้ก็กำลังมีข่าวเรื่องค่าตำแหน่งอยู่นะ แต่ความคืบหน้าไม่่อยมีเลย ความก้าวหน้าตอนนี้อาจจะสู้วิชาชีพอื่นไม่ได้  ซึ่งมันก็มีบ้างที่วิชาชีพนี้อาจถูกดูถูกดูแคลนไปบ้าง แล้วเวลาเราทำงานโดยเฉพาะ รพ.สต. ชาวบ้านจะชอบเรียกเราว่าหมอ  จริงๆชาวบ้านเค้าก็ให้เกียรติเราแหละ แต่บางคนก็อาจแขวะว่าเป็นสาสุขนี่ เรียกหมอทำไม หรือเพื่อนร่วมวิชาชีพ บางคน เวลาได้ยินคนไข้เรียกเราว่าหมอ เค้าก็จะคิดอีกว่าเป็นสาสุขแต่เคลมตัวเองว่าหมอ เฮ้อออ จริงๆมันก็พูดยากนะ เค้าเรียกเราว่าหมอ แต่เราก็ไม่ได้แทนตัวเองว่าหมอนะ แต่ก็นั่นแหละ ไม่มีอาชีพไหนหรอกที่สบาย สู้กันต่อไป ถ้าใจไม่รักจริงอยู่ยากมากๆแล้วเราจะไม่มีความสุขภับมันเลย
    น้องๆคนไหนอยากปรึกษา inbox  ได้นะ แต่อาจจะตอบช้าหน่อยเพราะพี่ต้องทำงานประจำ แล้วก็ต้องเข้าเวรด้วย สาธารณสุขก็มีเวรนะ แต่ส่วนใหญ่ จะเป็นเวรประจำ รพ.สต.  มีค่าตอบแทนให้เหมือนกัน

แสดงความคิดเห็น