Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

แค่คิดก็ผิดแล้ว! อดีต ปธ.กพฐ. ไม่เห็นด้วย ให้ครู-นักเรียนใช้ห้องน้ำร่วมกัน หวั่นทำลายวัฒนธรรม การให้เกียรติ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

แค่คิดก็ผิดแล้ว! อดีต ปธ.กพฐ. ไม่เห็นด้วยให้ครู-นักเรียนใช้ห้องน้ำร่วมกัน หวั่นทำลายวัฒนธรรม ความเคารพ ให้เกียรติ


สืบเนื่องจากนโยบาย #สุขาดีมีความสุข ที่ สพฐ. อนุมัติงบประมาณปรับปรุงห้องน้ำนักเรียน และเพิ่มความเท่าเทียม โดยให้นักเรียนและคุณครูใช้ห้องน้ำร่วมกัน ไม่มีการแบ่งแยกอีกต่อไป สำนักข่าวมติชนออนไลน์ นำเสนอข่าวเกี่ยวกับความคิดเห็นของ นายเอกชัย กี่สุขพันธ์ อดีตประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) 
.
โดยนายเอกชัย กี่สุขพันธ์ ให้ความเห็นว่า "เรื่องห้องน้ำเด็กแก้ปัญหาแบบหลงทางหรือไม่ แทนที่จะฝึกเด็กให้เกียรติครู ยกย่องให้ครูไม่ปะปนกับนักเรียน มีสัมมาคารวะที่เหมาะสม กลับบอกว่าทุกอย่างต้องเท่าเทียม ตนคิดว่าสิ่งที่ต้องแก้ไขคือห้องน้ำเด็กนักเรียนสกปรกมากจริงๆ ไม่ถูกสุขลักษณะทั้งมีน้ำดื่ม น้ำกิน น้ำใช้ไม่เพียงพอต้องซ่อมแซมห้องน้ำให้อยู่ในสภาพดีเท่าเทียมห้องน้ำครู มีน้ำสะอาดดื่ม ใช้ อย่างเพียงพอ ไม่ใช่ห้องน้ำครูเลิศหรู มีน้ำดื่ม ใช้ อุดมสมบูรณ์ แต่ห้องน้ำนักเรียนหดหู่ โสโครก น้ำไม่ไหล
.
ถ้าคิดว่าการให้เด็กใช้ห้องน้ำครูได้โดยไม่แบ่งแยกต้องเท่าเทียมแล้วห้องน้ำจะสะอาดนั้น ตนว่าแค่คิดก็ผิดแล้ว ตนคิดว่านี่เป็นเรื่องบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาไม่ใช่เรื่องแบ่งแยกครู นักเรียนไม่ใช่เรื่องต้องเท่าเทียมกัน อนาคตต่อไปครูอาจจะเรียกร้องว่าห้องน้ำผู้อำนวยการโรงเรียน ต้องไม่แบ่งแยกกับครู ครูทุกคนมีสิทธิที่จะใช้ห้องน้ำทุกห้องในโรงเรียนได้ เช่นเดียวกับนักเรียนไม่แบ่งแยกเท่าเทียมครู
.

หรือ ถ้าจะมีคนเสนอว่า สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ข้าราชการทุกคนก็มีสิทธิใช้ห้องน้ำรองเลขาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ผู้อำนวยการสำนัก หรือแม้กระทั่งห้องน้ำเลขาธิการ กพฐ.ได้ โดยห้ามแบ่งแยกเช่นกัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาข้าราชการทุกคนก็ใช้ห้องน้ำผู้บริหารได้อย่างเท่าเทียม ห้ามแบ่งแยก แล้วสิ่งที่สังคมไทย วัฒนธรรมการให้เกียรติกันยกย่องนับถืออย่างมีเหตุผลมันจะเหลืออะไรให้เห็น
.
แทนที่จะกระตุ้นผู้บริหารสถานศึกษาแก้ปัญหาการบริหารจัดการห้องน้ำนักเรียนให้ได้มาตรฐาน และสนใจสร้างคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจัง กลับไปสนใจเรื่องไม่เป็นเรื่องที่ไม่ใช่แก่นสำคัญของคุณภาพการศึกษา นี่สะท้อนชัดเจนว่าความเป็นมืออาชีพทางการบริหารนั้นมีอยู่มากน้อยเพียงใด อยากจะกระซิบจริงๆ ว่า แค่คิดก็ผิดแล้ว
.
.
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.matichon.co.th/education/news_4538764
#dekdUpdate #เด็กดีที่เดียวจบ #ห้องน้ำโรงเรียน #ห้องน้ำครู #ห้องน้ำนักเรียน #เรียนดีมีความสุข #นักเรียนไทย
 

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น

เมโลดี้ที่รักสายลม 23 เม.ย. 67 เวลา 16:02 น. 1

เอาจริง ๆ นี่ก็ไม่ได้เห็นด้วย วัฒนธรรมความเคารพอะไรน่ะช่างมันเถอะ ขออนุญาตไม่พูดถึง เดี๋ยวจะมีดราม่าความน่าเคารพไม่น่าเคารพอะไรออกมาอีก....แต่หน้าที่ของครูกับนักเรียนไม่เหมือนกัน ถ้าต้องมารอต่อคิวเข้าห้องน้ำด้วยกันมันน่าจะกระทบการทำงานไม่มากก็น้อย ครูควรไปถึงห้องก่อนเด็ก. และครูที่ดีก็ไม่ควรแซงคิวเด็กเข้าห้องน้ำ.เพราะมันคือตัวอย่างที่ไม่ดีของการไม่เคารพสิทธิคนอื่น ดังนั้น ถ้าครูต้องมารอต่อคิวเข้าห้องน้ำกับเด็กก็คงไปสอนไม่ทัน. ซึ่งก็จะกระทบเด็กอื่นที่ไม่ได้เข้าห้องน้ำด้วย. จะให้ครูอั้นไว้เพื่อมาสอนก่อน มันก็ไม่ดีกับสุขภาพครู รวมถึงบุคลิกภาพด้วย ค่าผ่านิ่ว กับรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบใครจะจ่าย (เบิกได้ก็ไม่ใช่จะเต็มจำนวน) และถ้าครูไปยืนสั่นอยู่หน้าห้องเพราะปวดห้องน้ำก็คงไม่เหมาะเท่าไหร่ ดังนั้นการใช้ห้องน้ำร่วมกันจึงไม่น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี. แต่สิ่งที่คิดว่าควรปรับปรุง คือมาตรฐานและความสะอาดของห้องน้ำของเด็กกับครูที่ควรจะทำให้เท่ากันมากกว่า. ห้องน้ำครูเป็นอย่างไรห้องน้ำเด็กก็ควรเป็นแบบนั้น ทั้งสภาพและการรักษาความสะอาดและควรส่งเสริมการปลูกฝังเรื่องจิตสำนึกในการใช้ของสาธารณะตั้งแต่ระดับครอบครัวใหม่ เพราะหากไม่ปลูกฝังจิตสำนึกเหล่านี้สร้างห้องน้ำใหม่กี่หลัง จ้างทำความสะอาดอีกเท่าไหร่ก็ไม่พอหรอก จริงๆก่อนโควิดที่โรงเรียนก็ทอดผ้าป่าสร้างห้องน้ำเด็กใหม่งบตั้งสองแสนห้า แต่ใช้ได้แค่สามสี่เดือนก็พัง ไม่ใช่ว่าของไม่ดี แต่นักเรียนไม่รักษา ขึ้นไปนั่งบนอ่างล้างมือบ้าง. เหยียบบนโถชักโครกบ้าง ยัดบุหรี่ลงท่อน้ำ และโถปัสสาวะของผู้ชาย จนมันแตกหักเสียหายภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งปี. ไหนจะเขียนฝา ถีบประตูเล่นกัน และปัจจุบันกลายเป็นที่สูบบุหรี่ของเด็กที่ไม่เรียน จิตสำนึกมันสำคัญมากจริงๆ

2
มัณทนา 23 เม.ย. 67 เวลา 16:27 น. 1-1

สมัยนี้ยังมีเทรนด์เขียนข้อความบนผนังห้องน้ำอยู่อีกเหรอคะ

0
เมโลดี้ที่รักสายลม 23 เม.ย. 67 เวลา 17:08 น. 1-2

เยอะแยะค่ะ ไม่รู้ฮิตอะไรนักหนา ทั้งผนังห้องน้ำ. ผนังห้องเรียน โต๊ะนักเรียน. เขียนได้ทุกที่จริงๆสิน่า

0
ตามนี้ 24 เม.ย. 67 เวลา 10:03 น. 2

ถ้าเป็นที่นั่งแบบยองๆจะลดปัญหาส้วมพังทันที ที่มีคนไปนั่งเหยียบบนฝาชักโครกเพราะมันขี้ไม่ออก ท่านั่งมันไม่ถูกต้องตามหลักการขับถ่าย

0
ำำำำำำำำ 24 เม.ย. 67 เวลา 10:58 น. 3

เราสนับสนุนให้ใช้ร่วมกันค่า ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาความสะอาด ไม่เหยียบโถ ไม่ทิ้งขยะ ไม่เรี่ยราด และเพิ่มให้มีหลายๆที่ให้เพียงพอหน่อย จะได้ไม่ต้องมารอคิวกันมากมาย แต่ไม่ได้บังคับนะ ถ้าโรงเรียนไหน คิดว่าไม่สะดวกทำก็ไม่ต้องทำ แต่สาำหรับเรา ถ้า รร ไหนทำได้ ก็ดีเลย


ไม่ใช่เรื่องวัฒนธรรมการแบ่งแยกนะ เห็นเรื่องการใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกันนี่แหละ จริงๆห้องน้ำมันไม่ใช่เรื่องต้องแบ่งแยกวัยปะ ก็ขับถ่ายเหมือนกันนั่นแหละ

0