Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การสูญเสียป่าไม้

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ถึงแม้ว่าป่าไม้จะเป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นใหม่ได้ แต่ประเทศไทยก็มีการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้อย่างมหาศาลในช่วงเวลาประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา จากการศึกษาของ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยวิธีการแปลรูปถ่ายทางอากาศที่ถ่ายเมื่อปี พ.ศ.2504 ตามโครงการ VAP 61 พบว่ามีเนื้อที่ป่าทั่วประเทศ 273,628.50 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 53.33 ของประเทศ และในปี พ.ศ. 2536 เหลือเนื้อที่ป่าเพียง 133,521.0 ตารางกิโลเมตร คิดเป็ร้อยละ 26.02 (ตรวจสอบโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat ) แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ป่าไม้ลดลงเท่าตัวในช่วงเวลา 32 ปี ซึ่งการลดลงของพื้นที่ป่าไม้อย่างมหาศาลนี้เกิดขึ้นกับป่าบนภูเขาและป่าชายเลนตามชายฝั่งทะเล

          การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อการทำลายป่าไม้ สรุปได้ดัง นี้คือ
          1.การให้สัมปทานป่าไม้โดยขาดการควบคุม การตัดไม้โดยบริษัท ที่ได้รับสัมปทานไม้เพื่อการส่งออกและเพื่อใช้ภายในประเทศ นอกจากจะทำให้ป่าไม้ หมดไปอย่างมากแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการบุกรุกป่าเพื่อจับจองที่ดินทำกินจาก ชาวบ้านอีกด้วย
          2.การเพิ่มประชากร ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2530 ประเทศไทยมีอัตรา การเพิ่มประชากรในระดับสูง ทำให้ครอบครัวเกษตรกรที่ถือที่ดินทำกินขนาดเล็ก ไม่ สามารถแบ่งที่ดินทำกินให้แก่สมาชิกในครัวเรือนได้เพียงพอ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำ ให้เกิดการบุกรุกป่าเพิ่มขึ้น
          3.การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การสร้างถนนเข้าสู่ พื้นที่ป่าซึ่งมีหมู่บ้านตั้งอยู่ เพื่อแย่งชิงประชาชนจากอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ ในช่วง ก่อนปี พ.ศ. 2525 ทำให้ประชาชนอพยพเข้าไปบุกเบิกพื้นที่ป่าอย่างแพร่หลาย มีทั้ง การอพยพภายในภูมิภาค และระหว่างภูมิภาค เช่น ประชาชนจากภาคตะวันออกเฉียง เหนืออพยพไปบุกเบิกป่าในภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ เป็นต้น

          4.การประกาศเขตอนุรักษ์ป่าไม้ พื้นที่ป่าสงวนและป่าอนุรักษ์หลาย แห่ง ที่รัฐบาลประกาศให้อยู่ในความครอบครองดูแลของรัฐ มีพื้นที่ส่วนหนึ่ง ซึ่งมีชุมชน ตั้งอยู่มาก่อนแล้ว ทำให้เกิดความขัดแย้ง ระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการใช้ ประโยชน์จากป่าไม้
          5.การแพร่หลายของเทคโนโลยีเลื่อยไฟฟ้าและรถไถ ทำให้เกิดอัตรา เร่งในการทำลายพื้นที่ป่า เนื่องจากสามารถตัดต้นไม้ได้อย่างรวดเร็ว การใช้รถไถขนาดใหญ่ แทนการใช้แรงงานสัตว์ คือ วัว ควาย เอื้ออำนวยให้เกษตรกรสามารถทำการเพาะปลูกใน พื้นที่ขนาดใหญ่กว่าแต่ก่อน การแพร่เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ทำให้ การเกษตรเริ่มเพาะปลูกเพื่อการค้ามากขึ้น ที่ดินเริ่มมีราคาซึ่งต้องซื้อขายกัน ในขณะเดียว กันที่ดินว่างเปล่าโดยไม่มีผู้จับจองได้หมดสิ้นไป
          6.การเกษตรเชิงพาณิชย์ ในอดีตคนไทยปลูกข้าวและพืชผัก เพื่อบริโภค ในครัวเรือนเป็นหลัก พืชผลที่เหลือจากการบริโภคจะนำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นๆ หรือ ขายเป็นรายได้ แต่ในปัจจุบันระบบเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งเงินตรา ทำให้การเพาะปลูกเป็นไป เพื่อการค้าทั้งสิ้น ผลผลิตทางการเกษตรที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศไทยในระดับสูง ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยางพารา กุ้งกุลาดำ ฯลฯ ทำให้ความต้องการพื้นที่เพื่อการ เกษตรเพิ่มขึ้นมาก
          7.การเก็งกำไรที่ดิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา เป็นช่วงที่มีการซื้อ ขายที่ดิน โดยมีการเก็งกำไรสูงมากถึงหลายเท่า ทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อครอบ ครอง เพื่อการค้าที่ดิน และเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและที่พักตากอากาศ เป็นต้นถึงแม้ว่าป่าไม้จะเป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นใหม่ได้ แต่ประเทศไทยก็มีการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้อย่างมหาศาลในช่วงเวลาประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา จากการศึกษาของ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยวิธีการแปลรูปถ่ายทางอากาศที่ถ่ายเมื่อปี พ.ศ.2504 ตามโครงการ VAP 61 พบว่ามีเนื้อที่ป่าทั่วประเทศ 273,628.50 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 53.33 ของประเทศ และในปี พ.ศ. 2536 เหลือเนื้อที่ป่าเพียง 133,521.0 ตารางกิโลเมตร คิดเป็ร้อยละ 26.02 (ตรวจสอบโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat ) แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ป่าไม้ลดลงเท่าตัวในช่วงเวลา 32 ปี ซึ่งการลดลงของพื้นที่ป่าไม้อย่างมหาศาลนี้เกิดขึ้นกับป่าบนภูเขาและป่าชายเลนตามชายฝั่งทะเล

          การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อการทำลายป่าไม้ สรุปได้ดัง นี้คือ
          1.การให้สัมปทานป่าไม้โดยขาดการควบคุม การตัดไม้โดยบริษัท ที่ได้รับสัมปทานไม้เพื่อการส่งออกและเพื่อใช้ภายในประเทศ นอกจากจะทำให้ป่าไม้ หมดไปอย่างมากแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการบุกรุกป่าเพื่อจับจองที่ดินทำกินจาก ชาวบ้านอีกด้วย
          2.การเพิ่มประชากร ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2530 ประเทศไทยมีอัตรา การเพิ่มประชากรในระดับสูง ทำให้ครอบครัวเกษตรกรที่ถือที่ดินทำกินขนาดเล็ก ไม่ สามารถแบ่งที่ดินทำกินให้แก่สมาชิกในครัวเรือนได้เพียงพอ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำ ให้เกิดการบุกรุกป่าเพิ่มขึ้น
          3.การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การสร้างถนนเข้าสู่ พื้นที่ป่าซึ่งมีหมู่บ้านตั้งอยู่ เพื่อแย่งชิงประชาชนจากอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ ในช่วง ก่อนปี พ.ศ. 2525 ทำให้ประชาชนอพยพเข้าไปบุกเบิกพื้นที่ป่าอย่างแพร่หลาย มีทั้ง การอพยพภายในภูมิภาค และระหว่างภูมิภาค เช่น ประชาชนจากภาคตะวันออกเฉียง เหนืออพยพไปบุกเบิกป่าในภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ เป็นต้น
          4.การประกาศเขตอนุรักษ์ป่าไม้ พื้นที่ป่าสงวนและป่าอนุรักษ์หลาย แห่ง ที่รัฐบาลประกาศให้อยู่ในความครอบครองดูแลของรัฐ มีพื้นที่ส่วนหนึ่ง ซึ่งมีชุมชน ตั้งอยู่มาก่อนแล้ว ทำให้เกิดความขัดแย้ง ระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการใช้ ประโยชน์จากป่าไม้
          5.การแพร่หลายของเทคโนโลยีเลื่อยไฟฟ้าและรถไถ ทำให้เกิดอัตรา เร่งในการทำลายพื้นที่ป่า เนื่องจากสามารถตัดต้นไม้ได้อย่างรวดเร็ว การใช้รถไถขนาดใหญ่ แทนการใช้แรงงานสัตว์ คือ วัว ควาย เอื้ออำนวยให้เกษตรกรสามารถทำการเพาะปลูกใน พื้นที่ขนาดใหญ่กว่าแต่ก่อน การแพร่เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ทำให้ การเกษตรเริ่มเพาะปลูกเพื่อการค้ามากขึ้น ที่ดินเริ่มมีราคาซึ่งต้องซื้อขายกัน ในขณะเดียว กันที่ดินว่างเปล่าโดยไม่มีผู้จับจองได้หมดสิ้นไป
          6.การเกษตรเชิงพาณิชย์ ในอดีตคนไทยปลูกข้าวและพืชผัก เพื่อบริโภค ในครัวเรือนเป็นหลัก พืชผลที่เหลือจากการบริโภคจะนำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นๆ หรือ ขายเป็นรายได้ แต่ในปัจจุบันระบบเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งเงินตรา ทำให้การเพาะปลูกเป็นไป เพื่อการค้าทั้งสิ้น ผลผลิตทางการเกษตรที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศไทยในระดับสูง ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยางพารา กุ้งกุลาดำ ฯลฯ ทำให้ความต้องการพื้นที่เพื่อการ เกษตรเพิ่มขึ้นมาก
          7.การเก็งกำไรที่ดิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา เป็นช่วงที่มีการซื้อ ขายที่ดิน โดยมีการเก็งกำไรสูงมากถึงหลายเท่า ทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อครอบ ครอง เพื่อการค้าที่ดิน และเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและที่พักตากอากาศ เป็นต้น

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น