Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ประวัติบุคคลสำคัญด้านดนตรี

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
วันนี้จะมีประวัติบุคคลสำคัญด้านดนตรีค่ะ  ขอให้เครดิต
http://mulinet3.li.mahidol.ac.th/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=dsp&wa=K175B4D&bid=58&qst=@1128&lang=0&db=MUSIC&pat=%e1%a4%b7%e0%b8%cd%c3%d5%b9&cat=gen&skin=u&lpp=20&catop=&scid=zzzค่ะ
เรื่มที่คนแรกเลย
นายทรัพย์ วิเศษประภา เป็นนักดนตรีที่คล่องแคล่วทั้งทางไทยและทางสากลคนหนึ่งของยุคเพลงละครร้อง เป็นลูกชาวนา บิดา ชื่อ ยวน มารดาชื่อ เขียน เกิดเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๒ สมัยรัชกาลที่ ๕ ได้รับการศึกษาขั้นต้นจากโรงเรียนใดไม่ปรากฏจนอ่านออกเขียนได้ แล้วมาเข้าโรงเรียนพรานหลวง เล่นทั้งดนตรีไทยและสากล อยู่กรมมหรสพจนถึงปี พ.ศ.๒๔๕๗ ในปีพ.ศ.๒๔๖๙ ได้ย้ายไปสังกัดวงเครื่องสายฝรั่งหลวง อยู่ในวงดุริยางค์สากล ต่อมาจนถึงปีพ.ศ.๒๔๘๗ จึงออกจากราชการ เพราะป่วยด้วยอาการทางประสาท สมัยเมื่อพรานบูรพ์(จวงจันทร์ จันทร์คณา)ตั้งคณะละครจันทโรภาส นายทรัพย์ วิเศษประภา ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมวงดนตรีให้แทบจะทุกเรื่อง จึงรู้ใจพรานบูรพ์เป็นอย่างดี สามารถแยกเสียงประสานให้แก่วงดนตรีได้ แม้ว่าจะหันมาเล่นสากลแล้วก็ยังไม่ทิ้งดนตรีไทย ได้รวมสมัครพรรคพวกเล่นดนตรีและเครื่องสายไทยอยู่เสมอ ได้อัดแผ่นเสียงกับห้างแผ่นเสียง ต.เง็กชวน นักร้องร่วมวงครั้งนั้นมี คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ เป็นอาทิ วงเครื่องสายนั้นมีชื่อว่า วงนายทรัพย์ วิเศษประภา มีบ้านเป็นสำนักดนตรี อยู่บ้านเลขที่ ๓๐๒๘ วัดเทพธิดาราม กรุงเทพ ฯ นายทรัพย์ แต่งงานมีภรรยาชื่อ ลมัย นอกจากตัวเองจะเป็นนักดนตรีทั้งไทยและฝรั่งแล้ว ยังมีพี่ชายร่วมบิดามารดาอีกคนหนึ่งเป็นนักดนตรีไทยเหมือนกัน มีนามว่า "นายแกร วิเศษประภา" นายแกรผู้นี้เคยช่วยงานท่านครูจางวางทั่ว และคุณแม่เจริญ พาทยโกศล ในการบันทึกเสียงที่ห้างสุธาดิลก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๑ มีรูปปรากฏอยู่ในการอัดเสียงครั้งนั้น ตัวของนายแกรได้เข้ารับราชการอยู่กรมประชาสัมพันธ์ และถึงแก่กรรมฉุกเฉินในขณะวางยาสลบเพื่อเตรียมการผ่าตัดโรคกระเพาะและลำไส้พิการ นายทรัพย์ยังมีน้องชายเป็นนักดนตรีอีกคนหนึ่ง ชื่อ ชุม หรือประชุม วิเศษประภา สังกัดกองดุริยางค์สากล กรมศิลปากร นับว่าตระกูลวิเศษประภาเป็นตระกูลนักดนตรีอีกตระกูลหนึ่ง.

แสดงความคิดเห็น

>

48 ความคิดเห็น

ลูกเกดกรอบ 14 มี.ค. 52 เวลา 20:36 น. 1

เจ้าเทพกัญญา บูรณพิมพ์ เกิดในกระกูล ณ เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๕ มันาคม พ.ศ.๒๔๒๓ ที่ตำบลสันป่าข่อย อำเภอเมือง จังวัดเชียงใหม่ เป็นธิดาคนที่ ๙ ของเจ้าอุตตราการโกศล (เจ้าน้อยเทพวงศ์) และเจ้าแม่คำเอื้อย เมื่ออายุประมาณ ๑๒ ปี ได้ติดตามเจ้าจอมมารดาทิพย์เกษม มาอยู่ในวังหลวงด้วย ได้เรียนหนังสือและเรียนดนตรีไทย โดยต่อซอสามสายจาก หม่อมผิว ในพระยานรรัตน์ราชมานิตย์ (โต มานิตยกุล)และพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสามศัพท์) จนมีความสามารถช่ำชองในการบรรเลงเครื่องสายไทยทุกชนิด ที่ถนัดมากที่สุดคือซอสามสายและยังมีความสามารถพิเศษในการถ่ายรูปด้วย ได้ชื่อว่า เป็นช่างภาพอาชีพสตรีคนแรกของเมืองไทย เจ้าเทพกัญญา ย้ายมาอยู่ ณ ตำหนักของ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ซึ่งเป็นพระญาติผู้ใหญ่หลังจากที่เจ้าจอมมารดาทิพย์เกษม ถึงแก่กรรมแล้ว ระยะนี้มีการฟื้นฟูงานดนตรีขึ้นมาก และเพราะเป็นผู้มีฝีมือดีอยู่แล้ว เจ้าเทพกัญญาจึงรับหน้าที่เป็นหัวหน้าวงดนตรีไทยประจำตำหนักพระราชชายาฯ รวมทั้งได้สอนดนตรีถวายเจ้านายบางพระองค์ เจ้าจอมบางท่าน จนถึงข้าหลวงตามตำหนักต่างๆในวังอีกด้วย พ.ศ.๒๔๔๙ ทูลลาออกมาแต่งงานกับ ร.ต.อ.แม้น บูรณพิมพ์ ซึ่งต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น พ.ต.ท.พระราญทุรชน แล้วย้ายตามสามีไปอยู่มณฑลอยุธยา มีบุตรธิดาด้วยกัน ๔ คน คือ ๑. พ.ต.ต.แม้นเทพ บูรณพิมพ์ ๒. ร.ต.อ. แม่นไทย บูรณพิทพ์ ๓. ทิพย์อวล บูรณพิมพ์ ๔. นาวาอากาศเอกสมุทร์ บูรณพิมพ์ ซึ่งบุตรธิดา ๓ คนแรก ได้รับพระราชทานชื่อจาก สมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ แม้ว่าจะออกจากวัง แต่งงานและมีลูกแล้ว เจ้าเทพกัญญาก็ยังกลับเข้าไปสอนดนตรีไทยในวังสวนสุนันทาอีก ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๐ - พ.ศ. ๒๔๖๕ ท่านเป็นครูสอนมโหรีอยู่ ณ ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภาได้นำธิดา คือ ทิพย์อวลเข้าไปถวามตัวในวังด้วยและได้เป็นนักดนตรีต่อมา ครั้งนั้นมีศิษย์มาเรียนด้วยหลายคน อาทิ คุณเฉลิม บุนนาค คุณใจ ไกรฤกษ์ คุณหญิงนิ่ง สุรพันธ์ คุณแสงไข คุณแสงแข คุณบุญผ่อง วิเศษพันธุ์ และคุณทิพย์อวล บูรณพิมพ์ ในรัชการพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าเทพกัญญา ยังเจ้าไปต่อซอสามสายถวาสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระนครสวรรค์วรพินิตที่ในวังเป็นครั้งคราว ศิษย์ของท่านที่มีชื่อเสียงมากอีกคนหนึ่ง คือ พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ทางซอสามสายของเจ้าเทพกัญญานั้น นับว่าเป็นทางชั้นยอดโดยแท้ พระยาภูมีเสวิน (จิตรจิตตเสวี) และคุณบุญผ่อง วิเศษพันธุ์ เป็นศิษย์ที่ท่านชมเชยมากว่าฝีมือดีและรับเพลงจากท่านได้มากที่สุด ในบั้นปลายของชีวิต ท่านได้ติดตามบุตรีไปอยู่ต่างจังหวัด ท้ายที่สุดกลับมาอยู่ที่บ้านใกล้วัดสังเวชวิศยาราม บางลำพู และถึงแก่กรรมด้วยโรคความดันโลหิตสูง ที่โรงพยาบาลวชิระ เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ อายุได้&nbsp ๘๑&nbsp ปี

0
ลูกเกดกรอบ 14 มี.ค. 52 เวลา 20:38 น. 2

พระยาธรรมสารนิติพิพธภักดี เป็นนักสีซอสามสายฝีมือดีคนหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ และที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีชื่อเดิมว่า "ตาด" เป็นบุตรชายคนเล็กของ พระยาหมาอำมาตย์ (ป้อม) และคุณหญิงเย็น เกิดที่บ้านเดิมของสกุล อมาตยกุล ที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าวัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) เมื่อวีนศุกร์ ปีมะโรง เดือน ๘ พ.ศ. ๒๔๖๓ ในสมันรัชกาลที่ ๓ เริ่มเรียนหนังสือในบ้านตั้งแต่เล็กๆ จนพอด่านออกเขียนได้ แล้วถวามตัวเป็นมหาดเล็กรายงาน ใรรัชกาลที่ ๓ เป็นผู้สนใจเล่นดนตรีมาแต่เล็กๆเพราะที่บ้านของท่านบิดาชอบเล่นเครื่องสายเป็นงานอดิเรกในยามว่าง เนื่องจากบิดาคุ้นเคยกับครูมีแขก (พระประดิษฐ์ไพเราะ) จึงได้ต่อเพลงจากครูมีแขกโดยเรียนซอสามสาย ในสมัยรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายไปรับราชการในวังหน้า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นนายราชจินดา แล้วเลื่อนเป็นจมื่นอินทรเสนา ปลัดกรมพระตำรวจ ระหว่างที่อยู่ในวังหน้านี้เองได้ร่วมเล่นดนตรีกับวงดนตรีของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งครูมีแขกเป็นนายวงอยู่ ครั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้ย้ายมาสังกัดเป็นข้าราชการวังหลวงเป็นที่พระวิชิตณรงค์ เจ้ากรมตำรวจ ในปี พ.ศ. ๒๔๐๙ เนื่องจากมีความสามารถเรียนรู้วิชากฎหมาย

0
ลูกเกดกรอบ 14 มี.ค. 52 เวลา 20:40 น. 3

กฎหมายและภาษาต่างประเทศ จึงย้ายไปรับหน่าที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลต่างประเทศแทนหม่อมราโชทัย (ม.ร.ว.กระต่าย อิศรางกูร) ซึ่งไปราชการอยู่ในกรมท่าเฉพาะในด้านที่เกี่ยวข้อกับการต่างประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาเจริญราชไมตรี แล้วเป็นผู้ทำสัญญาเจริญพระราชไมตรีกับประเทศออสเตรียและสเปญ ซึ่งเป็นการทำสัญญาในกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๒ ต่อจากนั้นอีก ๔ ปี ในพ.ศ. ๒๔๑๖ ได้เดินทางไปยังเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย เพื่อทำสัญญากับกงศุลเยนเนอราล อังกฤษ เรื่องการปกครองแคว้นเชียงใหม่ เชียงตุง รับราชการอยู่ต่อมาจน พ.ศ. ๒๔๒๘ จึงได้เป็นประยาธรรมสารนิติพิพิธภักดี ผู้พิพากษาศาลต่างประเทศ ถือศักดินา ๑๐,๐๐๐ อันเป็นเกียรติยศสูงสุด ในด้านการดนตรีเป็นผู้ใฝ่ใจและหมั่นฝึกซ้อมซอสามสายจนวชาญมาก เมื่อจะต่อเพลงกับครูมีแขก ครูมีจะต้องตัดลิ้นปี่ไว้เป็นพิเศษ เพราะเกรงเสียงปี่จะแพ้เสียงซอ พระยาธรรมสารนิติเป็นคนถนัดซ้าย จึงสีซอด้วยมือซ้ายซอของท่านจึงเป็นซอ เล่ากันว่าสามารถขับร้องเพลงได้ไพเราะและสีซอสามสายคลอเสียงร้องของตัวเองได้อย่างชำนิชำนาญยิ่ง มีนิ้วซอเด็ด ๆ อยู่หลายนิ้วที่ใช้เทคนิคสูง และหวงมาก ใครจะขอต่อต้องเสียเงินหนึ่งชั่ว (๘๐ บาท) จึงเรียกกันว่านิ้วชั่ง" ความสามารถในเชิงซอสามสายนี้ พระยาประสานดุริยางค์ (แปลก ประสานศัพท์) ได้เล่าต่อมาจนถึง พระยาภูมีเสวิน ว่าเมื่อครั้งท่านยังเป็นนายแปลก กลับมาจากเล่นดนตรีที่เมืองอังกฤษ พระยาธรรมสารนิติฯ ได้ขอพบเพื่อฟังเสียงปี่เพราะมีคนลือว่า เป่าปี่ดีเท่าครูมีแขก พระยาประสานฯ ไปพบพระยาธรรมสารนิติ ฯ ครั้งไรก็ตัดลิ้นปี่เป็นพิเศษ เพราะกลัวเสียงปี่จะแพ้เสียงซอของพระยาธรรมสารนิติฯ ชีวิตครอบครัวแต่งงานครั้งแรกมีภรรยาชื่อทิม ไม่มีบุตร เมื่อคุณทิมถึงแก่กรรมได้น้องสาวคุณทิม ชื่อ คุณหญิอิ่ม เป็นภรรยา

0
ลูกเกดกรอบ 14 มี.ค. 52 เวลา 20:41 น. 4

ชื่คุณหญิงอิ่ม เป็นภรรยาเอก มีบุตรหลายคนแต่ที่เป็นนักสีซอสามสายเป็นบุตรคนสุดท้อง ชื่อประคอง ได้ถวายตัวเป็นเจ้าจอมมโหรี ในรัชกาลที่ ๕ บุตรีอีกคนหนึ่งเกิดจากภรรยาน้อยชื่อ คุณหนูเป็นนักร้องและนักดนตรีสีซอด้วง ซออู้ไพเราะนักเป็นสตรีไทยรุ่นแรก ๆ ที่หัดสีไวโอลินของฝรั่งจนสามารถเดี่ยวเพลงต่าง ๆ ได้มาก ทางซอสามสายของพระยาธรรมสารนิติ ฯ (ตาด) ได้ต่อให้เจ้าจอมประคองในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งได้ต่อให้แก่ พระยาอมาตยพงศ์ธรรมพิศาล (ประสงค์ อมาตยกุล) ผู้เป็นหลาน และได้สืบต่อมายังนายประสิทธิ์ พาทยโกศล จนถึง อาจารย์ารเ (สุมิตร กีระนันทน์) ซึ่งเป็นผู้ร่วมงานการเขียนหนังสือเล่มนี้ พระยาธรรมสารนิติ ฯ (ตาด) ถึงแก่กรรมอ้วยโรคหัวใจวาย เมื่อวันศุกร์ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๑ รวมอายุได้ ๖๘ ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพที่วัดสระเกศ ในปีต่อมา และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานเพลิงศพด้วย)

0
ลูกเกดกรอบ 14 มี.ค. 52 เวลา 20:44 น. 5

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๖๒ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย ทรงพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าจิตรเจริญ ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน ๖ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีกุนตรงกับวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๖ เมื่อพระชันษาได้ ๕ ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชบิดาก็สวรรคต จึงทรงเจริญพระชนมายุมาในพระราชอุปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระเชษฐา (ต่างพระมารดา) โดยทรงมีชันษาอ่อนกว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราว ๑๐ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นี้ ทรงสืบเชื้อสายศิลปินและวิชาการมาจากบรรพบุรุษหลายพระองค์และหลายท่าน ทรงมีพระราชปรีชาสามารถในการช่างอย่างยอดเยี่ยมและลึกซึ้งทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติ จนแม้แต่วิชาอักษรศาสตร์และการประพันธ์ฉันทลักษณ์ก็ทรงปฏิบัติได้ยอดเยี่ยม ถือว่าเป็นเพชรประดับมงกุฎรัชกาลที่ ๕, ๖ และ ๗ ทรงวชาญในงานสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ดุริยศิลป์และนาฏศิลป์รวมทั้งศิลปะการละคร ตลอดไปจนถึงการนิพนธ์บทละครทุกประเภท การจัดการแสดง การทำฉากละคร จนถึงการแต่งหน้าและท่ารำทุกกระบวนทรงรอบรู้หมดสิ้นเหลือที่จะพรรณาได้ ในด้านการละครและดนตรี ทรงสนพระทัยดนตรีมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์สมัยยังมีพระชนมายุไม่ถึง ๑๐ พรรษา โดยทรงเริ่มเรียนดนตรีจากครูถึก ดุริยางกูร (บุตรของพระประดิษฐ์ไพเราะ ครูมีแขก) แล้วทรงเรียนกับท่านครูเณร เจ้ากรมพิณพาทย์หลวงสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ในตอนปลาย ได้ทรงเรียนเพลงหน้าพาทย์ และเพลงเรื่องต่าง ๆ จากพระประดิษฐ์ไพเราะ (ตาด) ซึ่งเรียนอยู่นานที่สุดและใกล้ชิดกันมากที่สุด เมื่อทรงเข้าเรียนโรงเรียนทหารมหาดเล็กทรงหัดเป่าฟลุ้ทกับครูฝรั่ง (ไม่ปรากฏนาม) รวมทั้งเรียนโน้ตสากลด้วย ปรากฏว่าทรงอ่านและเขียนโน้ตสากลได้ดีมากตั้งแต่พระชันษา ๒๒ ปี (พ.ศ. ๒๔๒๘) ทรงมีส่วนร่วมในการก่อกำเนิดเพลงสรรเสริญพระบารมีตั้งแต่ต้น และบทร้อง

0
ลูกเกดกรอบ 14 มี.ค. 52 เวลา 20:46 น. 6

สรรเสริญพระบารมีปัจจุบัน ก็เป็นฝีพระหัตถ์ของสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นี้ เข้าใจว่าเพลงไทยเพลงแรกที่ทรงพระนิพนธ์ขึ้นจะเป็นเพลงเขมรไทยโยค ในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ หลังจากนั้นก็ทรงประดิษฐ์เพลงตับสั้น ๆ ขึ้นเพื่อแสดงภาพนิ่งที่ใช้คนจริง(Tableaus Vivantes)โดยเริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ และทรงเพิ่มขึ้นที่ละชุดจนครบทั้ง ๘ ชุด คือ สามก๊กตอนจูล่งค้นหาเมียเล่าปี เรื่องพระเป็นเจ้า เรื่องราชาธิราชตอนสมิงพระรามหนีเมีย เรื่องนิทราชาคริตตอนแต่งงานอาบูหะซัน ตับนางซินเดอริลาตอนแต่งตัวไปงานเต้นรำ ตับเรื่องขอมดำดิน เรื่องอุณรุทตอนศุภลักษณ์อุ้มสม และเรื่องพระลอ ทรงดัดแปลงมาจากบทของเก่าที่เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์(ม.ร.ว.หลาน กุญชร) เคยเล่นละครมาก่อนสมัยกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ จะทรงทำละครทรงเป็นต้นกำเนิดของการเล่นละครดึกดำบรรพ์ตามแบบละครเพลงของฝรั่ง (อุปรากร) เป็นความคิดที่ทรงดัดแปลงขึ้นจากที่เจ้าพระยาเทเวศร์ได้เห็นมาจากยุโรป (หลัง พ.ศ. ๒๔๓๕) นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๑ เป็นต้นมา ประเทศไทยต้องรับแขกเมืองเป็นประจำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดคอนเสิร์ทแสดงในพระที่นั่ง จึงทรงประดิษฐ์บทคอนเสิร์ทขึ้นหลายชุดรวมทั้งปรับปรุงวงดนตรีไทยให้เหมาะสมกับการขับร้องบรรเลงในอาคาร จึงเกิดเป็นวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ขึ้นในยุตนี้ ส่วนเพลงตับต่าง ๆ ที่เคยใช้เป็นบทคอนเสิร์ทนั้นได้แก่ เรื่องรามเกียรติ์ตอนนางลอย พรหมมาศ และนาคบาศ และบทละครดึกดำบรรพ์ได้แก่ เรื่องอิเหนาตอนบวงสรวง ตัดดอกไม้ ฉายกริช เรื่องเงาะป่าตอนเลือกหาคู่หาปลา หาเนื้อ เรื่องสังข์ศิลป์ชัยตอนตกเหว ตอนตามหา เรื่องกรุงพาณชมทวีป รามเกียรติ์ตอนสูรปนขาหึงนางสีดา เรื่องอุณรุท และมณีพิชัย เป็นต้น ทรงเป็นต้นคิดในการจัดกระบวนเพลงต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับการแสดงและเข้ากับฉากในโอกาสต่าง ๆ ได้อย่างแนบเนียน ในการจัดแสดงละครก็ดี การแสดงภาพนิ่ง(Tableaus Vivantes) ก็ดี มักจะเกิดเพลงใหม่หรือฟื้นฟูเพลงเก่าขึ้นมาเสมอ ๆ เช่น เกิดเพลงที่ทรงนิพนธ์ใหม่ เช่นเพลง "ช้าประสม" การเห่เรือแบบต่าง ๆ การใช้เพลงสรภัญญะประกอบการแสดงและบทสวด เพลงที่ขึ้นชื่อมากที่สุดคือเพลง “ตับแม่ศรีทรงเครื่อง” ตอนอิเหนาและสังคามารตาชมสวน โดยทรงคิดเครื่องเป่าประกอบเป็นเสียงนกโพระดก นกกางเขน นกกาเหว่า และเสียงไก่ สอดแทรกเข้าในบทเพลง เรียกว่า เป็นการพัฒนา Sound Effect ลงในบทเพลงไทยเป็นครั้งแรก ในด้านการขับร้องทรงส่งเสริมให้คนไทยรู้จักร้องเพลงประสานเสียงแบบฝรั่งเป็นคนแรก

0
ลูกเกดกรอบ 14 มี.ค. 52 เวลา 20:47 น. 7

โดยร้องเพลงหมู่ชายหญิงเพลงเขมรไทรโยค ทรงส่งเสริมให้มีการบันทึกเสียงเพลงไทยโน้ตสากล รวมทั้งได้ทรงนิพนธ์เพลงลาไว้ด้วยเพลงหนึ่งคือ เพลงปลาทองสามชั้นจากเพลงเต่ากินผักบุ้งสองชั้นของเดิม ในวงการศิลปินแล้วยกย่องว่าทรงเป็นยอดศิลปินไทยเป็นปรมาจารย์และจอมปราชญ์แห่งศิลปะ ทรงเป็นยอดสถาปนิกที่มีความสามารถเหลือหลายทั้งที่มิได้ทรงเล่าเรียนในวิทยาลัยใดมาก่อน แต่ทรงศึกษาด้วยพระองค์เองมาโดยตลอด สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงมีพระอุปนิสัยประณีตละเอียดละออรอบคอบอย่างลึกซึ้ง ทรงมีความพากเพียร ขยันขันแข็งทรงทำงานช้า และมักจะทรงเถรตรงหรือทรงดื้อเป็นครั้งคราว ทรงมีพระจริยาวัตรอันงดงามและมั่นคงเสมอต้นเสมอปลาย ยากที่จะหาอุปนิสัยของผู้ใดเทียบเทียมได้ สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นี้ทรงมีคติประจำพระทัยว่า “ถ้าทำไม่ดีไม่ทำเสียดีกว่า” และ “ต้องระวังเพราะสร้างขึ้นเพื่อความพอใจ ความเพลิดเพลินตา ไม่ใช่สร้างขึ้นเพื่อความอยากรื้อทิ้งทุนรอนที่เสียไปก็ไม่ใช่จะเอาคืนมาได้ ผลที่สุดก็ต้องทิ้งไว้เป็นอนุสาวรีย์ สำหรับความอาย” สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ ทรงเสกสมรสครั้งแรกกับ ม.ร.ว.ปลื้ม ซึ่งเป็นพระธิดาของพระสัมพันธวงศ์เธอพระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์พระญาติทางฝ่ายพระมารดาพระบาทสมเด็จพระพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกย่องนับเป็นสะใภ้หลวง ทรงมีพระธิดาประสูติด้วยพระองค์เดียวคือ ม.จ.ปลื้มจิตร (เอื้อย) จิตรพงศ์ ประสูติ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ และสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ เมื่อ ม.ร.ว.ปลื้ม วายชนม์ลง ได้ทรงเสกสมรสใหม่ด้วยหม่อมมาลัย บุตรีพระสาครสมบัติ(เผือก เสวตามร์) มีพระโอรสประสูติสองพระองค์คือ หม่อมเจ้าชายอ้าย (สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ) และหม่อมเจ้าชายยี่ (พ.ศ. ๒๔๔๐-๒๔๙๓) ทรงพระนามว่า ม.จ.เจริญใจ จิตรพงศ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ หม่อมมาลัยได้ถึงแก่อนิจกรรม จึงเสกสมรสครั้งที่ ๓ ด้วย ม.ร.ว.โต งอนรถ ธิดาหม่อมเจ้าแดง งอนรถ มีพระโอรสธิดาประสูติด้วย ๖ พระองค์ คือ ม.จ.สาม ม.จ.ประโลมจิตร (อี่ ไชยันต์) ม.จ.ดวงจิตร (อาม) ม.จ.ยาใจ (ไส) ม.จ.เพลารถ (งั่ว) และ ม.จ.กรณิกา (ไอ) สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ ทรงรับราชการในตำแหน่งสำคัญ ๆ มาตลอด ๔ แผ่นดิน อาทิ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เสนาบดีกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ อภิรัฐมนตรีอุปนายกราชบัณฑิตยสภา ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ ๘ ฯลฯ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ สิ้นพระชนม์ด้วยโรคพระหทัยวาย เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เวลา ๑๓.๐๕ น. และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิธีพระราชทานเพลิงศพที่พระเมรุมาศท้องสนามหลวง ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓.

0
ลูกเกดกรอบ 14 มี.ค. 52 เวลา 20:49 น. 8

นายประกอบ สุกัณหะเกตุ เป็นนักดนตรีไทยที่ชำนาญด้านเครื่องสาย เป็นผู้มีประสบการณ์ในวงการดนตรีไทยมาก เกิดเมื่อวันท่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ ในบริเวณวังหน้า ปัจจุบันนี้คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นบุตรของนายขำ และนางทองคำ บิดามีอาชีพรับราชการ ตาและยายมีนามว่า ชื่นและปลื้ม มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๔ คน คือ นายแพทย์ขุนเกตุทัศนพยาธิ ซึ่งเป็นนักดนตรีไทยสมัครเล่นคนหนึ่งสามารถบรรเลงเพลงขลุ่ยได้ มีพี่สาว ๓ คน ชื่อ เลื่อน สุนทรเภสัช เฉลิม วีรแพทย์โกศล และจิ้มลิ้ม ลีละชาติ ทั้ง ๓ คน ไม่เล่นดนตรีเลย ตัวนายประกอบเป็นคนสุดท้อง มีความสามารถในการบรรเลงเครื่องสายได้รอบวง สมรสกับนางสาวสมสวาท เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ ขณะท่มีอายุได้ ๒๐ ปี ภรรยาเป็นผู้ชอบฟังเพลงไทยมากและสามารถร้องเพลงไทยได้ มีบุตรธิดาด้วยกัน ๔ คน คนโต ชื่อ อนุศาสน์ เป็นนักดนตรีสามารถสีซอด้วงและเป่าแคนได้ดี คนท่ ๒ เป็นนักร้องอยู่กองดุริยางค์ทหารเรือ ชื่อ ขนิษฐา คนที่สาม ชื่อ อาษากิจ เป็นนักดนตรีไทยสีซออู้ และคนสุดท้อง ชื่อ ศรีอัปสร สามารถบรรเลงขิมและเล่นออร์แกนได้ดี เริ่มเรียนหนังสือกับญาติที่อยู่ในบริเวณวังหน้า หรือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปัจจุบัน ต่อมาได้ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนราชบุรีวิทยาลัย จนจบชั้น ม. ๘ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ จากนั้นย้ายมาเรียนที่โรงเรียนนาฎดุริยางค์ ซึ่งปัจจุบันนี้คือ วิทยาลัยนาฎศิลป์ กรมศิลปากรจนได้รับประกาศนียบัตรจากวิทยาลัยแห่งนี้ ได้อุปสมบทที่วัดระฆังโฆษิตาราม เป็นเวลา ๑ พรรษา โดยมีพระราชโมฬีเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้เข้าทำงานอยู่ในแผนกดุริยางค์ไทย กองการสังคีต กรมศิลปากร ในตำแหน่งศิลปินตรี ต่อมาได้ย้ายไปอยู่กองวิทยาการ กรมโรงงานโลหะกรรม ในตำแหน่งประจำแผนก แล้วย้ายอีกทีมาอยู่กรมทรัพยากรธรณี ในที่สุดแห่งสุดท้ายที่ท่านทำงานอยู่ ก็คือ กรมการค้าภายใน ในตำแหน่งพนักงานกองควบคุมการค้า การเข้าสู่วงการดนตรีไทย

0
ลูกเกดกรอบ 14 มี.ค. 52 เวลา 20:51 น. 9

นั้น เนื่องมาจากได้ติดตามพี่ ๆ และญาติเข้าไปเล่นดนตรีอยู่ในวังของเจ้านายหลายพระองค์ ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และมีความรักดนตรีเป็นชีวิตจิตใจ จึงพยายามฝึกฝน ครูคนแรกคือ พ.ท.สราวุธ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา เริ่มต้นเรียนตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๐ เมื่ออายุประมาณ ๑๑ ปี เพลงแรกที่เรียน คือ เพลงแขกมอญบางขุนพรหมเถา พ.ท.สราวุธ สอนให้เป่าขลุ่ย และโทนรำมะนา นอกจากเพลงแขกมอญบางขุนพรหมเถาแล้ว ได้ต่อเพลงแขกแดงเถา พระจันทร์ครึ่งซีกเถา และต่อเดี่ยวไวโอลิน เพลงเชิดนอก ครูคนท่ ๒ คือ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) เมื่อครั้งท่เข้ามาในโรงเรียนนาฎดุริยางค์แล้ว ได้ทำหน้าที่เป็นคนสีซอด้วง ประจำวงศรทองด้วย หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ต่อเพลงลาวแพน ทางเดี่ยวไวโอลินให้ และเพลงอื่น ๆ เช่น อะแซหวุ่นกี้เถา ยวนเคล้าเถา และพญาสี่เสาเถา เป็นต้น ครูคนที่ ๓ คือครูสอนวงฆ้อง เป็นผู้จับมือให้ตีฆ้องวงใหญ่ เพลงสาธุการ และได้สอนต่อมาจนตีเพลงหน้าพาทย์ ได้ถึงเพลงองค์พระพิราพ อันเป็นเพลงหน้าพาทย์สูงสุด ความสามารถของนายประกอบนั้นสามารถบรรเลงดนตรีและขับร้องได้ทั้ง ๒ อย่าง เครื่องดนตรีที่ถนัดมาก ได้แก่ ซอด้วง ออร์แกน ไวโอลิน และซออู้ เพลงที่ชอบบรรเลงอยู่เสมอ ได้แก่เพลงแขกสาหร่าย เพลงเทพหาวเหิน เพลงสารถี เพลงนกขมิ้น เพลงลาวแพน และสามารถสีซออู้เพลงหุ่นกระบอกได้ดี และขับเสภาได้ด้วย ครูที่สอนขับร้องคนแรก คือ ครูชิ้น ศิลปบรรเลง ตั้งแต่ครั้งยังเรียนอยู่ในโรงเรียนนาฎดุริยางค์ ครูนิภา อภัยวงศ์ และ พ.ท.สราวุธ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ก็เคยต่อร้องให้นายประกอบ เพลงที่ร้องได้ดี มีเพลงเทพรัญจวนเถา เพลงสารถี และเพลงหกบทเถา ชอบร้องเพลงกับวงเครื่องสายไทยมากว่าวงดนตรีประเภทอื่น ๆ เริ่มถ่ายทอดวิชาการดนตรีให้แกผู้อื่นตั้งแต่อายุประมาณ ๒๐ ปี และเป็นครูสอนดนตรีให้แก่สถาบันต่าง ๆ อาทิ เช่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนดรุโณทยาน โรงเรียนวัดสังเวช โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย โดยสอนโดยวิธีท่องจำ

0
ลูกเกดกรอบ 14 มี.ค. 52 เวลา 20:52 น. 10

โดยวิธีท่องจำและใช้ตัวโน๊ตควบคู่กัน แต่งเพลงได้ทั้งทางร้องและทางเดี่ยว เคยแต่งเพลงโหมโรงจันทร์แจ่มวนา โหมโรงสุริยาเรืองศรี โหมโรงเอื้องเหนือ เพลงเมาะลำเลิงเถา และเพลงอื่น ๆ อีกหลายเพลง งานเผยแพร่ดนตรีไทยนั้น ได้ออกแสดงครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ ๑๗ ปี โดยแสดงการเดี่ยวซอด้วง เมื่อไปบรรเลงกับวงของ พ.ท.สราวุธ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา นอกจากนี้ยังได้ร่วมแสดงดนตรี ณ โรงละครเก่า กรมศิลปากร ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนในโรงเรียนนาฎดุริยางค์ด้วย งานบันทึกเสียงนั้น เริ่มบันทึกเสียงครั้งแรกกับบริษัท ยีนซีมอน เพลงชุดแรกที่บันทึก คือ เพลงชุด ๓ ลาว อันมีเพลงลาวคำหอม ลาวดวงเดือน และเพลงลาวดำเนินทราย บรรเลงติดต่อกัน ครั้งที่ ๒ บันทึกร่วมกับวงดนตรีคณะเตชนะเสนีย์ ในความควบคุมของครูเจือ เสนีย์วงศ์ ที่ห้องบันทึกเสียงบริษัทกมลสุโกศลจำกัด บันทึกเพลงสองชั้นไว้หลายเพลง ครั้งที่ ๓ บันทึกเสียงกับคณะสิทธิถาวร ของครูประสิทธิ์ ถาวร เป็นการบันทึกลงแถบบันทึกเสียงหลายม้วนด้วยกัน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ และเป็นผู้เดี่ยวไวโอลินนำในรายการวิทยุและโทรทัศน์ต่าง ๆ หลายรายการ เช่น รายการก่อนนิทรา ทางสถานีวิทยุ ททท. เป็นต้น รางวัลทางดนตรีไทยที่เคยได้รับ คือ ได้รับพระราชทานเข็มที่ระลึกสำหรับนักดนตรีไทย จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ นายประกอบมีความสามารถในการเล่นเครื่องสายได้ดี เป็นคนแม่นเพลงมาก บรรเลงได้ตั้งแต่จังหวะช้า อ่อนหวานจนถึงเพลงจังหวะเร็วมาก และสามารถเขียนโน๊ตเพลงได้ทั้งโน๊ตสากลแบบตะวันตก โน๊ตแบบตัวเลขหรือโน๊ตแบบตัวหนังสือ (ด.ร.ม.ฟ. ) นับได้ว่าเป็นบุคคลที่มีความสามารถยิ่งในวงการดนตรีไทย นายประกอบถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๓๑ รวมอายุได้ ๗๒&nbsp ปี

1
ลูกเกดกรอบ 14 มี.ค. 52 เวลา 20:54 น. 11

ครูยรรยง แดงกูร เดิมชื่อ ทองบุ เป็นบุตรของนายเผือกและนางชุ่ม แดงกูร เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ณ ตำบลบางลำพูล่าง อำเภอคลองสาน กรุงเทพ ฯ บิดาเป็นทนายความและเป็นนักดนตรีไทยที่มีความสามารถ ได้ถ่ายทอดความรู้ในด้านดนตรีให้แก่บุตรเป็นอย่างดี มีพี่น้อง ๗ คน เป็นนักดนตรี ๔ คน คือ ร.ท. ยรรยง นายทองอาบ นายมนัส และนางสายทิ้ง สินธุอุสาห์ เริ่มเรียนหนังสือชั้นประถมที่โรงเรียนวัดเศวตฉัตร ในขณะเดียวกันก็หัดดนตรีไทยจากบิดาตั้งแต่อายุ ๗ ปี เรียนจบชั้นประถมปีที่ ๓ แล้ว ได้ติดตามบิดาไปเล่นดนตรีตามที่ต่าง ๆ จนมีความชำนาญในการขับร้อง สีซอด้วง ซออู้ และเป่าขลุ่ย เมื่ออายุครบบวช ได้บวชอยู่ที่วัดอนงคาราม ๑ พรรษา มีสมเด็จพระโพธิวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วต่อจากนั้นได้ไปสมัครเข้าเป็นนักร้องเพลงไทยที่กองอุริยางค์กองทัพเรือ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ ต่อมาได้ทำหน้าที่เป็นคนสีไวโอลิน และคนเป่าปี่โอบอ ของกองดุริยางค์กองทัพเรือ เป็นผู้อำนวยเพลงวงจุลดุริยางค์กองทัพเรือ จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นนายทหาร และในปีต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้รับยศเรือโท ครูยรรยงเริ่มต้นหัดเป่าขลุ่ยเพียงออกับบิดาด้วยเพลงจระเข้หางยาว เมื่ออายุได้ ๗ ปี เมื่อจบเพลงจระเข้หางยาวแล้ว จึงต่อเพลงแป๊ะ ๓ ชั้น กับเพลงเถาอื่น ๆ ต่อมาได้ต่อเพลงเดี่ยวขลุ่ยสารถี นกขมิ้น และพญารำพึง จาก ครูชิน ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา แล้วต่อเดี่ยวขลุ่ย เพลงพญาโศก แขกมอญ ลาวแพน กราวใน จากจ่าสิบเอกทรัพย์ นุตสถิตย์ เมื่อมาอยู่กองดุริยางค์กองทัพเรือ ได้หัดเดี่ยวปี่โอบอ ตามโน้ตที่ท่านจางวางทั่วได้เขียนไว้หลายเพลง อาทิ ทะแย กราวใน เชิดนอก และลาวแพน เป็นต้น ได้ต่อซอด้วงและซออู้ จากครูอนันต์ ดูรยชีวิน บุตรของหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน) ในด้านความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ทางด้านดนตรีไทย ได้เริ่มสอนเพลงไทยให้ศิษย์รุ่นน้องตั้งแต่อายุได้ ๒๒ ปี โดยสอนอยู่ในกองดุริยางค์กองทัพเรือ ต่อมาได้เป็นครูสอนดนตรีที่โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมทหาร รวมทั้งได้เคยสอนให้แก่พันเอกชูชาติ พิทักษากรด้วย นอกจากนี้ยังได้ต่อเพลงให้แก่ นายสุรชัย แดงกูร ผู้เป็นบุตร จนสามารถเป่าขลุ่ยและเดี่ยวเพลงต่าง ๆ ได้ดี ความสามารถทางด้านวิชาการของท่านนั้น เป็นผู้รู้โน้ตเพลง สามารถเขียนถ่ายทอดโน้ตเพลงทุกแบบไปมาหากันได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่ว่าจะเป็นโน้ตตัวเลข ๑ ๒ ๓ ๔ หรือโน้ตแบบตัวหนังสือ ๙ ตัว จนถึงโน้ตสากล และสามารถแยกเสียงประสานได้พอสมควร ครูยรรยง ได้แสดงความสามารถในการเดี่ยวขลุ่ยครั้งแรกเมื่ออายุ ๑๗ ปี ในงานฉลองรัฐธรรมนูญ ที่วังสราญรมย์ พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้บันทึกเสียงเพลงเดี่ยวซอด้วง ซออู้ ขลุ่ยและไวโอลิน ไว้มาก รวมทั้งบันทึกเทปเสียงชุด สามขลุ่ยไทย ซึ่งท่านเป่าร่วมกับครูเทีบบ คงลายทอง และนายสุรชัย แดงกูร เคยได้รับรางวัลชนะเลิศเป่าขลุ่ย ณ สถานีวิทยุ ว.ป.ถ. เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ครูยรรยง มีภรรยาชื่อ สวาท แต่งงานเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ และแต่งงานครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ กับนางหงส์ มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น ๘ คน เป็นนักดนตรีและนักร้อง ๕ คน คือ จ่าเอกชาญชัย พันจ่าเอกณรงค์ นายสุรชัย นายโชคชัย และนางวันดี บำเรอรักษ์ คนหลังนี้เป็นนักร้องเพลงไทยสากล ในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ นี้ ครูมีอายุได้ ๖๕ ปี เป็นนักดนตรีในสังกัดวงเสริมมิตรบรรเลง ได้อัดเสียงไว้กับวงเสริมมิตรบรรเลงนี้มาก ทั้งฝึมือซออู้ ซอด้วง ขลุ่ย และไวโอลิน ยังสอนดนตรีไทยอยู่เสมอที่บ้านเลขที่ ๘๒๔/๑ ซองสารภี ๓ ถนนเจริญนคร คลองสาน กรุงเทพมหานคร ยังมีสุขภาพแข็งแรงดี และเล่นดนตรีไทยประจำ.

0
ลูกเกดกรอบ 14 มี.ค. 52 เวลา 20:56 น. 12

จ.ส.อ. ยรรยง โปร่งน้ำใจ เป็นชาวอยุธยา เดิมชื่อ คลอง เกิดเมื่อเดือน ๓ ปีมะโรง ตรงกับเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ที่ตำบลวังเดิม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อ อุ้ย มารดาชื่อ น้อม เป็นนักแสดงละคร สมรสกับ นางสาวสะอาด อ๊อกกังวาล นักร้อง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ มีบุตรธิดา ๔ คน คือ ร.ท. พิสิทธิ์ นางอุษา แสงไพโรจน์ นางฉันทนา วรชินา และนายองอาจ โปร่งน้ำใจ บุตรธิดาทุกคนประกอบอาชีพโดยใช้วิชาดนตรีและละครที่ได้รับถ่ายทอดจากบิดามารดา จ.ส.อ. ยรรยงค์ ถึงแก่กรรมด้วยโรคปอดชื้นและมีอาการทางสมองแทรก เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ในวัยเยาว์ ขณะที่ จ.ส.อ. ยรรยงค์ ติดสอยห้อยตามบิดามารดาซึ่งมีอาชีพแสดงละครไปตามที่ต่าง ๆ นั้น ท่านสนใจดูบทตลกในละครเป็นพิเศษจนอายุได้ ๘ ปี ยายของท่านเกรงว่าจะไม่มีความรู้ติดตัว จึงขอร้องให้เพื่อนช่วยพาตัวไปฝากหลวงเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) ซึ่งต่อมาได้เป็น พระยาเสนาะดุริยางค์ และด้วยเหตุบังเอิญ จ.ส.อ. ยรรยงค์ ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงกัลยาณมิตตาวาส (ทับ พาทยโกศล) อยู่ที่บ้านหลังวัดกัลยาณมิตร โดยที่จางวางทั่ว พาทยโกศล บุตรชายของหลวงกัลยาณ์ ฯ เป็นผู้สอนวิชาการดนตรีให้ จ.ส.อ. ยรรยงค์ เริ่มเรียนฆ้องและเครื่องดนตรีอื่น ๆ ตามระเบียบวิธีของดนตรีไทย ต่อมาจางวางทั่ว ฯ เห็นว่า มีหน่วยก้านในการตีเครื่องหนังดีกว่าอย่างอื่น จึงได้ถ่ายทอดวิชาเครื่องหนังและเครื่องประกอบจังหวะอื่น ๆ ให้เป็นอย่างดี แล้วยังพาตัวไปฝากให้เรียนกับพระพิษณุบรรเลงราช (แย้ม ประสานศัพท์) ซึ่งเป็นนักตีกลองมือหนึ่งในสมัยนั้น จ.ส.อ. ยรรยงค์ ได้รับถ่ายทอดเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง และหน้าทับกลองทุกประเภทไว้อย่างละเอียด

0
ลูกเกดกรอบ 14 มี.ค. 52 เวลา 20:58 น. 13

ละเอียด เป็นคนตีเครื่องหนังฝีมือดีที่สุดของวงพาทย โกศลที่ไม่มีใครเทียบได้ ในการประชันวงปี่พาทย์ที่วังลดาวัลย์ ใน พ.ศ. ๒๔๗๓ จ.ส.อ. ยรรยงค์ตีกลองประกอบการร้องและบรรเลงเพลงได้ดีเป็นพิเศษ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินจากที่ประทับ ตรัสชมเชยแล้วแจกรางวัลโดยทรงคล้องพวงมาลัยพระราชทาน เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นสิ่งที่ จ.ส.อ. ยรรยงค์ ปลาบปลื้มใจเป็นล้นพ้น ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ จ.ส.อ. ยรรยงค์ ได้สมัครเข้ารับราชการ สังกัดกองดุริยางค์กองทัพบก มีหน้าที่เล่นดนตรีในกรมกองทหารต่าง ๆ อยู่เสมอ ระหว่างพักการแสดง มีการเล่นจำอวดสลับฉากร่วมกับพรรคพวกซึ่งตั้งเป็นคณะชื่อว่า "คณะดอกจันทน์ ต.ว." จางวางทั่ว ได้ส่งคณะตลกชุดนี้ ไปหัดเสภาตลกเพิ่มเติมกับหลวงกล่อมโกศลศัพท์ (จอน สุนทรเกศ) จนกระทั่งมีชื่อเสียงเลื่องลือ นอกจากการแสดงตลกอย่างธรมดาแล้ว ยังชอบแสดงตลกประกอบดนตรีไทย ซึ่งแปลกจากแนวของตลกคนอื่น ๆ ด้วย จ.ส.อ. ยรรยงค์ รักการแสดงตลกเป็นชีวิตจิตใจ และใช้ชื่อในการแสดงว่า "ยรรยง จมูกแดง" มีผลงานปรากฎอยู่ในภาพยนตร์ไทยหลายเรื่อง และแสดงมาจนถึงวัยชรา นอกเหนือจากงานในหน้าที่ราชการและงานแสดงตลกแล้ว จ.ส.อ. ยรรยงค์ ยังไปร่วมตีเครื่องหนังกับวงพาทยโกศลมิได้ขาด ตลอดจนได้ออกงานอื่น ๆ อีกมาก ทั้งงานระดับวังเจ้านายและระดับชาวบ้าน พ.ศ. ๒๕๐๗ ม.ร.ว. พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ซึ่งติดใจฝีมือตีกลองของท่าน ได้จัดให้ท่านแสดงฝีมือการตีกลองแบบต่าง ๆ ร่วมกับนักดนตรีคนอื่น ๆ อัดแผ่นเสียงเผยแพร่ไปทั่วโลก เรียกชื่อแผ่นเสียงชุดนี้ว่า Drums of Thailand ฝีมือการตีเครื่องหนังของ จ.ส.อ. ยรรยงค์ ถึงพร้อมด้วยคุณลักษณะหลายประการ คือ ท่าทางดี รอบรู้เพลงการมาก วิธีตีชวนติดตาม และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ สอดใส่ชีวิตจิตใจและอารมณ์ลงในเสียงกลองได้อย่างดีเยี่ยม จึงนับว่าสมควรได้รับการยกย่องว่าเป็นคนเครื่องหนังฝีมือดีที่สุดคนหนึ่งของวงการดนตรีไทยในรอบ ๒๐๐ ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

0
ลูกเกดกรอบ 14 มี.ค. 52 เวลา 21:00 น. 14

นางระตี (วิเศษสุรการ) จุลพล เกิดที่บ้านถนนเดโช อำเภอบางรัก กรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๖ เป็นบุตรีของพันโทพระวิเศษสุรการ (ต่วน ไชยสุต) และนางแจ่ม วิเศษ สุรการ เป็นหลานปู่ของ พระภักดีจุมพล (สกุลเดิม ไชยสุต) และเป็นหลานตาของ นายหลี เสถียร โกเศศ พระวิเศษสุรการนั้นเป็นทหาร เป็นผู้ที่รักและเล่นดนตรีไทยได้ ส่วนมารดาเป็นครูที่โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม มีพี่น้องร่วมบิดามารดาอีก ๕ คน เป็นชายสามชื่อ จำเนียร กลศ และ สุรเดช เป็นหญิงอีกสองคนชื่อ ลักษณีย์ และสัญฉวี ที่เล่นดนตรีไทยมีนายกลศ (ซอด้วง) และนายสุรเดช (ขลุ่ย) เริ่มต้นเรียนหนังสือที่โรงเรียนสายปัญญา โรงเรียนสวนสุนันทา แล้วย้ายมาเรียนที่โรงเรียนเซ็นฟรังซิสซาเวียร์ จนจบชั้นมัธยมปีที่ ๖ จากนั้นไปเรียนต่อที่โรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์ เป็นนักเตรียมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รุ้นที่ ๖ เรียนจบได้ประกาศนียบัตรจากเตรียมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มเรียนดนตรีไทยตั้งแต่อายุ ๘ ขวบ โดยเรียนที่บ้าน แล้วเริ่มต่อ เพลงจระเข้าหางยาวเป็นเพลงแรกกับครูชุ่ม กมลวาทิน จากนั้นก็ต่อเพลง แป๊ะ พม่าห้าท่อน และลาวแพน ต่อมาได้หัดจะเข้เพิ่มเติมจากครูจ่าง แสงดาวเด่น (ศิษย์ของหลวงว่องจะเข้รับ) นอกจากจะเรียนเพลงธรรมดาแล้วได้ต่อเดี่ยวจะเข้ เพลงมุล่ง แขกมอญ ๓ ชั้น และกราวใน ต่อมาเมื่อครูจ่างถึงแก่กรรมแล้วจึงได้ต่อเพลงเพิ่มเติมจาก ครูแสวง อภัยวงศ์ ได้ทางเดี่ยวสารถี แขกอาหวังและจีนขิมใหญ่ ได้แสดงฝีมือเดี่ยวจะเข้ออกอากาศทางวิทยุศาลาแดงเป็นครั้งแรกด้วยเพลงลาวแพน เมื่ออายุ ๑๕ ปี ต่อมาได้สมัครเข้าทำงานที่กรมประชาสัมพันธ์ สมัย พล ท. ม.ล. ขาบ กุญชร เป็นอธิบดี ได้ร่วมงานกับครูพุ่ม บาปุยะวาส และนักดนตรีคนสำคัญอีกหลายคน อาทิ ครูฉลวย จิยะจันทน์ ครูสมาน ทองสุโชติ ครูบุญยงค์ เกตุคง ครูจำเนียร ศรีไทยพันธุ์ ครูประสงค์ พิณพาทย์ ครูสุดจิตต์ ดุริยประ ณีต ฯลฯ ครูสมาน ทองสุโชติ ได้ประดิษฐ์ทางเดี่ยวจะเข้ให้เป็นพิเศษอีก ๔ เพลง คือ สุดสงวน สุรินทราหู นกขมิ้น และอาถรรพ์ อันเป็นทางเฉพาะสำหรับผู้ที่เดี่ยวจะเข้ "ไหว" เป็นพิเศษจริง ๆ ครูระตีได้ชื่อว่า เป็นนักจะเข้ฝีมือยอดเยี่ยมในระดับแนวหน้าคนหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ที่ยากจะหาผู้ใดเหมือน ท่านดีดแรง ทั้งไหว ทั้งเรียบและชัดเจนแจ่มแจ้ง ทุกตัวโน้ต เคยบันทึกเสียงเพลงเดี่ยวต่าง ๆ ไว้มาก นับเป็นนักดนตรีที่มีผู้นิยมชมชื่นในฝีมือมากที่สุดคนหนึ่ง เคยได้รับรางวัลชนะเลิศในการเดี่ยวจะเข้ เมื่อมีการประกวดทางสถานีวิทยุสื่อสาร ในด้านการสอน ได้สอนจะเข้ให้นักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบ โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนพันธะวัฒนา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล ศิษย์ที่มีฝีมือดี ได้แก่ สุรพล พงษ์สุวรรณ สัก รินทร์ สู้บุญ ภัทร เครือสุวรรณ และกมล ชิดช่าง ชีวิตครอบครัว แต่งงานกับ นายพนิต จุลพล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘ มีบุตรสองคน คือ พ.ต.ต. พนิน จุลพล และคุณพนิตา สวัสดิโรจน์ ทั้งสองคน มิได้เล่นดนตรีไทย ครูระตีได้รับตำแหน่งหัวหน้าวงดนตรีไทย กรมประชาสัมพันธ์ มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๖ จนเกษียณในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ และถึงแก่กรรมในวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๑ รวมอายุได้ ๖๕ ปี.

0
ลูกเกดกรอบ 14 มี.ค. 52 เวลา 21:01 น. 15

คุณหญิงรามบัณฑิต สิทธิเศรณี นามเดิมว่า นางสาวเยี่ยม ณ นคร เป็นบุตรีของหลวงเทพอาญา (สิงห์ ณ นคร) และนางเขียน ณ นคร เกิดเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๘ ที่ตำบลบางลำพูล่าง ธนบุรี การศึกษาชั้นต้น ได้ถวายตัวเข้าไปอยู่ในราชสำนักของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยอยู่ในพระอุปถัมภ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอรทัยเทพกัญญา จนกระทั่งอายุได้ ๑๐ ปี จึงได้ย้ายมาอยู่ในพระอุปถัมภ์ของพระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุท ธาสินีนาฎ จนอายุได้ ๑๕ ปี จึงได้สมรสกับพระรามบัณฑิตสิทธิเศรณี มีบุตรชาย ๓ คน คือ นายสมนึก นายอารีย์ และนายบัณฑิต ระยะเวลา ๕ ปี ที่คุณหญิงฯ อยู่ในพระอุปถัมภ์ของ กรมพระสุท ธาสินีนาฎนั้น คุณหญิงได้ฝึกหัดข้บร้องเพลงไทย เป็นศิษย์ของหม่อมสุด หม่อมศิลา หม่อมคร้าม หม่อมส้มจีน เฒ่าแก่จีบ และขุนเสนาะดุริยางค็์ (แช่ม สุนทรวาทิน ยศขณะนั้น) จนสามารถบรรเลงมโหรีและขับร้องได้ดี เป็นที่ต้องพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต คุณหญิงได้ทำหน้าที่ "นางร้องไห้" ขับร้องบทเพลงสำหรับนางร้องไห้ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาททุกวัน นับเป็นนางร้องไห้รุ่นสุดท้ายก่อนที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะโปรดเกล้า ฯ ให้ยกเลิก ในเวลาต่อมา คุณหญิงรามบัณฑิตสิทธิเศรณี เป็นนักร้องเสียงดี ร้องเพลงได้ไพเราะ ชัดเจนและเสียงดัง เป็นนักร้องรุ่นเดี่ยวกับ เจ้าจอม ม.ร.ว. สดับ ในรัชกาลที่ ๕ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๐ คุณหญิงได้ร้องเพลงอัดแผ่นเสียงกับบริษัท Palophone werbo A.G. Berlin เป็นแผ่นเสียงตราพาโลโฟน ใช้ชื่อในการขับร้องว่า "เศรณี" เพลงชุดแรกที่อัดเสียงครั้งนี้คือ เพลงดาวทอง และได้อัดเสียงชุดที่สอง คือ เพลงตับเรื่องเงาะป่า พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ ต่อมาพระยารามบัณฑิต ฯ เห็นว่าสมควรทำแผ่นเสียงขึ้นเอง จึงได้ทำสัญญากับบริษัทดังกล่าว ใช้ชื่อว่า "แผ่นเสียงเศรณี" มีตราเป็นรูปอุณาโลม รุ่นแรก ๆ พิมพ์บนกระดาษสีเขียว ตัวหนังสือสีทอง เรียกว่า แผ่นหน้าเขียว เพลงรุ่นนี้ได้แก่ เขมรไทรโยค แขกบรเทศ แขกพราหมณ์ ลีลากระทุ่ม และแขกมอญ คุณหญิงได้มอบให้บุคคลต่าง ๆ เป็นที่นิยมและหาซื้อกันมาก คุณหญิงจึงได้ทำแผ่นเสียงเศรณีขึ้นอีกชุดหนึ่ง ชุดนี้พิมพ์ลงบนกระดาษสีเหลือง เรียกว่าแผ่นหน้าเหลือง เพลงชุดนี้เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ และเพลงสำคัญ ๆ หลายเพลง เช่น เพลงแขกลพบุรี ทยอยนอก จระเข้หางยาว บุหลัน ปลาทอง และพระอาทิตย์ชิงดวง เป็นต้น นับเป็นแผ่นเสียงอัดด้วยไฟฟ้าที่ดีที่สุดในสมัยนั้น ใช้ออกอากาศทางสถานีวิทยุเป็นประจำ คุณหญิงรามบัณฑิตสิทธิเศรณี จึงเป็นผู้เผยแพร่ดนตรีไทยที่สำคัญผู้หนึ่ง ท่านได้ป่วยเป็นโรคเนื้องอกในช่องท้องและถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม บรรจุอัฐิที่วัดสระปทุม กรุงเทพมหา

0
ลูกเกดกรอบ 14 มี.ค. 52 เวลา 21:03 น. 16

ครูลม่อม เป็นชาวจังหวัดนนทบุรี เกิดเมื่อวันจันทร์ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ บิดาเป็นทหาร ชื่อ ร.ท. จันทร์ มารดาชื่อ ชื่น นามสกุลเดิมคือ แสนช่างทอง เริ่มต้นเรียนขับร้อง เมื่ออายุได้ ๘ ปี กับครูเรื่อง และเรียนต่อจากครูเชื้อ นักร้อง จึงได้ทางขับร้องของพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) เป็นพื้นฐาน อายุได้ ๑๕ ปี ก็เริ่มออกงานขับร้องเพลงตับ เพลงเถาต่าง ๆ อายุได้ ๑๖ ปี ก็สมรสกับ ม.ล. เปลื้อง อิศรางกูร ซึ่งต่อมาได้เป็น เนติบัณฑิตทางกฎหมาย มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงอรรถปริมลวุจดี มีบุตรธิดาด้วยกัน ๗ คน เป็นชาย ๒ หญิง ๕ เมื่ออายุ ๒๐ ปี ได้เริ่มขับร้องออกอากาศทางวิทยุศาลาแดง (พ.ศ. ๒๔๗๑) ปรากฎว่ามีผู้นิยมว่าร้องเพลงเพราะ เสียงดี จึงร้องเพลงออกอากาศเป็นประจำกับวงดนตรีขุนพิทักษ์ และขุนภักดีเรื่อยมา ต่อมาได้เป็นศิษย์ของแม่ครูเคลือบ จึงได้เรียนร้องเพลงหุ่นกระบอก ซึ่งครูลม่อมสามารถร้องได้ดีมาก เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าร้องเพลงหุ่นกระบอกได้ดีที่สุด อายุได้ ๒๒ ปี (พ.ศ. ๒๔๗๓) ได้เป็นครูสอนขับร้องให้มหาดเล็กข้าหลวงในวังลดาวัลย์ อันเป็นที่ประทับของ พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ และสมเด็จเจ้าฟ้ยุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ ระยะนี้ได้ต่อเพลงกับหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นเวลาติดต่อกันถึง ๘ ปี ส่วนมากต่อเพลงสามชั้นและเพลงเถาต่าง ๆ นอกจากจะเป็นศิษย์ของหลวงประดิษฐ์ไพเราะแล้ว ยังได้มีโอกาสต่อเพลงจากบ้านท่านครูจางวางทั่ว พาทยโกศล คือ ต่อจากคุณแม่เจริญ พาทยโกศล และได้เคยร่วมร้องเพลงกันมากับคุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ ตั้งแต่สมัยยังเป็นสาว เป็นที่เลื่องลือกันว่า ถ้าให้สองคนนี้มาร้องเพลง โอ้ปี่นอก โอ้ปีใน แล้ว ไม่มีใครเท่า เพราะนอกจากจะเสียงเพราะแล้วยังมีลูกคอดีทั้งสองคน ครูลม่อม อิศรางกูร ณ อยุธยา ได้บันทึกแผ่นเสียงไว้กับห้าง ต. เง็กชวน บางลำพู และอีกหลายบริษัท อาทิ เพลงกราวใน มีนายเกิด มงคล เป็นผู้เดี่ยวจะเข้ เพลงเขมรไทรโยค บรรเลงโดยวงเครื่องสายผสมเปียนโน คณะผดุงจิต และเพลงหุ่นกระบอกต่าง ๆ ซึ่งครูละม่อมได้รับชื่อเสียงในการร้องเพลงหุ่นกระบอกมากกว่าการร้องในแบบอื่น ในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ นี้ ครูลม่อม มีอายุได้ ๗๕ ปี เลิกสอนขับร้องพักผ่อนอยู่กับบ้านผู้ที่เคยได้เรียนเพลงหุ่นกระบอกจากท่าน ได้แก่ ครูสุดา เขียววิจิตร ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต และคุณนฤมล อิศรางกูร ณ อยุธยา (บุตรของท่าน)

0
ลูกเกดกรอบ 14 มี.ค. 52 เวลา 21:04 น. 17

นายลิ้ม ชีวะสวัสดิ์ เป็นชาวตลาดพลู เกิดเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๑๒๔๔๖ บิดามีนามว่า จ่าง มารดามีนามว่า จั๊ง ทั้งบิดาและมารดามีอาชีพทำสวน มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน ๕ คน พี่ชายคนโต ชื่อ ไทย เป่าปีคาริเน็ตได้ คนที่ ๒ เป็นหญิง ชื่อ เจียร ไม่เล่นดนตรี คนที่ ๓ ชื่อ นายลิ้ม มีความสามารถในการสีซอด้วง และดีดกระจับปี่ คนที่ ๔ ชื่อ นางพรหม เป็นคนซออู้ประจำวงพระสุจริตสุดา คนที่ ๕ ชื่อ นายเฉลิม เล่นซออู้และกระจับปี่ สมรสกับนางสาวฉวี เลี่ยมทอง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ มีบุตรธิดาด้วยกันรวม ๘ คน ไม่มีบุตรหรือธิดาคนใดเป็นนักดนตรีเลย เริ่มต้นการศึกษาวิชาสามัญที่โรงเรียนวัดอินทาราม ตลาดพลู ธนบุรี จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ แล้วมาเรียนต่อที่โรงเรียนสุขุมาลัย ธนบุรี จนจบชั้นมัธยมปีที่ ๓ จากนั้นเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จ จนจบชั้นมัธยมปีที่ ๖ อุปสมบทที่วัดอินทาราม (ใต้) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็นเวลา ๑ พรรษา โดยมี เจ้าคุณทักษิณคณิศรเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อจบการศึกษาแล้ว เข้ารับราชการในกรมรถไฟ ฝ่ายช่างกล ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๐ เลื่อนมาเป็นหัวหน้าแผนกกองโรงงาน พ.ศ. ๒๔๘๙ และรับราชการที่กรมรถไฟนี้จนเกษียณอายุ การศึกษาวิชาด้านดนตรีนั้น เริ่มเรียนครั้งแรกเมื่ออายุ ๒๕ ปีแล้วมีสาเหตุเนื่องมาจากประทับใจในเสียงดนตรีที่ชาวจีนแถวตลาดพลูบรรเลงกันอยู่เสมอและได้ติดตามชมการบรรเลงดนตรีทั้งไทยและโยธวาทิตที่หน้ากระทรวงกลาโหม และเชิงสะพานพุทธยอดฟ้า เวลามีงานเฉลิมพระชนมพรรษาเป็นประจำ จึงได้ไปเรียนซอด้วงจาก ส.ต.ท. น้อม ปิ่นจันทร์ เริ่มด้วยเพลงเขมรพวง แขกปัตตานี จนสามารถสีเพลงสุรินทราหู หกบท และเพลงสารถี ได้ดี จากนั้นมีโอกาสได้เรียนเพิ่มเติมจากครูทรัพย์ นุตสถิตย์ ซึ่งท่านต่อเพลงแขกลพบุรี เขมรราชบุรี แขกโอด และเพลงพญาโศกให้ โดยยึดถือทางบรรเลงของพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) แล้วมาได้เพลงนกขมิ้น แขกมอญ และมอญรำ จากครูผ่อง แก้วโปร่งงาม นอกจากซอด้วงแล้ว นายลิ้ม ยังได้เรียนการดีดกระจับปี่จากศาสตราจารย์ ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์ จนดีดได้ดี สามารถดีดกระจับปี่เดี่ยวเพลงลาวแพน พลงกราวใน ๓ ชั้น พญาโศก และเพลงมุล่ง ได้ไพเราะนัก เคยบรรเลงออกอากาศทางสถานีวิทยุ ๑ ป.ณ. และได้รับเชิญให้ไปสาธิตการดีดกระจับปี่ตามสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เช่น หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เคยเดี่ยวกระจับปี่เพลงลาวแพน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๔๙๖) และบรรเลงร่วมกับวงดนตรีไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์อยู่เสมอ ผลงานทางด้านการบรรเลงเพลงที่ท่านภาคภูมิใจนักหนาก็คือความสามารถบรรเลงเดี่ยวกระจับปี่ เพลงลาวแพน เพลงกราวใน ๓ ชั้น เพลงพญาโศก และเพลง มุล่ง ปัจจุบัน นายลิ้ม ชีวะสวัสดิ์ พักอยู่บ้านเลขที่ ๗๖/๒๔ หมู่บ้านเสนานิเวศน์ ซอยเสนานิคม ๑ เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร และแม้จะมีอายุถึง ๗๙ ปีแล้ว แต่ก็ยังจำเรื่องเก่า ๆ ได้ดี สามารถบรรเลงซอด้วงและกระจับปี่ให้ฟังได้ แม้ท่านจะบ่นว่ามือสั่นแล้ว และยังจำเพลงได้แม่นยำมาก.

0
ลูกเกดกรอบ 14 มี.ค. 52 เวลา 21:05 น. 18

นางสอาดเป็นบุตรสาวของจ่าเอกอิน อ๊อกกังวาล ซึ่งมีเชื้อสายมอญ ตำบลบางไส้ไก่ มีพี่ชาย ๒ คน คือนายเอื้อน ชำนาญในการเป่าปี่สั้น นายฉอ้อน ชำนาญทางเครื่องหนัง มีน้องสาว ๑ คน คือนางสมวรรค์ธุการบัณกิจ ไม่สันทัดทางดนตรี จ่าเอกอิน ซึ่งเป็นบดดานั้น รับราชการเป็นทหารเรือในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มาเป็นลูกศิษย์หลวงกัลยาณมิตาวาส (ทับ) อยู่ระยะหนึ่ง นับเป็นผู้มีความสามารุเป็นเยี่ยมในการร้องเพลง โดยเฉพาะเพลงมอญต่าง ๆ ซึ่งถนัดมาแต่เดิม ท่านเป็นต้นแบบที่ร้องเพลงมอญร้องให้ไว้เป็นคนแรก และร้องได้อย่างดีไม่มีใครสู้ จึงมีผู้มาหาไปร้องเพลงนี้ในงานศพอยู่เสมอ ในระยะแรกจ่าอินได้ถ่ายทอดวิชาเพลงมอญให้บุตรสาวด้วยตนเอง ต่อมาเมื่อเป็นรุ่นสาว จึงได้พามาฝากให้เรียนร้องเพลงกับ พาทยโกศล ภรรยาของจางวางทั่ว พาทยโกศล ผู้เป็นบุตรชายของหวงกัลยาณมิตตวาส (ทับ) ได้ฝึกฝนจนกระทั่งร้องเพลงได้ดี คุณแม่เจริญ จึงพาไปถวายตัวเป็นนักร้องประจำวงพิณพาทย์วังบางขุนพรหม ของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เมื่อครั้งที่วงพิณพาทย์วังบางขุนพรหมบันทึกเสียงกับห้างสุธาดิลก พ.ศ.๒๔๗๑ นั้น นางสาวสอาด หรือที่จางวางทั่วเรียกจนติดปากว่า "สาวสอาด" ก็ได้ร่วมงานร้องเพลงบันทึกเสียงด้วย นักร้องในครั้งนั้นที่สำคัญได้แก่ นางเจริญ พาทยโกศล นางสาวทูน พาทย์โกศล (ปัจจุบันคือ คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ) และนางสาวเฉิดอักษรทับ หลังจากที่เป็นนักร้องอยู่ในวงวังบางขุนพรหม สาวสอาดก็สมรสกับนายยรรยงค์ โปร่งน้ำใจ คนกลองฝีมือดีของวังบางขุนพรหม เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๓ และย้ายตามสามีไปอยู่ที่บ้านถนนหลานหลวง ครั้นถึง พ.ศ.๒๔๗๕ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรร์ ต้องเสด็จลี้ภัยการเมืองไปประทับที่ชวา วงพิณพาทย์ที่เคยบรรเลงในวังบางขุนพรหมก็มีอันต้องเลิกไป แต่ยังคงบรรเลงในนามของจางวางทั่ว พาทยโกศล แห่งวัดกัลยาณมิตร สาวสอาด ยังคงมาช่วยร้อยเพลงในวงนี้เวลาที่มีงานเสมอ ต่อมาได้มาร่วมร้องเพลงกับแตรวงของนายเอื้อน อ๊อกกังวาล ซึ่งเป็นพี่ชายและเป็นศิษย์ของจางวางทั่วด้วย ในระยะสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทั้งนายยรรยงค์และ สาวสอาด ได้ไปร่วมวงปี่พาทย์มอญของ นายโฮก ย่านตลาดพลู เพื่อช่วยค่าครองชีพ แต่ในบางโอกาสก็ยังมาช่วยงานวงพาทยโกศลบ้าง เช่น ในการขับร้องเพลงและบรรเลงออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจ่ายเสียง สาวสอาด มีบุตรชายหญิง ๔ คน คือ ร.ท.พิสิทธิ์ โปร่งน้ำใจ นางอุษา แสงไพโรจน์ นางฉันทนา วรชินา และนายองอาจ โปร่งน้ำใจ ทั้ง ๔ คน ได้รับถ่ายทอดวิชาดนตรีจากบิดามารดาทั้งโดยสายเลือดและการฝึกฝนเป็นอย่างดี สาวสอาดถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจวาย เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๘ ท่านเป็นนักร้องฝีมือดีคนหนึ่ง เป็นผู้ได้ชื่อว่ามีเสียงสูง เสียงดังฟังชัดร้องได้จังหวะมีลีลาน่าฟัง น่าเสียดายที่ผลงานของท่านมีเหลืออยู่ให้คนรุ่นหลังได้รู้จักไม่มากและไม่แพร่หลายนัก มีปรากฎ มีปรากฏอยู่ในแผ่นเสียงเก่าบ้าง เทปบันทึกเสียงบ้างเท่านั้น.

0
ลูกเกดกรอบ 14 มี.ค. 52 เวลา 21:07 น. 20

เจ้าจอมสังวาลย์ เป็นบุตรีของพระยากษาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) และนางนิ่ม (สกุลเดิม ไกรฤกษ์) เกิดที่บ้านหน้าวัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) เมื่อปีขาล พ.ศ.๒๔๐๙ เมื่อเล็กได้เรียนหนังสือจนอ่านออกเขียนได้ และหัดเครื่องสายในบ้าน เป็นผู้มีความสามารถดีคนหนึ่ง และครูได้สอนให้ดีดกระจับปี่จนชำนาญ เมื่ออายุราว ๑๐ ปี ได้เข้าไปอยู่ในวังหลวง ฝึกหัดเป็นพนักงานมโหรีกับเพื่อนร่วมรุ่น โดยเฉพระร่วมงานกับพี่สาว (ลูกผู้พี่) อีก ๒ คน คือ คุณเหม และคุณประคอง ซึ่งต่อมาได้ถวายตัวเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๕ ทั้ง ๓ คน เจ้าจอมสังวาลย์ ได้ทำหน้าที่เป็นเจ้าจอมมโหรี รับราชการฉลองพระเดชพระคุณในรัชกาลที่ ๕ โดยมีหน้าที่ดีดกระจับปี่ จนเจ้าจอมมารดาวาดและเจ้าจอมมารดาเหมผู้ร่วมวง มีพระองค์เจ้าประสูติแล้วเลิกเล่นมโหรีไป วงมโหรีฝ่ายในวงนี้ก็สลายตัวลง ต่อมาท่านได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเจ้าจอม กลับมาอยู่บ้านกับพี่น้อยที่บ้านหน้าวัดเลียบอันเป็นบ้านเกิดของท่าน จนเมื่อมีการเวนคืนที่ดินบ้านของท่าน เพื่อสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ จึงย้ายมาอยู่ที่บ้านถนนนเรศ แล้วย้ายไปยู่ที่บ้านซอยสันติสูข ถนนสุขุมวิท จนถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา รวมอายุได้ ๘๗ ปี ตั้งแต่ออกจากวังหลวงมาแล้ว ท่านมิได้เล่นดนตรีอีกเลย และไม่ได้สอนให้แก่ใครด้วย เพราะระยะหลัง ๆ ตั้งแต่ปลายรัชการที่ ๕ เป็นต้นมา ไม่นิยมเล่นกระจับปี่กัน ท่านจึงมิได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ใดเลย.

0