Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ลำดับวิวัฒนาการ และภาพประวัติเจดีย์เก่าแก่โบราณของโลก!!!

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
การตั้งกระทู้นี้ ได้รับแรงบันดาลใจจาก วิชาศิลปะลังกา 

คณะโบราณคดี เอกประวัติศาสตร์ศิลปะ

Image


ภาพรูปแบบเจดีย์เก่าแก่โบราณของโลก
เจดีย์ (ภาษาบาลี : เจติย) หรือ สถูป (ภาษาสันสกฤต : สฺตูป) เป็นสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนา พบได้ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียและเอเชีย ทั้งยังมีปริมาณเพิ่มขึ้นในประเทศทางตะวันตก

เจดีย์ หมายถึง สิ่งก่อสร้างหรือสิ่งของที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่เคารพบูชาระลึกถึง 

สถูป หมายถึง สิ่งก่อสร้างเหนือหลุมฝังศพ หรือสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อให้ลูกหลานและผู้เคารพนับถือได้สักการบูชา ถือกันว่ามีบุคคลที่ควรบรรจุอัฐิธาตุไว้ในสถูปเพื่อเป็นที่สักการะของมหาชนอยู่เพียง ๔ พวก เรียกว่า ถูปารหบุคคล ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิ์ 

สำหรับประเทศไทย คำว่า สถูป และ เจดีย์ เรามักรวมเรียกว่า "สถูปเจดีย์" หรือ "เจดีย์" มีความหมายเฉพาะ ถึงสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิ หรือเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป หรือเพื่อเป็นที่ระลึก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ในสมัยหลังลงมาคงมีการสร้างสถานที่เพื่อบรรจุอัฐิธาตุ และเพื่อเคารพบูชาระลึกถึงพร้อมกันไปด้วย 

สถูปเจดีย์ในประเทศไทยนั้นมีมาแต่โบราณ โดยเข้ามาจากประเทศรอบด้าน มีจุดเริ่มต้นที่อินเดีย จากการสร้างเนินดินเหนือหลุมศพ ได้กลายมาเป็นการสร้างสถูปที่สูงกว่าหลุมศพทั่วไป โดยมีวิวัฒนาการตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบันสรุปได้ดังนี้


(
http://www.mindvacation.net) (http://www.siamboran.net)
รูปภาพและข้อมูลเพิ่มเติม

มหาสถูปสาญจี (เจดีย์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก)

พระเจ้าอโศกมหาราชโปรดฯให้สร้างสถูปสาญจี สถูปอินเดียรุ่นแรก ประมาณ พ.ศ. 300
ตั้งอยู่บนเนินเขา (มีความสูงประมาณ 91 เมตร)
ในเขตหมู่บ้านสาญจี (Sanchi) อำเภอไรเซ่น (Raisen)
แคว้นมัธยมประเทศ( Madhya Pradesh) ประเทศอินเดีย
คำว่า "สาญจี" เป็นชื่อของหมู่บ้านที่องค์สถูปตั้งอยู่ 

ชื่อเรียกองค์ประกอบเจดีย์ (เรียงจากล่างไปส่วนบนสุด)

รั้วล้อมรอบสถูป             เรียกว่า เวทิกา (Vedika) สร้างเลียนแบบเครื่องไม้สมัยโบราณ
ซุ้มประตูทางเข้าสถูป     เรียกว่า โตรณะ (Torna) ต้นแบบเสาชิงช้า
ตัวองค์ระฆัง(เรือนธาตุ)  เรียกว่า อัณฑะ เป็นองค์สถูป ลักษณะเหมือนเนินดิน

บัลลังก์รองรับฉัตร          เรียกว่า หรรมิกา (Harmika)
ส่วนบนยอดสุด               เรียกว่า ฉัตรวลี (ร่ม 3 ชั้น) แสดงถึงวรรณะกษัตริย์ 
(พระพุทธเจ้าอยู่ในวรรณะกษัตริย์)

สถูปสาญจี เป็นรูปโอ
คว่ำตั้งอยู่บนฐานและฉัตรปักบนยอด สถูปนี้คงสร้างเลียนแบบมาจากเนินดินหลุมฝังศพอย่างไม่ต้องสงสัย ส่วนใหญ่ใช้เป็นที่บรรจุอัฐิธาตุ แต่บางครั้งก็ใช้เป็นอนุสาวรีย์ โยทำไปมักมีรั้วและประตูล้อมรอบ แสดงถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับกระทำพิธีประทักษิณ คือการเดินเวียนขวารอบสถานที่เคารพ

สถูปของอินเดียสมัยโบราณ เดิมเป็นการพูนดินขึ้นเป็นโคกตรงที่ฝังอัฐิธาตุ แล้วลงเขื่อนรอบกันดินพัง มีการปักร่มหรือฉัตรไว้บนโคกเพื่อเป็นเกียรติยศ ต่อมามีการเติมแต่งสถูปให้งดงามและถาวรยิ่งขึ้น เช่นสร้างฐาน ลานทักษิณ มีบัลลังค์หรือแท่นฐานเหนือองค์สถูป ตกแต่งยอดสถูปเป็นรูปฉัตร และประดับประดาลวดลายต่างๆ ต่อมาเมื่อสังคมพัฒนาขึ้น เจดีย์ก็พัฒนาตาม บุคคลที่มีบรรดาศักดิ์สูง กองดินจะพูนสูงขึ้น และเปลี่ยนวัสดุจากดิน เป็น อิฐ หิน ศิลาแลง ปูน อันแล้วแต่จะหาได้ในพื้นที่ ซึ่งลักษณะสถูปแบบนี้ ได้ส่งอิทธิพลมายังดินแดนอาณาจักรโบราณในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งดินแดนประเทศไทย เมื่อพระพุทธศาสนาได้แพร่เข้ามาเป็นที่นับถือของประชาชน

Image

สถูปอมราวดี


ศิลปะอมราวดี เจริญขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย

ราวพุทธศตวรรษที่ 6 หรือ 7 ถึงพุทธศตวรรษที่ 9

สถูปนี้ได้สูญหายพังทลายไปหมดแล้ว เหลือแต่เพียงภาพสลักให้เห็น

เอกลักษณ์สำคัญของสถูปนี้ คือ เสาอัยกะ 5 ต้น(เสาสูง) ซึ่งอยู่ตรงทางเข้าด้านหน้าสถูป

ศิลปะอมราวดีนี้ ได้ส่งอิทธิพลทางศิลปกรรมให้กับประเทศศรีลังกา

สถูปรุวันเวลิเสยะ เมืองอนุราธปุระ (พุทธศตวรรษที่ 4 ถึง 16) 

เมืองหลวงแห่งแรกของประเทศศรีลังกา

รูปแบบมหาสถูป ได้รับอิทธิพลทางศิลปกรรมจากอินเดีย

คือ มีช้างล้อมรอบสถูป แต่มีขนาดองค์ระฆังและบัลลังก์ที่ใหญ่มาก 

ฉัตรวลียืดสูงขึ้นกลายเป็นปล้องไฉน เปลี่ยนรูปแบบจากเสาอัยกะ 5 ต้น เป็นวหัลกฑะ

ซึ่งเป็นพัฒนาการรูปแบบสถูปจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของสถูปลังกา

สถูปกิริเวเหระ เมืองโปลนนารุวะ (พุทธศตวรรษที่ 17 ถึง 18)

เมืองหลวงแห่งที่สองของประเทศศรีลังกา

สถูปนี้ ได้ส่งอิทธิพลทางศิลปกรรมให้กับพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช ประเทศไทย

พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18

เมืองนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาร่วมสมัยกับเมืองโปลนนารุวะ

ได้รับอิทธิพลการก่อสร้างแบบมหาสถูป(เจดีย์ขนาดใหญ่) จากประเทศศรีลังกา

เจดีย์ในลักษณะนี้ได้ส่งอิทธิพลให้กับกรุงสุโขทัย ราชธานีแห่งแรกของไทย

รวมทั้งดินแดนประเทศไทยได้รับพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาในขณะนั้นด้วย

เจดีย์วัดช้างล้อม กรุงเก่าสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19-20)

เจดีย์นี้ ได้รับอิทธิพลศิลปะลังกา สืบต่อมาจากเมืองนครศรีธรรมราช

คือ เป็นเจดีย์ทรงกลม มีช้างล้อมรอบเจดีย์ ในคติจักรวาลวิทยา

นอกจากนี้กรุงสุโขทัย ยังได้คติแนวความคิดด้านการก่อสร้างศิลปกรรมต่างๆจากลังกา คือ

พระมณฑป พระพุทธบาท พระสี่อิริยาบท พระอัฏฐารส (พระพุทธรูปสูง 18 ศอก)

พระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี ต้นแบบพระปรางค์ อยุธยาตอนต้น

สร้างเมื่อประมาณ 100 ปี ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

พระปรางค์ วัดราชบูรณะ สมัยอยุธยาตอนต้น

ในสมัยอยุธยาตอนต้น นิยมสร้างเจดีย์ทรงปรางค์ เป็นประธานของวัด

ได้รับต้นแบบมาจากพระปรางค์ วัดมหาธาตุ เมืองลพบุรี ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะขอม

แต่ได้พัฒนาการรูปแบบศิลปะจนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง

วัดพระศรีสรรเพชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สมัยอยุธยาตอนกลาง

สร้างเพื่อเป็นวัดหลวงประจำพระราชวัง ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา

ในสมัยอยุธยาตอนกลาง นิยมกลับมาสร้างเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาอีกครั้ง

เจดีย์ในวัดแห่งนี้ จึงสร้างเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาเหมือนกันหมดทั้งวัด

เจดีย์ 4 รัชกาล วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร วัดประจำรัชกาลที่ 1

สมัยรัชกาลที่ 1-3 นิยมสร้างเจดีย์ย่อมุม ตามแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย

ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีพระราชนิยมนำของเก่ากลับมาสร้างใหม่

จึงนำรูปแบบเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาในสมัยอยุธยา กลับมาสร้างใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์

โดยเปลี่ยนรูปแบบเจดีย์เดิมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งนิยมสร้างเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง

กลายมาเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา ในรูปแบบของศิลปะรัตนโกสินทร์

ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา เจดีย์ของไทย จึงเปลี่ยนรูปแบบเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา

พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4

วัดโสมนัสวิหารราชวรวิหาร สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2396)

ทรงสร้างพระราชอุทิศสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี

วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร สร้างสมัยรัชกาลที่ 4 วัดประจำรัชกาล

วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 วัดประจำรัชกาล

สมัยรัชกาลที่ 5 ยังคงสืบทอดรูปแบบการสร้างเจดีย์ในสมัยรัชกาลที่ 4 


เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา จึงเป็นเจดีย์ที่คนไทยคุ้นตากันมากที่สุด

และกลายเป็นเอกลักษณ์ การสร้างเจดีย์ของประเทศไทยจนมาถึงปัจจุบัน


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 31 มีนาคม 2552 / 16:50
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 31 มีนาคม 2552 / 16:59
แก้ไขครั้งที่ 3 เมื่อ 31 มีนาคม 2552 / 17:03
แก้ไขครั้งที่ 4 เมื่อ 31 มีนาคม 2552 / 17:06
แก้ไขครั้งที่ 5 เมื่อ 31 มีนาคม 2552 / 17:09
แก้ไขครั้งที่ 6 เมื่อ 31 มีนาคม 2552 / 17:13
แก้ไขครั้งที่ 7 เมื่อ 31 มีนาคม 2552 / 17:17
แก้ไขครั้งที่ 8 เมื่อ 31 มีนาคม 2552 / 17:20

แสดงความคิดเห็น

9 ความคิดเห็น

เอ็ม 26 พ.ค. 53 เวลา 17:13 น. 4

กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

ขอบคุงคร๊

ที่ไม่ทำให้ผมเอ้ย&nbsp เรา

โดนครูตีอ่ะ


แถมได้คะแนนด้วยอ่ะ

ตั้ง&nbsp 20&nbsp คะแนนอ่ะ


ขอบคุณมาก

0
putthisan 28 มิ.ย. 63 เวลา 20:38 น. 9

ตามความเป็นจริงแล้วสถูปหรือเจดีย์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกไม่ใช่สารจีหรอกครับ แต่เป็นเจดีย์"ชเวดากอง"มากกว่าครับเพราะสร้างมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล2500กว่าปีมาแล้ว

โดยสองพ่อค้าชาวมอญนามว่า

"ตปุสสะ"และ"ภัทลิกะ"นำเส้นพระเกศา7เส้นของพระพุทธเจ้า

มาถวายให้กับกษัตริย์ในสมัยนั้น แล้วจึงสร้างเป็นพระสถูปเจดีย์ขึ้นมา ต่อมาได้ถูกบูรณะมาเรื่อยๆจากกษัตริย์หลายพระองค์ของชาวพม่าและชาวมอญจนเป็นดั่งที่เห็นในปัจจุบันนี้แหละครับ แหลกเปลี่ยนความรู้ครับ...https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-01.png https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-06.png

0