Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ประวัติความเปลี่ยนแปลงของจังหวัด "ธนบุรี" [กระทู้ดีมีสาระไม่ค่อยมีคนเข้า แต่กระทู้ไร้สาระเข้ากันจัง]

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
วิวัฒนาการของกรุงเทพมหานคร



        กรุงเทพมหานครได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงของประเทศ เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ด้วยทรงมีพระราชดำริว่า กรุงธนบุรีเมืองหลวงเดิมตั้งอยู่ในที่แคบไม่ถูกต้องตามหลักพิชัยสงคราม

        ทั้งนี้ได้ทรงโปรดเกล้าให้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมเวียง ครั้งล่วงมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ทดลองนำเอาระบบคณะกรรมการมาใช้กับรูปแบบการปกครองเมืองหลวงอยู่ชั่วขณะหนึ่งแต่ประชาชนยังไม่มีความพร้อมและไม่ประสบผลสำเร็จ จึงได้โปรดเกล้าให้ยกเลิก และก็ได้เปลี่ยนฐานะกรมเวียงมาเป็นกระทรวงเมือง และต่อมาก็เปลี่ยนจากกระทรวงเมืองเป็นกระทรวงนครบาลตามลำดับ

        
รูปแบบการปกครองของกระทรวงนครบาล มีเสนาบดีเป็นผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบในการปกครองกรุงเทพมหานครและธนบุรี  รวมทั้งหัวเมืองใกล้เคียง ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี นครเขื่อนขันธ์ สมุทรปราการ ธัญญบุรี  และมีนบุรี  ซึ่งรวมเรียกทั้งหมดว่า มณฑลกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ การปกครองมณฑลกรุงเทพมหานครเป็นไปตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และข้อบังคับการปกครองหัวเมืองโดยอนุโลม

        ในปี พ.ศ. 2440 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการจัดตั้ง สุขาภิบาลกรุงเทพ ขึ้นเป็นครั้งแรก  ด้วยทรงดำริที่จะให้มีการ "ทดลอง" การปกครองในรูป "สุขาภิบาล" เพื่อเป็นพื้นฐานของการปกครองตนเองของประชาชนในอนาคต

        ต่อ มาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงนครบาลมารวมกับกระทรวงมหาดไทย  และมีการแต่งตั้งตำแหน่ง สมุหพระนครบาล ทำหน้าที่ปกครอง ดูแลรับผิดชอบมณฑลกรุงเทพโดยเฉพาะ ซึ่งขณะนั้นประกอบด้วยจังหวัดพระนครธนบุรี นนทบุรี  และสมุทรปราการ

        ครั้น ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2476 มีสาระสำคัญให้มีการจัดระบบการปกครองประเทศ แบ่งหน่วยการปกครองออกเป็น จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน  และนับตั้งแต่นั้นมามณฑลกรุงเทพมหานครเดิม ก็กลายสภาพมาเป็นจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี  มีฐานะเป็นหน่วยปกครองส่วนภูมิภาค 

        การ จัดรูปแบบการปกครองภายในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี  บัญญัติิระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2476 กล่าวคือ มีอำเภอเป็นหน่วยการปกครองย่อยของจังหวัด  ในส่วนของการจัดรูปการปกครองภายในอำเภอของจังหวัดพระนคร เป็นที่น่าสังเกตว่า ได้มีการจัดออกเป็นอำเภอชั้นในและอำเภอชั้นนอก  โดยอำเภอชั้นใน ไม่มีการจัดแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็นตำบลและหมู่บ้าน  เหมือนที่จัดแบ่งในอำเภอชั้นนอก ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ปกครองตำบลและหมู่บ้าน ทำการแต่งตั้งกำนันและผู้ใหญ่บ้านให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ  โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ให้้ไปปฏิบัติ

        การ ปกครองของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีในครั้งนั้น มีฐานะเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาค มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารงานของจังหวัด ร่วมกับผู้แทนส่วนราชการกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ที่ส่งมาประจำทำงาน ณ ที่ตั้งจังหวัดนั้น  และการปกครองอำเภอซึ่งเป็นหน่วยย่อยของจังหวัด  มีนายอำเภอเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารงานของอำเภอ  ร่วมกับผู้แทนส่วนราชการกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ที่ส่งมาประจำทำงาน ณ ที่ตั้งอำเภอนั้น  และในเขตพื้นที่ของจังหวัดทั้งสอง

        โดย เฉพาะบริเวณที่มีชุมชนหนาแน่นก็ได้มีการจัดตั้งหน่วยการปกครองท้องถิ่นในรูป เทศบาล  โดยในปี พ.ศ. 2480 การปกครองของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีก็ได้มีการจัดตั้งหน่วยการปกครอง ท้องถิ่นขึ้น  ทั้งนี้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและตาม พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2476 โดยผลแห่ง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ทำให้มีการจัดตั้งเทศบาลนครกรุงเทพขึ้นในวันที่ 1 เมษายน  พ.ศ. 2480 เช่นเดียวกับจังหวัดธนบุรีก็มีการจัดตั้งเทศบาลนครธนบุรีเช่นเดียวกัน  เป็นการปกครองระบบเทศบาลที่จัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยการปกครองในเขตชุมชนเมือง นั่นเอง  นอกจากนี้ ยังมีหน่วยการปกครองท้องถิ่นอื่นๆ ที่จัดตั้งขึ้นในโอกาสต่อมา คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดและสุขาภิบาล

        ต่อ มาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ในระหว่างที่คณะปฏิวัติทำหน้าที่บริหารประเทศ  ได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 24 และ 25 ให้ปรับปรุงระบบการปกครองจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี  โดยสาระสำคัญของประกาศคณะปฏิวัติดังกล่าว ให้รวมเอาจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกัน เป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี  โดยยังคงรูปการปกครองและการบริหารราชการส่วนภูมิภาคไว้  มีผู้ว่าราชการนครหลวงกรุงเทพธนบุรีเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงาน

        ผล ของประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 24 และ 25 ในส่วนเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด  เทศบาลและสุขาภิบาลนั้น  ยังคงอยู่เช่นเดิมในเขตนครหลวงกรุงเทพธนบุรี  แต่สำหรับองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครและองค์การบริหารส่วนจังหวัดธนบุรี ให้รวมกัน เรียกว่า องค์การบริหารนครหลวงกรุงเทพธนบุรี    ทั้งนี้  ให้ผู้ว่าราชการนครหลวงกรุงเทพธนบุรีดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงเทพ ธนบุรีด้วยในคราวเดียว  โดยมีเทศมนตรีอื่น  ไม่เกิน 8 คน และมีสภาเทศบาลนครหลวง ประกอบด้วย สมาชิก จำนวนไม่เกิน 36 คน (เทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลมาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย)

        ต่อมา เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 คณะปฏิวัติได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองนครหลวงกรุงเทพธนบุรีใหม่อีกครั้ง  สาระสำคัญ คือ

        1.  ให้รวมกิจการปกครองนครหลวงกรุงเทพธนบุรี   องค์การบริหารนครหลวง กรุงเทพธนบุรี   เทศบาลนครหลวงกรุงเทพธนบุรี  ตลอดจนสุขาภิบาลต่างๆ ในเขตนครหลวงกรุงเทพธนบุรี เป็นหน่วยการปกครองเดียวกัน คือ "กรุงเทพมหานคร"

        2. ให้จัดระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครเสียใหม่  โดยรวมลักษณะการปกครองและการบริหารราชการส่วนภูมิภาคและราชการบริหารส่วน ท้องถิ่นเข้าด้วยกัน  แต่ยังคงให้กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นจังหวัด

        3. ให้มีผู้ว่าราชการและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นข้าราชการการเมือง  แต่งตั้งและถอดถอนโดยคณะรัฐมนตรี  และให้มีสภากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้ง เขตละหนึ่งคน  และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง มีจำนวนเท่ากับจำนวนเขตในกรุงเทพมหานคร

        ต่อ มา เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ซึ่งมีผลให้ กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นนครหลวง  และให้แบ่งเขตพื้นที่ปกครองของกรุงเทพมหานครออกเป็นเขตและแขวงตามลำดับ  มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 1 คน และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อีก 4 คน ทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง  และให้มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในเขตปกครอง  เขตละ 1 คน  ถ้าเขตใดมีประชาชนเกิน 150,000 คน สามารถเลือกจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเพิ่ม ได้อีก 1 คน

        ครั้น ต่อมา ในวันที่ 20 สิงหาคม 2528 ได้มีประกาศใช้้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดการบริหารกรุงเทพมหานคร  ให้เลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพียงคนเดียว  ส่วนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อีก 4 คน ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นคนแต่งตั้ง  นอกจากนี้ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ยังได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องสภาเขต ประชาชนเลือกตั้งเข้ามาเป็นตัวแทนสอดส่องดูแลการดำเนินงานของเขต  เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างน้อย เขตละ 7 คน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://lib.kru.ac.th/bsru/48/rLocal02/print.php?story=06/02/23/4192604


เขตในฝั่งธนบุรี (จังหวัดธนบุรีเดิม)

  1. เขตธนบุรี
  2. เขตบางกอกใหญ่
  3. เขตคลองสาน
  4. เขตตลิ่งชัน
  5. เขตบางกอกน้อย
  6. เขตบางขุนเทียน
  7. เขตภาษีเจริญ
  8. เขตหนองแขม
  9. เขตราษฎร์บูรณะ
  10. เขตบางพลัด แยกจากเขตบางกอกน้อย ในปี พ.ศ. 2532
  11. เขตจอมทอง แยกจากเขตบางขุนเทียน ในปี พ.ศ. 2532
  12. เขตบางแค แยกจากเขตภาษีเจริญและเขตหนองแขม ในปี พ.ศ. 2540
  13. เขตทวีวัฒนา แยกจากเขตตลิ่งชัน ในปี พ.ศ. 2540
  14. เขตทุ่งครุ แยกจากเขตราษฎร์บูรณะ ในปี พ.ศ. 2540
  15. เขตบางบอน แยกจากเขตบางขุนเทียน ในปี พ.ศ. 2540

ภาพฝั่งธนบุรี




PS.  NTS TP Email : nont_nitisit@hotmail.com Hi5 : nont-nitisit.hi5.com

แสดงความคิดเห็น

>

5 ความคิดเห็น

pop 11 ก.ย. 54 เวลา 11:18 น. 3

เอาไปทำงานแต่ว่ามันไม่ค่อยมีพวกสถานที่สำคัญไอพวกนี้อะประวัติเยอะมาก

0
นายฝั่งธน 4 เม.ย. 55 เวลา 19:41 น. 4

ผู้ว่าฝั่งพระนครทำงานล่าช้ามาก ควรแยกกรุงเทพออกเป้็นสองฝั่ง มีผู้ว่าของตนเอง มีสภาของตนเอง เป็นการปกครองรูปแบพิเศษของตนเอง ออกกฏหมายใหม่โดยสภาชุดนี้

0