Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เเบ่งปันความรู้ทางประวัติศาสตร์

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา
http://my.dek-d.com/history9-/myboard/postU.php
E-mail history_study@hotmail.com

          หน้า 1                                               คำนำ                                                                                                                                              หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ใช้สำหรับการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษาเรื่องราวต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และเชิดชูวีรกรรมของบุคคลสำคัญต่างๆในประวัติศาสตร์และเพื่อเป็นการศึกษาเรียนรู้ในเรื่องนี้ของผู้ศึกษาทางด้านของประวัติศาสตร์ด้วยโดยได้ค้นคว้าข้อมูลต่างๆจากเว็บไซด์ต่างๆของอินเตอร์เน็ตที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัตนธรรมในภาควิชาประวัติศาสตร์ตั้งแต่เรื่องทั่วไปมาจนถึงการศึกษาแบบเจาะจง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง : ความรู้ทั่วไปทางประวัติศาสตร์

_________________________________________________



ความหมายของประวัติศศาสตร์

ประวัติศศาสตร์ หมายถึง การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์หรือสังคมของมนุษย์ในอดีต เรื่องราวในอดีตที่มีความสำคัญต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคนส่วนใหญ่ในสังคมจึงจะนับว่าเป็นประวัติศศาสตร์และต้องมีผลที่ต่อเนื่องของ อดีต ปัจจุบัน อนาคต

โดยความหมายทางประวัติศาสตร์ยังมีอีกหลายแนวคิดของนักประวัติศศาสตร์ อาทิ

-ความหมายของประวัติศาสตร์ตามความเข้าใจของคนทั่วไปคือ “การศึกษาเรื่องราวในอดีต” ซึ่งเป็นความหมายที่กว้างขวางและคลุมเครือเป็นอย่างยิ่ง นักประวัติศาสตร์หลายท่านจึงพยายามจะกำหนดความหมายที่กระจ่างชัดยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างเช่น
-โรบิน ยอร์ช คอลลิงวูด (Robin George Collingwood) กล่าวว่า “ประวัติศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความพยายามที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีต”
-ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ให้ความหมายว่าประวัติศาสตร์คือ “การศึกษาความเป็นมาของมนุษยชาติหรือสังคมใดสังคมหนึ่งตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน ถึงอนาคต โดยอาศัยวิธีการที่เป็นที่รู้จักกันว่าวิธีของประวัติศาสตร์ (historical method)
-โรเบอร์ต วี.แดเนียลส์ (Robert V.Daniels) อธิบายว่า “ประวัติศาสตร์คือความทรงจำว่าด้วยประสบการณ์ของมนุษย์ ซึ่งถ้าหากถูกลืมหรือละเลย ก็เท่ากับว่าเราได้ยุติแนวทางอันบ่งชี้ว่าเราคือมนุษย์”

-อาร์. จี. คอลลิงวูด (R. G. Collingwood) อธิบายว่าประวัติศาสตร์คือวิธีการวิจัยหรือการไต่สวน ... โดยมีจุดมุ่งหมายจะศึกษาเกี่ยวกับ ... พฤติการณ์ของมนุษยชาติที่เกิดขึ้นในอดีต (history is a kind of research or inquiry ... action of human beings that have been done in the past.)

-อี. เอช. คาร์ (E. H. Carr) อธิบายว่าประวัติศาสตร์นั้นก็คือกระบวนการอันต่อเนื่องของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักประวัติศาสตร์กับข้อมูลของเขา ประวัติศาสตร์คือบทสนทนาอันไม่มีที่สิ้นสุดระหว่างปัจจุบันกับอดีต (What is history?, is that it is a continuous process of interaction between the present and the past.)

ส่วน ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสหรัฐอเมริกาอธิบายถึงคำว่าประวัติศาสตร์และเตือนผู้ศึกษา/อ่านประวัติศาสตร์ไว้น่าสนใจ ดังนี้ "การเข้าใจอดีตนั้นคือประวัติศาสตร์ ... เราต้องเข้าใจว่าความรู้เกี่ยวกับอดีตนั้นสร้างใหม่ได้เรื่อยๆ เพราะทัศนะมุมมองของสมัยที่เขียนประวัติศาสตร์นั้นเปลี่ยนอยู่เสมอ ..."

ยังมีบางส่วนที่ยังนับเหตุการณ์หรือยังไม่สามารถแยกสิ่งที่มีความเป็นประวัติศาสตร์ได้โดยการแยกแยะนั้น ประวัติศศาสตร์จะเป็นเรื่องราวของมนุษย์หรือสิ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงจากอดีต ปัจจุบัน อนาคต นั่นเอง แต่บางอย่างที่เข้าข่ายว่าเป็นประวัติศศาสตร์แต่ไม่ใช่ ประวัติศศาสตร์ก็มี เช่น เรื่องการค้นพบซากหรือโครงกระดูกของลิงอุรังอุตังที่นักวิทยาศาสตร์คาดว่ามีส่วนในการพัฒนาการของรูปร่างมนุษย์ในอดีต

ซึ่งเรื่องดังกล่าวนั้นจะมีความเกี่ยวข้องของมนุษย์และอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์นั้นก็จริงแต่สาเหตุที่เรื่องดังกล่าวไม่เป็นประวัติศศาสตร์

เพราะเรื่องดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องทางหลักวิทยาศาสตร์จึงนับว่าไม่เป็นประวัติศาสตร์

การจำแนกประเภทของการศึกษาประวัติศาสตร์

              หากศึกษาพัฒนาการของการศึกษาประวัติศาสตร์ในดินแดนต่าง ๆ พบว่าการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตของมนุษย์และสังคมของตนเริ่มจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและค่อย ๆ ขยายไปสู่สังคมที่ไกลตัวออกไป โดยทั่วไปสามารถแบ่งขอบเขตการศึกษาประวัติศาสตร์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การศึกษาเฉพาะพื้นที่และการศึกษาเฉพาะหัวข้อการศึกษาประวัติศาสตร์เฉพาะพื้นที่





คือการใช้พื้นที่ทางภูมิศาสตร์กำหนดขอบเขตของการศึกษา โดยเน้นศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในกรอบพื้นที่ จำแนกออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

ประวัติศาสตร์โลก (World History)      คือการศึกษาเรื่องราวและพัฒนาการของสังคมโลกในลักษณะที่เป็นองค์รวม ไม่เน้นเขตพื้นที่ใดโดยเฉพาะ เช่น การศึกษาอารยธรรมโลก การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติอุตสาหกรรม การขยายตัวของลัทธิล่าอาณานิคม สงครามโลก และสงครามเย็น เป็นต้น

ประวัติศาสตร์ชาติ (National History)  คือการศึกษาเรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ของแต่ละประเทศ

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (Local History) คือการศึกษาประวัติศาสตร์ในเขตพื้นที่เฉพาะ เช่น ประวัติศาสตร์ชุมชน ประวัติศาสตร์เมือง/จังหวัด โดยเนื้อเรื่องที่ศึกษาอาจจะเน้นในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม กำเนิด/พัฒนาการของสถาบันใดสถาบันหนึ่งในท้องถิ่น อาชีพ กลุ่มชนต่าง ๆ เชื้อชาติ ศาสนา และประเพณีในท้องถิ่น ฯลฯ

การศึกษาประวัติศาสตร์เฉพาะหัวข้อ

คือการศึกษาประวัติศาสตร์เฉพาะด้านในดินแดนต่าง ๆ เดิมแบ่งการศึกษาออกเป็นหัวข้อใหญ่ ดังนี้

ประวัติศาสตร์การเมือง

ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ

ประวัติศาสตร์สังคม

ต่อมา เมื่อการศึกษาประวัติศาสตร์มีพัฒนาการมากขึ้น ทำให้มีการศึกษาในหัวข้อเฉพาะและลึกซึ้งมากกว่าเดิม เช่นประวัติศาสตร์วัฒนธรรม

ประวัติศาสตร์พรรคการเมือง

ประวัติศาสตร์การทหาร

ประวัติศาสตร์การทูต

ประวัติศาสตร์พัฒนาการของกลุ่มชาติพันธุ์

ประวัติศาสตร์สตรี

ประวัติศาสตร์สงคราม

ประวัติศาสตร์ลัทธิทุนนิยม

ประวัติศาสตร์ศิลปะ

ประวัติศาสตร์การละคร

ประวัติศาสตร์นิพนธ์ ฯลฯ

บิดาแห่งประวัติศศาสตร์โลก คือ  เฮโรโดทัสหรือเฮโรโดตุส






    



            

        

     เฮโรโดทัส  เกิดราว 484 B.C.  จากครอบครัวแห่ง Halicarnassus  ในเอเชียไมเนอร์    ทรราชย์ Lygdamisขับเฮโร        โดทัสออกจากเมืองไปหลังจากนั้นเฮโรโดทัสได้ หวนกลับมาร่วมกันช่วยล้มล้างระบบทรราชย์ และช่วยกันก่อตั้งรัฐบาลขึ้น เชื่อว่าเฮโรโดทัสมีส่วนประพันธ์ โคลง Panyasia ระหว่างที่ใช้ชีวิตอยู่เกาะซามอสทั้งที่เฮโรโดทัสมีโอกาสรับใช้บ้านเกิดเมืองนอนแต่ก็ไม่มีผู้ยอมรับเท่าที่ควรจนทำให้เฮโรโดทัสต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนไปอีกครั้งเป็นการถาวร ระยะหลัง เฮโรโดทัสเข้าไปอยู่ในอาณานิคมที่Thurii ในอิตาลีตอนใต้เป็นอาณานิคมของเอเธนส์ เฮโรโดทัสเสียชีวิตที่นี่พิธีฝังศพจัดทำบริเวณตลาดของอาณานิคมนี้

ผลงาน



เฮโรโดทัส  นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ผู้เขียนประวัติศาสตร์สงครามเปอร์เซียน ในโลกโบราณยัง ไม่มีการศึกษาค้นคว้าประวัติส่วนตัวของเฮโรโดทัสอย่างละเอียดมากนัก  เนื่องจากไม่มีการบันทึกไว้เป็น ลายลักษณ์อักษร หลักฐานอ้างอิงประวัติชีวิตเฮโรโดทัสอยู่กระจัดกระจายส่วนใหญ่จะเป็นผลงานที่อ้างถึง เฮโรโดทัส หลังจากที่เฮโรโดทัสได้เสียชีวิตแล้ว เช่น ผลงานชื่อ The Suda   ผลงานที่สำคัญคือ The History  จะทำให้ทราบประวัติเฮโรโดทัสมากที่สุด

บิดาแห่งประวัติศศาสตร์ไทย คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ





        

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นพระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๐๕ ทรงพระนามว่า "ดิศวรกุมาร" ทรงเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบกราชวัลลภ รับราชการเป็นร้อยตรีทหารราบ ทหารม้า และราชองครักษ์ เจริญพระยศถึงพลตรี ต่อจากนั้นทรงรับภาระจัดราชการฝ่ายศึกษาธิการและธรรมการอยู่ประมาณ ๓ ปี พอถึง พ.ศ. ๒๔๓๕ ได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ทรงพิจารณาเลือกใช้รูปการปกครองแบบเทศาภิบาลและสุขภิบาล อันเป็นต้นของระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน ทั้งยังได้ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ขึ้น เพื่อกำหนดหน้าที่ ให้ข้าราชการมหาดไทยมีหน้าที่ปกครอง ป้องกัน บำบัดทุกข์ บำรุงสุขประชาชน และกำหนดท้องที่ปกครองแบ่งเขตเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ในขณะเดียวกัน ก็เริ่มจัดระบบงานสุขาภิบาล สาธารณสุขและอนามัย ตลอดจนจัดวางระบบของหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา กรมป่าไม้ กรมสรรพากร เป็นอาทิ ซึ่งล้วนมีผลยืนยงเป็นแบบอย่างสืบมาจนปัจจุบันนี้                                                                                                                                                          นอกจากนั้น ยังทรงใฝ่พระทัยในวิชาประวัติศาสตร์ โบราณคดีวิทยาการนานาชนิด ทรงรวบรวมสรรพตำราและสรรพวัตถุประดิษฐานขึ้นเป็นหอสมุดและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ทั้งได้นิพนธ์วิทยาการเหล่านี้ไว้เป็นหลักฐาน เป็นที่รับรองยกย่องโดยทั่วไป จนได้รับการ ถวายฐานันดรจากองค์การสหประชาชาติให้เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของโลก  ทางด้านศิลปวัฒนธรรม ทรงริเริ่มและวางรากฐานการดำเนินงานของกิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และพระองค์ท่านก็ทรงอุทิศเวลา ทรงพระนิพนธ์หนังสือตำราต่างๆ ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี อันเป็นมรดกทางปัญญาของชาวโลก จนได้รับพระสมัญญาเป็น "พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย" และทรงได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นบุคคลสำคัญของโลก คนแรก ของประเทศไทย ในปี ๒๕๐๕   สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สิ้นพระชนม์ ณ วังวรดิศ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๔๘๖ รวมพระชนมายุได้ ๘๑ พรรษา                                                                                                                                        วิธีการทางประวัติศาสตร์                                                                                                                                                                                               วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึงในการสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์





ความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์
สำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์นั้น มีปัญหาที่สำคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ อดีตที่มีการฟื้นหรือจำลองขึ้นมาใหม่นั้น มีความถูกต้องสมบูรณ์และเชื่อถือได้เพียงใดรวมทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่นำมาใช้เป็นข้อมูลนั้น มีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มีอยู่มากมายเกินกว่าที่จะศึกษาหรือจดจำได้หมด แต่หลักฐานที่ใช้เป็นข้อมูลอาจมีเพียงบางส่วน
ดังนั้น วิธีการทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือผู้ฝึกฝนทางประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ

ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย

เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ)การรวบรวมข้อมูลนั้น หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญ และความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นรอง                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                     ในการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆดังกล่าวข้างต้น ควรเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้วจึงศึกษาหลักฐานชั้นต้น ถ้าเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรเริ่มต้นจากผลการศึกษาของนักวิชาการที่วชาญในแต่ละด้าน ก่อนไปศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริง
การศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้ข้อมูลหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาต้องการศึกษาเรื่องอะไร ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ ทั้งข้อมูลและแหล่งข้อมูลให้สมบูรณ์และถูกต้อง เพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ                                                                                

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก
การวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายใน
การวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความเป็นจริง

ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน
การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐ์กรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่ง
อาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม
ในการตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมายจากสำนวนโวหาร ทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ ของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย เพื่อทีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะหมายความตามตัวอักษรแล้ว ยังมีความหมายที่แท้จริงอะไรแฝงอยู่                  

ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล

จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้นในขั้นตอนนี้ ผู้ศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตีความมาวิเคราะห์ หรือแยกแยะเพื่อจัดแยกประเภทของเรื่อง โดยเรื่องเดียวกันควรจัดไว้ด้วยกัน รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน เรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงนำเรื่องทั้งหมดมาสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน คือ เป็นการจำลองภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง โดยอธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผล ทั้งนี้ผู้ศึกษาอาจนำเสนอเป็นเหตุการณ์พื้นฐาน หรือเป็นเหตุการณ์เชิงวิเคราะห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา    

หลักฐานทางประวัติศศาสตร์                              

หลักฐานทางประวัติศศาสตร์ หมายถึงสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องในอดีตและมีร่องรอยการกระทำของมนุษย์ในอดีตที่ยังมีร่องรอยมาจนถึงปัจจุบัน

การจำแนกหลักฐานทางประวัติศศาสตร์ จำแนกได้หลายแบบ เช่น

1. การจำแนกตามลักษณะของหลักฐาน แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1) หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ หลักฐานที่เป็นตังหนังสือ เช่น จารึก พระราชพงศาวดาร  หนังสือหรือเอกสาร

2) หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ หลักฐานที่ไม่ใช่ตัวหนังสือ เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ ดนตรี นาฏศิลป์ การแสดงพื้นบ้าน

2. จำแนกตามความสำคัญของหลักฐาน แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1) หลักฐานชั้นต้น คือ หลักฐานที่ผู้บันทึกหรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือรู้เห็นเหตุการณ์หรือมีชีวิตอยู่ในสมัยนั้นหรืออุปกรณ์ที่ผลิตข้นในสมัยนั้น

2) หลักฐานชั้นรอง คือ หลักฐานที่ผู้บันทึกมิได้รู้เห็นหรือมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรงหรืออาจรู้จากคนอื่น

หลักฐานทางประวัติศศาสตร์ไทย จะแบ่งตามการจำแนกตามลักษณะของหลักฐาน

หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

1. หลักฐานทางโบราณคดี คือ โบราณสถานหรือโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับอดีต  

1) หลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์

หลักฐานที่เป็นโบราณวัตถุซึ่งเกี่ยวกับร่องรอยของสิ่งมีชีวิต เช่น โครงกระดูก เมล็ดพืช เครื่องมือจากหิน สำริด ภาชนะดินเผาต่างๆ ส่วนโบราณสถาน เช่น ถ้ำ เพิงผา

2) หลักฐานทางโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์

หลักฐานที่เป็นโบราณวัตถุ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากโลหะ เครื่องปันดินเผา เครื่องดนตรี ฯลฯ ส่วนที่เป็นโบราณสถาน เช่น คูน้ำ  กำแพงเมือง พระราชวัง ฯลฯ

2.หลักฐานทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม

ส่วนใหญ่นั้นหลักฐานด้านนี้จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์มากที่สุดเพราะเป็นสิ่งที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นตามความเชื่อ ความศรัทธา เช่น ศิลปะศรีวิชัย  ศิลปะลพบุรี  สิลปะสุโขทัย ฯลฯ

3. หลักฐานทางด้าน นาฏศิลป์ ดนตรี และเพลงพื้นบ้าน

เป็นศิลปะที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา โดยผู้ศึกษาหรือนักประวัติศาสตร์จะอาศัยงานด้านนี้เป็นข้อมูล

4.หลักฐานประเภทคำบอกเหล่า

เป็นหลักฐานที่ถ่ายทอดโดยการใช้คำพูดสืบทอดต่อกันต่อกันมา  เช่น ปริศนาคำทาย  นิทานพื้นบ้าน ฯลฯ รวมทั้งการสัมภาษณ์ของบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น

5. หลักฐานประเภทโสตทัศน์

เป็นหลักฐานที่มีในสมัยประวัติศาสตร์ เช่น ภาพถ่าย แผนที่ แผนผัง โปสเตอร์ ภาพนิ่ง ฯลฯ

หลักฐานประเภทนี้ที่เป็นของราชการ จะเรียกว่า เอกสารจดหมายเหตุประเภทโสตทัศน์ จดหมายเหตุ จะเก็บรักษาและให้บริการที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติตั้งอยู่ในบริเวณของหอสมุดแห่งชาติ

หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทยที่เป็นลายลักษณ์อักษรก็จะเป็น จารึก พระราชพงศาวดาร จดหมายเหตุ ตำนาน เอกสารการปกครอง  สมุดข่อย วารสารหรือนิตยสาร   ฯลฯ

1. จารึก เป็นการเขียนหรือการแกะสลักอักษรไว้บนวัสดุต่างๆที่มีความทนทาน เช่น ศิลา  แผ่นทองแดง โลหะ  ฯลฯ

จารึกซึ่งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรของประเทศไทยที่มีความเก่าแก่ที่สุด

2. พระราชพงศาวดาร เป็นการบันทึกเรื่องราวที่มีความเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์หรือเหตุการณ์ของบ้านเมืองเป็นลำดับรัชกาลหรือตามลำดับของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นโดยพระราชพงศาสดารที่ยอมรับกันว่ามีเนื้อหาปีศักราชที่ถูกต้องนั้น เป็น พระราชพงศาวดารฉบับกรุงเก่าของหลวงประเสริฐ          

3. จดหมายเหตุ เป็นการบันทึกเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในสมัยก่อน โดยผู้บันทึกจะบันทึกเหตุการณ์ในวันนั้นหรือวันถัดไปโดยจดหมายเหตุเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นหลักฐานชั้นต้นแบ่งเป็น 3 ประเภท

1) จดหมายเหตุของหลวง  จะบันทึกเรื่องราวของพระมหากษัตริย์ ขนบธรรมเนียมประเพณี

2) จดหมายเหตุโหร การบันทึกของโหรในราชสำนักโดยจะบันทึกวันที่มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นแต่ไม่บันทึกรายละเอียด

3) จดหมายเหตุของชาวต่างชาติ การบันทึกของชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขายหรือทำงานอยู่ในประเทศในขณะนั้นได้บันทึกเอาไว้ เช่น จีน ญี่ปุ่น ฮอลันดา โปรตุเกส อังกฤษ ฯลฯ

4. ตำนาน เป็นเรื่องราวที่เล่าสู่กันฟังมาเป็นเวลาช้านาน ภายหลังจึงมีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในสมุดข่อย ใบลาน ซึ่งเรื่องราวส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับ ประวัติของบ้านเมือง โดยจารึกที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประวัติของศาสนาในอดีตเช่น ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ชินกาลมาลีปกรณ์  ตำนานจามเทวีวงศ์  ตำนานพระแก้วมรกต ฯลฯ

5. เอกสารการปกครอง  เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปกครองของราชการแผ่นดินทางด้านการปกครอง  เช่น

-ใบบอก คือรายงานจากหัวเมืองเข้ามายังส่วนกลาง

-สารตรา หรือ ท้องตรา  คือ หนังสือจากส่วนกลางส่งไปยังหัวเมือง

-ศุภอักษร คือ หนังสือของเจ้าประเทศราช

-หนังสือของทางราชการ

-รายงานการประชุม

6. สมุดข่อย จะใช้บันทึกเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เกิดขึ้น

7. วารสาร หรือ นิตยสาร เป็นเอกสารสมัยใหม่ที่ตีพิมพ์เผยแพร่

นอกจากหลักฐานที่กล่าวมาก็จะมีหลักฐานที่มีลายลักษณ์อักษรอื่นๆอีก

การนับทศวรรษ ศตวรรษ สหัสวรรษ

ทศวรรษ คือ ช่วงเวลาในรอบ 10 ปี เริ่มนับที่ 0 จบด้วย 9 ซึ่งร่วมระยะเวลา 10 ปี จะนิยมบอกศักราชเป็น คริสต์ศักราช

ตัวอย่าง ทศวรรษที่ 60 นับตั้งแต่ ช่วงระหว่าง คริสต์ศักราช 1960 – 1969  

ศตวรรษ คือ ช่วงเวลาในรอบ 100 ปี เริ่มนับที่ 1 จบด้วย 100 ซึ่งร่วมระยะเวลา 100 ปี จะบอกศักราชได้ทั้ง พุทธศักราช และ คริสต์ศักราช

ตัวอย่าง พุทธศตวรรษที่ 21 นับตั้งแต่ ช่วงเวลา  พุทธศักราช  2001 - 2100

            คริสต์ศตวรรษที่ 21 นับตั้งแต่ ช่วงเวลา  คริสต์ศักราช 2001 – 2100

สหัสวรรษ คือ ช่วงเวลาในรอบ 1000 ปี เริ่มนับที่ 1 จบด้วย 1000 ซึ่งร่วมระยะเวลา 1000 ปี สหัสวรรษเพิ่งเริ่มใช้เมื่อตอนเปลี่ยนสหัสวรรษที่ 2 เป็นสหัสวรรษที่ 3 เพิ่งเริ่มใช้เมื่อพุทธศักราช 2543และ คริสต์ศักราช 2000 จะบอกศักราชได้ทั้ง พุทธศักราช และ คริสต์ศักราช

ตัวอย่างที่ สหัสวรรษที่ 2 นับตั้งแต่ ช่วงเวลา  พุทธศักราช  1001 - 2000

                สหัสวรรษที่ 2  นับตั้งแต่ ช่วงเวลา  คริสต์ศักราช 1001 - 2000

การนับเวลาและวันเดือนปีในระบบสุริยคติและระบบจันทรคติ

การนับวันเดือนปีระบบสุริยคติ

               สุริยคติ  เป็นการนับวันเดือนปีแบบสากล โดยถือเอาตำแหน่งดวงอาทิตย์เป็นหลัก ดังนี้

วัน  วันในรอบเดือนเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 30 หรือ 31  เดือนกุมภาพันธ์จะมีเพียงวันที่ 28 หรือ 29  และวันในรอบสัปดาห์เริ่มจากวันอาทิตย์ถึงวันเสาร์ รวม 7 วัน

เดือน เดือนทางสุริยคติ 1 ปี มี 12 เดือน ได้แก่ เดือนมกราคม  กุมภาพันธ์  มีนาคม เมษายน  พฤษภาคม  มิถุนายน  กรกฎาคม  สิงหาคม  กันยายน  ตุลาคม  พฤศจิกายน และธันวาคม เดือนที่ลงท้ายด้วย “คม” 7 เดือน เดือนละ 31 วัน เดือนที่ลงท้ายด้วย “ยน” 4  เดือน เดือนละ 30 วัน เดือนกุมภาพันธ์ตามปกติมี 28 วัน ครบ 4 ปีจึงมี 29 วัน

ปี  เวลา 1 ปี ในระบบสุริยคติเท่ากับเวลาที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ กินเวลาประมาณ  365 1/4 วัน  แต่เพื่อมิให้มีเศษวัน จึงกำหนดให้ปีปกติหรือปีสุรทินมี 365 วัน  โดยเดือนกุมภาพันธ์มี  28 วัน ส่วนเศษที่เหลือ 1/4 วันนั้น เมื่อครบ 4 ปี ก็จะพอดี 1 วัน ให้นำไปใส่ไว้ในเดือนกุมภาพันธ์ มี 29 วันในทุก ๆ  4 ปี และปีนั้นจะมี 366 วัน เรียกว่า ปีอธิกสุรทิน  ปีหนึ่งมี 12 เดือน หรือประมาณ 52 สัปดาห์

การนับวันเดือนปีระบบจันทรคติ  จันทรคติ คือ การนับวันเดือนปีโดยถือเอาดวงจันทร์เป็นหลัก ดังนี้

               วัน การนับวันทางจันทรคติในรอบเดือน เริ่มนับตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ ต่อด้วยวันแรม 1 ค่ำ ไปถึงวันแรม 14 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ การนับขึ้นหรือแรม มีความสัมพันธ์ ดังนี้

                   ขึ้น 1 ค่ำ ถึงขึ้น 8 ค่ำ จากเดือนมืดไปจนเห็นดวงจันทร์ครึ่งดวง

                   ขึ้น 9 ค่ำ ถึง ขึ้น 15 ค่ำ จากเห็นดวงจันทร์ครึ่งดวงไปจนเห็นดวงจันทร์เต็มดวง

                   แรม 1 ค่ำ ถึง แรม 8 ค่ำ จากเห็นดวงจันทร์เต็มดวงแล้วค่อย ๆ ลดลงจนเหลือครึ่งดวง

                   แรม 9 ค่ำ ถึง แรม 14-15 ค่ำ จากเห็นดวงจันทร์ครึ่งดวงแล้วค่อย ๆ ลดลงจนถึงเดือนมืด

               เดือน เวลา 1 เดือนทางจันทรคติ ใน 1 ปีมี 12 เดือน เรียกว่าเดือนอ้าย เดือนยี่ เดือนสาม เดือนสี่....เดือนสิบสอง ทุกเดือนมีข้างขึ้น 15 วัน และข้างแรมเดือนคู่ เดือนยี่  เดือน 4  6  8  10  12 มีข้างแรม 15 วัน สำหรับ เดือนคี่ เดือนอ้าย เดือน 3  5  7  9 11 มีข้างแรม 14 วัน

              ปี  จำนวนวัน  เดือนมี  12  เดือน  รวม  354 วัน น้อยกว่าจำนวนวันในปีสุริยคติ 11-12 วัน จึงต้องแก้ไขเพื่อให้ปีจันทรคติใกล้เคียงกับปีสุริยคติมากที่สุด โดยวิธีการดังนี้

ปรับบางปีให้มี 13  เดือน โดยเพิ่มเดือน 8 หลังอีก 1 เดือน ไว้ต่อจากเดือน 8 แรก เรียกปีที่มีเดือน 8  สองหนว่า ปีอธิกมาส และบางปีเพิ่มวันเข้าในเดือน 7  อีก 1 วัน  วันแรม 15 ค่ำ เดือนที่มีวันเพิ่มขึ้นนี้เรียกว่า เดือนอธิกวาร

ปีนักษัตร

ปี
ชวด
ฉลู
ขาล
เถาะ
มะโรง
มะเส็ง
มะเมีย
มะแม
วอก
ระกา
จอ
กุน

สัตว์
หนู
วัว
เสือ
กระต่าย
งูใหญ่
งูเล็ก
ม้า
แพะ
ลิง
ไก่
สุนัข
สุกร



ศักราชและการเทียบศักราชสากล

               ศักราช คือ อายุของเวลาที่ตั้งขึ้น  เริ่มตั้งแต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญ  ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ พุทธศักราช  คริสต์ศักราช  มหาศักราช จุลศักราช และรัตนโกสินทร์ศก

         1. พุทธศักราช ( พ.ศ. ) เป็นศักราชที่ใช้ในหมู่พุทธศาสนิกชน เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เกิดพุทธศักราช คือ การเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6  ขณะมีพระชนมายุ  80  พรรษา  พุทธศักราชนับปีหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วเป็น  พ.ศ. 1  การบอกปีก่อน พ.ศ. ใช้คำว่า ก่อนพุทธศักราช พระพุทธเจ้าตรัสรู้เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช

                   ประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประกาศใช้ศักราชเป็นทางราชการ   สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี  เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็น วันที่ 1  มกราคม พ.ศ. ตามแบบสากล

        2. คริสต์ศักราช  ( ค.ศ. )  เป็นศักราชของผู้นับถือศาสนาคริสต์ แต่ปัจจุบันนิยมใช้กันทั่วโลก ตั้งขึ้นในสมัยโรมัน เริ่มนับ ค.ศ.1 ตั้งแต่ปีที่ประสูติของพระเยซู  ศักราชนี้ขึ้นปีใหม่วันที่ 1 มกราคม และสิ้นปีวันที่ 31  ธันวาคม ทุกปี

                   เปรียบเทียบ   ค.ศ.1  ตรงกับ  พ.ศ.544  คริสต์ศักราชจึงน้อยกว่า พุทธศักราช 544 – 1 = 543 ปี ใช้จำนวน  543 เป็นเกณฑ์บวกลบเทียบศักราช 2 ระบบนี้

        3. มหาศักราช ( ม.ศ. ) ผู้ตั้งคือ พระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะของอินเดีย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 622  เนื่องในวาระที่ทรงขึ้นเสวยราชย์  มหาศักราชน้อยกว่าพุทธศักราช 622 – 1 = 621 ปี ใช้จำนวน 621 เป็นเกณฑ์เทียบศักราช

       4. จุลศักราช ( จ.ศ. ) ตั้งขึ้นในพม่าเมื่อ พ.ศ.1182 โดยพระเจ้าโพพาสอระหันในโอกาสที่ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์พุกาม

       5. รัตนโกสินทรศก ( ร.ศ. ) เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำริจัดตั้งขึ้น โดยให้นับปีที่สถาปนา                      กรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ.2325 เป็น ร.ศ.1  ใน พ.ศ.2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้เลิกใช้ ร.ศ. และให้ใช้พุทธศักราชเป็นศักราชของทางราชการ

       6. ฮิจเราะห์ศักราช ( ฮ.ศ. ) เป็นศักราชของมุสลิม คำว่า ฮิจเราะห์ เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า การอพยพ ที่ศักราชได้ชื่อเช่นนี้เพราะถือเอาเหตุการณ์ที่นบีมุฮัมมัด ศาสดาของศาสนาอิสลามอพยพพวกมุสลิมออกจากนครเมกกะไปยังเมืองมาดีนะฮ์เป็นจุดตั้งต้นศักราช   เดือนในฮิจเราะห์ศักราชเป็นเดือนทางจันทรคติ เดือนหนึ่งมี 29 – 30 วัน ปีของฮิจเราะห์ศักราชจึงมีวันเพียงประมาณ 354 วัน

ทฤษฎีสูตร

1. สูตรการหาอายุการครองราชย์

จะใช้สูตรว่า  อายุขึ้นครองราชย์ + อายุการครองราชย์สมบัติ

2. สูตรการหาอายุที่ครองราชย์

จะใช้สูตรว่า   พุทธศักราชขึ้นครองราชย์ – พุทธศักราชครองราชย์

3.สูตรการหาอายุของพระมหากษัตริย์

จะใช้สูตรว่า    อายุประสูติ + อายุปัจจุบัน

4. สูตรการหาอายุการสิ้นการครองราชย์สมบัติ

จะใช้สูตรว่า   อายุขึ้นครองราชย์สมบัติ + อายุการครองราชสมบัติ

5. สูตรการหาอายุของราชธานี

จะใช้สูตรว่า    ผลรวมของอายุการปกครองของพระมหากษัตริย์

6. สูตรการหาอายุของประเทศ

จะใช้สูตรว่า    ผลรวมของอายุการเป็นราชธานี

ปฐมกษัตริย์  พระมหากษัตริย์และยุวกษัตริย์

ปฐมกษัตริย์ คือ พระมหากษัตริย์ที่สถาปนาอาณาจักรใหม่ขึ้นมาและเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของอาณาจักร

พระมหากษัตริย์  คือ พระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์สมบัติตั้งแต่อายุ 20 พรรษาขึ้นไป

ยุวกษัตริย์ คือ  พระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์สมบัติที่มีอายุต่ำกว่า 20 พรรษา





ระบบการปกครองของไทย

ระบบศักดินา

ศักดินา คือ ตัววัดในการปรับไหม และ พินัย ในกรณีขึ้นศาล คนที่ถือศักดินาสูง เมื่อทำผิดจะถูกลงโทษหนักกว่าผู้มีศักดินาต่ำ การปรับในศาลหลวง ค่าปรับนั้นก็เอาศักดินาเป็นบรรทัดฐานการกำหนดระบบศักดินาขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์ในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน หน่วยที่ใช้ในการกำหนดศักดินา ใช้จำนวนไร่เป็นเกณฑ์ แต่มิได้หมายความว่าศักดินาจะเป็นข้อกำหนดตายตัวเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน

ศักดินา ไม่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นวิธีการลำดับ"ศักดิ์"ของบุคคลตั้งแต่ พระมหาอุปราช ขุนนาง ข้าราชการ ลงไปจนถึงไพร่และทาส โดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์ของคนนั้น พระมหาอุปราชมีศักดินา 100,000 ไร่ และสูงสุดของขุนนางคือ ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่ คนธรรมดาสามัญมีศักดินา 25 ไร่ ทาสมีศักดินา 5 ไร่ เป็นต้น           ถ้าเทียบกันก็คล้ายกับ ซี ในระบบราชการปัจจุบัน ที่ทำให้รู้ว่าข้าราชการคนนั้นอยู่ในลำดับสูงต่ำกว่ากันแค่ไหน แต่ศักดินากว้างกว่าคือครอบคลุมทุกคนในราชอาณาจักรเว้นแต่พระมหากษัตริย์

ไม่ได้หมายความว่าคนในระบบศักดินามีที่ดินได้ตามจำนวนศักดินา ในความเป็นจริง ทาสไม่มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินที่ดินใด ๆ ทั้งนั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา อาจกล่าวได้ว่าเป็นสังคมศักดินา เพราะในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - พ.ศ. 2031) พระองค์ได้ทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นมาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 1997 โดยกำหนดให้บุคคลทุกประเภทในสังคมไทยมีศักดินาด้วยกันทั้งสิ้น นับตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ ลงไปถึงบรรดาไพร่ ทาส และพระสงฆ์ ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมิได้ระบุศักดินาเอาไว้ เพราะทรงเป็นเจ้าของศักดินาทั้งปวง

ระบบพ่อปกครองลูก

พ่อปกครองลูก คือ ระบบการปกครองที่ใช้ในช่วงอาณาจักรสุโขทัยเป็นราชธานีใช้ในรัชกาลที่ 1 – 3 คือใช้ตั้งแต่สมัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ – พ่อขุนรามคำแหง แต่เห็นการปกครองนี้เด่นชัดที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหงโดยระบบการปกครองแบบพ่อปกครองลูกจะใช้วิธีการแบบพ่อซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ดูแลลูกซึ่งเปรียบเหมือนประชาชนหรือราษฎร

ระบบธรรมราชา  

ระบบธรรมราชา  คือ ระบบการปกครองที่เป็นธรรมราชาโดยใช้หลักทศพิธราชธรรมในการปกครองระบบนี้ใช้ในสมัยสุโขทัยตอนกลางจนสิ้นสุดการเป็นราชธานี

ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย กล่าวคือ ที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คำสั่ง ความต้องการต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมาย[1] กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ โดยไม่มีกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใด ๆ จะห้ามปรามได้ แม้องค์กรทางศาสนาอาจทัดทานกษัตริย์จากการกระทำบางอย่างและองค์รัฏฐาธิปัตย์ (กษัตริย์) นั้นจะถูกคาดหวังว่าจะปฏิบัติตามธรรมเนียม แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด ๆ ที่จะอยู่เหนือกว่าคำชี้ขาดของรัฏฐาธิปัตย์ ตามทฤษฎีพลเมืองนั้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มอบความไว้วางใจทั้งหมดให้กับพระเจ้าแผ่นดินที่ดีพร้อมทางสายเลือดและได้รับการเลี้ยงดูฝึกฝนมาอย่างดีตั้งแต่เกิด

         โดยในประเทศไทยเคยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองแผ่นดิน ดังคำกล่าวที่ว่า"พระบรมราชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดิน กรุงสยามนี้ไม่ได้ปรากฏในกฎหมายอันหนึ่งอันใด ด้วยเหตุที่ถือว่าเป็นที่ล้นพ้น ไม่มีข้อสั่งอันใดจะเป็นผู้บังคับขัดขวางได้"[1]

          เมื่อมีการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัชกาลที่ 7 และเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2475 แล้ว ในทางนิตินัย พระราชอำนาจที่เคยมีมาอย่างล้นพ้นได้ถูกจำกัดลงให้อยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ

ระบบประชาธิปไตย

ความหมายของประชาธิปไตย
               1.ความหมายของคำว่า ประชาธิปไตย ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Democracy ซึ่งมาจากคำภาษากรีกว่า Democratia ซึ่งประกอบด้วยคำ  2  คำ  คือ Demos กับ kratein คำว่า Demos หมายถึง ประชาชน และ Kratein หมายถึง การปกครอง ฉะนั้นประชาธิปไตย (Demoskratia) จึงหมายถึง ประชาชนปกครอง หรือการปกครองโดยประชาชน
                2.ความหมายที่เน้นเรื่องสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค นักปรัชญาการเมืองหลายท่านที่ชี้ให้เห็นว่ารูปแบบการปกครองที่ดีก็คือ การปกครองที่เคารพสิทธิและความเสมอภาคของมนุษย์ เชื่อว่าสมาชิกของสังคมทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันที่จะเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมโดยส่วนรวม ยอกจากนี้ระบบการเมืองจะต้องเปิดโอกาส หรือให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการดำเนินการใดๆ ภายใต้กฎระเบียบของสังคมด้วย ซึ่งรูปแบบการปกครองดังกล่าว ก็คือระบอบประชาธิปไตย
                3.ความหมายที่เน้นการเข้ามีส่วนร่วมหรือเสียงของประชาชน ในเมื่อระบอบประชาธิปไตยให้ความสำคัญกับประชาชนในฐานะที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ใช้อำนาจนี่ผ่านทางองค์กรทางการเมืองต่างๆ เพื่อประโยชน์สุขของตนเอง บาทบาทของประชาชนในทางการเมือง จึงมีความสำคัญมากในระบอบนี้ จนมีผู้กล่าวว่า ประชาธิปไตยนั้นถือว่าประชาชน คือ เสียงสวรรค์ เป็นระบอบที่เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมดำเนินการเพื่อสร้างสรรค์สังคมของตนเอง กิจกรรมการเข้าร่วมทางการเมืองของประชาชน อาจเป็นทางอ้อมโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์เข้าไปทำหน้าที่แทน หรืออาจเป็นทางตรง เช่นการประท้วง การร้องเรียน ในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้รัฐบาลรับทราบถึงปัญหา เป็นต้น
                4.ความหมายที่เน้นเจตนารมณ์ของประชาชน ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น แห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้ความหมายของคำว่าประชาธิปไตยไว้อย่างกระชับและคมคายว่า เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ในระบอบประชาธิปไตยนั้น ผู้นำทางการเมืองเป็นผู้ที่ถือเสมือนเป็นตัวแทนเจตนารมณ์ของประชาชน รัฐบาลเป็นตัวแทนของพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก หรือได้รับเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่ รัฐบาลจะคงอยู่ในอำนาจต่อไปได้เมื่อวาระสิ้นสุดลง ก็โดยการแสดงให้ประชาชนผู้เลือกตั้งเห็นว่า รัฐบาลสามารถสนองตอบต่อเจตนารมณ์ของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น
                5.ความหมายตามที่มาและขอบเขตอำนาจ มีผู้ให้ความหมายของประชาธิปไตยไว้ว่า อำนาจสูงสุดมาจากประชาชน ทั้งนี้โดยอ้างว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาย่อมมีสิทธิและเสรีภาพ   โดยธรรมชาติ พวกเขาสามารถที่คิดและกระทำการใดๆ ได้ แต่เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคม เขาจะสละสิทธิ์และอำนาจบางประการให้กับผู้ปกครอง เพื่อใช้อำนาจนั้นดำเนินการภายในกรอบที่กำหนด ฉะนั้นเราจะพบว่ารัฐบาลในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยนั้นจะมีอำนาจที่มีขอบเขต
                จากความหมายอันหลากหลายของคำว่า ประชาธิปไตย นี้ จึงอาจสรุปความหมายหลักได้ 3 ประการ คือ
                    1.ความหมายในเชิงอุดมการณ์ทางการเมือง
                    2.ความหมายในเชิงรูปแบบการปกครอง
                    3.ความหมายในเชิงวิถีวิชีวิตของประชาชน

1. ความหมายในเชิงอุดมการณ์ทางการเมือง
                อุดมการณ์ทางการเมือง คือ ระบบความคิดทางการเมืองอย่างหนึ่ง อุดมการณ์ประชาธิปไตยเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในฐานะที่เป็นระบบความคิดทางการเมืองชนิดหนึ่ง ที่ให้ความสำคัญกับหลักการ 3 ประการ
                1.หลักมนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญา รู้จักใช้เหตุผล รู้ดีรู้ชั่ว และสามารถปกครองตนเองได้ ประชาธิปไตยนั้นเป็นระบบที่สมาชิกจะต้องแสดงออกซึ่งเหตุผล เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับกันเชื่อกันว่า ถ้าการดำเนินการใดๆ เป็นไปตามหลักการแห่งเหตุผลแล้ว ย่อมจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคมอย่างไม่มีขีดจำกัด
                2.หลักสิทธิเสรีภาพ คำว่า สิทธิ หมายถึง อำนาจอันชอบธรรม เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระที่จะกระทำการใดๆ ได้ แต่การใช้เสรีภาพจะต้องไม่ไปละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นด้วย เสรีภาพในสังคมประชาธิปไตยมีขอบเขตจำกัดในระดับหนึ่ง สิ่งที่จะมาเป็นตัวจำกัดเสรีภาพคือ กฎหมาย ข้อบังคับ ขนบธรรมเนียม ประเพณี
                เสรีภาพขั้นพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยอาจจำแนกได้ดังต่อไปนี้
                    1) เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การแสดงความคิดเห็นซึ่งอาจแสดงออกในรูปของการพูด การเขียน และการโฆษณาถือเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานประการหนึ่ง ในสังคมประชาธิปไตยนั้นเป็นสังคมที่ถือว่า ประชาชน คือเสียงสวรรค์ เป็นสังคมที่ยินยอมให้ประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตยเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองโดยเสรี การแสดงความคิดเห็นจึงถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญยิ่งด้วย
                    2) เสรีภาพในการรวมกลุ่ม อาจจะเป็นการรวมตัวกันของเกษตรกรที่ปลูกอ้อย จัดตั้งเป็นสหกรณ์ชาวไร่อ้อย หรืออาจจะเป็นการรวมตัวกันของผู้ที่มีความสนใจในกิจกรรมทางสังคมอย่างหนึ่งอย่างใด ร่วมกันจัดตั้งเป็นสมาคม เป็นต้น และยังรวมไปถึงการรวมตัวกันของประชาชนเพื่อเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการใดๆอีกด้วย แต่ทั้งนี้กิจกรรมอันเกิดจากเสรีภาพในการรวมกลุ่มจะต้องอยู่ในกรอบแห่ง กฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคม
                    3) เสรีภาพในการนับถือศาสนา มนุษย์แต่ละคนย่อมมีความเชื่อที่เหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้างเป็นธรรม การนับถือหรือศรัทธาที่มนุษย์พึงมีต่อความเชื่อศาสนาใดๆ จึงนับได้ว่าเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานประการหนึ่ง
                    4) สิทธิและเสรีภาพอื่นๆ นอกจากสิทธิและเสรีภาพข้างต้นแล้ว อุดมการณ์ประชาธิปไตยยังให้ความสำคัญกับสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลด้านอื่นๆ อีก เช่น สิทธิจะได้รับการคุ้มครองทั้งทางร่างกายและทรัพย์สินจากรัฐ สิทธิในเคหสถาน สิทธิและเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัย สิทธิและเสรีภาพในการเดินทาง สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพโดยสุจริต เสรีภาพในทางร่างกาย เป็นต้น
                3.หลักความเสมอภาค ความเสมอภาพหรือความเท่าเทียมกัน เป็นหลักที่สำคัญของอุดมการณ์ประชาธิปไตยอีกหลักการหนึ่ง ระบอบประชาธิปไตยเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในชนชั้นใด เพศใด มีฐานะทางเศรษฐกิจหรือฐานะทางสังคมอย่างไรต่างเท่าเทียมกัน ความเท่าเทียมกันในที่นี้ไม่ใช่ความเท่าเทียมกันในสติปัญญา ความสามารถ หรือความสูงความต่ำ แต่เป็นความเท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีของความเป็นคน ซึ่งทุกคนมีสิทธิที่จะอยู่รอดในสังคม ความเสมอภาคในระบอบประชาธิปไตยอาจจำแนกได้เป็น 4 ประการ ดังต่อไปนี้
                    1) ความเสมอภาพในการมีส่วนร่วมทางการเมือง จากแนวความคิดที่ว่าประชาธิปไตย เป็นเรื่องของการปกครองโดยประชาชน ถือว่าเสียงของประชาชนเป็นเสียงสวรรค์ รัฐประชาธิปไตยจึงต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกเข้ามีส่วนร่วมในการปกครองของประชาชนอย่างกว้างขวาง ทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเมื่ออายุถึงเกณฑ์ที่กฎหมายระบุไว้ และบัตรเลือกตั้งแต่ละใบจะมีเสียงเพียง 1 เสียงเท่าเทียมกัน ซึ่งตรงกับปฏิญญาสากลแห่งสิทธิมนุษยชนข้อ 21 (3) ที่ระบุว่า เจตจำนงของประชาชนจะต้องเป็นมูลฐานแห่งอำนาจของรัฐบาล เจตจำนงเช่นว่านี้จะต้องแสดงออกทางการเลือกตั้งตามกำหนดเวลาและอย่างแท้จริง โดยอาศัยการออกเสียงทั่งไปและอย่างเสมอภาค และลงคะแนนเสียงลับ หรือการลงคะแนนโดยอิสระอย่างอื่น ทำนองเดียงกัน
                    2) ความเสมอภาคที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ในรัฐประชาธิปไตยนั้นจะถือว่า กฎหมายเป็นเสมือนข้อกำหนดสของสังคมที่ออกมาโดยมีวัตถุประสงค์ในการควบคุมพฤติกรรมที่มีผลร้ายต่อสังคมโดยส่วนรวม นั่นคือกฎหมายจะให้ความคุ้มครองป้องกันแก่คนทุกคนโดยเท่าเทียมกัน และผู้ที่ละเมิดกฎหมายก็จะได้รับโทษทัณฑ์ตามที่กำหนดหรือถ้ามีเหตุอันควรปรานีให้มีการลอดหย่อนหรือยกเว้นโทษ ก็ควรจะได้รับการพิจารณาโดยเท่าเทียมกันด้วย
                    3) ความเสมอภาคที่จะแสวงหาความก้าวหน้าในชีวิต ในระบอบประชาธิปไตยนั้น รัฐจะต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนสามารถพัฒนาตนเองได้ เช่น จัดให้มีโรงเรียน วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย ให้เพียงพอสำหรับคนที่ปรารถนาแสวงหาความรู้มีโอกาสรับการศึกษาได้รับความรู้ และมีโอกาสใช้ความรู้ความสามารถสร้างความก้าวหน้าและความมั่นคงในชีวิตให้กับตนเอง และต้องบริหารระบบของสังคมให้เปิดโอกาสสำหรับทุกๆ คนในการที่จะได้  ทำงานโดยสิทธิเท่าเทียมกัน เช่น การเปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิเสมอภาคในการสอบคัดเลือกเข้าเป็นข้าราชการ เป็นต้น
                    4) ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า รัฐประชาธิปไตยจะต้องทำให้สมาชิกทุกคนมีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมสูง กล่าวคือ มีรายได้สูง และมีความเป็นอยู่ที่หรูหรากันทุกคน แต่จะต้องพยายามกระจายรายได้ นำเอาทรัพยากรทางสังคมมาใช้ประโยชน์ ลดช่องว่างระหว่างชนชั้นให้น้อยลงโดยการสนับสนุนหรือช่วยเหลือกลุ่มที่ด้อยโอกาสว่าให้เติบใหญ่และแข็งแรงพอที่จะช่วยเหลือตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การที่รัฐสนับสนุนโครงการจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมอาชีพในชนบท โครงการจัดตั้งสหกรณ์ผู้ผลิต สหกรณ์ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ใด ๆ โครงการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน เพื่อยกระดับความกินดี อยู่ดี เป็นต้น

2. ความหมายในเชิงรูปแบบการปกครอง
                แนวคิดพื้นฐานของประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นรูปแบบการปกครองมาจากความเชื่อที่ว่า ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ประชาชนมีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ การปกครองตนเองของประชาชนดำเนินการโดยผ่านผู้แทนที่ประชาชนเลือกเข้าไปทำหน้าที่แทนตนตามระเบียบวิธีที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เราจึงอาจสรุปหลักการที่สำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ดังต่อไปนี้
                1.หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน หมายความว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดของรัฐ ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินปัญหาและกำหนดความเป็นไปของพวกเขาเอง แต่มิได้หมายความว่าประชาชนทั้งประเทศจะต้องมานั่งถกเสียงหาทางแก้ปัญหา
                2.หลักอำนาจอธิปไตยโดยปวงชน หมายถึง การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมือง รูปแบบของการเข้ามีส่วนร่วมของประชาชนจึงมีอยู่หลายทางด้วยกันที่สำคัญ คือ การเลือกตัวแทนของตนขึ้นไปทำหน้าที่ในรัฐสภา นอกจากนี้ประชาชนอาจทำได้โดยการช่วยรณรงค์หาเสียงให้ผู้สมัครที่ตนนิยมอยู่หรือเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์เดียวกัน เพื่อหาทางผลักดันให้นโยบายของพรรคนำมาใช้ปฏิบัติ เป็นต้น
                3.หลักอำนาจอธิปไตยเพื่อประชาชน สังคมประชาธิปไตยนั้น ผู้ปกครองหรือผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศและรัฐบาลจะต้องไม่กระทำไปเพียงเพื่อผลประโยชน์ของคนในกลุ่มตนเท่านั้น ผู้ปกครองที่มาจากประชาชนในระบอบประชาธิปไตยนั้นจะต้องเป็นผู้ที่กระทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนใหญ่ด้วยให้สมกับความไว้วางใจของประชาชนที่เลือกตนเข้ามารับหน้าที่ ไม่เช่นนั้นเมื่อครบวาระอาจจะไม่ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนในสมัยต่อไปก็ได้
                4.หลักเหตุผล ประชาธิปไตยประกอบด้วยหลักเหตุผล ทั้งนี้เนื่องจากคนแต่ละคนต่างก็มีแนวความคิดในการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันไป ถ้าคนปราศจากเหตุผลแล้ว สังคมก็อาจยุ่งเหยิงไม่ได้ข้อยุติที่ดีและถูกต้อง ดังนั้นในระบอบประชาธิปไตยนั้นทุกคนจะต้องร่วมกันคิด โดยต่างก็เสนอความคิดเห็นแล้วอาจมีการเปิดอภิปราย มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ต่างคนต่างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยใจเป็นธรรม ข้อเสนอหรือความคิดเห็นของใครที่มีเหตุผลดีกว่าก็จะได้รับเลือกให้เป็นวิธีการแก้ไขปัญหานั้นๆ ต่อไป
                5.หลักเสียงข้างมาก วิธีการหนึ่งที่จะรู้ได้ว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นหลักการเพื่อปวงชน คือ หลักเสียงข้างมาก นั่นคือหลังจากที่ผู้แทนราษฎรได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์โดยการอภิปรายกันพอแล้ว ก็จะมีการออกเสียงลงคะแนนกัน ข้อเสนอที่ได้รับเสียงข้างมากจากที่ประชุมก็จะได้รับเลือกให้นำไปปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะถือได้ว่าเป็นข้อเสนอที่มีเหตุผลของคนส่วนใหญ่
                6.หลักความยินยอม ประชาธิปไตยจะต้องมีพื้นฐานมาจากความยินยอมอีกด้วย เมื่ออำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน และปวงชนได้เลือกตั้งตัวแทนของตนเพื่อใช้อำนาจ ดังกล่าว จึงถือได้ว่าผู้ที่ได้รับเลือกให้เข้ามาใช้อำนาจเหล่านี้ได้รับความยินยอมจากปวงชน แต่จะมีอำนาจจำกัดตามรัฐธรรมนูญ และยังถูกจำกัดช่วงเวลาที่ได้รับความยินยอม คืออาจอยู่ในวาระช่วงระยะเวลาหนึ่ง (วาระครบ 4 ปี เป็นต้น) เมื่อครบวาระหรือมีการยุบสภาก็จะมีการเลือกตั้งใหม่ หากผู้แทนราษฎรผู้ใดได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากประชาชนจะได้รับเลือกเข้ามาทำหน้าที่ต่อไป
                7.หลักประนีประนอม ในหลายกรณี หลังจากที่ผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันแล้ว และเล็งเห็นว่าข้อเสนอต่างๆ ที่ผู้แทนแต่ละคนเสนอไปนั้นมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมาก หรือมีข้อขัดแย้งกันไม่มากนักที่ประชุมก็อาจใช้การประนีประนอมกัน โดยยึดหลักผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นเกณฑ์ ไม่จำเป็นต้องมีการลงคะแนนเสียงข้างมากก็ได้
                8.หลักความเสมอภาค ประชาธิปไตยเชื่อว่ามนุษย์ต่างก็มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน แม้แต่รัฐธรรมนูญไทย ก็ยอมรับในหลักการนี้โดยเขียนไว้ว่า บุคคลย่อมเสมอภาคกันในกฎหมาย ฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดก็ดี โดยแต่งตั้งก็ดี โดยประการอื่นก็ดี ไม่กระทำให้เกิดอภิสิทธิ์แต่อย่างใดเลย ฉะนั้นกฎหมายในสังคมประชาธิปไตย จึงบังคับใช้กับบุคคลทุกคนโดยเสมอหน้ากันหมด
                9.หลักเสรีภาพ สังคมประชาธิปไตย นอกจากจะให้ความสำคัญกับหลักความเสมอภาคแล้ว ยังให้ความสำคัญกับหลักเสรีภาพด้วย กล่าวคือ รัฐในระบอบประชาธิปไตยจะต้องส่งเสริมเสรีภาพต่างๆของปวงชน เช่น เสรีภาพในการพูด การเขียน การอบรมศึกษา การรวมตัวกันเป็นสมาคม เป็นต้น แต่ทั้งนี้เสรีภาพเหล่านี้จะถูกจำกัดโดยกฎหมายนั้นคือ ประชาชนต้องไม่ใช้เสรีภาพนี้เพื่อทำลายหรือรบกวนเสรีภาพของผู้อื่น
                10.หลักนิติธรรม หมายถึงการยึดถือกฎหมายเป็นเกณฑ์กติกา และหลักประกันความเสมอภาคให้ประชาชนได้รับการคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพ และการรักษาผลประโยชน์ ส่วนรวม เพื่อความถูกต้อง สงบเรียบร้อยและชอบธรรม โดยรัฐบาลจะต้องบังคับใช้กฎหมายแก่คนทุกคนโดยเท่าเทียมกัน ไม่ให้มีการละเมิดสิทธิ เพราะเหตุแห่งความเป็นผู้มีอิทธิพล ยศฐาบรรดาศักดิ์   เงินทอง หรืออภิสิทธิ์อื่นๆ
                11.หลักการปกครองตนเอง เมื่อสังคมประชาธิปไตยให้ความสำคัญกับหลักความเสมอภาคและหลักเหตุผล เชื่อว่ามนุษย์สามารถปรับปรุงตัวเองให้ก้าวหน้า รวมทั้งแก้ไขปัญหาของตนเองได้ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ปกครองตนเอง ทั้งนี้เพราะพวกเข้ารู้ดีกว่าคนอื่นๆ ว่าตนเองต้องการอะไร หรือสิ่งใดที่เป็นผลประโยชน์ของพวกเขา ซึ่งผลประโยชน์เหล่านี้อาจจะอยู่ในแง่รูปธรรม เช่น สวัสดิการทางสังคมต่างๆ หรืออาจจะอยู่ในแง่ของนามธรรม เช่น เสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นสมาคมก็ได้

3. ความหมายในเชิงวิถีวิชีวิตของประชาชน
                วิถีชีวิตของประชาชน หมายถึง วิธีการในการดำเนินชีวิตของคนในสังคมที่เอื้ออำนวยต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความเชื่ออยู่ว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยจะไร้เสถียรภาพ ถ้าบุคคลหรือสมาชิกของสังคมขาดแบบแผนของความเชื่อ ทัศนคติและค่านิยมที่เป็นประชาธิปไตย   วิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยอาจจำแนกได้ดังต่อไปนี้
                1.ใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาหรือข้อขัดแย้งระหว่างกัน ในทางปฏิบัติแม้ว่ามนุษย์จะไม่ได้ใช้เหตุผลตลอดเวลา แต่ก็ควรใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ เพราะการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น โดยการใช้เหตุผล จะนำมาซึ่งข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับกันโดยไม่ก่อให้เกิดความรุนแรง ซึ่งจะเป็นผลให้เกิดความแตกแยกขึ้นในสังคม
                2.รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีสติสัมปชัญญะ ปราศจากอคติ และมีความอดทนต่อความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากตน
                3.มีน้ำใจประชาธิปไตย กล่าวคือ มีความคิดเห็นเป็นของตนเอง ไม่นิยมการยอมตามความคิดเห็นของผู้อื่น นอกจากจะถูกลบล้างด้วยเหตุผลที่น่าเชื่อถือกว่า ยอมรับเสียงข้างมาก เคารพในศักดิ์ศรี สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน มีจิตใจกว้างขวาง พร้อมที่จะยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่น และพร้อมที่จะปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ
                4.สนใจกิจการบ้านเมืองและเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง โดยถือว่าเป็นหน้าที่ เคารพกฎเกณฑ์หรือกติกาทางการเมืองในระอบประชาธิปไตยอย่างเคร่งครัด
                5.รู้จักประนีประนอมมากกว่าที่จะดึงดันเอาชนะกันโดยอาศัยการขู่เข็ญ บังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับในเงื่อนไขของฝ่ายตนแต่ฝ่ายเดียว
                6.มองโลกในแง่ดี สมาชิกของสังคมประชาธิปไตยจะต้องมีศรัทธาและความหวังต่อชีวิตเสมอกกระบวนการในระบอบประชาธิปไตยนั้นอาจต้องใช้เวลา ความอดทน อดกลั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง
                7.มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เมื่อสมาชิกของสังคมประชาธิปไตยเกิดความรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของประเทศ และประเทศเป็นของทุกคนแล้ว ทุกคนจะเกิดความรัก ความภักดีต่อชาติบ้านเมือง ต่างพยายามที่จะประพฤติตนให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย และศีลธรรมอันดีงาม และต่างก็จะพยายามทำตนเป็นพลเมืองดี ช่วยกันบำรุงรักษาสาธารณสมบัติ ช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากในรูปของสังคมสงเคราะห์ เข้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านเมืองให้สะอาดร่มเย็น เป็นต้น

รูปแบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
                ในประเทศประชาธิปไตยนั้น ไม่ได้มีรูปแบบการปกครองเหมือนๆ กันทั้งหมด นักวิชาการได้พยายามเสนอหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่อาจใช้แบ่งรูปแบบการปกครองของประเทศประชาธิปไตยมากมายด้วยกัน สรุปได้เป็น 2 หลักเกณฑ์ ดังนี้
                1.หลักประมุขของประเทศ แบ่งรูปแบบประชาธิปไตยได้ 2 ลักษณะคือ
                        1) มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระมหากษัตริย์จะทรงใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของปวงชน โดยใช้องค์กรแยกกันเป็น 3 ทางคือ
ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติโดยผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารโดยผ่านทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการโดยผ่านทางศาล ส่วนองค์พระมหากษัตริย์จะทรงเป็นกลางในทางการเมือง เช่น ไทย อังกฤษ เป็นต้น
                        2) มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ผู้อำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ทำหน้าที่เป็นประมุขของรัฐเพียงหน้าที่เดียว เช่น สิงคโปร์ อินเดีย ฯลฯ และบางประเทศประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นประมุขของฝ่ายบริหารด้วย เช่น สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย ฯลฯ
                2.หลักการรวมและการแยกอำนาจ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ
                        1 )แบบรัฐสภา ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ได้แก่ การมีเฉพาะผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียวหรืออาจมี 2 สภาก็ได้ มีทั้งสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งตัวแทนหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ประชาชนเป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสภาซึ่งเป็นสภาของผู้ทรงคุณวุฒิ ส่วนมากสมาชิกได้มาจากการแต่งตั้ง แต่สมาชิกวุฒิสภาในบางประเทศก็มาจากการเลือกตั้ง ชื่อสภาอาจเรียกต่างกันได้ เช่น ในอังกฤษเรียกสภาผู้แทนราษฎรว่า สภาล่างและวุฒิสภาว่า สภาสูงหรือสภาขุนนาง แต่โดยหลักการสภาทั้งสองต้องประชุมร่วมกันรวมกันเป็น รัฐสภา ผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติและอำนายบริหาร คือมีอำนาจในการออกกฎหมายเพื่อใช้ปกครองประเทศ และมีอำนาจบริหารในการให้ความเห็นชอบหรือจัดตั้งรัฐบาล และควบคุมการบริหารของรัฐบาลด้วย คือ รัฐบาลบริหารด้วยความไว้วางใจของรัฐสภา ในทางปฏิบัติถือกันเป็นหลักเกณฑ์ว่า สมาชิกสภากลุ่มหรือพรรคการเองที่มีเสียงข้างมากสนับสนุนจะได้สิทธิในการจัดตั้งรัฐบาล เพื่อทำหน้าที่บริหารบ้านเมือง แต่รัฐบาลจะต้องอยู่ในความควบคุมของสมาชิกรัฐสภา ลักษณะดังกล่าวนี้ รัฐสภาและรัฐบาลต่างทำหน้าที่ของตน แต่รัฐสภาควบคุมรัฐบาลด้วยกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ และอาจลงมติไม่ไว้วางใจเพื่อให้รัฐบาลลาออกได้ ส่วนรัฐบาลก็อาจยุบสภาได้ ทำให้เกิดความสมดุลแห่งอำนาจ
                        2) แบบประธานาธิบดี ระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีมีลักษณะคล้ายคลึงกับแบบรัฐสภา   การมีรัฐสภาเหมือนกัน แต่มีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ การมีประธานาธิบดีเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร โดยประธานาธิบดีมีสิทธิและหน้าที่ในการจะแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อบริหารประเทศและรับผิดชอบร่วมกัน ส่วนอำนาจนิติบัญญัตินั้นก็ยังคงตกอยู่ที่รัฐสภา การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีนี้ ทั้งประธานาธิบดีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่างก็ได้รับเลือกจากประชาชน ทั้งสองฝ่าย จึงต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อระชาชน ส่วนอำนาจตุลาการยังคงเป็นอิสระ ฉะนั้นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ต่างก็เป็นอิสระและแยกกัน สถาบันผู้ใช้อำนาจทั้งสามจะเป็นตัวที่คอยยับยั้งและถ่วงดุลกันและกัน ไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้อำนาจเกินขอบเขต เช่น การปกครองของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
                        3) แบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี ระบอบประชาธิปไตยแบบนี้ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของรัฐและบริหารราชการแผ่นดินร่วมกับนายรัฐมนตรี ในด้านการบริหารนั้นนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามประกาศใช้กฎหมาย และคณะรัฐมนตรีก็ยังคงเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร แต่ต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา ส่วนรัฐสภาเองก็ยังคงทำหน้าที่สำคัญ คือ ออกกฎหมายและควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ประธานาธิบดีในระบอบประชาธิปไตย แบบนี้เป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศและการเมืองโดยทั่วๆ ไปทั้งยังทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการ ระหว่างรัฐสภากับคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังมีอำนายยุบสภาได้ด้วย จึงมีอำนาจมาก เช่น อินเดีย ฝรั่งเศส

ประเภทของประบอบประชาธิปไตย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
                1.ประชาธิปไตยโดยทางตรง เป็นรูปแบบการปกครองที่ให้ประชาชนทั้งประเทศ เป็นผู้ใช้อำนาจในการปกครองโดยตรง ด้วยการประชุมร่วมกัน พิจารณา ตัดสินปัญหาร่วมกันในที่ประชุมโดยตรง และจะเป็นผู้เลือกตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานของรัฐโดยตรง เราจะเห็นว่าประชาธิปไตยประเภทนี้จะใช้ได้ในเชิงปฏิบัติจริงๆ ก็แต่เฉพาะในสังคมเล็กๆ หรือประเทศเล็กๆ ที่มีสมาชิกจำนวนน้อย ซึ่งแต่ละคนมีโอกาสอภิปราย วิพากษ์วิจารณ์ และพิจารณาปัญหาต่างๆ อย่างละเอียดและมีเหตุผล แต่ถ้านำเอาประชาธิปไตยประเภทนี้มาใช้กับสังคมขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกจำนวนมากแล้วจะเป็นอุปสรรค เนื่องจากความไม่พร้อมเพรียงกัน และการที่จะหาสถานที่ประชุมขนาดใหญ่ เพื่อจะให้ประชาชนทั้งประเทศมาประชุมในที่เดียวกันย่อมเป็นไปได้ยากยิ่ง
                2.ประชาธิปไตยโดยทางอ้อม เป็นประชาธิปไตย เป็นประชาธิปไตยอีกประเภทหนึ่งซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประเทศต่างๆ ของโลกได้ขยายตัวออกไปมาก ประชาชนพลเมืองเพิ่มขึ้นปัญหาต่างๆเกิดขึ้นมามาก ฉะนั้นโอกาสที่ประชาชนทั้งประเทศจะมานั่งปรึกษาหารือกัน เพื่อแก้ปัญหากันแบบประชาธิปไตยโดยทางตรงย่อมเป็นไปไม่ได้ เพื่อแก้ไขอุปสรรคนี้แทนที่ประชาชนทุกคนจะต้องมาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาตัดสินปัญหาใด ก็จะให้ประชาชนได้มีโอกาสเลือกตัวแทนหรือที่รู้จักในนาม สมาชิกรัฐสภา เข้าไปสู่ที่ประชุมแทน ส่วนลักษณะและวิธีการเลือกสมาชิกรัฐสภาของประชาชนในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไป

หัวใจและกระบวนการของระบอบประชาธิปไตย
                เนื่องจากในระบอบประชาธิปไตยนั้นถือว่าเป็นการปกครองของประชาชน บทบาททางการเมืองของประชาชนในฐานะที่เป็นเข้าของอำนาจอธิปไตยจึงเป็นหัวใจของระบบนี้ ดังนั้นการเข้ามีส่วนร่วมในการปกครองตนเองของประชาชน จึงถือเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนนั้นอาจเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ เช่น การไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การพูดคุยเรื่องการเมือง การช่วยพรรคการเมืองในการรณรงค์หาเสียง การเข้าร่วมประชุมทางการเมืองการเป็นผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้ง หรือแม้แต่การเดินขบวนประท้วง หรือสนับสนุนการดำเนินการของรัฐที่ยังผลให้ตนเองได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์  
                ลักษณะหรือรูปแบบของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองที่สำคัญยิ่งในประเทศประชาธิปไตย อาจแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ คือ
                1.การเข้ามีส่วนร่วมในกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มผลประโยชน์ หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความต้องการ มีผลประโยชน์ในลักษณะใดๆ เหมือนๆ กันรวมตัวกันโดยมีการจัดองค์การอย่างเป็นระบบ กลุ่มผลประโยชน์นี้จะทำหน้าที่ในการรักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม โดยการเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการสนองตอบต่อความต้องการของกลุ่ม เช่น กรรมการรวมตัวกันจัดตั้งสหภาพแรงงานขึ้น และใช้สหภาพแรงงานเป็นฐานในการเรียกร้องให้รัฐบาลประกันค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราที่กำหนด
                ตัวอย่างของกลุ่มผลประโยชน์โดยทั่วไปมักรวมตัวกันเป็นองค์กรต่างๆ เช่น สโมสร สมาคม ชมรม กลุ่มอาชีพ ฯลฯ ทั่งนี้ยอมแตกต่างไปในแต่ละประเทศ ซึ่งขึ้นอยู่กับระบบการเมือง การปกครอง สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ แต่ละกลุ่มผลประโยชน์ของทุกสังคมมักมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องต่อไปนี้
                    1.ความพยายามที่จะมีอิทธิพลต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ
                    2.ความมุ่งหมายที่จะเข้าถึงหน่วยงานที่กำหนดนโยบายของรัฐ
                    3.การใช้โอกาส และวิธีการเท่าที่จะดำเนินการได้เพื่อทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ เช่น การเรียกร้อง
                การบริการและสวัสดิการ การคัดค้านนโยบายบางอย่าง การเข้าไปแทรกแซงในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง   กลุ่มผลประโยชน์ที่มีความสำคัญทางการเมือง คือ ความสามารถในการรวบรวมประชาชนให้เป็นปึกแผ่นได้ และเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลได้คำนึงถึงประโยชน์อันเป็นพลังที่ทำให้เกิดความสำนึกทางการเมือง และเสริมสร้างพัฒนาการทางการเมืองให้มีความก้าวหน้ามั่นคงในประเทศประชาธิปไตยนั้น รัฐจะให้เสรีภาพกับประชาชนในการจัดตั้งกลุ่ม สมาคม ประเทศประชาธิปไตยที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมยิ่งเจริญก้าวหน้ามาก กลุ่มองค์กร หรือสมาคมที่เกิดจากการรวมตัวกันของประชาชนก็จะมากตามไปด้วย แต่ละกลุ่มต่างก็มีผลประโยชน์ที่เป็นตัวของตนเอง และต่างก็จะพยายามเรียกร้องให้รัฐบาลสนองตอบต่อความต้องการของกลุ่ม รัฐบาลในฐานะผู้ใช้อำนาจบริหารจึงจำเป็นต้องรับฟังข้อเรียกร้องของประชาชน และจำเป็นต้องปรับปรุงกลไกทางการบริหารให้มีประสิทธิภาพพร้อมที่จะสนองตอบต่อข้อเรียกร้องได้อย่างเหมาะสม
                2.การเข้ามีส่วนร่วมในพรรคการเมือง พรรคการเมือง คือ กลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์และนโยบายทางการเมืองสอดคล้องกัน รวมตัวกันโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปมีบทบาททางการเมือง นำเอานโยบายไปปฏิบัติหรือเพื่อที่จะจัดตั้งรัฐบาล การาเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยการสมัครเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองใดๆ ที่เชื่อว่ามีแนวนโยบายตรงกับความต้องการของตนมากที่สุด การช่วยพรรคการเมืองในการรณรงค์หาเสียงหรือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการสมัครเข้ารับการเลือกตั้งโดยสังกัดพรรคการเมืองใดๆ นั้นถือได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่จำเป็นยิ่งของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบบ การปกครองของประชาชนและโดยประชาชน ถ้าพรรคการเมืองที่สังกัดไม่ทำตามนโยบายที่ประกาศไว้ สมาชิกก็อาจถอนตัวไปให้การสนับสนุนพรรการเมืองอื่นที่ประชาชนไม่ศรัทธา พรรคการเมืองนั้นก็จะไม่อาจดำรงอยู่ได้
                3.การาเข้ามีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง การเลือกตั้ง หมายถึง กระบวนการที่ประชาชนเลือกบุคคล หือกลุ่มบุคคลเพื่อเข้าไปเป็นตัวแทนรักษาผลประโยชน์ของประชาชน เมื่อยอมรับกันว่าประชาธิปไตยเป็นการปกครองของประชาชน อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชน รูปธรรมของแนวคิดนี้อาจเห็นได้จากการที่ประชาชนใช้สิทธิของตนเลือกตัวแทนหรือการผ่านทางกระบวนการเลือกตั้ง สิทธิในการเลือกตั้งจึงเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่บุคคลแต่ละคน จะพึงได้รับในระบอบประชาธิปไตย  แต่ประเทศที่เปิดโอกาสให้ประชาชนไปใช้สิทธิในการเลือกตั้ง ก็หาได้หมายความว่า ประเทศนั้นจะเป็นประชาธิปไตย การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยนั้นจะต้องตั้งอยู่บนหลักการที่สำคัญ 6 ประการ คือ
                    1) หลักการเลือกตั้งโดยอิสระ จะต้องให้บุคคลผู้ใช้สิทธิมีโอกาสใช้ดุลยพินิจเลือกผู้สมัครใดๆ อย่างเต็มที่ ไม่มีการกระทำในลักษณะของการข่มขู่บังคับ จ้างวานหรือใช้อิทธิพลบีบคั้นให้บุคคลไปใช้สิทธิเลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง
                    2) หลักการเลือกตั้งโดยลับ หมายความว่าผู้ใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเท่านั้นที่จะรู้ว่าลงคะแนนให้ผู้สมัครคนใด หลักการนี้จะช่วยสนับสนุนหลักการแรก เป็นการเปิดโอกาสไม่ให้มีการข่มขู่บังคับในการเลือกตั้ง เพราะจะไม่มีใครทราบนอกจากผู้ไปใช้สิทธิเอง แม้จะมีการข่มขู่บังคับเกิดขึ้นบ้าง แต่ก็ไร้ผลทางการเมือง เพราะจะไม่อาจหาหลักฐานใดๆ มาพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่ถูกข่มขู่ได้ลงคะแนนเสียงไปตามนั้นหรือไม่
                    3) หลักการเลือกตั้งอย่างแท้จริง การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยนั้นจะต้องเปิดโอกาสให้มีผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งอย่างกว้างขวาง เมื่อมีผู้สมัครมากก็เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีตัวเลือกที่หลากหลาย ผู้สมัครต่างก็มีแนวคิด มีนโยบาย ตลอดจนแนวทางในการบริหารราชการแผ่นดินที่เป็นของตนเอง ประชาชนก็จะมีโอกาสเลือกผู้แทนที่ตรงกับเจตนารมณ์ของตนมากที่สุดเข้าไปเป็นงแทนตนเองได้ นอกจากนี้การเลือกตั้งที่แท้จริงยังต้องคำนึงถึงความบริสุทธิ์ยุติธรรม จะต้องไม่มีการโกงการเลือกตั้งเกิดขึ้นไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดๆด้วย
                    4) หลักการเลือกตั้งในระยะเวลาที่กำหนด หมายถึง วาระการดำรงตำแหน่งของผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งไปทำหน้าที่เป็นผู้แทนปวงชนนั้นจะต้องแน่นอน เช่น 4 ปี ทั้งนี้ก็เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจได้ตรวจสอบและประเมินการทำงานของผู้แทนของตนว่า มีผลงานมากน้อยเพียงไร สอนงตอบต่อเจตนารมณ์ของพวกเขาได้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้จะช่วยกระตุ้นให้ผู้แทนกระตือรือร้น ที่จะปฏิบัติหน้าที่ โดยรับผิดชอบต่อประชาชนเจ้าของประเทศอย่างเต็มความสามารถ
                    5) หลักความเสมอภาค หมายความว่า คะแนนเสียงของประชาชนที่ไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งนั้นทุกคนจะมีค่าเท่ากับหนึ่งหรือ หนึ่งคนหนึ่งเสียง เท่ากันหมดไม่ว่าจะยากดีมีจนหรือมีตำแหน่งระดับใด จะไม่มีใครที่มีอภิสิทธิ์เหนือบุคคลอื่นๆ
                    6) หลักการให้สิทธิทั่วถ้วน หมายความ การเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยนั้นจะต้องไม่มีการจำกัดเพศ ไม่ว่าเพศชายหรือหญิงต่างมีความเท่าเทียมกันในสิทธิทางการเมือง และรัฐประชาธิปไตยจะต้องอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มีสิทธิสามารถไปใช้สิทธิของตนเองได้ เช่น จัดให้มีหน่วยเลือกตั้งอย่างทั่วถึงทุกเขต มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้และเข้าใจถึงวัน เวลา หลักเกณฑ์ และวิธีการในการเลือกตั้ง ในประเทศประชาธิปไตยบางประเทศยินยอมให้มีการลงคะแนนเสียงทางไปรษณีได้ด้วย                                                                                               4.การเข้ามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นปละวิพากษ์วิจารณรัฐบาล
                ในประเทศประชาธิปไตย รัฐบาลจะต้องรับฟังความคิดเห็น ซึ่งเป็นความต้องการของประชาชน รัฐบาลถือเป็นตัวแทนของประชาชนที่เข้าไปใช้อำนาจในการบริหารราชแผ่นดินเพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับประชาชน การบริหารงานของรัฐบาล จึงส่งผลโดยตรงต่อประชาชน การกระทำการบางอย่างของข้าราชการในฐานะที่เป็นผู้นำเอานโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติอาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย หรือแม้แต่นโยบายเองอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อการดำรงชีวิตตามปกติของบุคคลบางคนบางกลุ่มคน เหล่านี้ในฐานะเจ้าของประเทศต่างมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลได้                                                                                                                                                              ปัจจัยที่เอื้อต่อระบอบประชาธิปไตย                                                                                                                                    ระบอบประชาธิปไตยไม่อาจดำรงอยู่ไดด้วยตัว  ของมันเอง จึงจำเป็นต้องมีปัจจัยอื่นๆ ที่จะเป็นตัวคอยให้การสนับสนุนหรือช่วยให้ระบอบนี้ดำรงอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพ
                1.ระดับการศึกษาของประชาชน เป็นปัจจัยหนึ่งที่เอื้อต่อระบอบประชาธิปไตย คือ ในเมื่อคนในสังคมได้รับการศึกษาดี มีเหตุผล มักจะติดตามข่าวสารทางการเมือง มีความสนใจทางการเมืองและมีความรู้ความเข้าใจว่าตนเองเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคม นโยบายใดๆที่สังคมออกมาก็ย่อมที่จะมีผลกระทบต่อเขาโดยตรง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาดีมักจะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
                2.การพัฒนาเศรษฐกิจ จะพบว่าประเทศพัฒนานั้นจะมีระดับของความเสมอภาคทางเศรษฐกิจสูงกว่าประเทศด้วยพัฒนาทั่วไป นอกจากนี้ยังเป็นผลให้สังคมมีสวัสดิการต่างๆที่ดี เช่น การศึกษา การรักษาพยาบาล ฯลฯ นอกจากเศรษฐกิจที่ดีมั่นคงจะช่วยให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยความสมัครใจ ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลหรือการถูก ชักจูง ขู่เข็ญใดๆ และยังมีผลให้ระบอบประชาธิปไตย ดำเนินไปด้วยดี และมีเสถียรภาพด้วย
                3.บุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลให้ระบอบประชาธิปไตยยั่งยืนอยู่ได้ ลักษณะของบุคลิกภาพเหล่านี้คือความสนใจที่จะมีต่อกิจการบ้านเมือง เมื่อสนใจแล้วก็มีความกระตือรือร้นที่จะติดตามความเป็นไป มีการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล ไร้อคติ และที่สำคัญได้แก่ การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยถือเสมือนว่าเป็นหน้าที่ที่ตนจะต้องทำ หรือที่ตนจะต้องรับผิดชอบในฐานะสมาชิกผู้หนึ่งของสังคม
                4.เสถียรภาพของสถาบันทางการเมือง มีส่วนช่วยให้ระบอบประชาธิปไตยก้าวหน้ามั่นคงด้วย นั่นคือ เมื่อสถาบันหรือองค์กรทางการเมืองเป็นที่ยอมรับของประชาชน ประชาชนก็จะมีความศรัทธา และจะเข้าไปเป็นสมาชิก หรือเข้าไปมีส่วนร่วมมากขึ้น เช่น เมื่อพรรคการเมืองมั่นคงสามารถแสดงออกซึ่งเจตนาของสมาชิกได้อย่างแจ่มชัด นโยบายที่ออกมาก็ได้รับการเชื่อถือและนำมาปฏิบัติ ประชาชนจะมีความศรัทธาพรรคการเมืองนั้น และเข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น ซึ่งก็เท่ากับเป็นการเกื้อกูลให้ระบอบประชาธิปไตยมีเสถียรภาพยิ่งขึ้นด้วย
                5.พัฒนาการทางการปกครองและการบริหาร ปัจจัยหนึ่งที่เอื้อต่อระบอบประชาธิปไตย คือการปกครองและการบริหารต้องมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน นโยบายของรัฐบาลตรงตามเจตนารมณ์และมีผลดีต่อประชาชน คือ ประชาชนได้มีโอกาส ได้มีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากการดำเนินงานอย่างทั่วถึง ส่งผลให้ประชาชนเข้าใจศรัทธาและยึดมั่นการเมืองระบอบประชาธิปไตยเพิ่มขึ้น เจ้าของมีส่วนร่วมสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงทางการเมืองมากขึ้นไปด้วย

คุณค่าของประชาธิปไตย
                1.คุณค่าต่อบุคคล ระบอบนี้ให้คุณค่าแก่บุคคล โดยมองว่าบุคคลมีเสรีภาพและเท่าเทียมในศักดิ์ศรีและความเป็นคน การที่คนจะมีเสรีภาพได้อย่างแท้จริง หมายความว่า คนจะต้องไม่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้อื่น


(ติดตามตอนต่อไปอัพเดทภายหลังมี 6 หน่วยการศึกษา)


แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

อ.ส. 2 มิ.ย. 53 เวลา 18:37 น. 1

เรากำลังหา ยุคหลังประวัติสาสตร์อ่ะคะ
ส่งงาน วิชาประวัติศาสตร์
หาไม่เจอเสียทีคะ

0