Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

“มาร์ค” จี้แจงปัญหา O-NET “อุทุมพร” น้อมรับคำติ เผยปลาย เม.ย.นี้ เตรียมนำข้อสอบ GAT/PAT พร้อมเฉลย O-NET ขึ้นเว็บ เตือนเด็กอย่างหลงเชื่อติวเตอร์หลอก ยันไม่จริงเสมอไป แนะพึ่งตัวเ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 “มาร์ค” กำชับ ศธ. - สทศ.แจงปัญหาสอบ O-NET ให้สังคมกระจ่างถึงแนวทางออกข้อสอบ ป้องกันความสับสน “ชัยวุฒิ” ออกโรงย้ำออกข้อสอบไม่มีเกินหลักสูตร รับปัญหามีส่วนจากการเผยแพร่ข้อสอบลงเว็บ ทำเสียงวิจารณ์ว่อน “อุทุมพร” น้อมรับคำติ เผยปลาย เม.ย.นี้ เตรียมนำข้อสอบ GAT/PAT พร้อมเฉลย O-NET ขึ้นเว็บ เตือนเด็กอย่างหลงเชื่อติวเตอร์หลอกนับคำตอบ ยันไม่จริงเสมอไป แนะพึ่งตัวเองดีสุด
       
       วันนี้ (4 มี.ค.) เมื่อเวลา 11.00 น.ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) กล่าวภายหลังการหารือร่วมกับ ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี ( ครม.) เมื่อวันที่ 2 มี.ค.ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้หยิบยกประเด็นการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET มาหารือ และต้องการให้ ศธ.และ สทศ.ชี้แจงให้สังคมได้เข้าใจหลักการและแนวทางในการออกข้อสอบเพื่อไม่ให้เกิด ข้อถกเถียงและเกิดความสับสน ซึ่งนายกฯ เข้าใจในหลักการทดสอบ O-NET ที่จะใช้ความรู้สึกมาตัดสินอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของการคิดวิเคราะห์ ส่วนประเด็นที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า ข้อสอบ O-NET ออกเกินหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 นั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ยืนยันว่า เนื้อหาสาระของหลักสูตร พ.ศ.2551 ไม่ได้แตกต่างไปจากหลักสูตร พ.ศ.2544 เพียงแต่มีการกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น ส่วนที่มีการปรับเปลี่ยนบ้างก็ไม่ถึงร้อยละ 10 คือ ในส่วนของสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเด็กต้องให้ความสนใจกับเหตุการณ์ต่างๆ อยู่แล้ว

      ยอมรับว่า ปัญหาที่เป็นอยู่ในขณะนี้ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ สทศ.นำข้อสอบมาเปิดเผยต่อสาธารณะทั้งหมด เพราะต้องการให้โปร่งใสและอยากให้มีการหยิบยกไปวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพให้เหมาะสมยิ่งขึ้น แม้แต่ก่อนที่จะมีการสอบยังเปิดเผยว่าจะมีข้อสอบในหมวดใดบ้าง ส่วนเท่าใด ขณะที่การทดสอบอื่นๆ โดยเฉพาะจากองค์กรต่างประเทศ อาทิ การสอบโทเฟล ทุกอย่างเป็นความลับ แต่กลับไม่มีการมาพูดถึงความโปร่งใส หรือประสิทธิภาพของข้อสอบว่าเหมาะสมแค่ไหน รมช.ศธ.กล่าว
       
       ด้าน ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวว่า สทศ.รู้สึกดีใจที่หลายฝ่ายให้ความสนใจกับการสอบ O-NET ซึ่งจะทำให้ สทศ.ทำงานได้ดีขึ้น เพราะหน่วยงานนี้เป็นองค์การมหาชน จึงต้องมีการทำงานที่โปร่งใส และเป็นมาตรฐานสากลของโลก ซึ่งการจะปิดเงียบข้อสอบ หรือคำเฉลย โดยไม่เผยแพร่ต่อสาธารณชนคงทำไม่ได้ ดังนั้น สทศ.จึงได้นำข้อสอบ O-NET ชั้น ป.3 ม.3 และ ม.6 รวม 24 วิชาขึ้นเผยแพร่บนเว็บไซต์ของ สทศ.ทั้งหมด อีกทั้งประมาณปลายเดือน เม.ย.นี้ สทศ.จะได้นำข้อสอบแบบทดสอบวัดความรู้ทั่วไป (GAT) และแบบทดสอบความรู้ทางวิชาชีพ/วิชาการ (PAT) รวม 23 วิชา พร้อมทั้งคำเฉลย และคำอธิบายของข้อสอบ O-NET ขึ้นเผยแพร่บนเว็บไซต์ของ สทศ.ด้วยเช่นกัน
       
       “การ นำคำเฉลยและคำอธิบายข้อสอบ O-NET, GAT/PAT เผยแพร่บนเว็บไซต์นั้น ถือเป็นการดำเนินการในปีแรก เพราะที่ผ่านมาจะให้โรงเรียนที่ต้องการคำเฉลยแจ้งความจำนงมายัง สทศ.และ สทศ.จะส่งกลับไปให้ เพื่อนำไปอธิบายแก่นักเรียน แต่ความเป็นจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะโรงเรียนนำไปติดบอร์ดหน้าโรงเรียน ทำให้ไม่เกิดประโยชน์กับเด็ก ทั้งที่ สทศ.ต้องการให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านข้อสอบ” ผอ.สทศ.กล่าว
       
       ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าการตรวจกระดาษคำตอบ O-NET ชั้น ป.3 และ ม.3 นั้น ขณะนี้การตรวจคำตอบเกือบจะเรียบร้อยทั้งหมดแล้ว คาดว่า จะใช้เวลาตรวจทานอีกประมาณ 2 สัปดาห์ และสามารถประกาศผลได้ไม่เกินวันที่ 31 มี.ค.นี้ ส่วนชั้น ม.6 คาดว่า น่าจะประกาศผลสอบได้ก่อนวันที่ 10 เม.ย.นี้ซึ่งเป็นกำหนดการเดิม
       
       ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังสำหรับการสอบ GAT/ PAT ครั้งที่ 1/2553 ในวันที่ 6-9 มี.ค.นี้ คือ ขอให้นักเรียกใช้วิจารณญาณและความรู้ของตนเองในการทำข้อสอบ อย่าหลงเชื่อคำบอกเล่าของคนอื่นหรือสถาบันกวดวิชา ที่แนะเคล็ดลับในการทำข้อสอบ อาทิ ต้องนับจำนวนคำตอบว่าจะต้องเป็นเท่านั้นเท่านี้ เพราะคำตอบที่ถูกต้องไม่ได้คงที่เท่ากันทุกปี ดังนั้นจะไปนับจำนวนคำตอบคงไม่ได้ จึงขอให้นักเรียนดูที่ข้อสอบเป็นหลัก
        
       ด้านนายสมเกียรติ ชอบผล  รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)  กล่าวถึงกรณีที่นักเรียนร้องเรียนว่า สทศ. ออกข้อสอบ โอเน็ต ม.6 เกินหลักสูตร ว่า วานนี้ (3 มี.ค.) ก็ได้มีการหารือเรื่องนี้ร่วมกับนักวิชาการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) และได้วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 พบว่า
       มาตรฐานการเรียนรู้คล้ายกันเกือบ 90%  เพียงแต่หลักสูตรฯ พ.ศ. 2551 จะมีตัวชี้วัดชั้นปี ขณะที่หลักสูตรฯ พ.ศ.2544 ไม่มี และมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรฯ พ.ศ.2551 จะลดลง  อย่างไรก็ตามเมื่อเด็กร้องเรียนว่า สทศ.ออกข้อสอบโอเน็ต ม.6 ตามหลักสูตรฯ พ.ศ.2551 ซึ่งเด็กม.6 ยังไม่ได้เรียน  แม้แต่โรงเรียนมัธยมศึกษาที่นำร่องหลักสูตรฯ พ.ศ.2551 จำนวน 555 โรงเรียน จากทั้งหมดเกือบ 3,000 โรงเรียนในปี 2552 ที่ผ่านมา  กลุ่มนี้ในปี 2553 ก็เลื่อนขึ้นชั้นม. 5 เท่านั้น
       เพื่อคลี่คลายปัญหาดังกล่าว  จึงได้มอบหมายให้โรงเรียนที่นำร่องหลักสูตรฯ พ.ศ.2551 และโรงเรียนทั่วไปที่ใช้หลักสูตรฯ พ.ศ.2544 ทั้งโรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนกลาง และโรงเรียนเล็ก ทั้งกทม.และต่างจังหวัด ได้ช่วยวิเคราะห์ว่ามาตรฐานการเรียนรู้ของ 2 หลักสูตรไปด้วยกันได้ 90% จริงหรือไม่


       “ใน ฐานะที่โรงเรียนได้จัดการเรียนการสอน เชื่อว่าจะเป็นผู้ที่ให้คำตอบเรื่องนี้ได้ดีที่สุด  หากมาตรฐานการเรียนรู้ใกล้เคียงกัน 90% จริง สพฐ.จะช่วยชี้แจงให้ผู้ปกครองและนักเรียน  เพื่อคลายความกังวล หากต่างกันมาก จะหารือกับ สทศ.เพื่อหาแนวทางแก้ไขกันต่อไป ซึ่ง สพฐ.ให้โรงเรียนไปวิเคราะห์และรายงานกลับมาภายในวันที่ 8 มีนาคมนี้” นายสมเกียรติ กล่าว



ที่มา http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000030786



แสดงความคิดเห็น

>

17 ความคิดเห็น

เหหกก 4 มี.ค. 53 เวลา 18:50 น. 1

บทสรุปสุดท้ายคือ

เด็กรุ่นนี้ ก็ต้อง นำคะแนน โอเน็ตตัวนี้ติดตัวตลอดไป
ไม่ได้แก้ไข ใดใด อย่างมากก็แค่เพิ่มคะแนนบางข้อ

แต่เด็กรุ่นต่อไป จะพัฒนา ข้อสอบให้ดีขึ้น พัฒนาการเรียนการสอนที่ดีขึ้น

นี้แหละ ชีวิตของ หนูทดลอง

เด็กรุ่นอื่นก็ดูไว้ซะ

ที่พวกเราเรียกร้องมา

บทสรุปสุดท้ายเราก็ไม่ได้อะไร

มีแต่รุ่นน้องแหละที่จะได้

0
Darkila 4 มี.ค. 53 เวลา 18:53 น. 3

กว่าจะยอมรับ .. - -

แต่ทำไมไม่แก้ปัญหาที่เพิ่งเกิดขึ้นไปก่อน อาจไม่ใช่สอบใหม่ แต่ก็ตัดข้อที่ผิดพลาดทิ้ง แล้วก็คิดคะแนนจากข้อที่ใช้ได้
เห้อออออ

ก็ขอบคุณพี่ๆและคนอื่นๆที่ช่วยกันต่อสู้มานะคะ ^^

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 4 มีนาคม 2553 / 19:01


PS.  สู้เข้าไว้ทาเคชิ !! ตราบใดที่เรายังมีชีวิต ตราบนั้นเรายังมีความหวังเสมอ
0
Hellzen 4 มี.ค. 53 เวลา 19:04 น. 4

อย่ามากระแดะดีใจที่มีคนสนใจเยอะ

ที่ทุกคนพากันสนใจเพราะมันเ้ป็นอนาคตของเด็กไทยหรอก!!!

พวกชอบเรียกร้องความสนใจ!!!!

0
33333333 4 มี.ค. 53 เวลา 19:13 น. 6
 ที่เรียกร้องกันมาก็ไม่มีความหมายหรอ แค่เอาข้อสอบเผยแพร่ คิดว่าจะจบหรอเจ๊ ??
0
P12lovely34P 4 มี.ค. 53 เวลา 19:40 น. 8

ยังไงมันก้ต้องต่างกันอยู่ล้ว  ในเมื่อตัวชี้วัดต่างกัน  ถึงเนื้อหาจะคล้ายกัน  แต่แนวข้อสอบ  คำถามของข้อสอบก็ต้องต่างกันอยู่แล้ว  ในเมื่อหลักสูตรปี  2551  เน้นรายละเอียด  ในขณะที่ปี  2544  เป็นการรู้โดยคร่าวๆ  จะดูเฉพาะเนื้อหาที่สอนได้ยังไง  มันต้องดูที่ตัวข้อสอบสิ  แต่อย่างน้อยก็ยังดีใจที่ผู้ใหญ่ยังให้ความสำคัญกับอนาคตของชาติอยู่บ้าง

0
HenZ 4 มี.ค. 53 เวลา 19:56 น. 9

อยากให้ผู้ใหญ่
ที่มีแต่ดูถูกเด็กไว้ว่า
ตั้งแต่คุณ ตั้งการสอบแบบนี้มา
โดยไม่เคยวิจัยหรือนำมาเสนอบอกเด็กล่วงหน้าตาที่เคยบอกว่า3ปี
อยู่ๆก็เปลี่ยนโดยไม่ได้ตั้งตัว
มันมีผลอย่างไรบ้าง
ผลก็คือเด็กเคลียสมากขึ้น
แล้ว&nbsp ฆ่าตัวตายก็เพิ่มขึ้นด้วย
นี้หรือความรับผิดชอบของคุณ
มีแต่ปัดป้องตัวเอง
ว่าคุณถูก แล้วเด็กก็ผิดเสมอมา
นี้คืออนาคตของเราหลายๆคน
คุณคิดว่ามันเป็นเรื่องตลกหรือยังไง
คิดว่าเด็กเขาสนุกกับคุณหรือยังไง
ที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา โดยไม่เคยเห็นจะบอกก่อนล่วงหน้า3ปี
แบบที่เคยพูดไว้เลยซักครั้งเดียว
หรือคุณคิดว่าคนที่เก่งที่สุดเท่านั้นคือ อนาคตของชาติและลูกหลานของคุณ

0
[:+:+:$herl3eT:+:+:] 4 มี.ค. 53 เวลา 20:11 น. 11

ป้ากำลังยิ้มอย่างมีความสุขใช่มั๊ย
ที่เล่นกับอนาคตของคนอื่นอยู่

บาปกรรม มันมีจริง! นะป้าอุทุม

มันอาจจะไม่ได้มา ให้ป้าโดนในชาตินี้
แต่ชาติหน้ามันยังมีนะป้า
เพราะป้าไม่มีทางหลุดเป็นนิพพานได้เป็นแน่แท้
เพราะป้ากำลังมีความสุขกับความร้ายกาจที่ป้าทำกับเด็กๆ

ยอมรับความผิดพลาด+ความร้ายกาจของป้า เสียเดี๋ยวนี้ พวกหนูก็พอใจแล้ว




ปล. 
พวกหนูไม่ได้มีปัญหาแค่วิชาสุขศึกษา พลศึกษา ศิลปะ หรอกนะค่ะ
แต่มันไม่มีความยุติธรรมเลย
ในข้อสอบตอนที่ 2 ของวิชาสังคมศึกษา
ที่คนไม่รู้ในข้อนั้นๆ กับคนที่รู้แต่รู้ไม่หมด  จะได้คะแนนเท่ากัน!!! คือเท่ากับ 0

ป้าทำให้อนาคตของพวกหนู ริบหรี่ลงมากนะคะ ตั้งแต่ป้าเปลี่ยนระบบเอนท์ 
คิดได้อย่างไรกัน ให้สอบตั้ง 3 ครั้งในปีเดียว 
การบ้านหนูก็มี(ท่วมหัว) สอบในโรงเรียนหนูก็มี(หนึ่งอาทิตย์) กิจกรรมในโรงเรียนก้ต้องทำ(เช่นกีฬ่าสี)

แต่ป้ากับให้ความรับผิดชอบมาแค่คำพูดว่า
"ไม่ได้ให้สอบทุกครั้ง"
นี่คือคำพูดของคนที่มีอักษรย่อระดับสูงนำหน้าชื่อตัวเองใช่มั๊ยป้า
พูดตรงนี้จากใจจริงนะป้า
ให้สอบมากี่ครั้ง หนูก็ไม่มีความพร้อมของนร.เอนท์สักครั้ง
ที่พร้อมจริงๆคือครั้งที่ 4 (1/2553) นี่เอง เพราะมันปิดเทอม ไม่มีการบ้าน ไม่มีกิจกรรม ไม่มีสอบในโรงเรียน
แต่ป้าก็เปลี่ยนแนวข้อสอบ เปลี่ยนแนวคำตอบ ไปเรื่อยๆ

โดยให้เหตุผลอย่างไม่รู้สึกอะไรว่า
"คนเก่งยังไงก็ได้คะแนนที่ดี"
"ข้อสอบแบบนี้ป้องกันการเดา"

แต่ป้าก็ผ่านเข้ามาเป็นนิสิตจุฬาฯ ด้วยข้อสอบเดานั่นแล!

0
[:+:+:$herl3eT:+:+:] 4 มี.ค. 53 เวลา 20:24 น. 12

เอาแค่ความเท่ากันของเกณฑ์gat-patครั้งที่1 2 และ 3 ก็ไม่มีแล้ว
ครั้งที่1 กับครั้งที่ 2 อาจจะเหมือนกัน
แต่ครั้งที่ 1+2 กับ ครั้งที่ 3 มันต่างกันมาก

ขอพูดอะไรให้ฟังนะ
นี่คือการสอบครั้งที่ 2
เราสอบแพดเลขห้องเดียวกับผู้หญิงคนนึงที่เรารู้จัก ในโรงเรียนเรา
เราเห็นกริยาของเธอทุกอย่าง ยกเว้น เห็นกระดาษคำตอบ ของเธอ
เพราะนั่งห่างกัน 3 แถว และเราก็นั่งอยู่หลังเธอ

เธอมาสายไปครึ่งชั่วโมงพอดี
มาถึงเธอก็หลับ  หลับไป นานมากๆ
แล้วเธอก็ตื่นขึ้นมาทำ ทำไม่ถึง ครึ่งชั่วโมง
เธอก็หลับอีกครั้ง แล้วก้หลับนาน
แล้วเธอก็ตื่นขึ้นมาทำจนหมดเวลา
คะแนนออกมา เธอได้ เกือบ 150
เธอดีใจมาก ที่เธอมีโชคกับการเดา  เราเองก็อิจฉา


น่าทึ่งมาก ที่เธอได้คะแนนพอๆกับคนที่ตั้งใจทำ อาจเยอะกว่าคนตั้งใจทำเสียอีก
และเธอสามารถติดมหา'ลัยดีๆ ด้วยที่มาของคะแนนแบบนี้

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 4 มีนาคม 2553 / 20:26

0
dog-*-dag 4 มี.ค. 53 เวลา 20:39 น. 13

วิชาอื่นไม่เกินหลักสูตร

แต่ สุข ศิลปะ การงาน

กล้าพูดปะว่าไม่เกิน

ห่าาาา

0
kikky 4 มี.ค. 53 เวลา 23:31 น. 14

คห. 1 เป็นบทสรุปของความอคติ ใจแคบ ด่ากราด
หรือว่าเป็นยังไงดี ถึงจะพอใจ

รุ่นกรุชิพหาย รุ่นน้องมันก็ต้องชิพหายเหมือนกรุด้วย

ไม่น่าล่ะ บางส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับการประท้วง ก็เพราะแบบนี้นี่เอง

0