Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ตำนสมเด็จพระนเรศวรฉบับพม่า

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

เรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กษัตริย์ยอดนักรบของไทย ถือเป็นเนื้อหาประวัติศาสตร์ตอนที่มีเสน่ห์ชวนติดตามที่สุดตอนหนึ่ง

บัดนี้ ได้กลายเป็นภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่โดยม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล

ในฐานะของหนัง หรือภาพยนตร์ ย่อมจะต้องมีการดัดแปลงเนื้อหาบางตอน ให้เหมาะกับเทคนิคการเล่าเรื่องของหนัง รายละเอียดบางอย่างอาจจะมาจากการตีความของผู้สร้าง อย่างเช่น ชุดนักรบในเรื่อง ซึ่งดูจะเป็นอัศวินฝรั่งไปสักหน่อย


ในความเป็นจริง เรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยังเป็นเรื่องราวในประวัติศาสตร์ที่ไม่สมบูรณ์เต็มที่ ยังรอข้อมูลใหม่ๆ เข้ามาเสริมความหนักแน่น หรือหักล้างข้อมูลเก่า

ตัวอย่างหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ลงตัว และคงไม่ลงตัวง่ายๆ ก็คือ ข้อขัดแย้งเรื่องสถานที่กระทำยุทธหัตถี ซึ่งขณะนี้ ถือว่าอยู่ที่หนองสาหร่าย ต.พังตรุ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี แต่ก็มีผู้เสนอข้อมูลใหม่ว่า น่าจะอยู่ทางจังหวัดกาญจนบุรี

รวมไปถึงสถานที่สวรรคตของกษัตริย์ยอดนักรบพระองค์นี้ ที่ประวัติศาสตร์ระบุว่า "เมืองหาง" แต่ยังหาข้อสรุปไม่ได้แน่ชัดว่า อยู่ในเขตจังหวัดภาคเหนือของไทย หรือในเขตพม่า

แม้แต่พระนามของสมเด็จพระนเรศวร ก็ยังมีการค้นพบว่า ในบันทึกเก่าแก่จำนวนหนึ่ง สมเด็จพระนเรศวรเป็นที่รู้จักในพระนาม "พระนเรศ" ชื่อพระนเรศวร อาจจะมาจากการออกเสียงตามๆ กันในยุคหลังๆ นี่เอง

อย่างไรก็ตาม ผลดีของความสนใจในพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวร ทำให้มีผู้สนใจติดตามค้นคว้าหาหลักฐานอย่างคึกคัก ในอนาคต ประวัติศาสตร์ในส่วนนี้ น่าจะมีข้อมูลที่หนักแน่นเข้ามาเสริมมาเติม เพื่อประโยชน์ในการศึกษาของคนรุ่นหลัง

เหตุการณ์สำคัญที่สุดตอนหนึ่งในยุคสมเด็จพระนเรศวร ก็คือ สงครามยุทธหัตถี ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชา ซึ่งพบว่ายังมีการระบุรายละเอียดของเหตุการณ์ไม่ตรงกันนัก

ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ แห่งคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักวิชาการที่ค้นคว้าประวัติศาสตร์อยุธยาอย่างจริงจัง มีผลงานตีพิมพ์จำนวนมาก

รวมถึง"พม่ารบไทย-ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับพม่า" โดยสำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม


ดร.สุเนตรระบุในหนังสือเล่มเดียวกัน ถึงสงครามยุทธหัตถีว่า


เรื่องสงครามยุทธหัตถีที่เป็นที่รับรู้และแพร่หลายในหมู่คนไทยคือเรื่องที่เขียนไว้ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ที่ชำระขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนจะถูกถ่ายทอดผ่านงานเขียนที่มีอิทธิพลต่อสังคมในวงกว้าง อาทิ ลิลิตตะเลงพ่าย พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาพระนิพนธ์ไทยรบพม่า และพระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ


บันทึกประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่กว่านั้น เช่น พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐฯ ที่ชำระขึ้นในสมัยอยุธยา (พ.ศ.2223) ก็มีความผิดแผกไปจากพงศาวดารและเรื่องที่ชำระหรือเขียนกันในสมัยหลัง แต่ยังมีประเด็นสำคัญยุติต้องกันอยู่ คือต่างระบุถึงการชนช้างระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระมหาอุปราชา จนพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์กับคอช้าง

แต่ถ้าไปดูพงศาวดารพม่าฉบับอูกาลาและฉบับหอแก้ว จะพบว่า ผิดแผกไปจากหลักฐานข้างฝ่ายไทยมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านสมรภูมิรบและการสิ้นพระชนม์ของจอมทัพพม่า และได้ถอดความมาลงโดยละเอียดดังนี้

74. การสงครามครั้งสุดท้าย วังหน้า มหาอุปราชาสิ้นพระชนม์

ทัพมหาอุปราชานั้นเคลื่อนมาถึงกรุงศรีอยุธยา ในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2136) (ทัพเคลื่อนออกจากกรุงหงสาวดีในวันพุธ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2135) มหาอุปราชานั้นทรงพระคชาธารนาม (งะเยโซง (ฉบับหอแก้วระบุนามพระคชาธารว่า เยโปงโซงซึ่งน่าจะหมายความว่าเปี่ยมด้วยอานุภาพหาญกล้า ส่วนหลักฐานไทยระบุนามช้างทรงนี้ว่า พัทธะกอ) เบื้องขวาพระองค์ยืนด้วยพระคชาธารและกำลังไพร่พลของพระอนุชาตะโดธรรมราชา (เจ้าเมืองแปร) ส่วนเบื้องซ้ายยืนด้วยพระคชาธารและไพร่พลของนัตชินนอง (โอรสพระเจ้าตองอู) แลตัดออกไปเบื้องขวาไม่ใกล้ไม่ไกลจากพระคชาธารแห่งมหาอุปราชานั้นยืนด้วยช้างของเจ้าเมืองซามะโร (ไทยว่าเป็นพระพี่เลี้ยงชื่อจาปะโร) ซึ่งกำลังตกน้ำมันหนักถึงกับต้องใช้ผ้าคลุมหน้าช้างไว้ ข้างพระนเรศวรกษัตริย์อยุธยาทรงพระคชาธารชื่อพระลโบง (ฝ่ายไทยว่าพระยาไชยานุภาพ) จึงนำไพร่พลทแกล้วทหารเป็นจำนวนมากออกมาจากพระนคร (หมายเผด็จดัสกร)

ครั้นทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชา ก็ไสพระคชาธารเข้ายังตำแหน่งที่จอมทัพพม่านั้นประทับอยู่โดยแรงเร็ว ฝ่ายเจ้าเมืองซามะโรครั้นเห็นพระนเรศวรขับพระคชาธารตรงรี่หมายเข้าชิงชนช้างประทับก็เปิดผ้าคลุมหน้าช้างพระหนะแห่งตนออก หมายมุ่งพุ่งสกัดช้างทรงองค์นเรศวร แต่ช้างตกน้ำมันเชือกนั้นกลับหันรีหันขวางแลกลับตัวเข้าแทงโถมเอาช้างทรงองค์อุปราชาโดยกำลังแรง พระมหาอุปราชาจึงจำต้องขับพระคชาธารเข้ารับไว้ ซึ่งช้างทรงองค์จอมทัพพม่าถึงจามสนั่น (ด้วยบาดเจ็บสาหัส) แลขณะนั้นข้างอยุธยาก็ระดมยิงปืนสวนทางมากระสุนถูกเอาองค์อุปราชาโดยถนัดจนสิ้นพระชนม์ซบกับคอคชาธาร คุเยงพละกลางช้างพระที่นั่งเห็นมหาอุปราชาต้องปืนใหญ่ (ปืนที่ยิงมหาอุปราชานั้นอูกาลาระบุว่า คือปืนชนิดเดียวกับที่เรียกว่า Jingal ในภาษาอังกฤษ) ก็เข้าพยุงพระศพไว้ และบังคับช้างเข้ากำบังในพุ่มไม้ ข้างพระนเรศวรยังไม่ทรงทราบว่ามหาอุปราชาหาพระชนม์ชีพไม่ จึงไม่ทรงขับพระคชาธารตามติดปะทะ เพียงยั้งรออยู่


ขณะนั้นนัตชินนองซึ่งทรงพระคชาธารนามอูบอตะกะ อยู่เบื้องซ้ายก็ไสพระคชาธารเข้าชนพระคชาธารทรงองค์นเรศวรกษัตริย์อยุธยา พระนเรศวรจำต้องถอยร่น แลตะโดธรรมราชา (เจ้าเมืองแปร) เห็นจอมทัพอยุธยาเพลี่ยงพล้ำร่นถอยก็กวัดแกว่งของ้าวขับช้างนำรี้พลตามติดเข้าตี ข้างองค์นเรศวรเมื่อถอยถึงคูพระนครก็รีบนำทัพเข้าภายในอาศัยพระนครนั้นตั้งรับ ข้างฝ่ายพม่าที่ไล่ตามติดมีเจ้าเมืองโทงโบและเจ้าเมืองเวงยอ ถลำรุกรบล่วงเลยเข้าไปมากจึงถูกจับเป็นเชลยสิ้น แต่ฝ่ายอยุธยานั้น อำมาตย์ออกญาเปะและออกญาจักรีก็ถูกทหารนัตชินนองล้อมจับได้ทั้งเป็น

เมื่อเกิดเหตุจนมหาอุปราชาถึงสิ้นพระชนม์แล้ว ตะโดธรรมราชา (เจ้าเมืองแปร) แลเหล่าทหารน้อยใหญ่ทั้งหลายต่างก็ถอยทัพไปประชุมพลอยู่ไกลว่าถึงกว่าหนึ่งตาย (คิดเป็นระยะ 2 ไมล์โดยประมาณ) จากตัวพระนครโดยประมาณ และนายทัพทั้งหมดทั้งสิ้นต่างก็หันหน้าปรึกษาราชการศึกว่าครั้งนี้ยังจะจัดการพระศพองค์อุปราชาเสียในแดนโยธยาและระดมตีกรุงต่อไป หรือจะนำพระบรมศพกลับสู่พระนคร

ครานั้น ตะโดธรรมราชาเจ้าเมืองแปรจึงว่า "มาบัดนี้ พระเชษฐามหาอุปราชา (จอมทัพ) ก็หาพระชนม์ชีพไม่แล้ว เปรียบได้ดังแขนงไผ่อันไร้ซึ่งเชือกพันธนาไว้ การจะกลับไปกระทำการตีอยุธยาต่อไปเห็นว่าไม่สมควร อีกประการนั้นเล่าการซึ่งจะจัดการพระศพในแดนอยุธยาก็ไม่เหมาะด้วยยากจะประมาณว่าหากกระทำไปแล้วจะถูกปรามาสจากองค์บพิตรและพระญาติพระวงศ์ และแท้จริงราชการสงครามครั้งนี้ก็ยังนับว่ามีชัยอยู่ใช่น้อย ครั้งนี้ถึงมีอันต้องถอยกลับ แต่ภายภาคหน้าเมื่อสิ้นวสันตฤดูก็ย่อมยกมากระทำศึกได้อีก"

ฝ่ายข้าทหารใหญ่น้อยได้ฟังความตามตรัสก็เห็นคล้อย จึงต่อโลงใส่พระศพด้วยไม้มะม่วงอย่างเลิศ แลเอาปรอทกรอกพระศพแล้วก็จัดกระบวนรี้พลเชิญพระศพองค์อุปราชากลับคืนพระนคร เดือนมีนาคมก็บรรลุถึงหงสาวดี องค์ธรรมราชามหากษัตริย์ ครั้นสดับข่าวว่าพระราชาโอรสมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์ชีพ และพระศพนั้นถูกอัญเชิญกลับคืนมาก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยอัครมเหสีราชมารดาออกรับพระศพ และลุเลิกพระศพเยี่ยงพระจักรพรรดิราช ห้อมล้อมด้วยช้างม้าไพร่พลสกลไกร การพระศพกระทำท่ามกลางความโศกเศร้าโศกาดูรยิ่ง ฯลฯ



จะเห็นว่า ข้อเท็จจริงเรื่องการสิ้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชา มองจากฝ่ายพม่าแล้ว มีความแตกต่างกัน

ซึ่งดร.สุเนตรเห็นว่า ต่อปัญหาการสิ้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชานั้น จำเป็นต้องศึกษาอย่างระมัดระวัง จะอาศัยความสอดคล้องระหว่างพงศาวดารพม่าและบันทึกฝรั่งต่างชาติที่มีอายุร่วมสมัยกับเหตุการณ์เป็นบรรทัดฐานตัดสิน คงไม่ได้

เพราะหากจะใช้หลักฐานฝรั่งต่างชาติเป็นเกณฑ์กัน ก็ยังมีหลักฐานเก่าแก่ อาทิ บันทึกของฝรั่งโปรตุเกส ที่ถอดความเป็นภาษาอังกฤษโดย A. Macgregor ในชื่อ "A Brief Account of the Kingdom of Pegu..." คาดว่ามีอายุไม่ต่ำไปกว่าปีค.ศ.1621 (พ.ศ. 2164) ยืนยันชัดเจนว่าสงครามยุทธหัตถี เป็นการรบอย่างเป็นกิจจะลักษณะต่อหน้าทหารของทั้งสองฝ่าย โดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีพระราชสาสน์ท้าพระมหาอุปราชาให้ออกมากระทำยุทธหัตถีอย่างสมพระเกียรติ

ดร.สุเนตรชี้ว่า ความขัดแย้งที่ปรากฏในหลักฐานต่างๆ ตามที่ได้กล่าวมา คือภาพสะท้อนของการเผชิญกันระหว่างจารีตของสงครามในรูปแบบเก่าคือการรบกันตัวต่อตัวบนหลังช้าง กับการแพร่กระจายของอาวุธสมัยใหม่คือปืนไฟ

แม้ว่าในที่สุด ปืนไฟจะได้ทำให้ธรรมเนียมนิยมของการทำยุทธหัตถีหมดไป แต่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น ธรรมเนียมนิยมของการทำยุทธหัตถียังไม่หมดไปเสียทีเดียว มีหลักฐานปรากฏในพงศาวดารพม่าว่าพระเจ้านันทบุเรงทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระเจ้าอังวะตะโดเมงสอถึงขั้นแพ้ชนะ พระเจ้าอังวะต้องหลบหนีเอาชีวิตรอด

และนี่คือสีสันของประวัติศาสตร์ ซึ่งถ้าต้องการมากกว่าความสนุกสนาน จะต้องศึกษาจากหลายๆ แหล่งข้อมูล


PS.   ใครคนนึงเคยบอกว่าความรักทำให้ตาบอด แต่ชันก้อยินดี ที่จะอยู่กับความืดมิดถึงแม้ว่ามันจะลำบาก แต่ชั้นก้อยินดีที่จะอยู่กะมัน

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น

... 23 ม.ค. 50 เวลา 10:30 น. 2

เหอประวัติศาสตร์เขียนโดยผู้ชนะ มานก้ต้องมีการเสริมเติมแต่งเป็นธรรมดา บางครั้งก็แปลงจนเป้นคนละเรื่องเลย เช่น เรื่องรามเกียรติ์ ฝ่ายพระรามคือพวกอารยันที่เข้ามารุกรานพวกแขกผิวดำจนต้องถอยล่นไปอยู่ศรีลังกา(กรุงลงกา) แล้วก็เข้ามาจัดวรรณะ ให้พวกพื้นเมืองผิวดำเป็นชนชั้นต่ำสุด แล้วคิดว่าในเรื่องรามเกียรติ์ใครเป็นฝ่ายดี ฝ่ายไม่ดีกันแน่

0
Dear♥`$☻T☺N 23 ม.ค. 50 เวลา 15:32 น. 3

ดีจังเลยนะค่ะ  มีสาระมาก


PS.  The Solarsis เป็นเรื่องผจญภัยกึ่งแฟนตาซีกับวิทยาศาสตร์อ่ะ หากใครชอบแนวผสม ๆ ก็ลองเข้าไปอ่านดูนะ เพิ่งหัดแต่งเป็นครั้งแรก ฝากด้วยนะ http://my.dek-d.com/mydear_satan/story/view.php?id=210734
0
aistory 23 ม.ค. 50 เวลา 20:33 น. 4

ขอบคุณน๊า ต่างฝ่ายก็ต้องเขียนเอาดีไว้ด้วย


PS.  ความฝันของวันนี้ คือความจริงของวันพรุ่งนี้
0