Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ขั้นตอนการผลิตภาพยนตร์ 4 ขั้นตอนง่าย ๆ จากรายการกบนอกกะลา

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

พอดีว่าเราต้องทำงานส่งอาจารย์ในการสรุป ขั้นตอนการผลิตภาพยนตร์ของรายการกบนอกกะลา  เมื่อสรุปได้แล้ว จึงคิดว่ามันมีความสาระดี  เลยเอามาให้เพื่อนๆอ่านกันบ้าง

กว่าจะเป็นหนังเรื่องนึง ไม่ใช่ง่ายๆเลยนะ


มนุษย์โลกเรา ได้รู้จักกับภาพยนตร์เป็นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2438 โดยพี่น้องตระกูลลูมีแยร์ ชาวฝรั่งเศส  นำภาพยนตร์ที่เรียกกันว่า  “ซีเนียมาโตกราฟ”  มาออกฉายเก็บค่าชมที่กรุงปารีส ซึ่งคนให้ความสนใจกันมาก   และต่อมาในปี พ.ศ. 2440 ซีเนียมาโตกราฟนี้ก็ได้นำเข้ามาฉายในประเทศไทยที่โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ กรุงเทพมหานคร คนไทยเรียกมหรสพนี้ว่า  “หนังฝรั่ง”

หนังไทยยุคแรก ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสั้น ๆ เป็นหนังข่าว หรือบันทึกเหตุการณ์สำคัญ เป็นภาพขาวดำและไม่มีเสียง  เป็นการตั้งกล้องนิ่ง ๆ  ต่อมาจึงเริ่มกลายเป็นหนังเรื่องยาว มีการตัดต่อและใส่เทคนิคต่างๆ เพิ่มเข้าไป  หนังที่มีการตัดต่อเป็นเรื่องแรกคือ  “นางสาวสุวรรณ”   คนไทยเป็นผู้แสดง  แต่เป็นทุนของชาวฝรั่ง  ในส่วนของหนังที่คนไทยลงทุนทำเองทั้งหมดเป็นเรื่องแรกคือ  “โชคสองชั้น”

จำนวนหนังไทยที่ออกฉายอยู่ที่  40 - 50  เรื่องต่อปีจากบริษัทผู้สร้างประมาณ  10  แห่ง    จากสถิติที่ผ่านมาประเทศไทยเคยมีหนังออกฉายสูงที่สุดปีละหลายร้อยเรื่องในยุคของ  “มิตร ชัย บัญชา”   ส่วนประเทศอินเดียมียอดฉายหนังเยอะที่สุดคือ 100 เรื่องต่อปี 

การสร้างหนังสักเรื่องใช้ทุนต่ำที่สุดคือ 10 ล้านบาท ถ้ามากที่สุดคือประมาณ 5 – 6 ร้อยล้านบาท เนื่องจากงบประมาณในการสร้างสูงมาก  โอกาสขาดทุนก็มีมากกว่าครึ่ง  การลงทุนสร้างหนังจึงเป็นความเสี่ยงมากสำหรับผู้ลงทุน  ทำให้มีบริษัทสร้างหนังในเมืองไทยน้อยมาก ในส่วนนี้จะยกตัวอย่างบริษัท GTH

การสร้างหนังแต่ละเรื่องนอกจากจะใช้เงินทุนที่มหาศาลแล้ว ยังมีขั้นตอนและกระบวนการทำหนังที่ยุ่งยากซับซ้อนมาก สามารถแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนได้ดังนี้

1.  การคัดเลือกบทหนัง  

บทหนังจะมีคนเสนอไปยังบริษัท GTH มีบทหนังเพียง 10% ที่ผ่านการคัดเลือกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์จริง ๆ  หลักในการพิจารณาบทหนังคือ  ความชอบของคนที่เกี่ยวข้อง หมายถึงคนที่ตรวจบทหนัง  อันนี้อยู่ที่ความเห็นส่วนบุคคล  อาจเรียกได้ว่าเป็นคะแนนพิศวาส  และหลักที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ  พิจารณาจากสถิติของคนดู   คือจะมีบริษัทเก็บข้อมูล ทำการสุ่มกลุ่มคน ว่ากลุ่มประชาชนตัวอย่างชอบหนังแนวไหน  จากสถิตินี้ ก็จะนำมากำหนดเกณฑ์ที่จะคัดเลือกบทหนัง  แต่ก็ไม่ได้เอาบทที่เราคัดเลือกมาแล้วนำมาถ่ายทำเลย  ต้องนำมาเรียบเรียง สร้างสรรค์บท  ใส่คำพูด  เน้นรายละเอียดทุกฉากทุกตอน   ซึ่งเรียกว่า  “การพัฒนาบท”   และเมื่อทุกอย่างเสร็จสิ้นก็จะกลายมาเป็นบทที่สมบูรณ์ พร้อมที่จะถ่ายทำ   แต่กว่าบทหนังจะผ่านขั้นตอนนี้มาได้  บางเรื่องใช้เวลาเป็นปี 

2.  Pre Production  

หลังจากได้บทที่สมบูรณ์มาแล้ว ก็เข้าสู่การเตรียมงานก่อนถ่ายทำ จะมีการประชุมวางแผนงาน พูดคุยกันเรื่องงบประมาณในการทำหนัง และการจัดเตรียมทีมงาน เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ  จัดหาสถานที่ถ่ายทำ หาเสื้อผ้า ฉาก และที่สำคัญ จัดหาดารานักแสดง  ในส่วนนี้ทีมงานก็ต้องแยกเป็นแต่ละฝ่ายเช่น   ฝ่ายกำกับการแสดง    ฝ่ายออกแบบ   ฝ่ายศิลป์   ฝ่ายสวัสดิการ   ผู้จัดการกองถ่าย  ฝ่ายจัดหานักแสดง

ในส่วนของฝ่ายจัดหานักแสดง  ก็จะมีจดหมายจากคนที่อยากเป็นดาราสมัคร และส่งรูปเข้ามามากมาย   รวมทั้งมีนายแบบ นางแบบจากโมเดลลิ่งด้วย  เมื่อเราคัดเลือกจากรูปภาพได้แล้ว ก็ต้องนัดคนคนนั้นมาถ่ายรูปและมาแสดงความสามารถ

หลังจากได้นักแสดงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   ก่อนถ่ายทำก็จะมีพิธีที่สำคัญมากอย่างหนึ่งคือ   พิธีบวงสรวงเปิดกล้อง  ซึ่งเป็นพิธีทางศาสนาพราหม์   เป็นการบูชาครูทางด้านศิลปะ

3.  ขั้นตอนการถ่ายทำ  เมื่อมาถึงขั้นตอนการถ่ายทำจริงนี้  ทุกฝ่ายต้องเตรียมพร้อม จะมีทีมงานเข้ามาดูแลรับผิดชอบหลายสิบชีวิตในกองถ่าย  ใครมีหน้าที่ดูแลส่วนไหนก็ต้องทำส่วนนั้นให้ดีที่สุด เช่น ฝ่ายจัดหาอาหาร ก็ต้องมากองถ่ายแต่เช้า เพื่อมาเตรียมอาหารให้ทีมงาน และนักแสดงทุกคนได้ทานกัน  ส่วนฝ่ายแต่งหน้าทำผม ก็ต้องออกแบบทรงผมให้เข้ากับบทบาทของนักแสดง  เป็นต้น 

ในกองถ่าย 1 กอง จะมีทีมงานไม่ต่ำกว่าครึ่งร้อย ซึ่งเป็นจำนวนที่เยอะมาก  ในกองถ่ายนั้นคนทุกฝ่ายจะต้องทำงานประสานกับเป็นหนึ่งเดียว  โดยมีผู้กำกับเป็นหัวเรือใหญ่ คอยสั่งการนำทิศทางให้แต่ละฉากเป็นไปอย่างที่ตั้งใจไว้  วิธีทำให้คนทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันก็คือ  การใช้  “Story Board”  จะทำให้ทุกคนมองเห็นภาพและเข้าใจตรงกันมากที่สุด

ก่อนจะทำการถ่ายทำจริง ต้องมีการซักซ้อมกันก่อน ในส่วนของช่างภาพ ก็จะมีผู้ช่วยประมาณ 2-3 คน  จะต้องมีคนวัดระยะ  คนปรับโฟกัส   ซึ่งในส่วนนี้ช่างภาพจะทำคนเดียวไม่ได้   จึงต้องมีผู้ช่วย  ฟิล์มในการถ่ายภาพม้วนหนึ่งมีความยาวประมาณ 400 ฟุต ถ่ายได้ประมาณ 4 นาที  ราคาม้วนละ 5,000 บาท  ฟิล์มในการถ่ายหนังนี้ใช้บันทึกเสียงไม่ได้  ทำให้ต้องมีฝ่ายเสียงอีกทีหนึ่ง  วิธีทำให้เสียงและภาพไปด้วยกันเมื่อทำการตัดต่อคือ ใช้ สเลท เข้ามาช่วย ซึ่งเป็นตัวแยกภาพและเสียง

เมื่อทำการถ่ายทำเสร็จหมดทุกฉากทุกตอนแล้ว  ก็ต้องเอาฟิล์มหนังที่มีเป็นร้อย ๆ ม้วน ไปยังห้อง Lab เพื่อเข้าสู่กระบวนการตัดต่อ


4. การตัดต่อ   เข้าสู่ขั้นตอนการตัดต่อ  ค่าตัดต่อหนังขั้นต่ำประมาณ 4 ล้านบาท  เมื่อมาถึงกระบวนการตัดต่อนี้   จะเริ่มด้วย   การล้างฟิล์มให้สะอาด ต้องทำด้วยความระมัดระวังมาก ห้ามให้ฟิล์มเป็นรอยเด็ดขาด  ต่อมาก็ต้องมาเช็คฟิล์ม  ตามด้วย Telecine   ก็คือการแปลงสัญญาณภาพจากฟิล์มมาเป็นระบบวีดีโอ   ในส่วนของการลำดับภาพ  ก็ต้องเอาภาพมาแยกเป็นซีน  แล้วใส่เสียงให้ตรงกับภาพ แต่บางทีอาจจะมีฟิล์มบางส่วนต้องนำมาใส่เทคนิคพิเศษต่าง ๆ  เมื่อได้ฟิล์มที่แยกเป็นซีนเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องนำฟิล์มมาตัดต่อให้เป็นเรื่องเดียวกัน  ในขั้นตอนนี้คนตัดต่อฟิล์มต้องมีความละเอียดลออเป็นพิเศษ  เพราะถ้าตัดฟิล์มผิดไป หรือตัดเบี้ยวไป ก็หมายถึงความผิดพลาดมหาศาล   คนตัดฟิล์มจึงต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก   ต่อมาก็เอาฟิล์มมาแต่งสีจากฟิล์มเนคกาทีฟ  ก็มาทำให้เป็นสีจริง

ในขณะที่กระบวนการตัดต่อภาพดำเนินไป  ด้านของเสียงก็ทำงานไปด้วย  ในส่วนของเสียงนั้นส่วนใหญ่จะมาทำเองในห้องอัด  ซึ่งมีอุปกรณ์สำหรับทำเสียงมากมาย  รวมทั้งการใส่เสียงประกอบและเอ็ฟเฟ็คด้วย  เมื่อได้เสียงที่สมบูรณ์แล้วก็นำเสียงมามิกซ์เข้าด้วยกัน

และสุดท้ายก็มาถึงการพิมพ์ฟิล์ม  ในส่วนนี้ภาพและเสียงจะต้องมาประกบเข้าด้วยกัน ภาพและเสียงจะมาเจอกันเป็นครั้งแรกที่ขั้นตอนนี้ และก็อยู่ด้วยกันไปอีกนานแสนนาน

เมื่อผ่านขั้นตอนสำคัญทั้งหมดนี้มาแล้ว  ก็จะมาถึงขั้นตอน  “การเซ็นเซอร์”   เมื่อคณะกรรมการที่ตรวจหนังไฟเขียวผ่านเรียบร้อย   ฟิล์มหนังที่เสร็จสมบูรณ์และถูกต้องตามกฎหมายก็ได้เวลาที่จะเข้าสู่โรงภาพยนตร์เพื่อออกฉายสู่สายตาประชาชนแล้ว


เมื่อหนังเปิดตัวที่โรงภาพยนตร์ใหญ่ใจกลางกรุงทั่วประเทศแล้ว ต่อมาก็จะเดินทางไปตามโรงภาพยนตร์เล็กที่อยู่ตามต่างจังหวัด  จะอยู่ในโรงเล็กประมาณ  2-3  เดือน  เมื่อฟิล์มผ่านร้อน  ผ่านหนาว  ผ่านลมพายุฝนมามากมายแล้ว  สุดท้ายก็จะกลายเป็น  “หนังเร่”  ในที่สุด

วาระสุดท้ายของชีวิตหนังที่ได้เกิดมาเดินทางทำหน้าที่จนใกล้หมดอายุขัยแล้วนั้น ฟิล์มหนังส่วนใหญ่จะถูกส่งไปเก็บรักษา  ดูแลซ่อมแซมอย่างดีที่หอภาพยนตร์แห่งชาติ   มูลนิธิหนังไทย  เพื่อยืดอายุชีวิต  หรือบางเรื่อง ก็เพื่อชุบชีวิตให้ฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง  เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ดูหนังในยุคเก่า ๆ กันอีกครั้งหนึ่ง 

แสดงความคิดเห็น

>

70 ความคิดเห็น

Pure Blood 18 มิ.ย. 50 เวลา 15:31 น. 1

โอ้โห..ชอบมากเลยอ่ะ รายการกบนอกกะลา


PS.  สายเลือดบริสุทธิ์ จะเป็นเด็กดี จะเป็นเด็กดี หนูจะเป็นเด็กดี!!!(โว้ย)
0
||-HeDw!g & P!gw!Dgeon-|| 18 มิ.ย. 50 เวลา 15:59 น. 3

วันนี้เจอพี่พิธีกรกบนอกกะลาที่โรงเรียนด้วย^^
น่ารักมากเลย  พี่เค้าบอกว่ากะลังจะออกเทปด้วย  พอดีที่รร.มีงานเปิดร้านหนังสือ..เป็นคล้ายๆสาขาของศูนย์หนังสือจุฬาที่รร.เราอ่ะ พี่เค้ามาช่วยโปรโมต
(พี่อีฟหรือพี่อะไรเนี่ยแหละ..พอดีช่วงนี้ไม่ค่อยได้ดูแล้ว - ใครดูบ่อยช่วยมาบอกชื่อที่ถูกต้องด้วย)


เราว่ารายการนี้ดีนะ  เอามาฉายแทนละครตอนกลางวันหรือละครยาววันหยุดได้เลย

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 18 มิถุนายน 2550 / 16:00


PS.  HeDw!g LOVE Harry Potter. Click to My.iD plzz.
0
Yolpevol 18 มิ.ย. 50 เวลา 18:15 น. 5

สาระล้วนๆ +1 ค่ะ


PS.  เน้นแต่ตั้งกระทู้มีสาระ ภาพแปลกหรือภาพตลกๆและเรื่องดาราฉาวๆจ้า ^^ แวะเข้าไปอ่านกระทู้ย้อนหลังได้นะคะ ^ ^
0
P.r ยูเรนัส 18 มิ.ย. 50 เวลา 18:47 น. 7

เคยดูค่ะ
ตอนที่กบนอกกะลานำเสนอตอน ทำภาพยนต์
รู้สึกได้เลยว่ายากจริงๆ
แค่เราดูหนังจบไปสักเรื่อง ดูแล้วง่าย แต่เบื้องหลังยากโคตร
มีหลายขั้นตอน และงบสูง


PS.  สายลม สายลม แสงแดด ฉันชอบ แสงแดด แสงแดด สายลม
0
chavas Social Media Marketing 18 มิ.ย. 50 เวลา 19:29 น. 9

อยากเป็น ดารา อิอิ<!--PS-->
<hr width=80% size=1 align=left color=#9E9E9E>
<font color=#6F6F6F>PS. &nbsp;กำ&nbsp = =&quot; ไม่ต้องแอดมาแล้วนะ list เต็ม โย่วๆ ไม่เร้าใจ แต่หล่อ จะเอนแล้วคร้าบ อีกไม่ถึง 6 เดือน~~D.S. <img src="http://www.dek-d.com/board/emo/emo28.gif"></font>

0
daasoube 18 มิ.ย. 50 เวลา 21:06 น. 12

ชอบรายการนี้นะ แต่การผลิตภาพยนตร์เนี่ย น่าจะยากนะ -*-



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 18 มิถุนายน 2550 / 21:04

PS.   lll สิ่งที่สร้างสรรค์เกิดจากการเริ่มต้น lll ดาโซเบ้'
0
potterchan 18 มิ.ย. 50 เวลา 21:14 น. 13

อืม  มีสาระดีนะ


PS.  บ้องแบ้วแต่ไม่แอ๊บแบ๊ว ถึงจะดูแบ๊ว ๆ เหมือนกันก็เหอะ บ้องแบ้วก็ยังไม่กระแดะเท่าแอ๊บแบ๊วอยู่ดี เหอะๆ
0
ฮ า ด ค อ คุ ง 18 มิ.ย. 50 เวลา 22:37 น. 14

=&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  = ติดตรงขั้น 3 แฮะ ขั้นตอนการถ่ายทำ
สะดวกตรงที่มี กล้อง mini HD แต่ -*- ภาพที่ได้ เน่ากว่า
มุมมอง ฯลฯ สื่อยาก อ้ากกกกกกกกก

Thx บทความ เซพไว้อ่านแล้ว ^^ <!--PS-->
<hr width=80% size=1 align=left color=#9E9E9E>
<font color=#6F6F6F>PS. &nbsp;สร้างทาง?? เพื่อเดิน .. หรือให้คนอื่นเดิน ..ร่วมทาง`,. <img src="http://www.dek-d.com/board/emo/emo19.gif"></font>

0
เตอกีลาร์ 19 มิ.ย. 50 เวลา 11:52 น. 16

ขอบคุณค่า
ฝากนิยายค่า เรื่องใต้เงาจันทรา คาร์เดียค่ะ
แนะนำเรื่องแบบย่อๆ
คนมักชื่นชมพระจันทร์เสี้ยวที่ส่องสว่างเหลืองนวลจับตาอยู่บนฟ้าโดยลืมไปว่าอีกเสี้ยวจันทร์ที่ซ่อนตัวเงียบอยู่ใต้เงานั้นก็อาจงดงามและมีอิทธิพลต่อผู้ที่คอยเฝ้าดูไม่แพ้กันหรือบางที...อาจมากกว่าด้วยซ้ำ!
http://my.dek-d.com/tdokdak/story/view.php?id=294992


PS.  รูปพี่สาวนางเอก ในนิยาย เรื่อง ใต้เงาจันทรา คาร์เดีย หมวด แฟนตาซีค่ะ
0
~ซองเรียว~ 19 มิ.ย. 50 เวลา 12:46 น. 17

สุดยอดนะ  ไม่รู้ทำได้ไง  โห เก่งมาก  อยากเขียนบทหนังจังเยย คงได้เงินเยอะไม่หยอก


PS.  เวลาเรารู้สึกเหงา เคยถามโลกมั้ยว่า เหงาเหมือนผมหรือป่าว
0
slimming_suri 19 มิ.ย. 50 เวลา 13:05 น. 18

ขอบคุณเนื้อหาที่บรรยายให้อ่านมีประโยชน์มากๆ..ตอนนี้เราลงเรียนวิชานี้พอดีเลย...
ชอบเขียนมากกว่าแต่เรื่องถ่ายทอดนะ..คงต้องหาเวลาศึกษาอีเยอะเลย...
ฝากผลงานเราด้วยนะ....ว่างๆจะแวะไปเยี่ยมนะ...


PS.  ร้อนนนนนน....จะก้าวเท้าออกไปใหนก็กลัวแดดเผาจนเกรียม....ทำไงได้ก็เราไม่รวยขนาดสร้างเครื่องทำความเย็นเอามาคลุมให้ทั่วกรุงเทพฯนี่นา....ใครมีไอเดียดับร้อนเจ๋งๆก็บอกกันหน่อย..เจ้จะแวะไปเยี่ยมจ้า
0
Hup★ 19 มิ.ย. 50 เวลา 17:30 น. 20

เรื่องนึงใช้ทุนต่ำๆนี่ 10 ล้านเลย....โห....จะว่าเยอะก็เยอะ แต่จะว่าน้อยก็น้อยเนอะ

0