Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

แหล่งกำเนิดเพชร+++

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

แหล่งต้นกำเนิดเพชร
เพชรจะเกิดฝังในหินคิมเบอร์ไลต์ ( Kimberlite )
แต่จากการสำรวจหินคิมเบอร์ไลต์บนพื้นผิวโลกประมาณ 5,000 กว่าแหล่ง พบชนิดที่เป็นต้นกำเนิดให้เพชรมีเพียง500-600 แหล่งเท่านั้น  ลักษณะหินอัคนีชนิดนี้มักจะเกดมีลักษณะเป็นปล่อง ( Pipe )หรือเป็นท่อวงรี ๆ คล้ายปล่องภูเขาไฟดันแทรกหินชั้นหรือหินเดิมชนิดต่างๆ ขึ้นมาด้วยความดันอย่างสูงมากจึงทำให้ธาตุคาร์บอนหลอมเป็นเพชร ฝังอยู่ในเนื้อหินที่เกิดลักษณะเป็นพนัง (Dyke) ก็เคยปรากฏเห็นอยู่บ้างเช่นกันจุดกำเนิดของหินคิมเบอร์ไลต์ เชื่อกันว่าจะเกิดในระยะที่ลึกมากคือไม่ต่ำกว่า 40 กิโลเมตรลงไปจากพื้นผิวโลกปัจจุบัน มีความเชื่อกันว่าเพชรเป็นส่วนที่เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้วภายใต้พื้นผิวโลกในระยะลึกดังกล่าวแล้ว ถูกนำพาขึ้นมาอย่างฉับพลันโดยคิมเบอร์ไลต์                                                                                                                         

               หินคิมเบอร์ไลต์เป็นหินอัคนีประเภทเพริโดไทต์ (Peridotite)ชนิดหนึ่ง ที่ถือได้ว่ามีฤทธิ์เป็นด่างอย่างมาก (Ultrabasic igneous rock) ซึ่งมีสมบัติทางเคมีตรงข้ามกับหินแกรนิตเป็นอย่างมาก ลักษณะพิเศษของหินคิมเบอร์ไลต์พอจะสรุปอย่างสั้นๆดังนี้
    1. ขณะที่เกิดมักมีพวกสารระเหยง่ายเป็นปริมาณสูง เช่น ไอน้ำ หรือ ก๊าซคาร์บอนไซด์
    2. แร่โอลิวีน เป็นส่วนประกอบหลัก (40-60%) ของหินชนิดนี้มักจะถูกแปรเลี่ยนไปเป็นแร่เซอร์เพนทีน (Serpentinized)
    3. มักจะพบแร่แคลไชต์ (CaCo3 ) เกิดร่วมเสมอ และอาจมีมากถึง 20 %
    4. พบแร่ไพรอกซีนชนิดไดออปไซค์ ที่มีโครเมียมสูง
    5. พบแร่โกเมนชนิดไพเรป (Pyrope garnet)
    6. อาจพบแร่ไมกาชนิดแมกนีเซียม หรือ ไพลโกไพต์ (Phlogopite) ได้เสมอ จึงเป็นแร่ที่ใช้ช่วยพิสูจน์ชนิดหินนี้ได้

           อาจพบแร่รูไทล์ อิลเมไนต์ และแมกนีไทต์ ได้เช่นกันและมักจะมีปริมาณธาตุแมกนีเซียมและโครเนียมสูง ฉะนั้นปริมาณธาตุโครเนียมและแมกนีเซียมในแร่ดังกล่าวข้างต้นจึงสามารถใช้เป็นตัวชี้แนะที่ดีได้อย่างหนึ่งใน

การติดตามหาหินคิมเบอร์ไลต์ในทางอ้อม
           
           ตามที่ได้กล่าวข้างต้นพอสรุปได้ว่า หินคิมเบอร์ไลต์ที่ให้เพชรก็คือ หินอัคนีชนิดเพริโดไทต์ที่ถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นแร่เซอร์แพนทีน (Serpentinized) โดยส่วนใหญ่จะมีแร่แคลไซต์ปะปนอยู่เสมอ และมักจะพบแร่ไมกาชนิดโพลโกไพต์เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย หินชนิดนี้มักจะถูกบีบอัดให้แตกเสมอ
           การเคลื่อนไหวของเปลือกโลกอันมีผลทำให้หินที่ให้เพชรดังกล่าวเกิดการยกตัวขึ้นมา แล้วเกิดการผุสลายได้ง่าย เป็นเหตุให้เพชรที่เกิดฝังในเนื้อหินหลุดออกมาและนำพาไปสะสมยังที่ลุ่มในท้องน้ำ แม่น้ำ และในท้องทะเล หรือ ใกล้ๆชายทะเล สำหรับปล่องหินมี่ให้เพชรพบ่วา มักจะเกิดอยู่ใต้ผิวดินอีกทีหนึ่งทั้งนี้คงจะเป็นเพราะผุทำลายตัวเองได้ง่าย หินส่วนบนๆมักจะผุทำให้ดินเป็นสีเหลืองและลึกลงไปข้างล่างของปล่องดินจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน และในที่สุดเมื่อลึกลงไปอีกเนื้อหินจะอยู่ในสภาพแข็งที่ไม่มีการเปลี่ยนสภาพมากนัก ลานแร่เพชรหลายแห่งของโลกไม่ปรากฏร่องรอยของหินต้นกำเนิดอยู่ในบริเวณที่ไกลจากหินต้นกำเนิด หรือหินต้นกำเนิดอาจผุพังสลายตัวไปหมดแล้วก็ได้


เพชรธรรมชาติในหินคิมเบอร์ไลต์

 

                                                                  แหล่งพบเพชรในประเทศไทศไทย

1. ลานแร่เพชรในทะเลอ่าวทุ่งคา-อ่าวมะขาม จังหวัดภูเก็ต
บริเวณที่พบเพชรวางตัวในลานแร่เป็นแนวกว้างประมาณ 4-5 กิโลเมตร ห่างจากฝั่งออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร มีแนวความยาวพดในทิศเหนือใต้ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับว่าต้นกำเนิดหินที่ให้เพชรดันแทรกขึ้นมานี้มีแนวเป็นไปตามแนวหรืออาศัยแนวรอยเลื่อน “มารุย” ซึ่งพาดผ่านไปทางด้านใต้ต่อไป หากคิดนี้ถูกต้อง เพชรควรจะมีโอกาสพบได้เป็นแนวยาวจากบริเวณดังกล่าว พาดไปทางเหนือจนถึงทับปุดและต่อขึ้นไปได้อีกไกลมาก ทางใต้ของช่วงที่ขุดพบเพชรของบริเวณนี้ก็อาจมีโอกาสพบเพชรอีกหลายสิบกิโลเมตร 

2. เพชรในแม่น้ำพังงา
ลุ่มน้ำพังงานับว่าเป็นแหล่งเพชรที่ทราบกันมานานก่อนแหล่งอื่นปรากฏว่าเรือขุดทั้ง 3 ลำที่เคยขุดแร่ดีบุกในลานแร่ของแม่น้ำนี้ได้เพชรทุกลำ พนักงานที่เกี่ยวข้องกับจิ๊กของเรือขุดและคนงานล้างแล้วแร่ที่แต่งแร่ในโรงล้างแร่หรือคนงานประจำจิ๊กเรือขุด ดังกล่าวจะทราบได้ดีว่าช่วงไหนเรือขุดจะขุดได้แร่มากที่สุด
นายหล๊ะ จันทรส และ นายหลี จันทรส แห่งบ้านถ้ำน้ำผุดจังหวัดพังงา เคยทำงานประจำเรือขุดเมื่อ 40 ปีที่มาแล้ว ได้ยืนยันว่าที่ดินฝั่งตรงข้ามกับจังหวัดเยื้องไปทางบ้านถ้ำน้ำผุดรวมเป็นบริเวณประมาณ 5-6 ไร่ เป็นที่ของเอกชนซึ่งยังไม่มีการเปิดเหมืองจะพบเพชรมาก เมื่อใดที่กะพ้อของเรือขุดหย่อนลงไปสะดุดกับพื้นดาน (Bed rock) ซึ่งเป็นหินปูน (แบบ Pinacles) และถ้ากะสะช่วงนั้นมี สีแดงจะพบเพชรบ่อยที่สุด เป็นที่คาดหมายกันว่าบริเวณแอ่งท้องน้ำของแม่น้ำพังงานี้ คงจะผลิตเพชรออกมา นับเป็นพันๆเม็ดแล้วที่มีขนาดใหญ่ 6-8 กะรัต ก็เคยได้ข่าวกันอยู่บ้าง

3. เพขรที่บ้านบางมุด ตำบลทุ่งคาโงก ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพังงา
ได้มีการพบเพชรจากดินชั้นกะสะดีบุกจากขอบด้านตะวันออกของแม่น้ำพังงาในเขตบ้านบางมุด ผู้ที่พบเพชร มักจะเก็บเป็นความลับตลอดมา

4. เพชรที่กะปงและที่บ้านในเหล อำเภอกะปง จังหวัดพังงา
ที่บ้านเหลตามคลองเหล มีการพบเพชรอยู่บ้างเช่นกันส่วนใหญ่ได้จากเรือขุดแร่ดีบุก ซึ่งปัจจุบันเรือขุดได้หยุดดำเนินการแล้ว

5. เพชรที่บ้านบางม่วง-บ้านน้ำเค็ม-บ้านแหลมป้อม-บ้านบางสัก-อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
ได้มีการพบเพชรจากเหมืองเรือขุดดีบุกของบริษัทเรือขุดแร่บุญสูง จำกัด ที่บ้านทุ่งตึก ซึ่งอยู่ในตอนกลางๆของปลายเกาะคอเขา ในเขตอำเภอตะกั่วป่า และบริเวณใกล้บ้านบางหม้อภายในบริเวณจากแหลมบางหม้อไปจนถึงบ้านแหลมป้อม และกินอาณาเขตออกไปในทะเลประมาณ 2 กิโลเมตร ไปจนถึงบ้านบางสัก นับเป็บบริเวณที่กว้างใหญ่ และให้เพชรมากที่สุดในขณะนี้

แผนที่แสดงตำแหน่งบริเวณที่พบเพชรในประเทศไทย

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น