ไม่ว่าจะตรวจสอบกันละเอียดแค่ไหน แต่เราก็ยังคงได้ยินข่าวของการตรวจพบเครื่องสำอางผสมสารอันตรายอยู่บ่อยๆ ล่าสุดนี้ทาง อย. เพิ่งมีการตรวจพบเครื่องสำอางอันตรายอีก 8 รายการ วันนี้พี่เหมี่ยวก็มีรายละเอียดของเครื่องสำอางอันตรายเหล่านั้นมาฝากกันค่ะ
สำหรับการตรวจพบในครั้งนี้ อย.ได้ออกเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางตามแหล่งจำหน่ายจำนวน 2 แห่ง เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์หาสารห้ามใช้ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค โดยมีรายละเอียด ดังนี้
{pic-desc} |
เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอซ์แอนด์ฮายอินเตอร์ เทรดดิ้ง เขตสวนหลวง ได้แก่
1. WEIJIAO Fade - Out Day Cream (15 g) เลขที่ผลิต P-004 วันที่ผลิต 2008/04/15 ผลิตโดยบริษัท คัลเลอร์เคมีคอลอินดัสเตรียล(ฮ่องกง) จำหน่ายโดย หจก. ไอซ์แอนด์ฮาย อินเตอร์ เทรดดิ้ง 340 อ่อนนุช 17 แยก16ถ.อ่อนนุช เขตสวนหลวง กทม. 10250 ตรวจพบสารประกอบของปรอท
|
เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากร้านแทนบิวตี้ในห้างซีคอนสแควร์ถนน ศรีนครินทร์ ได้แก่
2. YANKO Day Cream Fade-Out Cream เลขที่ผลิต P-001วันที่ผลิต 2008/02/29 ตรวจพบสารประกอบของปรอท
3. YANKO Night Cream เลขที่ผลิตไม่ระบุ วันที่ผลิต 2008/08/26 ตรวจพบกรดเรทิโนอิก ซึ่งทั้งสองผลิตภัณฑ์นี้ผลิตโดย บริษัท คัลเลอร์เคมีคอล อินดัสเตรียล (ฮ่องกง) จำหน่ายโดย บริษัท ชาลีน่า จำกัดเลขที่ 20/24 การเคหะ 20 คลองจั่น บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
4. FAYLASISWHITENING CREAM (NIGHT CREAM) เลขที่ผลิตไม่ระบุ วันที่ผลิต 2007/11/07ผลิตโดย บริษัท ห้วยโจเขื่อนเอินคอสเมทิค จำกัด ประเทศจีน จำหน่ายโดยบริษัท ไจโอนูโอ อินเตอร์เนชั่นแนล ไทยแลนด์ จำกัด ตรวจพบสารประกอบของปรอท
5. Gold NaryWhitening Cream Night Cream เลขที่ผลิตไม่ระบุ วันที่ผลิต 2008/11/04 ตรวจพบกรดเรทิโนอิก
6. Gold Nary Face out Cream Day Cream เลขที่ผลิตไม่ระบุ วันที่ผลิต 2008/04/25 ตรวจพบสารประกอบของปรอท ผลิตภัณฑ์ลำดับที่ 5และ 6 ผลิตโดย บริษัทเจียวโจจิน คอสเมติค จำกัด ประเทศจีน จำหน่ายโดย เมอด้า มาร์เก็ตติ้งซอย 13 ถ.สามัคคี อ.เมือง จ. นนทบุรี 11000
7. YONAE Whitening Essence &Double Efficacy (ฝาสีเงิน) เลขที่ผลิตไม่ระบุ วันที่ผลิต 2006/11/27 ไม่ระบุผู้ผลิตและผู้จำหน่าย ตรวจพบสารประกอบของปรอท
8. YONAE Whitening Essence&DoubleEfficacy (ฝาสีทอง) เลขที่ผลิตไม่ระบุ วันที่ผลิต 2006/11/27 ไม่ระบุผู้ผลิตและผู้จำหน่ายตรวจพบกรดเรทิโนอิก
{pic-desc}
สำหรับอันตรายของสารห้ามใช้ดังกล่าวนั้น สารประกอบของปรอทหรือปรอท แอมโมเนีย เมื่อเริ่มใช้จะทำให้แลดูดีขึ้นขาวขึ้น แต่เมื่อใช้ ไปในระยะหนึ่ง อันตรายจะตามมาโดยทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง เกิดพิษสะสมของสารปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะและไตอักเสบ และกรดเรทิโนอิกหรือกรดวิตามินเอ เมื่อเริ่มใช้จะทำให้แลดูผ่องใสขึ้น แต่เมื่อใช้ไประยะหนึ่ง จะทำให้หน้าแดง แสบร้อนรุนแรงเกิดการอักเสบ ผิวหน้าลอกอย่างรุนแรง และอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้เครื่องสำอางดังกล่าวจึงจัดเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ ซึ่งกฎหมายกำหนดโทษสำหรับผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้นำเข้า เพื่อขาย และผู้ขายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยจะต้องถูกระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พี่เหมี่ยวนำข้อมูลเหล่านี้มาแจ้งเตือนน้องๆ dek-d.com เพื่อให้รู้เท่าทันและไม่หลงกลของผู้ค้าที่หวังเอาเปรียบผู้บริโภคนะคะ
ถ้าหากพบแหล่งผลิตหรือขายเครื่องสำอางผสม สารห้ามใช้ ขอได้โปรดแจ้งที่สายด้วย อย. 1556 เพื่อ อย. จะได้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
และนี่ก็คือเรื่องราวเตือนภัยในวันนี้นะคะ ถ้าน้องๆ dek-d.com คนไหนมีเรื่องราวเตือนภัยดีๆ ก็สามารถมาแลกเปลี่ยนกันได้ที่นี่เลยค่ะ
พี่เหมี่ยวขอขอบคุณ : ข้อมูลประกอบจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐค่ะ
พี่เหมี่ยวขอขอบคุณ : ภาพประกอบจาก peoplechannelnews.com ค่ะ |
12 ความคิดเห็น
ขาวแล้วก็กลับมาดำ
มีสารปรอทอีกต่างหาก
ทำไมบริษัทที่ผลิตไม่มีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าเลยนะ
เรื่องสำอาง + ยาหมดอายุน่ากลัวที่สุด
เพราะ...บางทีมันถึงชีวิตเลยนะคะ
เรื่องสำอาง + ยาหมดอายุน่ากลัวที่สุด
เพราะ...บางทีมันถึงชีวิตเลยนะคะ
โชคดีแฮะ ที่ใช้ไรไม่ได้ซักอย่าง เลยไม่ใช้ เอิ้กก
ไม่รุจักสักยี่ห้อเลย
อิอิ
เห็นด้วยกับ คห.1
ถ้าใช้ของปลอม น่าพังแน่ๆเลย
แต่ที่แน่ ๆ คือไม่น่าใช้อย่างยิ่ง
อันตรายที่สุด
ถ้าผู้ผลิตไม่เห็นแก่เงิน(เว่อร์)
คงไม่มีข่าวแบบนี้
จะเป็นไปได้มั้ยนี่???
โชคดีไปที่เราไม่แต่งหน้า
** มีแต่เครื่องสำอางที่ผลิตที่จีนทั้งนั้นเลย = =^^