ถ้าหากจะพูดถึงยาสามัญประจำบ้าน พาราเซตามอล ถือว่าเป็นยาสามัญประจำบ้านที่เรารู้จักกันเป็นดี เรียกว่าแทบจะทุกบ้านต้องมีติดบ้านไว้ เพราะรักษาอาการเจ็บป่วย ปวดหัวตัวร้อนได้กับทุกเพศทุกวัย แถมยังเป็นยาที่สามารถหาซื้อได้ง่าย
|
แต่น้องๆ Dek-D ทราบรึเปล่าคะว่า การใช้ยาพาราเซตามอลอย่างพร่ำเพรื่อและติดต่อกันนานเกินไป อาจก่อให้เกิดปัญหาภาวะเป็นพิษต่อตับได้นะคะ พี่เหมี่ยวเคยอ่านพบว่านะคะว่าในสหรัฐอเมริกาสาเหตุของอาการตับวายนั้นอันดับหนึ่งคือมาจากการใช้ยาพาราเซตามอลเกินขนาด รองลงมาก็มาจากสาเหตุของการดื่มแอกอฮอล์ หรือไวรัสตับอักเสบ
ในแต่ละปี สหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยที่ได้รับรายงาน ความเป็นพิษจากยาพาราเซตามอลประมาณ 100,000 ราย ถูกนำส่งห้องฉุกเฉิน |
56,000 ราย ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล 26,000 ราย การใช้พาราเซตามอลเป็นประจำจะทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นมะเร็งไตเพิ่มขึ้นเท่าตัว ซึ่งโรคนี้คร่าชีวิตคนอเมริกัน 12,000 ราย ต่อปี อุบัติการณ์ในการเกิดมะเร็งไตในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นถึง 126% นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา การก้าวกระโดดของการเกิดโรคนี้อาจจะเกี่ยวโยงกับการใช้ยาที่ผสมพาราเซตามอลเพิ่มขึ้น เนื่องจากอนุมูลอิสระจาก toxic metabolite ของพราราเซตามอลกระจายไปทั่วร่างกาย เพราะฉะนั้นก็สามาารถทำให้เพิ่มความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวข้องกับความแก่ชราอย่างอื่นได้อีก นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองในสัตว์พบว่าพาราเซตามอลทำให้เกิดต้อกระจกในสัตว์ทดลองได้
สำหรับภาวะพิษจากพาราเซตามอลเกิดขึ้นได้จากเหตุโดยตั้งใจ คือการรับประทานยาเกินขนาดเพื่ออัตวินิบาตกรรม และโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
1. รับประทานยาชนิดอื่นที่มีส่วนผสมของราราเซตามอลโาดยไม่ทราบ แล้วรับประทานพาราเซตามอลเข้าไปอีก เนื่องจากปัจจุบันยาหลายชนิดมีส่วนผสมของพาราเซตามอล เช่น ยาบรรเทาหวัดลดไข้ ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ยาคลายกล้ามเนื้อหลายชนิด
2. ปัจจัยเฉพาะบุคคลที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตับได้ง่าย เช่นในผู้ที่ดื่มสุรา ผู้ป่วยโรคตับภาวะขาดสารอาหารซึ่งส่งผลให้ระดับกลูต้าไธโอนลดลง ในกลุ่มนี้ก่อให้เกิดพิษจากพาราเซตามอลได้ง่าย แม้ว่าจะรับประทานในขนาดปกติก็ตาม |
|
3. การใช้ยาร่วมกัน โดยเฉพาะยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นเอนไซม์ในระบบขับสารพิษชื่อ CYP450 2E1 ในตับเช่นยา phenytoin, carbamazepine, rifampin เป็นต้น
|
ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้พาราเซตามอล ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับเรื้อรัง พิษสุรา ภาวะขาดสารอาหาร และในผู้ที่กำลังรับประทานยาที่กระตุ้นเหนี่ยวนำเอนไซม์ cytochrome P450 2E1 ...ห้ามทานพาราเซตามอลแล้วดื่มสุรา หากกำลังใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาบรรเทาหวัด ให้อ่านฉลากให้ดีว่ามีส่วนผสมของพาราเซตามอลหรือไม่ และไม่รับประทานซ้ำซ้อนข้าไปอีก |
และที่สำคัญไม่ควรใช้ยานี้เกินวันละ 2,600 มิลลิกรัม (ประมาณ 5 เม็ด ในขนาด 500 mg , จำนวน 8 เม็ดในขนาด 325 มิลลิกรัม) ขนาดรับประทานคือ 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม สูงสุดไม่เกินครั้งละ 650 มิลลิกรัม ส่วนการใช้ยาพาราเซตามอลกับเด็กเล็กๆ นั้นให้ดูฉลาก และคำนวณความต้องการให้ถูกต้องก่อนเสมอ เพราะยาน้ำนี้ในประเทศไทยมีหลายขนาด ปริมาณมิลลิกรัมต่อหนึ่งช้อนชาแตกต่างกันไป
อีกข้อห้ามที่หลายคนยังไม่ทราบก็คือ ไม่ควรใช้ยาพาราเซตามอลติดต่อกันเกิน 3 วัน เราสามารถใช้ยาทางเลือกแทนการใช้ยาพาราเซตามอลได้ เช่น ยาเขียวแก้ไข้ ยาจันทลีลา ยาฟ้าทะลายโจร ยาขมชนิดต่างๆ ล้วนมีฤทธิ์ลดไข้ได้เช่นกัน |
|
ถือว่าเป็นภัยแฝงที่เราเองก็คาดไม่ถึงเหมือนกันนะคะ รู้แบบนี้แล้วจะกินยาในครั้งต่อไปเราต้องจะต้องระวังกันให้มากขึ้นแล้วล่ะค่ะ เพื่อความปลอดภัยในระยะยาวยังไงล่ะ
ข้อมูลอ้างอิง : Health Magazine
|
22 ความคิดเห็น
แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 22 กันยายน 2553 / 18:08
อ่า
เลิกกินยา 555
แสดงว่าพาราก้อเป็นยาที่แรงพอควร
>>ข้อมูลละเอียดมากเลยค่ะ กำลังเรียนอยู่เลย
เมื่อก่อนแม่กินบ่อยมากกกกก
เครียดดดดดเลยค่ะ
ปวดหัวเลย
แต่ No พาราฯ!!!~~~แล้ว~~~ TT___TT
ครูที่โรงเรียนบอกให้กินน้ำเปล่าๆ 1 แก้วตอนที่ปวดหัว ก็ใช้ได้ผลบรรเทาอากาศปวดหัวได้นิดหน่อยค่ะ
ที่สำคัญคือห้ามกินพาราเพื่อแก้ปวดหัวที่เกิดจากการเมานะคร้าบบบบ
เพราะจะเกิดการคลั่งของtoxic metaboliteทำให้เกิดการทำลายตับมากขึ้นกว่าเดิมครับ
เอา NSAIDs มั้ย กัดกระเพราะดี จะได้เป็น PUP ไปเลย
งงอ่ะดิ ฮึฮึ PUP (Peptic Ulcer Perforation)
ที่จะบอกคือ Para น่ะทานได้ มันไม่ได้อันตรายเว่อร์ขนาดนั้น
เอาเป็นว่าไม่ได้ทานจนOverdoseในแต่ละวันก็โอเคแล้ว
ไม่งั้นก็โดนหามเข้าโรงบาลกันล่ะ...โอเคนะ เข้าใจตามนั้น
อ่อแล้วDoseในแต่ละวันน่ะ ขอแก้นิด..(Ref. จาก UpToDate)
325-650 mg every 4-6 hours or 1000 mg 3-4 times/day; do not exceed 4 g/day
Children <12 years: 10-15 mg/kg/dose every 4-6 hours as needed; do not exceed 5 doses (2.6 g) in 24 hours
โอ้วอะไรก็ไม่ดี ขนาดยาก็ยังไม่ดี เฮ้อ =3
แต่ยาพารานี่ถือว่าเป็นยาแก้ปวดที่ปลอดภัยที่สุดแล้ว
ถ้าไม่ได้ใช้อย่างพร่ำเพรื่อมันก็โอเคนะ ไม่ต้องกลัวขนาดนั้นหรอก
ถ้าอยากจะให้ดีที่สุด ต้องพยายามอย่าให้เกิดโรคนี่แหละค่ะ
จะได้ไม่ต้องกลัวโทษของการใช้ยา ไม่ทรมานจากโรคด้วย
อิอิ
ยาพาราไม่ค่อยน่ากลัวหรอก ตราบใดที่ร่างกายเราโดยเฉพาะคนหนุ่มๆสาวๆที่ยังมีกระบวนการสร้าง กลูต้าไธโอนที่มันยังดีกว่า
เทียบกันแล้วผลค้างเคียงของพวก antibiotic บางตัวยังน่ากลัวกว่าอีก โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาเรื่องตับเรื่องไต
แล้วไปกินยาที่ขับออกทางตับทางใตอีก อันนี้ก้อจบข่าว
แต่เราไม่ค่อยได้กินหรอกพาราอ่ะ เรากินแต่ยาแก้แพ้ T^T (เบื่อมากเป็นโรคนี้เนี่ย แพ้ไปหมด กระทั่งใจตัวเอง ฮ่าๆๆๆ)