สวัสดีค่ะ พี่น้องชาว Dek-D ทั่วสารทิศ ทุกมุมเมือง ทุกประเทศ ทุกดวงดาว (ไปกันใหญ่แล้วเรา ฮา) และต้องขอสุขสันต์วันเกิดอาเซียน วันนี้...วันที่ 8 สิงหาคม 2555  ครบรอบ 45 ปีการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือสมาคมอาเซียน ฮูเร่ ฮูเร่ ขอให้ทุกคน ทุกชาติอาเซียนจงเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป  


               และเช่นเดิมสำหรับวันนี้พี่เกียรติขอเสนอ
8 เรื่องพึงรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน เป็นบางแง่มุมที่พี่เกียรติอยากนำเสนอทุกๆ คนค่ะ เพราะพี่เองแอบตื่นตะลึงไปกับบางข้อตอนที่พี่รู้ และอาจเป็นบางข้อที่เราๆ อาจมองกันในมุมเดียวค่ะ พอรู้...ก็อยากเล่าให้ฟัง เชิญทัศนาเลยจ้า



1. ไม่ใช่ข้อบังคับ แค่อยากให้ทำร่วมกัน
            จากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ปี 2552 มีการลงนามรับรองปฏิญญาว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ก็จริง แต่สิ่งที่จะทำกันใน "ประชาคมอาเซียน" อย่างข้อตกลงต่างๆ ใน 3 เสาหลัก หลายๆ ส่วน ยังเป็นเพียง Blueprint เช่น ACE Blueprint ซึ่งหมายความว่าเป็นเพียงข้อตกลงร่วมมือ ไม่ใช่ข้อบังคับให้ทำตาม เพราะฉะนั้นถ้าประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศไหน จะไม่ทำตามข้อตกลงภายในเสาต่างๆ ทั้ง 3 เสาหลักนี้ ก็ไม่ผิดและประเทศเพื่อนบ้านไม่สามารถมาลงโทษใดๆ เราได้ (แต่ถ้าทุกชาติร่วมมือ และมากดดันภายหลัง หรือมาตกลงกันใหม่ก็อีกเรื่องนะ) เป็นอันว่าถ้าเราจะตื่นตัวมากๆ ก็ไม่ใช่ เพราะว่าเรากำลังไหลตัวตามนโยบายประชาคมนี้นะ แต่เราต้องคอยติดตามสถานการณ์บ้านเมืองเราด้วยว่า...ตกลงแล้ว (พี่ใหญ่ในบ้านเมือง)ไทยเราจะเอาอย่างไรกันแน่?!


2. ASEAN - X 

            - ข้อตกลงเรื่องภายใต้เสาหลักต่างๆ ในประชาคมอาเซียนนี้ สามารถยืดหยุ่นได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ เรียกว่าทำตามได้ก็ดี แต่ถ้าทำตามไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ในข้อตกลงหนึ่งๆ จะทำกันเองกี่ประเทศก็ยังได้ (ASEAN - x อ่านว่า อาเซียนลบเอ็กซ์) เพียงแต่ผลที่ได้รับไม่ว่าจะด้านลบหรือบวกเราก็จะขาดหายไป จะทำเรื่องอะไรก็ต้องดูว่าขัดกฎหมายเดิมของประเทศเราไหม ถ้าอยากทำแต่ขัดแย้ง ก็ต้องแก้กฎหมายเราก่อน เช่น กรณีอาชีพสงวน กรณีเปิดเสรีการท่องเที่ยว กรณีอัตราเปอร์เซ็นสูงสุดที่ต่างชาติจะเข้ามาลงทุนในไทยได้ เป็นต้น


3. ไม่ใช่เรื่องเพิ่งเกิด ค่อยๆ ทำมานานแล้ว
           - เรื่องประชาคมอาเซียน ไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่เป็นเรื่องที่ค่อยๆ ทำ ค่อยๆ เป็นไปมานานแล้ว เรียกว่าเป็นเรื่องสืบเนื่องจากความร่วมมือแต่ครั้งก่อนๆ อย่างเรื่องเปิดเสรีเขตการค้า AFTA  จนมาถึงเรื่องข้อตกลงเรื่องกฎบัตรอาเซียน  เกี่ยวเนื่องกันจนในที่สุดมาถึงยุคประชาคมอาเซียนนี้ 


4. เสรีอาชีพก็ไม่ได้เพิ่งมีเช่นกัน
 
 
          - การเปิดเสรีการประกอบอาชีพในระดับนานาชาติก็มีมานานแล้วในอาชีพวิศวกร คือเรื่อง วิศวกรเอเปค (APEC Engineer) รวมถึงอาชีพบัญชี และการสำรวจ ก็เคยมีการวางแผนจะทำด้วยกันในหมู่ประเทศที่มีความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) เป็นการจดทะเบียนวิศวกรข้ามชาติ (International Professional Engineer) ที่มีการสนับสนุนให้สามารถทำงานในต่างประเทศได้ แล้วประเทศในกลุ่มเอเปค ก็มีชาติในกลุ่มอาเซียนเราตั้งหลายประเทศนะ ไม่ใช่เรื่องใหม่แน่ๆ แต่ก็ยังเหมือนใหม่สำหรับเรา เพราะสภาวิชาชีพแต่ละอาชีพยังคงศึกษาว่า ถ้าให้ต่างชาติเข้ามาแล้วจะดีจริงไหม?


5. รักภาษาบ้านเกิดสุดหัวใจ
           
ข้อมูล: ดัชนีวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษ, www.ef.co.th/epi/

- ย้ำกันอีกที! จากการสำรวจของสำนักสอนภาษามีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ที่ทำการสำรวจระดับทักษะภาษาอังกฤษในหมู่ประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก พบว่าไทยแลนด์แดนสไมล์ของเราได้ผลประเมินเป็น Very Low Proficiency อันดับเป็นที่ 42 ในชาติเอเชีย และรองจากชาติอาเซียนชาติติดๆ เรานี่แหละ ก็เรารักภาษาบ้านเกิดสุดหัวใจ เลยพูดภาษาอื่นได้ก็ไม่แปลกใช่ไหม (ฮา) เอ้า!  แต่ถ้าว่ากันตามจริง การรักษ์ภาษาบ้านเกิดไม่เกี่ยวกับการพัฒนาตนเองนี่นะ!


6. ตื่นเต้นเป็นส่วนๆ ลืมภาพรวม ลืมภาพกว้าง

/
           - ความสำคัญของความร่วมมือกันระหว่างประเทศ คือ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เสาหลักเศรษฐกิจของอาเซียนจึง (ACE) มีความสำคัญ ในประเทศเราก็ตื่นตัวเรื่องประชาคมอาเซียนกันมากๆ เรื่อง ACE ก็ตื่นเต้นกัน แต่การให้ความรู้กันในโรงเรียน ในหมู่เยาวชนยังเน้นเรื่องวัฒนธรรม สังคม ประชากร (เสา ASCC) ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก เพียงแต่ยังเน้นด้านเดียวเกินไป หากเพิ่มพูนความรู้เรื่อง การเมือง กฏหมายและเศรษฐกิจสำคัญเข้าไปด้วย ก็จะยิ่งผสมผสานทั้งความรู้เรื่องภาษา และวัฒนธรรม กับเรื่องการเมือง และเศรษฐกิจ จะเข้าใจเพื่อนบ้าน และกลยุทธ์เพื่อนบ้านมากขึ้น 

           ตอนนี้ชาติที่มีความหลากหลายเรื่องภาษา วัฒนธรรม และเน้นให้มีการลงทุนจากต่างชาติมากที่สุด อย่างสิงคโปร์ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มอาเซียน ที่ประชากรมีความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจของประเทศ และสามารถผสมผสานวัฒนธรรมที่หลากหลายได้ ทำงานร่วมกันได้ น่าเรียนรู้จากเขานะ (แต่พี่เกียรติขอให้เราเรียนรู้วัฒนธรรม เลือกส่วนดีมาใช้ มากกว่าไปเอาวัฒนธรรมเขามาเลียนแบบทั้งหมดนะ! ไม่ว่าชาติทางแถบไหนก็เถอะ)


7. สกุลเงินอาเซียนที่ยังไม่ควรมี

            - เคยได้ยินไหม สกุลเงินอาเซียน! ก็ไหนๆ เราจะเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว ทำไมไม่มีสกุลเงินที่จะใช้กันได้ทั่วทุกประเทศในกลุ่มเราล่ะ ข้อนี้ผู้รู้ตอบทันควันว่าดูตัวอย่างจากสหภาพยุโรปที่มีสกุลเงินยูโรเป็นหลัก การมีเงินสกุลเดียวกัน อาจทำให้ดูใช้จ่ายง่ายก็จริง แต่ก็ล้มได้ง่ายเช่นเดียวกัน เพราะแต่ละประเทศมีนโยบายการคลังต่างกัน ค่าความสามารถทางการดำเนินงานเศรษฐกิจก็ต่างกัน กลายเป็นว่าประเทศใหญ่ต้องเอาเงินไปอุ้มประเทศที่ประสบปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ-ค่าเงิน ไม่งั้นจะพากันล่มไปทั้งภูมิภาค แต่ถ้าอุ้มไม่ไหวล่ะ...?
          ดังนั้น ถ้าจะทำเงินสกุลเดียวกัน ก็ต้องมีนโยบายทางการคลังหรือคนดูแลเรื่องเศรษฐกิจคนเดียว เป็นหน่วยกลางของภูมิภาค ซึ่งตอนนี้ยังทำไม่ได้แน่นอน เพราะความสามารถของแต่ละประเทศแตกต่างกัน คงไม่น่ามีประเทศไหนอยากเสียผลประโยชน์ร่วมกันแน่นอน


8. ไม่ใช่ข้อบังคับ แต่ถ้าทำได้จะดีกว่าไหม?
            - ถึงแม้จะไม่บังคับให้ชาติไหนต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังในการเป็นประชาคมอาเซียน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่สนใจเรื่องนอกบ้านเราเลย เพราะไม่ว่าสังคม วัฒนธรรม ความปลอดภัย และเศรษฐกิจเราในตอนนี้ ล้วนเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโลก แล้วเราก็ต้องค้าขายกันในกลุ่มเพื่อนบ้าน รู้เขา รู้เรา รู้จักเพื่อนบ้าน และไปร่วมมือกับเขา ไปช่วยเหลือเขาบ้าง ขอความช่วยเหลือเขาบ้าง ย่อมดีกว่าเราโดดเดียวเปล่าเปลียวในโลกา ที่สำคัญนักเศรษฐศาสตร์หลายคนบอกไว้ว่า ในทศวรรษหน้าอาเซียนจะเป็นใหญ่! เราก็เป็นส่วนหนึ่งในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นี้นะ จะทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์ และมอบประโยชน์สู่ความเป็นประชาคมอาเซียนดีล่ะ?



อนาคตของชาติ ของตัวเราก็อยู่ที่มือพวกเรานี่แหละค่ะ!
แหล่งข้อมูล:
- www.crc.ac.th/ASEAN/introduction.pdf 
- www.ef.co.th/epi/
- www.aseansec.org/documents/scorecard_final.pdf

พี่เกียรติ
พี่เกียรติ - Community Master ถนัดแฝงตัวตามกระทู้เด็กดี มีความสนใจเป็นล้านเรื่องขึ้นอยู่กับดราม่าขณะนั้น

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด

27 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ต่อคับ 10 ส.ค. 55 13:54 น. 6
"รู้เขา รู้เรา รู้จักเพื่อนบ้าน และไปร่วมมือกับเขา ไปช่วยเหลือเขาบ้าง ขอความช่วยเหลือเขาบ้าง ย่อมดีกว่าเราโดดเดียวเปล่าเปลียวในโลกา"

"ในทศวรรษหน้าอาเซียนจะเป็นใหญ่!"

ชอบสองประโยคนี้มาก
0
กำลังโหลด
123 10 ส.ค. 55 16:44 น. 7
To.. พี่เกียรติ "

พึ่ง ?? เพิ่ง ??

ขอโทษนะคะ คือพี่ใช้ภาษาไทยผิด หนูเลยอยากชี้แจงนิดนึงนะคะ ว่าในกรณีนี้ต้องใช้..
"เพิ่งรู้" ส่วนสำหรับคำว่า "พึ่ง" = พึ่งพา

ฝากด้วยนะคะ อยากให้คนไทยทุกคนใช้ภาษาไทยถูก ถึงจะเป็นคำผิดเล็กๆน้อยๆ แต่มันเพี้ยนความหมายที่แท้จริง ^^
0
กำลังโหลด
karin<f>e Community 10 ส.ค. 55 17:47 น. 8
สวัสดีน้อง คห. 7 และน้องๆ ทุกคนด้วยจ้า

พี่ไม่แน่ใจว่า พึ่ง ที่น้องหมายถึงเป็นชื่อของเรื่องนี้หรือเปล่านะคะ "เรื่องพึงรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน"  แต่พี่ไม่ได้ใช้คำว่า พึ่ง (ที่อ่านว่า ผึ้ง) ในชื่อเรื่องค่ะ
พี่ใช้คำว่า พึง (ไม่มีไม้เอก) ที่แปลว่า ควร จ้า 
แต่พี่ก็ใช้คำว่า เพิ่ง ตามความหมายที่น้องกล่าวมาด้วยน้า แต่ประกอบกับคำอื่น (เช่น หัวข้อ 3. ในเรื่องจ้า)

ขอบคุณมากค่ะ และดีใจจังที่มีน้องสาวที่ตระหนักเรื่องการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องอย่างจริงจังด้วยจ้า

(แต่ถ้าเรายึดตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแล้ว พึ่ง กับ เพิ่ง เป็นคำวิเศษณ์ใช้ในความหมายเดียวกันได้นะ)
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Verde pop Member 11 ส.ค. 55 22:13 น. 11
อีกสองปีครึ่ง หรือปี 2558 ประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียนสามารถที่จะเดินทางไปมาหาสู่กันได้ง่ายและสามารถทำงานที่ไหนๆก็ได้ในภูมิภาคของอาเซียน โดยไม่มีปัญหาเรื่องวีซ่ามาให้กวนใจ  ถ้า "ความสามารถของคุณถึง" ถ้า "คุณอยากก้าวหน้าและหาประสบการณ์ในต่างแดนมากขึ้น และถ้า " ํ Your English is good enough "
เพราะในวันข้างหน้า ประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนจะมีการแข่งขันกันสูง คนเก่งๆก็คงอยากเข้าประเทศเรามากขึ้น ทำงานในบ้านเรามากขึ้น ในขณะเดียวกัน คนบ้านเราก็คงมีหลากหลายคนที่อยากไปทำงานต่างประเทศ และเมื่อเวลานั้น มาถึง " ภาษาอังกฤษ" จะเป็นตัวชี้วัดว่าคุณ "สามารถพอที่จะทำงานในต่างประเทศได้รึเปล่า"
ถ้าเราเก่ง ใครๆก็คงอยากได้เราไปร่วมงาน แต่ถ้าเราไม่เก่งพอ ภาษาเราไม่ได้ ก็คงสู้ชาติอื่นไม่ได้แน่ๆ

ทุกวันนี้ "ผม" ก็คนหนึ่งนะ ที่พยายามฝึกฝนตัวเองให้มากๆ เพราะหวังว่าวันข้างหน้าเราจะได้สามารถสู้ชาติอื่นๆที่เขาเข้ามาทำงานในประเทศเราได้ เพราะใจหนึ่งก็แอบกลัวว่า ถ้าเขาเปิด "เสรีด้านอาชีพ"ขึ้นมาจริงๆ ไม่รู้ว่าจะรวมอาชีพพื้นๆอย่างทำนา ขับรถ หรือ เสริมสวยด้วยมั๊ย? พ่อแม่พี่น้องเราที่เขาไม่รู้ภาษาัอังกฤษเลย เขาจะโดนแย่งงานรึเปล่า? ถ้าเป็นแบบนั้นจริงๆ จะเกิดอะไรขึ้นนะ
คิดแล้วก็กลัวจริงๆ......
1

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด
narisa 12 ส.ค. 55 15:03 น. 13
ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ๆคะ ตอนแรกนึกว่าเราตื่นตัวอยู่คนเดียว แต่จริงๆต้องทำตั้งนานแล้ว เห็นเพื่อนๆที่มหาวิทยาลัยยังไม่ค่อยสนใจเรื่องนี้เท่าไหร่ แต่รู้ไว้ใช่ว่า ใช่มั๊ยคะ ^^
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Saierr 16 ก.ย. 55 15:08 น. 17
อาเซียนใกล้เข้ามา เป็นเรื่องที่น่าสนใจ และควรศึกษาไว้ พอถึงอาเซียนก็คงมีการเปลี่ยนแปลงมากมายจะได้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงไว้ ขอบคุณสำหรับควมรู้ค่ะ
0
กำลังโหลด
Fronger HurTalot Member 19 ก.ย. 55 21:02 น. 18
ไม่หน้า กลัว น่ะ สำหรับ คนรุ่นใหม่ อย่างเรา อิอิอาเซียนว่ะ มาเริ่มต้น อะไรใหม่ๆ ในปี 58 เหอะ
0
กำลังโหลด
ธิษฌาปัชญ์ 27 ก.ย. 55 12:32 น. 19
สำหรับคนรุ่นใหม่อย่างพวกผมที่กำลังเรียนอยู่ในระดับมัธยม ก็ยังไม่สายเกินไปที่จะปรับตัวครับ ตื่นตัวไว้ก่อน แต่อย่าถึงกับตื่นตระหนกเลยครับ ผมคิดว่าเป็นการเตรียมความพร้อมในทุก ๆ ด้าน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง เป็นประโยชน์กับตัวเอง และประเทศชาติด้วยครับ อย่างน้อยตัวเราก็พัฒนาขึ้น ถ้า เยาวชนของชาติทุกคน หันมาพัฒนาตนเองในทางที่ดี กันมากๆ ประเทศชาติในวันหน้า ก็จะมีเยาวชนที่มีคุณภาพมากขึ้น แต่ถ้าคิดอีกที คิดแบบว่าคนชาติอื่นจะเข้ามาแย่งอาชีพ หรือเข้ามาทำการค้าในประเทศเราเยอะขึ้น ทำให้คนไทยถูกแก่งแย่ง ก็เป็นไปได้นะครับ แต่มันก็ขึ้นอยู่กับความคิดของแต่ละคนนะครับ แต่ถ้าเราพัฒนาตัวเราให้ดี ให้เก่งขึ้น เราก็ไม่ต้องกลัวใครครับ คนดีและเก่ง อยู่ที่ไหนก็ได้ครับ อยู่ที่ไหน ก็ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ครับ แม่ผมบอก คนเราถ้าเป็นคนดีอย่างเดียวแต่เป็นคนไม่เก่ง ก็ยังไม่ค่อยเหมาะสมกับสังคมเลวร้าย หรือว่า เป็นคนเก่งอย่างเดียวแต่ไม่เป็นคนดี อันนี้ผมว่าแย่กว่าเป็นคนดีแต่ไม่เก่งอีกนะ บางคนเก่งนะ แต่จิตใจไม่ดี ผมว่าปล่อยให้เขาเก่งไปเถอะ อย่าไปยุ่งกับเขาเลย เช่น ผู้มีเงิน มีอำนาจ บางคน ผมว่าก็จริงนะ ที่คนเราต้องเก่งและดี ซึ่งบ้านเราก็มีเยอะนะ ตามที่เห็นในข่าวบ้าง ผมก็ชื่นชมในความเก่งและความดีของเขานะครับ แต่จะเก่งจริงหรือดีจริงก็เป็นอีกเรื่องนึงครับ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด