สีสัน ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับงานศิลปะ เพราะสีนอกจากจะสร้างความสวยงามให้แล้ว ยังเป็นตัวแทนของอารมณ์และความรู้สึกได้เป็นอย่างดี แม้ว่าจะเป็นวัตถุเดียวกัน แต่ก็ให้อารมณ์แก่ผู้ชมคนละแบบกัน ในฐานะผู้สร้างงานศิลปะ จึงควรเข้าใจถึงทฤษฎีการใช้สีให้ดี และด้วยการเขียนนิยายก็ถือเป็นงานศิลปะอย่างหนึ่ง ดังนั้นพี่แบงค์จึงคิดว่านักเขียนอย่างพวกเราก็น่าจะรู้หลักการใช้สีเอาไว้บ้างก็ดีเหมือนกันนะ เพราะมันจะช่วยเพิ่มอารมณ์ให้บทบรรยาย และสื่อถึงบุคลิกของตัวละครได้เป็นอย่างดี ซึ่งพี่ได้จำแนกอารมณ์ของแต่ละสีให้น้องๆได้ดังนี้ สีแดง ให้ความรู้สึกร้อนแรง เร่งเร้า ท้าทาย อันตราย และสื่อถึงความรักด้วยเช่นกัน (ความรักมันเร่าร้อนดั่งไฟ ประมาณนั้นแหละ ฮ่าๆ) สีชมพู ให้ความรู้สึกอ่อนโยน อ่อนหวาน ความรัก ความน่ารักสดใส เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกความเป็นผู้หญิง สีส้ม ให้ความรู้สึกร้อน แต่ออกไปในทางอบอุ่น ความสดใส มีชีวิตชีวา ดูเป็นวัยรุ่น (แบบเว็บ Dek-D.com ไง สีส้มแป๊ดโดนใจวัยรุ่นเลยใช่มั้ยล่ะ) สีเหลือง/สีทอง ให้ความรู้สึกหรูหรา มีคุณค่า มีมูลค่า และแสดงถึงการเปล่งรัศมี บ่งบอกถึงความมีอำนาจบารมี เช่น ทองคำ พระพุทธรูป กษัตริย์ สีเขียว ให้ความรู้สึกสงบร่มรื่น ผ่อนคลาย ความปลอดภัย และความสุขุม เยือกเย็น สีน้ำเงิน ให้ความรู้สึกสุขุม สุภาพ จริงจัง เจ้าระเบียบ สูงศักดิ์ และเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกความเป็นผู้ชาย สีฟ้า ให้ความรู้สึกปลอดโปร่ง เย็นสบาย สะอาด แสดงความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง เป็นกันเอง แม้จะเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกความเป็นผู้ชายเหมือนกัน แต่สีฟ้าจะดูมีบุคลิกเป็นพระรองหรือพี่ชายที่แสนดีมากกว่า ในขณะที่สีน้ำเงินจะดูเป็นผู้ชายที่ออกจะเย็นชาเคร่งขรึมไปหน่อย สีม่วง ให้ความรู้สึกมีเสน่ห์ น่าค้นหา หรูเริดไฮโซ มีอำนาจ มีพลังแฝง ความรัก ความเศร้า ความผิดหวัง สีขาว ให้ความรู้สึกสะอาด บริสุทธิ์ อ่อนโยน ไร้เดียงสา บอบบาง สีดำ/สีเทา ให้ความรู้สึกเศร้า อาลัย ท้อแท้ ความลึกลับ ความหดหู่ ความชรา ความสงบ ความเงียบ ขณะเดียวกันก็แสดงถึงความหรูหราได้เช่นกัน (สังเกตมั้ยว่า พวกของแบรนด์เนมชื่อดัง มักใช้สีดำกับสีเทาเป็นส่วนใหญ่) อย่างที่บอกไปครับ มันเป็นทฤษฎีการใช้สีของการวาดรูป นักเขียนอย่างพวกเราอาจจะไม่ต้องซีเรียสกับมันนักก็ได้ แต่ในความเห็นของพี่แบงค์ มันก็มีประโยชน์กับงานเขียนนิยายของน้องๆ ได้อยู่เหมือนกัน เช่น ใช้สีเพื่อเน้นบุคลิกของตัวละคร เช่น เจ้าของนัยน์ตาสีน้ำเงินชำเลืองมองหญิงสาวอย่างไม่ใยดี หรือ เรือนผมสีแดงโบกสะบัดไปตามคลื่นพลังที่พุ่งพล่านออกมาจากตัว หรือ เงามืดปกคลุมในใจของชายหนุ่ม เป็นต้น เอาไปใช้แต่งสีตัวหนังสือ หากเป็นนิยายที่ตีพิมพ์ในเล่ม แน่นอนว่าต้องพิมพ์เป็นขาวดำอยู่แล้ว แต่สำหรับนิยายที่ลงในเว็บ Dek-D.com การใส่สีให้ตัวหนังสือเพื่อเน้นคำสำคัญ มันก็ทำให้ผู้อ่านสะดุดตา ไม่รู้สึกเบื่อขณะอ่าน แล้วนิยายของน้องล่ะ เป็นสีอะไร : ) |
แสดงความคิดเห็น
ถูกเลือกโดยทีมงาน
ยอดถูกใจสูงสุด
สีคงใช้แต่งแค่หน้าธีมบทความ แต่ตัวเนื้อหานิยายขอปล่อยแบบเดิมโล่งๆ แล้วปรับสีอักษรเป็นดำพอ ไม่งั้นปวดตาตาย =w="
กำลังโหลด
รายชื่อผู้ถูกใจความเห็นนี้ คน
แจ้งลบความคิดเห็น
คุณต้องการที่จะลบความเห็นนี้ใช่หรือไม่ ?
31 ความคิดเห็น
แต่เนื้อหานี้หวานมดขึ้นเลยม้าง -3-*
ไม่มีคนอ่านทำไง
แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 30 มิถุนายน 2555 / 19:18
การจะตกแต่งอะไรก็ตาม ผู้ทำต้องมีเซ้นส์เรื่องความสวยงามไม่มากก็น้อย
ตกแต่งมาก ๆ ใช่ว่าจะสวย มันอาจจะเละและดูแย่ยิ่งกว่าเดิมก็เป็นได้
ตัวอย่างเช่นภาพที่เด็กอนุบาลระบายสี...
พูดตามตรง ไม่ต้องระบายอะไรเลยนั่นแหละดูสวยที่สุด
เพราะเด็กอนุบาลระบายสีไม่เป็นแถมไม่มีเซ้นส์ ดังนั้นจึงใช้สีไม่เหมาะ ภาพที่ออกมาจึงเละ
แน่นอน การใช้สีในนิยายก็เช่นกัน เท่าที่เห็นหลายคนตกแต่งจนเละไปแล้วนะ...
และบางทีไม่ต้องตกแต่งอะไรเลยอาจจะสวยกว่า
ตามที่ว่า 'Less is More' ซึ่งสถาปนิกระดับโลกคนหนึ่งได้กล่าวเอาไว้
ซึ่งพวกเราก็คงเป็น 'เละ is More'
อ่า จะเอาไปใช้นะคะ!!!^^ ท่าทางจะใช้ได้ดี เป็นการแสดงอารมณ์ในรูปแบบของสีสันสินะ *จำๆ
แม้แต่คนเขียน ที่แค่ก๊อปจากเวิร์ด เปลี่ยนสี แล้ววาง ยังลายตา
นับประสาอะไรกับนักอ่านที่ต้องอ่านตั้งแต่ต้นจนจบ
แล้วถ้าใครทนไม่ไหว กดปิดไปตั้งแต่สามบรรทัดแรกล่ะ
แต่เพลงประกอบมันชวนขนลุก และอีกอย่างทำแบนเนอร์ไม่เข้ากับอารมณ์เนื้อเรื่อง+เวลาว่างไม่มีเอาไปทำการบ้านหมด
และที่เครียดกว่านั้น เด็กดีผมมันมีปัญหาบ่อย ก็อปลงก็ลงไม่ได้ ปรับก็ปรับรูปภาพไม่ได้ด้วยT^T
เคยเจอนิยายเรื่องนึงล่อซะสีเหลือง บร๊ะ...ใครจะทนอ่านจบบทไหว =O= ;;