4 ช่วงเวลาการเกิด "Culture Shock" สิ่งที่คนไปเรียนนอกต้องรู้เพื่อรับมือ!

        หากใครเป็นนักเรียนต่อนอกเก่า หรือกำลังจะไปเรียนต่อต้องเคยได้ยินคำว่า Culture Shock มาบ้างใช่ไหมคะ เรารู้แค่ว่าอาการนี้เกิดจากการเจอวัฒนธรรมหรือพฤติกรรมของคนต่างบ้านต่างเมือง แต่อาการนี้จริงๆ แล้วคืออะไรกันแน่ มัน "ช็อก" จริงอย่างชื่อบอกหรือเปล่า วันนี้ "พี่น้อง" ขออธิบายให้กระจ่างกันค่ะ (รู้ไว้เผื่อซ้อมก่อนบินไปเรียนต่อเนอะ)

        Culture Shock เป็นอาการตอบสนองต่อการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เราไม่คุ้นเคย อะไรที่เราคุ้นกลับหายไป ไม่ใช่แค่ไปเจอวัฒนธรรมแปลกๆ ในต่างประเทศอย่างการซักผ้าด้วยเท้าที่เกาหลี หรือหอมแก้มทักทายกันที่ฝรั่งเศส แต่รวมถึงการที่เราไม่สามารถดำรงชีวิตประจำวันแบบเดิมกับที่เราเคยทำในประเทศเราได้

        เช่นเราอาจจะเคยชินกับการอยู่บ้าน ตื่นแปดโมง ตื่นปุ๊บมากินข้าวก่อนแล้วค่อยไปอาบน้ำ เก้าโมงยังไม่ถึงโรงเรียน แต่พอไปอยู่ต่างบ้านต่างเมือง นอนตื่นไม่เป็นเวลา ตื่นแล้วต้องอาบน้ำก่อนแล้วค่อยไปกินข้าว เดินหลงออกจากบ้านเพื่อหาทางไปโรงเรียน ความผิดแปลกเหล่านี้ก็ทำให้เราเกิด Culture Shock ได้ค่ะ

        อาการ Culture Shock แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
 

1. ความตื่นเต้นช่วงแรก

        แหม ได้ไปต่างประเทศทั้งที ใครจะไม่ตื่นเต้นดีใจล่ะคะ ลงจากเครื่องปุ๊บ เจอแต่คนที่เราไม่รู้จัก ร้านขายของน่าสนใจ อากาศอันเย็นสบาย อะไรๆ ก็ดูน่าอยู่กว่าบ้านเราไปเสียหมด ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เราตื่นเต้นกับความแปลกใหม่ อะไรเข้ามา เราก็ว่าดีไปหมด แต่เดี๋ยวเราจะรู้ฤทธิ์ Culture Shock ค่ะ ช่วงแรกนี้อาจกินเวลาตั้งแต่ไม่กี่วันจนถึงเป็นเดือน ขึ้นอยู่กับการปรับตัวและสภาพแวดล้อมที่แต่ละคนเจอ
 

2. อาการต่อต้าน

        ช่วงนี้ความแปลกที่เราเคยเห็นดีเห็นงามด้วยจะเริ่มดูขัดหูขัดตาขัดใจไปเสียหมด นั่นก็ไม่ดี นี่ก็ไม่ไม่ใช่ พาลทำให้การใช้ชีวิตในเมืองนอกของเราเริ่ม "ยากขึ้น" เพราะสมองของเราจะต่อต้าน ไม่ยอมรับการปรับตัวซะแล้ว
 

3. กระบวนการปรับตัว       

        หลังจากผ่านพ้นช่วงเวลาดีๆ และช่วงเวลาร้ายๆ เป็นธรรมดาที่ยิ่งอยู่นาน เราก็จะคุ้นชินกับวัฒนธรรมและการใช้ชีวิตในต่างประเทศ เราเริ่มคุ้นเคยกับชีวิตประจำวันรูปแบบใหม่ เราหลงทางน้อยลง เราสนิทกับโฮสต์แฟมิลี่ เพื่อนที่โรงเรียน และคุณป้าร้านดอกไม้ข้างบ้านมากขึ้น
 

4. สภาวะคงตัว

        จากหนอนน้อยน่าสงสาร เราได้กลายพันธุ์เป็นผีเสื้อตัวใหญ่ที่ปีกกล้าขาแข็ง อาจใช้เวลาตั้งแต่เป็นเดือนถึงเป็นปีกว่าเราจะรู้สึกว่าที่ต่างประเทศนี้ก็เป็น "บ้าน" ของเราเช่นกัน บางคนอาจยังมาไม่ถึงขั้นนี้ก็หมดเวลาสนุกต้องบินกลับเมืองไทยที่รักของเราก่อน บางคนอาจมาถึงจุดนี้อย่างรวดเร็วและใช้ชีวิตอยู่กับมันนานมาก เสียจนกลับไทยแล้วกลายเป็นเจอ Culture Shock ที่ไทยแทน (ซะงั้น)

        แล้วอาการ Culture Shock นี่คืออะไรกันนะ ใช่รู้สึกช็อก ต้องเอามือแนบอกแล้วอุทานว่า "นี่หรือเมืองพุทธ" หรือเปล่า

        เปล่าค่ะ Culture Shock ไม่ได้หมายถึงอาการ "ช็อก" แบบนั้น แต่หมายถึงร่างกายของเราเกิดอาการ "ช็อก" ทำให้ทำงานผิดปกติไปเสียหมด

        อาการที่พบเห็นได้บ่อยมักเป็นอาการที่เกิดอยู่ภายใน เช่น รู้สึกเหนื่อย เพลีย ไม่ค่อยกระตือรือร้นอยากทำอะไร บางคนอาจแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวหรือหงุดหงิดง่าย บางคนอาจรู้สึกหดหู่ อยู่ดีๆ ก็อยากร้องไห้โดยที่ไม่รู้ว่าจะร้องไปทำไม หรือมีอะไรมาสะกิดนิดหน่อยก็ปล่อยน้ำตาออกมาดื้อๆ
        อาการที่รุนแรงขึ้นคือ ถึงขั้นกินไม่ได้ นอนไม่หลับ หรือกินมากเกินไป หมกมุ่นกับการทำความสะอาด หรือไม่ก็ปล่อยตัวอิเหละเขละขละไปเลย เลวร้ายสุดๆ อาจเกิดความเครียดจนทำร้ายคนรอบข้างได้

        ดังนั้นคนที่มีอาการเหล่านี้แม้แต่นิดเดียวขอให้ตระหนักไว้ก่อนว่าเราอาจเกิด Culture Shock อยู่ ทางแก้คือให้หากิจกรรมทำร่วมกับคนอื่น หรือถ้าเราไม่ไหวจริงๆ ต้องปรึกษาโฮสต์แฟมิลี่หรือเพื่อนรอบตัวที่เราไว้ใจได้ คุยเปิดใจกับคนๆ นั้น การได้คุยกับคนที่เข้าใจวัฒนธรรมในประเทศนั้นๆ มากกว่าเราจะช่วยให้เราเห็นมุมมองใหม่ๆ ที่เราอาจไม่เคยคิดถึงมาก่อน และช่วยให้เราจัดการกับความรู้สึกเวลาเจออะไรที่ผิดแปลกไปจากที่เราเคยเจอได้
        การคุยกับคุณพ่อคุณแม่หรือเพื่อนๆ ที่ไทยก็ช่วยได้แต่ไม่ทั้งหมดค่ะ อย่างมากก็แค่ทำให้เรารู้สึกคลายเหงา เราจัดการอาการ Culture Shock ได้ด้วยการปรับตัวเข้าหาประเทศที่เราอยู่ อย่าตีตัวออก อย่ายึดติดกับความเคยชินที่เรามีในไทยนะคะ

        พี่น้องเชื่อว่าหลายคนที่ไปต่อนอกเคยรู้สึกแบบนี้ และผ่านมันมาได้ ใครมีวิธีรับมืออาการ Culture Shock ที่เป็นประโยชน์ มาช่วยโพสต์ได้ที่กล่องคอมเมนต์ด้านล่างเพื่อเป็นวิทยาทานให้กับรุ่นน้องที่กำลังจะไปเรียนต่อกันนะคะ
 

อยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Culture Shock คลิกอ่านบทความย้อนหลังนี้ได้เลย
5 อันดับ Culture Shock ต่างแดน ที่เด็กไทยรับไม่ได้ !
รวมเรื่องช็อกๆ สุดอึ้งในต่างแดน !
พี่น้อง
พี่น้อง - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Camelotte Member 22 ต.ค. 58 17:03 น. 3

เราไม่เป็นนะ ทั้งหมดเลย

1. การตื่นเต้นช่วงแรก - อะไรเข้ามา เราก็ว่าดีไปหมด

- ไม่เป็นค่ะ แต่ถ้าเขาถามว่าดีมั้ย เจ๋งมั้ย? เราก็ตอบไปตามมารยาทว่าดีค่ะ แต่สิ่งที่มาอยู่ต่างประเทศแล้วโคตรเกลียดเยคือเครื่องล้างจานค่ะ คือมันแค่ล้างๆแล้วก็เป่าแห้งให้อ่ะ แล้วบ้านของโฮสต์แบบ บางทีไม่จับล้างเอาลงเครื่องเลย! คราบที่ช้อนแกยังอยู่เลยว้อยยยยยย!!!!! แล้วจะให้เรามานั่งละเมียดล้างจานให้เขาทุกวันคงไม่ใช่เรื่อง แต่เพราะเขาไม่ล้างให้มันสะอาดเนี่ยแหละทำเราเครียด บางทีหยิบขึ้นมาคราบซอสยังเกรอะอยู่ที่ช้อนเลยค่า เกลียด..

2. อาการต่อต้าน - ขัดหูขัดตาไปซะหมด

- เช่นกันค่ะ ไม่เป็น อาจเป็นเพราะตอนมาแรกๆเราไม่ได้รู้สึกว่าทุกอย่างมันดูดีสวยหรูไปซะหมดมั้ง อาจจะต้องขอบคุณผู้ชายนิรนาม(ที่หล่อ#อุ๊ย)ผู้หนึ่ง ในขณะที่เรากำลังรอขึ้นเครื่อง เราเดินมาหาที่นั่ง และก็พบว่าชายนางนั้นนางมองมาที่เรา(ซึ่งสายตาก็..)พร้อมยกขาก่ายที่นั่งที่มันว่างตรงข้ามนาง เหมือนกำลังจะบอกว่า 'I'm rasist you Asian.' อยากจะเดินไปตบ..

3. กระบวนการปรับตัว - เริ่มคุ้นชินการใช้ชีวิตประจำวันที่ต่างประเทศ

- ใช่ค่ะ แต่ไม่ชินมากถึงขั้นจะรับกับชีวิตประจำวันที่ไทยไม่ได้ แค่ว่าต้องปรับเปลี่ยนบางส่วนนิดหน่อย อย่างเช่นการอาบน้ำ ตอนหน้าหนาวฝรั่งบางคนไม่อาบน้ำกันเลยค่ะแต่บางส่วนก็อาบ แต่จะอาบวันละครั้ง ซึ่งต่อให้เป็นหน้าร้อน เขาก็อาบวันละครั้ง.. แต่บางคนก็สองครั้งนะคะ แต่กับเราที่เป็นคนไทย.. เปล่าค่ะไม่ได้อาบวันละสองครั้ง ไม่อาบแม่มเลยได้ไหม555555555(โคตรซกมก) หรืออย่างเรา แปรงฟันตอนเช้าก่อนกินข้าวตั้งแต่ที่ไทย มาที่นี่ก็ยังทำอยู่แม้ว่าส่วนมากจะกินข้าวแล้วไปแปรงฟันกัน อ้อ อีกอย่าง ลม.. มันแรงมากกกกกกก แรงกว่าไทยเยอะมาก แรงจนบางทีแค่เดินไปป้ายบัสผมก็ยุ่งได้ ยิ่งถ้าวันไหนลมแรงกว่าปกตินะ.. หน้าชาแบบกู่ไม่กลับอ่ะค่ะฮือ

4. ส่วนเรื่องนี้ เราพึ่งมาเรียนค่ะ เลยอาจไม่รู้สึกเป็น professional มาก55555

อาจเป็นเพราะแง่คิดของคนเรามันแตกต่างกันด้วยมั้งคะ เราเป็นคนที่ใจแข็งอยู่พอสมควร เลยทำให้อะไรๆไม่กระทบกับเรามากนัก555 

ส่วนเรื่องเพื่อน ยอมรับเลยค่ะว่าปรับตัวเข้าหายากมาก อย่างเรา เราเล่นกีฬาไม่เก่ง แต่เขาเก่งๆกันทั้งนั้น แค่เสิร์ฟลูกวอลเล่ย์บอลเรายังเกือบทำไม่ได้เลย แต่เพราะความไม่อยากเป็นหลุมดำของห้องเนี่ยแหละที่ทำให้เราฮึด สรุป.. เสิร์ฟลูกได้ ตอนนั้นน้ำตาเกือบไหล เป็นลูกวอลเล่ย์ลูกแรกจากสิบสี่ปีที่ทำออกมาได้โคตรสวยงาม

ต่อ ปรับตัวยากคือยังไง อย่าคิดนะคะว่าไปต่างประเทศแล้วเด็กๆที่นั่นเขาจะเข้ามาทักทาย เป็นเพื่อนสนิทกัน แล้วเอ็นดิ้ง จบเรื่อง ไม่จ้า เขาก็เหมือนเราเนี่ยแหละ ไม่ค่อยกล้าจะคุยกับเรา เวลาให้งานกลุ่มมาทำเราก็จะเป็นคนสุดท้ายที่โดนเลือก จนบางทีแบ่งกลุ่มไม่ได้ก็ต้องทำเดี่ยว ลุยเดี่ยว หรือไม่ก็เป็นแค่ฝุ่นควันแทบไม่ได้หยิบจับอะไรเลย

ไม่พอ ประเทศที่เราอยู่แทบไม่รู้อะไรเกี่ยวกับไทยแลนด์เลยจ้า มีครั้งนึง กำลังเรียนเรื่องทวีปเอเชียในห้อง มีชีทมาให้ทำ เพื่อนร่วมห้องคนนึงโพล่งออกมาว่า

(A) 'I don't know anything about Thailand.. What capital city is it guys?' แบบ ฟังแล้วจุกนิดๆ เนี่ยก็หัวดำอยู่ตรงนี้ทำไมไม่ถามชั้นละโว้ยยยยยยย ไปถามเพื่อนหัวบลอนด์ของแกทำม๊ายยยย แต่ก็โอเคที่บางคนก็พอรู้เกี่ยวกับไทยแลนด์อ่ะนะ

(B) 'It's Bangkok'

และในที่สุด...

.

.

(A) 'How to spell it?' พอจบเลิกคบกัน! โว้ยยยยยยยยยยย!!!!!

#อัดอั้นมาก

ปล. สกิลการพูดภาษาจีนของฝรั่งมัน.. ชื่อแม่น้ำ Yangtze ถ้าคนไทย ส่วนมากจะอ่านแนวๆ หยางเซ่อ แต่ฝรั่ง..... 'แยงเซ่อะ' บางคนอินดี้ รวบคำมันคำเดียวค่ะ 'Is that แย๊งส์ซ์?' ไม่บอกนี่นึกว่าทำเสียงงู..................

จ้า..

1
กำลังโหลด
xSerinSxPAOx Member 21 ต.ค. 58 22:27 น. 1

ตอนไปแลกเปลี่ยน เจอ Culture Shock ตั้งแต่วันแรกเลยค่ะ แต่อันนี้เป็นแบบมาไวไปไว ที่รู้สึกคือแบบ เอ๊ะ เรามาอยู่จุดนี้ได้ยังไง (?) อยู่บ้านดีๆ ไม่ชอบ หาเรื่องมาลำบาก ร้องไห้แบบว่าหยุดไม่ได้ แต่หลังจากได้ออกไปทำกิจกรรม มีเรื่องอื่นเข้ามาให้คิดแทน อาการก็หายไปอย่างรวดเร็วค่ะ

จริงๆ ที่เกิดอาจไม่เรียกว่า Culture Shock ของแท้เท่าไหร่ เพราะมันเป็นช่วงแรกๆ เราเตรียมใจมาอยู่แล้วว่าเราต้องเจอ Culture Shock แน่ๆ หลังจากเวลาผ่านไปเราก็ปรับตัวได้จริงค่ะ ถ้าเป็นเรื่องรูปธรรม เช่น อาหาร โรงเรียน เพื่อน เวลาสามารถช่วยให้คุ้นชินได้ค่ะ แต่ปรากฏว่าเราเกิด Culture Shock อย่างหนักอีกครั้ง โดยที่ตอนเราอยู่ ณ จุดนั้น เราไม่รู้ค่ะว่าเรากำลังเจอ Culture Shock  จริงๆ เราพึ่งมาคิดได้หลังจากมองย้อนกลับไปแล้ว

มันเป็น Culture Shock  ด้านวัฒนธรรมความคิด เรามีปัญหากับโฮสต์แฟมิลี่หลายๆ ครั้ง คือเขาดีนะคะ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมหลายๆ ครั้งเราจึงมีปัญหากัน พยายามพูดคุยกันยังไง ก็เกิดปัญหาขึ้นอีกครั้ง ซึ่งมันเกิดจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมความคิดกันล้วนๆ ค่ะ ยกตัวอย่างง่ายๆ คือคนไทยอย่างเราชอบอ้อม ขณะที่เขาตรงมากๆ

อาการ Culture Shock  ของเราจุดนั้นเรียกได้ว่าซึมเศร้าค่ะ ร่างกายไม่มีแรง นั่งนิ่งๆ ได้ทั้งวัน ไม่อยากนอน ร้องไห้บ่อยๆ ซึ่งตอนนั้นเราไม่คิดเลยค่ะว่าอาการพวกนี้เรียกว่าเจอ Culture Shock  เข้าให้จังๆ

ทางแก้ของเราในตอนนั้นคือย้ายโฮสต์ค่ะ การย้ายโฮสต์ฟังดูเป็นเรื่องใหญ่ เราเลยพยายามปรับปรุงตัวก่อน แต่ถ้าสุดท้ายมันไปกันไม่ได้ ทำเต็มที่แล้วจริงๆ ก็ต้องกล้าที่จะเดินออกมาค่ะ เราว่า Culture Shock จะแก้ได้ทั้งสองฝ่ายต้องรู้ว่ากำลังเกิดอาการ แต่เราตอนนั้นไม่รู้ เขาก็ไม่รู้ ปรากฏพอเราย้ายโฮสต์ไปอยู่บ้านที่เขารับเด็กแลกเปลี่ยนบ่อยๆ มีความเข้าใจเรา เราก็ไม่เกิดอาการอีกเลยค่ะ

เขียนมาซะยาว (?) สรุปแล้วเราว่าถ้าจะแก้ Culture Shock เราต้องพยายามปรับตัวจริงๆ แต่ก่อนจะปรับตัวได้ เราก็ต้องเข้าใจก่อนด้วยค่ะว่าอาการมันเกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่ ที่สำคัญที่สุดคือรู้ว่าตัวเองกำลังมี Culture Shock  อยู่นะ อย่าไม่เข้าใจแบบเราตอนแรก ไม่เข้าใจแล้วมันทรมานจริงๆ 55555

1
editor_nong Member 21 ต.ค. 58 22:37 น. 1-1
ยินดีด้วยที่ผ่านมาได้ค่ะ เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม การไปอยู่เมืองนอกตัวคนเดียวมันเป็นอะไรที่วังเวงวิเวกโหวงเหวงจริงๆ เชื่อว่าคนที่ผ่านจุดนี้มาได้จะเติบโตขึ้นเยอะเลย
0
กำลังโหลด
EngEngMini Member 22 ต.ค. 58 11:15 น. 2

ตอนนี้เราเรียนอยู่อเมริกาเลยค่ะ คือเราชินกับที่นั้นแล้ว แต่ยังไม่อีกอย่างที่เราทำยังไงก็ไม่ชินซักทีคือ ไม่ค่อยมีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ ดูหัวโบราณสินะ ใช่แล้ว ไม่เคยคิดเหมือนกันว่าต้องมารู้สึกแปลกๆกับเรื่องแบบนี้ แต่คือเราถูกปลูกฝังมายังไงก็คงเป็นไปยังงั้นล่ะนะ

0
กำลังโหลด

4 ความคิดเห็น

xSerinSxPAOx Member 21 ต.ค. 58 22:27 น. 1

ตอนไปแลกเปลี่ยน เจอ Culture Shock ตั้งแต่วันแรกเลยค่ะ แต่อันนี้เป็นแบบมาไวไปไว ที่รู้สึกคือแบบ เอ๊ะ เรามาอยู่จุดนี้ได้ยังไง (?) อยู่บ้านดีๆ ไม่ชอบ หาเรื่องมาลำบาก ร้องไห้แบบว่าหยุดไม่ได้ แต่หลังจากได้ออกไปทำกิจกรรม มีเรื่องอื่นเข้ามาให้คิดแทน อาการก็หายไปอย่างรวดเร็วค่ะ

จริงๆ ที่เกิดอาจไม่เรียกว่า Culture Shock ของแท้เท่าไหร่ เพราะมันเป็นช่วงแรกๆ เราเตรียมใจมาอยู่แล้วว่าเราต้องเจอ Culture Shock แน่ๆ หลังจากเวลาผ่านไปเราก็ปรับตัวได้จริงค่ะ ถ้าเป็นเรื่องรูปธรรม เช่น อาหาร โรงเรียน เพื่อน เวลาสามารถช่วยให้คุ้นชินได้ค่ะ แต่ปรากฏว่าเราเกิด Culture Shock อย่างหนักอีกครั้ง โดยที่ตอนเราอยู่ ณ จุดนั้น เราไม่รู้ค่ะว่าเรากำลังเจอ Culture Shock  จริงๆ เราพึ่งมาคิดได้หลังจากมองย้อนกลับไปแล้ว

มันเป็น Culture Shock  ด้านวัฒนธรรมความคิด เรามีปัญหากับโฮสต์แฟมิลี่หลายๆ ครั้ง คือเขาดีนะคะ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมหลายๆ ครั้งเราจึงมีปัญหากัน พยายามพูดคุยกันยังไง ก็เกิดปัญหาขึ้นอีกครั้ง ซึ่งมันเกิดจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมความคิดกันล้วนๆ ค่ะ ยกตัวอย่างง่ายๆ คือคนไทยอย่างเราชอบอ้อม ขณะที่เขาตรงมากๆ

อาการ Culture Shock  ของเราจุดนั้นเรียกได้ว่าซึมเศร้าค่ะ ร่างกายไม่มีแรง นั่งนิ่งๆ ได้ทั้งวัน ไม่อยากนอน ร้องไห้บ่อยๆ ซึ่งตอนนั้นเราไม่คิดเลยค่ะว่าอาการพวกนี้เรียกว่าเจอ Culture Shock  เข้าให้จังๆ

ทางแก้ของเราในตอนนั้นคือย้ายโฮสต์ค่ะ การย้ายโฮสต์ฟังดูเป็นเรื่องใหญ่ เราเลยพยายามปรับปรุงตัวก่อน แต่ถ้าสุดท้ายมันไปกันไม่ได้ ทำเต็มที่แล้วจริงๆ ก็ต้องกล้าที่จะเดินออกมาค่ะ เราว่า Culture Shock จะแก้ได้ทั้งสองฝ่ายต้องรู้ว่ากำลังเกิดอาการ แต่เราตอนนั้นไม่รู้ เขาก็ไม่รู้ ปรากฏพอเราย้ายโฮสต์ไปอยู่บ้านที่เขารับเด็กแลกเปลี่ยนบ่อยๆ มีความเข้าใจเรา เราก็ไม่เกิดอาการอีกเลยค่ะ

เขียนมาซะยาว (?) สรุปแล้วเราว่าถ้าจะแก้ Culture Shock เราต้องพยายามปรับตัวจริงๆ แต่ก่อนจะปรับตัวได้ เราก็ต้องเข้าใจก่อนด้วยค่ะว่าอาการมันเกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่ ที่สำคัญที่สุดคือรู้ว่าตัวเองกำลังมี Culture Shock  อยู่นะ อย่าไม่เข้าใจแบบเราตอนแรก ไม่เข้าใจแล้วมันทรมานจริงๆ 55555

1
editor_nong Member 21 ต.ค. 58 22:37 น. 1-1
ยินดีด้วยที่ผ่านมาได้ค่ะ เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม การไปอยู่เมืองนอกตัวคนเดียวมันเป็นอะไรที่วังเวงวิเวกโหวงเหวงจริงๆ เชื่อว่าคนที่ผ่านจุดนี้มาได้จะเติบโตขึ้นเยอะเลย
0
กำลังโหลด
EngEngMini Member 22 ต.ค. 58 11:15 น. 2

ตอนนี้เราเรียนอยู่อเมริกาเลยค่ะ คือเราชินกับที่นั้นแล้ว แต่ยังไม่อีกอย่างที่เราทำยังไงก็ไม่ชินซักทีคือ ไม่ค่อยมีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ ดูหัวโบราณสินะ ใช่แล้ว ไม่เคยคิดเหมือนกันว่าต้องมารู้สึกแปลกๆกับเรื่องแบบนี้ แต่คือเราถูกปลูกฝังมายังไงก็คงเป็นไปยังงั้นล่ะนะ

0
กำลังโหลด
Camelotte Member 22 ต.ค. 58 17:03 น. 3

เราไม่เป็นนะ ทั้งหมดเลย

1. การตื่นเต้นช่วงแรก - อะไรเข้ามา เราก็ว่าดีไปหมด

- ไม่เป็นค่ะ แต่ถ้าเขาถามว่าดีมั้ย เจ๋งมั้ย? เราก็ตอบไปตามมารยาทว่าดีค่ะ แต่สิ่งที่มาอยู่ต่างประเทศแล้วโคตรเกลียดเยคือเครื่องล้างจานค่ะ คือมันแค่ล้างๆแล้วก็เป่าแห้งให้อ่ะ แล้วบ้านของโฮสต์แบบ บางทีไม่จับล้างเอาลงเครื่องเลย! คราบที่ช้อนแกยังอยู่เลยว้อยยยยยย!!!!! แล้วจะให้เรามานั่งละเมียดล้างจานให้เขาทุกวันคงไม่ใช่เรื่อง แต่เพราะเขาไม่ล้างให้มันสะอาดเนี่ยแหละทำเราเครียด บางทีหยิบขึ้นมาคราบซอสยังเกรอะอยู่ที่ช้อนเลยค่า เกลียด..

2. อาการต่อต้าน - ขัดหูขัดตาไปซะหมด

- เช่นกันค่ะ ไม่เป็น อาจเป็นเพราะตอนมาแรกๆเราไม่ได้รู้สึกว่าทุกอย่างมันดูดีสวยหรูไปซะหมดมั้ง อาจจะต้องขอบคุณผู้ชายนิรนาม(ที่หล่อ#อุ๊ย)ผู้หนึ่ง ในขณะที่เรากำลังรอขึ้นเครื่อง เราเดินมาหาที่นั่ง และก็พบว่าชายนางนั้นนางมองมาที่เรา(ซึ่งสายตาก็..)พร้อมยกขาก่ายที่นั่งที่มันว่างตรงข้ามนาง เหมือนกำลังจะบอกว่า 'I'm rasist you Asian.' อยากจะเดินไปตบ..

3. กระบวนการปรับตัว - เริ่มคุ้นชินการใช้ชีวิตประจำวันที่ต่างประเทศ

- ใช่ค่ะ แต่ไม่ชินมากถึงขั้นจะรับกับชีวิตประจำวันที่ไทยไม่ได้ แค่ว่าต้องปรับเปลี่ยนบางส่วนนิดหน่อย อย่างเช่นการอาบน้ำ ตอนหน้าหนาวฝรั่งบางคนไม่อาบน้ำกันเลยค่ะแต่บางส่วนก็อาบ แต่จะอาบวันละครั้ง ซึ่งต่อให้เป็นหน้าร้อน เขาก็อาบวันละครั้ง.. แต่บางคนก็สองครั้งนะคะ แต่กับเราที่เป็นคนไทย.. เปล่าค่ะไม่ได้อาบวันละสองครั้ง ไม่อาบแม่มเลยได้ไหม555555555(โคตรซกมก) หรืออย่างเรา แปรงฟันตอนเช้าก่อนกินข้าวตั้งแต่ที่ไทย มาที่นี่ก็ยังทำอยู่แม้ว่าส่วนมากจะกินข้าวแล้วไปแปรงฟันกัน อ้อ อีกอย่าง ลม.. มันแรงมากกกกกกก แรงกว่าไทยเยอะมาก แรงจนบางทีแค่เดินไปป้ายบัสผมก็ยุ่งได้ ยิ่งถ้าวันไหนลมแรงกว่าปกตินะ.. หน้าชาแบบกู่ไม่กลับอ่ะค่ะฮือ

4. ส่วนเรื่องนี้ เราพึ่งมาเรียนค่ะ เลยอาจไม่รู้สึกเป็น professional มาก55555

อาจเป็นเพราะแง่คิดของคนเรามันแตกต่างกันด้วยมั้งคะ เราเป็นคนที่ใจแข็งอยู่พอสมควร เลยทำให้อะไรๆไม่กระทบกับเรามากนัก555 

ส่วนเรื่องเพื่อน ยอมรับเลยค่ะว่าปรับตัวเข้าหายากมาก อย่างเรา เราเล่นกีฬาไม่เก่ง แต่เขาเก่งๆกันทั้งนั้น แค่เสิร์ฟลูกวอลเล่ย์บอลเรายังเกือบทำไม่ได้เลย แต่เพราะความไม่อยากเป็นหลุมดำของห้องเนี่ยแหละที่ทำให้เราฮึด สรุป.. เสิร์ฟลูกได้ ตอนนั้นน้ำตาเกือบไหล เป็นลูกวอลเล่ย์ลูกแรกจากสิบสี่ปีที่ทำออกมาได้โคตรสวยงาม

ต่อ ปรับตัวยากคือยังไง อย่าคิดนะคะว่าไปต่างประเทศแล้วเด็กๆที่นั่นเขาจะเข้ามาทักทาย เป็นเพื่อนสนิทกัน แล้วเอ็นดิ้ง จบเรื่อง ไม่จ้า เขาก็เหมือนเราเนี่ยแหละ ไม่ค่อยกล้าจะคุยกับเรา เวลาให้งานกลุ่มมาทำเราก็จะเป็นคนสุดท้ายที่โดนเลือก จนบางทีแบ่งกลุ่มไม่ได้ก็ต้องทำเดี่ยว ลุยเดี่ยว หรือไม่ก็เป็นแค่ฝุ่นควันแทบไม่ได้หยิบจับอะไรเลย

ไม่พอ ประเทศที่เราอยู่แทบไม่รู้อะไรเกี่ยวกับไทยแลนด์เลยจ้า มีครั้งนึง กำลังเรียนเรื่องทวีปเอเชียในห้อง มีชีทมาให้ทำ เพื่อนร่วมห้องคนนึงโพล่งออกมาว่า

(A) 'I don't know anything about Thailand.. What capital city is it guys?' แบบ ฟังแล้วจุกนิดๆ เนี่ยก็หัวดำอยู่ตรงนี้ทำไมไม่ถามชั้นละโว้ยยยยยยย ไปถามเพื่อนหัวบลอนด์ของแกทำม๊ายยยย แต่ก็โอเคที่บางคนก็พอรู้เกี่ยวกับไทยแลนด์อ่ะนะ

(B) 'It's Bangkok'

และในที่สุด...

.

.

(A) 'How to spell it?' พอจบเลิกคบกัน! โว้ยยยยยยยยยยย!!!!!

#อัดอั้นมาก

ปล. สกิลการพูดภาษาจีนของฝรั่งมัน.. ชื่อแม่น้ำ Yangtze ถ้าคนไทย ส่วนมากจะอ่านแนวๆ หยางเซ่อ แต่ฝรั่ง..... 'แยงเซ่อะ' บางคนอินดี้ รวบคำมันคำเดียวค่ะ 'Is that แย๊งส์ซ์?' ไม่บอกนี่นึกว่าทำเสียงงู..................

จ้า..

1
กำลังโหลด
(once) A Minnesotan 2 พ.ย. 59 22:43 น. 4
ของเราไม่ใช่ Culture Shock นะ แต่เป็น Weather Shock 555555 ตอนอยู่อเมริกา ไปอยู่ Minnesota หนาวมากกกกกกก ฤดูหนาวติดลบ 20 กว่า ฤดูใบไม้ผลิ ก็ยังหนาว บางวันเลขหลักเดียว บางวันก็ 10 นิดๆ พอกลับมาเมืองไทยปุ๊ป ทำไมมันถึงร้อนขนาดนี้คะ!!!! นี่ชั้นเคยทนอากาศร้อนขนาดนี้ได้ด้วยหรอ 555555
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด