ตามติด 1 วันชีวิตการทำงาน "ทนายความ" ณ สำนักทนายความที่ใหญ่ที่สุดในไทย!!

สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com ... เจอกับ พี่เป้ และสกู๊ปพิเศษ A day in life ที่จะพาน้องๆ ไปติดตามชีวิตการทำงาน 1 วันของอาชีพในฝัน สำหรับครั้งนี้ก็เป็นตอนที่สามแล้วล่ะ^^ จะเป็นอาชีพอะไร มาดูกัน

หนึ่งในอาชีพที่น้อง ๆ ขอให้ทาง Dek-D ไปตามติดมากๆๆๆ ก็คือ "ทนายความ" ค่ะ ซึ่งทางทีมงานของเราได้รับโอกาสให้เข้าไปถ่ายทำที่ สำนักงานที่ปรึกษากฎหมายเบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ (Baker & McKenzie) ซึ่งเป็นสำนักงานทนายความที่มีชื่อเสียงระดับโลก!!! โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองชิคาโก้ สหรัฐอเมริกา และมีสำนักงานทั้งสิ้นถึง 77 แห่งใน 47 ประเทศทั่วโลก สำหรับสำนักงานในไทยได้ก่อตั้งมายาวนานกว่า 35 ปีและยังเป็นสำนักงานที่ปรึกษากฎหมายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ!! ฟังดูน่าตื่นเต้นมั้ยล่ะ แล้วคนที่จะเข้าไปทำงานที่นี่ได้ต้องเก่งเทพแค่ไหนกันเชียว?? 

ที่นี่มีชื่อเสียงมากและเป็นที่ทำงานที่คนเรียนกฎหมายล้วนรู้จัก คนจำนวนไม่น้อยใฝ่ฝันอยากทำงานที่นี่หรือมีประสบการณ์ฝึกงานที่นี่สักครั้ง เรียกว่าถ้าลองเสิร์ชกูเกิลว่า World Class Law Firm ชื่อของ Baker & McKenzie เด้งมาอยู่หน้าแรกของผลลัพธ์เลยค่ะ

ต้องจบสาขานิติศาสตร์เท่านั้น

ถ้าจะเป็นที่ปรึกษากฎหมายที่ว่าความในศาล จะต้องมีใบอนุญาตประกอบอาชีพทนายความ โดยต้องสอบผ่านทฤษฎีข้อเขียน + เก็บชั่วโมงฝึกงานให้ครบ 6 เดือน + สอบภาคปฏิบัติ + สอบสัมภาษณ์ หากผ่าน ก็จะได้รับใบอนุญาตประกอบอาชีพทนายความ

ผู้ที่จบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์จำนวนไม่น้อยที่นิยมเรียน "เนติบัณฑิต" ต่อ (เป็นหลักสูตรกฎหมายที่สูงกว่าปริญญาตรีแต่ไม่ใช่ปริญญาโท) ทำให้มีหลายคนเข้าใจผิดว่า หากไม่เรียนเนติบัณฑิตจะไม่สามารถเป็นทนายความได้ จริงๆ แล้วไม่ใช่เช่นนั้น อาชีพอัยการและผู้พิพากษาต่างหากที่หากไม่ได้เรียนเนติบัณฑิตจะไม่สามารถเป็นได้

แต่การเรียนเนติบัณฑิตจะเป็นเหมือนหลักสูตรที่เน้นการนำกฎหมายไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติแบบเน้นๆ โดยศึกษาจากวิธีการตีความกฎหมายของศาล คนจึงนิยมเรียนกัน และผู้ที่สอบผ่านเป็น "เนติบัณฑิต" มาได้ ส่วนมากก็จะได้รับการพิจารณาเพื่อเข้าทำงานในหลายๆ บริษัทเป็นพิเศษ บางคนถึงกับกล่าวว่า นิติศาสตรบัณฑิตสอนให้คนตกปลาได้ แต่เนติ บัณฑิตสอนให้คนตกปลาเป็น

ทันทีที่ทีมงานก้าวเข้ามาถึง Baker & McKenzie โอ้โห! ตื่นเต้นและเกร็งมากสุดๆๆ ค่ะ เพราะหรูมากกกก ในความรู้สึกส่วนตัวของพี่คือเหมือนหลุดเข้าไปในบริษัทหรูๆ อลังการในละครสักเรื่องเลยล่ะค่ะ (หยิกตัวเอง 5 ทีนึกว่าฝันไป) ที่ตั้งของ Baker & McKenzie อยู่ที่ตึกอับดุลราฮิม ครอบคลุมพื้นที่ชั้น 5 และ 21 - 25 ที่นี่มีทนายความผู้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษากฎหมายมากกว่า 200 คน ซึ่งประจำอยู่ในหลายแผนก (practice group) ได้แก่

ให้คำปรึกษากฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา และกิจการโทรคมนาคม เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า แบบผังภูมิของวงจรรวม เช่น เมื่อลูกความต้องการจดสิทธิบัตรหรือเครื่องหมายการค้า ฝ่ายนี้จะเป็นผู้ดำเนินการค่ะ

ฝ่ายนี้เป็นฝ่ายที่ใหญ่มากค่ะ จึงมีแผนกที่ย่อยลงไปอีก เช่น ดูแลให้คำปรึกษากฎหมายเกี่ยวกับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ประกันภัย การควบรวมกิจการการค้าระหว่างประเทศ แรงงาน ยา และเครื่องสำอาง หน้าที่ก็เช่น เมื่อลูกความต้องการซื้อกิจการแห่งหนึ่ง ก็จะมาติดต่อให้ฝ่ายนี้ช่วยตรวจสอบ (due diligence) ว่า กิจการที่ต้องเข้าไปซื้อนั้นเป็นยังไง มีความเสี่ยงทางกฎหมายและการดำเนินการที่ถูกต้องตามกฎหมายมาโดยตลอดหรือไม่

คือฝ่ายที่มีหน้าที่ดูแลให้คำปรึกษาทางกฎหมาย และช่วยดำเนินคดีที่ต้องมีการระงับข้อพิพาทหรือไปต่อสู้ในชั้นศาลหรืออนุญาโตตุลาการ เช่น คดีแพ่ง อาญา ล้มละลาย ภาษี แรงงาน หรือคดีปกครองเป็นต้น

รับผิดชอบให้คำปรึกษาทางกฎหมาย เกี่ยวกับภาษีอากร และการวางแผนทางด้านภาษีอากรต่างๆ เช่น ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุนของลูกความต่างชาติในประเทศไทย เป็นต้น

รับผิดชอบให้คำปรึกษาทางกฎหมายเกี่ยวกับตลาดทุนและหลักทรัพย์ และกฎหมายเกี่ยวกับการเงินและการธนาคาร เช่น ลูกความที่ต้องการเสนอขายหุ้นให้กับประชาชน กลุ่มงานนี้ก็จะช่วยรับผิดชอบ

หลายคนอาจจะติดภาพว่า ทนายความต้องอยู่แต่ในศาลและฟ้องร้องดำเนินคดีที่ดูมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง เช่น แย่งมรดก ทำร้ายร่างกาย (แบบที่เราเห็นภาพจากในละคร) พอเห็นการแบ่งแผนกงานแบบนี้ น้องๆ น่าจะพอเห็นภาพว่า ทนายความมีเนื้องานที่ต้องรับผิดชอบมากกว่าที่เราคิดเยอะเลย เพราะกฎหมายนั้นเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและการดำเนิน ธุรกิจในหลากหลายแง่มุมมากกว่าที่เราคิดมากๆ และงานหลักๆ ของทนายความส่วนมาก ก็ทำอยู่ในสำนักงานทนายความค่ะ ไม่ได้อยู่ที่ศาลตลอดเวลา

และวันนี้เราก็มีโอกาสได้พบเจอพูดคุยกับทนายความคนเก่ง 3 ท่าน มาดูกันดีกว่าค่ะว่าจะเก่งแค่ไหน!! อ่านแล้วต้องยกนิ้วให้เลยอะ

ภัทริน หลักทอง (แก๊ป)


มัธยมศึกษา : โรงเรียนบดินทรเดชา
(สิงห์ สิงหเสนี) 2
ปริญญาตรี : คณะนิติศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาโท : New York University
และ Cornell University สหรัฐอเมริกา
(ทุนพัชรกิติยาภาเพื่อการศึกษากฎหมาย)
 

คุณพ่อของพี่แก๊ปเป็นนักกฎหมาย เลยเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจที่ทำให้พี่แก๊ปสนใจเรียนสายนี้ จึงสอบเข้าเรียนที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ และเลือกเรียนในสายกฎหมายธุรกิจ โดยเน้นวิชากฎหมายระหว่างประเทศไปด้วย ระหว่างที่เรียนก็ได้ทำกิจกรรมมากมาย เช่น เขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์, ประชุมทางวิชาการกับนักศึกษากฎหมายในภูมิภาค อาเซียนและเอเชีย, กิจกรรรม Moot Court หรือการแข่งขันว่าความในศาลจำลอง และเคยมีโอกาสเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันว่าความที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย และกรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกาอีกด้วย (โอ้วววว ขอคารวะเลยค่ะ)

ตอนเรียนปีสาม พี่แก๊ปเคยมีโอกาสเข้ามาฝึกงานที่ Baker & McKenzie นี่แหละค่ะ จริงๆ แล้วตามหลักสูตรการเรียน ไม่ได้บังคับว่าต้องฝึกงาน แต่คนส่วนมากก็มักหาสำนักงานทนายความเพื่อเข้าไปฝึกงานและศึกษาจากประสบการณ์การทำงานจริง และพอเรียนจบปีสี่ ก็ได้เข้ามาทำงานที่นี่ ซึ่งระหว่างนั้นพี่แก๊ปก็ต้องจัดสรรเวลาให้กับการเรียนเนติบัณฑิตด้วย จนเรียนจบเนติบัณฑิตภายใน 1 ปี (ต้องเข้มงวดกับตัวเองและมีวินัยในการอ่านทบทวนนะ)

จากนั้นพี่แก๊ปได้รับทุนให้ไปศึกษาต่อด้านกฎหมายระหว่างประเทศที่อเมริกา คำแนะนำจากพี่แก๊ปคือ ควรเลือกลงเรียนวิชาที่เน้นทักษะการใช้กฎหมายบ้าง เช่น การร่างสัญญา การเจรจาต่อรอง การศึกษาวิจัยและให้คำปรึกษาทางกฎหมาย เป็นต้น ซึ่งนักเรียนไทยหลายคนอาจไม่นิยมลงวิชาพวกนี้ เพราะต้องใช้ทักษะภาษาและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนสูง แต่วิชาเหล่านี้จะเป็นทักษะที่ติดตัวเราไปและเป็นประโยชน์กับวิชาชีพทนายความค่ะ จากนั้นพี่แก๊ปก็กลับไทย และได้มีโอกาสเข้า มาทำงานที่ Baker & McKenzie โดยเป็นทนายความในกลุ่มงานองค์กรธุรกิจและการค้าการพาณิชย์จนถึงทุกวันนี้ค่ะ

- เช็คอีเมลและหารือกับหัวหน้างาน เพื่อจะได้จัดระดับความสำคัญของงานที่จะทำในแต่ละวันได้อย่างถูกต้อง

-โทรศัพท์คุยงานจากลูกความที่โทรเข้ามาถามประเด็นทางกฎหมาย มีทั้งที่เป็นชาวต่างชาติที่ต้องการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และลูกความชาวไทยที่ต้องการไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน

พี่แก๊ปมีหน้าที่ตรวจสอบในทางกฎหมาย ว่า กิจการที่ลูกความต้องการลงทุนในประเทศ เป็นไปตามกฎหมายและมีการดำเนินกิจการที่ถูกต้องหรือไม่ หรือมีความเสี่ยงทางกฎหมาย อย่างไร หากลูกความตัดสินใจจะลงทุน พี่แก๊ปก็จะช่วยวางแผนการจัดรูปแบบขององค์กรธุรกิจที่เหมาะสมกับการลงทุน และช่วยร่างสัญญาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการร่วมลงทุนกันได้สำเร็จ

ส่วนลูกความไทยที่ต้องการไปลงทุนในต่างประเทศ บางครั้งพี่แก๊ปก็ต้องเดินทางไปต่างประเทศพร้อมกับลูกความเพื่อตรวจสอบกิจการนั้นๆ หรือช่วยเจรจาและร่างสัญญาที่รองรับการทำธุรกรรมต่างๆ

หากเป็นลูกความรายใหม่ที่ติดต่อมา จะมีการตกลงเกี่ยวกับขอบเขตของงานให้ชัดเจนว่าลูกความต้องการให้ทนายความดำเนินการแค่ไหน จุดนี้สำคัญมาก เพราะหากสื่อสารไม่ชัดเจน เราอาจทำงานออกมาไม่ตรงความต้องการของลูกความ จึงต้องมีการสอบถามให้ชัดเจน เช่น แผนการลงทุนของลูกความคืออะไร จะลงทุนเมื่อไหร่ จะต้องมีการจัดตั้งบริษัทหรือจัดทำสัญญาทางกฎหมายกี่ฉบับ ที่นี่ทนายความทำงานกันเป็นทีม หากเป็นงานใหญ่อาจต้องใช้ทนายความหลายคน หรือบางงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางกฎหมายที่หลากหลาย ก็จะใช้ทนายความผู้เชี่ยวชาญจากหลายกลุ่มงาน

ในตอนกลางวันของบางวัน อาจมีการร่วมรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันของทนาย เพื่อให้ทนายความที่นี่ได้มีโอกาสพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน หรืออาจมีการประชุมของแผนกหรือกลุ่มงานที่เพื่อนๆ ทนายความอาจนำคดีความที่น่าสนใจมาแลกเปลี่ยนกัน หรือมีการอัพเดตกฎหมายใหม่ หารือประเด็นทางกฎหมายใหม่ๆ เพราะกฎหมายมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คนเป็นทนายความก็ต้องอัพเดตความรู้ทางกฎหมายใหม่ๆ ตลอดเวลาด้วย

ส่วนตกเย็น หากไม่มีนัดออกไปประชุมหรือพบปะกับลูกความข้างนอกสำนักงาน พี่แก๊ปก็จะเคลียร์งานต่อเรื่อยๆ จนถึงเวลาเลิกงานค่ะ

ศิรัญญา หรูวรรธนะ(แน็ต)


ปริญญาตรี : คณะนิติศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาโท :

- ทุนรัฐบาลออสเตรเลีย ศึกษาต่อที่
Melbourne Law School 
- กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่
New York University สหรัฐอเมริกา

พี่แน็ตจบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เลือกเรียนสายแพ่ง-อาญา หลังเรียนจบได้ใช้เวลาเรียนเนติบัณฑิตจบภายใน 1 ปี จากนั้นได้เข้าทำงานที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในตำแหน่งที่ปรึกษากฎหมาย ก่อนจะได้รับทุนรัฐบาลออสเตรเลีย ให้ไปศึกษาต่อที่ Melbourne Law School ยังไม่หมดแค่นั้น พี่แน็ตยังไปศึกษาต่อที่อเมริกาที่ New York University ซึ่งเป็นสถาบันที่ดังมากๆ ในเรื่องกฎหมาย

หลังจากเรียนจบ พี่แน็ตได้เข้าทำงานที่สำนักงานทนายความที่อเมริกา 1 ปี โดยสอบผ่านเนติบัณฑิตแห่งรัฐนิวยอร์ก (New York Bar) ทำให้สามารถทำงานที่นั่นได้อย่างถูกกฎหมาย โดยเป็นทนายความประเภทว่าความในศาล ก่อนจะกลับมาทำงานที่ไทยจนถึงปัจจุบันนี้ ในตำแหน่งทนายความแผนกทรัพย์สินทางปัญญา โอ้โห สุดยอดมากๆๆ เลยค่ะ

เมื่อมีลูกความติดต่อมา ก็จะมีการนัดคุยกัน หลักๆ คือพูดคุยถึงความต้องการว่า ลูกความอยากให้เราทำอะไร และต้องดูด้วยว่าเราจะสามารถให้บริการได้มั้ย เช่น ลูกความอาจจะมาขอให้ช่วยเพราะถูกบริษัทคู่แข่งขโมยงานไปใช้ แต่บริษัทคู่แข่งที่ว่า เป็นลูกความเก่าที่เราเคยทำคดีให้ หากเป็นเช่นนี้ก็จะแจ้งลูกความไปตามตรงว่า อาจไม่สามารถรับงานนี้ได้เพราะถือเป็นจรรยาบรรณของทนายความ

หากสามารถให้บริการได้ ก็จะคุยลึกถึงรายละเอียด ขอบเขตงาน วันกำหนดส่ง ราคางาน โดยค่าจ้างนั้นขึ้นอยู่กับว่า ลูกความมีกำหนดงบประมาณมาให้ หรือเราจะคิดเป็นชั่วโมงการทำงาน

หน้าที่หลักๆ ที่พี่แน็ตรับผิดชอบ ก็จะเป็นเรื่องของการจดทะเบียนสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า หรือหากมีคนมาละเมิดผลงานของลูกความ เช่น มีคนนำเข้าสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ก็จะติดตามและหาข้อมูลเพิ่มเติม แจ้งดำเนินคดี และนำเจ้าหน้าที่ตำรวจขอเข้าค้นหรือบุกจับ

นอกจากนี้ยังดูแลในเรื่องการเพิ่มมูลค่าให้ทรัพย์สินด้วย นั่นคือ หากลูกความต้องการเพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วยการซื้อสาขาหรือเฟรนไชส์ของต่างประเทศมาเปิดในไทย เราก็จะเป็นฝ่ายช่วยดำเนินการและติดต่อดูแลเรื่องกฎหมายว่า กฎหมายนั้นๆ ของประเทศแม่สามารถนำมาปรับใช้ในไทยได้มั้ย

สำหรับหน้าที่ใน 1 วันของพี่แน็ต เริ่มแต่เช้าก็ต้องเคลียร์อีเมล จัด to do list ว่า วันนี้มีอะไรที่ต้องทำให้เสร็จ จากนั้นก็จะเริ่มลงมือทำงาน เช่น หากต้องร่างสัญญา ก็ต้องร่างจนเสร็จ และตรวจทานก่อนส่งให้หัวหน้าเช็คความถูกต้อง หรือในบางวันก็อาจมีออกไปเป็นวิทยากรรับเชิญตามงานสัมมนาทางกฎหมายต่างๆ

ลองถามพี่แน็ตว่า ในเมื่อมีประสบการณ์ทนายความทั้งไทยและอเมริกา รู้สึกว่า การทำงานใน 2 ประเทศนี้มีอะไรที่เหมือนหรือต่างกันบ้าง? พี่แน็ตตอบมาว่า....

ในเวลาทำงาน คนไทยจะมีความเป็นพี่เป็นน้องกัน รู้จักกันเกือบหมดในบริษัท มีสังคม เฮไหนไปนั่น แต่ที่อเมริกาจะมีความเป็นสังคมการทำงานที่ชัดเจน หลังเลิกงานอาจไม่ได้ไปสังสรรค์กันบ่อยนัก ทุกคนเน้นความเป็นมืออาชีพ

การทำงานที่สำนักงานทนายความที่นิวยอร์ก มีคนหลากหลายเชื้อชาติเข้ามาทำงานที่นี่ เป็นการเปิดกว้างโดยไม่มีการ Racist หรือเหยียดเชื้อชาติ ในการทำงานจะดูความสามารถเป็นหลัก ไม่สนว่าคุณเป็นคนชาติอะไร

อีกข้อแตกต่างคือ หน้าที่งานที่นิวยอร์ก จะเน้นเป็นการไปศาล ต้องติดต่อกับศาลตลอด แต่หน้าที่งานที่ไทย จะเน้นเป็นการให้คำปรึกษาแก่ลูกความเป็นเคสๆ ไป

หลังจากดูชีวิตการทำงานในสำนักงานทนายความแล้ว ทีนี้ขอตามไปยัง "ศาล" บ้างค่ะ
มาดูกันว่า ชีวิตการทำงานที่ต้องไปว่าความที่ศาลของทนายความนั้นจะเป็นยังไงบ้าง?

วศิน เลิศวไลพงศ์(ฮะ)


มัธยมศึกษา : โรงเรียนศึกษานารีวิทยา

ปริญญาตรี : คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปริญญาโท : Magister Juris
University of Oxford
(มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด) ประเทศอังกฤษ
 

พี่ฮะเรียนจบนิติศาสตร์จากธรรมศาสตร์ หลักสูตรตลอด 4 ปีของธรรมศาสตร์ ที่นี่ไม่มีแบ่งแยกสาย ทุกคนจะได้เรียนเนื้อหาเหมือนๆ กัน ในตอนปิดเทอมก่อนจะขึ้นปี 4 พี่ฮะได้มีโอกาสเข้ามาฝึกงานที่ Baker & McKenzie โดยขอเลือกฝึกในแผนกการระงับข้อพิพาท และพอเรียนจบก็ได้เข้ามาทำงานที่นี่เป็นทนายความแผนกนี้เช่นเดียวกัน

ขั้นตอนการรับงานจากลูกความนั้น เราจะต้องตรวจสอบก่อนว่า ทางบริษัทจะสามารถทำคดีนี้ได้หรือไม่ จะไม่ทับซ้อนกับคดีเก่าๆ หรือลูกความเก่าๆ เพราะถือว่าผิดจรรยาบรรณอย่างที่กล่าวไปแล้ว หากทำให้ได้ ก็จะจัดสรรหน้าที่ไปยังทนายความที่เหมาะสมหรือมีความเชี่ยวชาญในคดีนั้นๆ เช่น หากเป็นคดีเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน จะส่งไปให้ทนายความที่ชำนาญเรื่องนี้เป็นพิเศษ หรือบางคดีอาจจะเกี่ยวกับกฎหมายหลายด้าน ก็ต้องทำงานกันเป็นทีม

หลังจากนั้นจะมีการประชุมกับลูกความ เพื่อตั้งขอบเขตของงาน สอบถามข้อเท็จจริงเรื่องราวที่เกิดขึ้น วางแผนหาทางออกที่เหมาะสม หากเป็นเรื่องที่ดูน่าจะชนะคดียาก ทนายความก็ต้องแนะนำและให้ความเห็นตามความเป็นจริง 

หรือบางเรื่องก็อาจจะพอไกล่เกลี่ยได้เพราะไม่ใช่ทุกเรื่องที่ต้องจบที่ศาลเสมอไป อาจตั้งคนกลางขึ้นมาช่วยเจรจาได้ แต่หากลูกความยืนยันว่าเรื่องนี้ยังไงก็ต้องไปถึงศาล ทนายความก็ต้องหาทางหรือจับประเด็นที่จะทำให้ลูกความของเรามีโอกาสชนะคดี ซึ่งหน้าที่ที่ต้องทำ ได้แก่

ระบุข้อหาที่จะใช้ฟ้องร้อง โดยต้องสอบข้อเท็จจริงจากลูกความ เตรียมคำฟ้อง เตรียมข้อหา เพื่อไปยื่นคำฟ้องที่ศาล

ถ้าศาลรับฟ้อง ศาลก็จะส่งเรื่องต่อไปยังฝั่งตรงข้ามที่เราฟ้องหรือจำเลยนั่นเอง (ส่วนฝ่ายเราก็เป็นโจทก์) เมื่อฝั่งตรงข้ามได้รับหมายจากศาลแล้ว อาจจะมีการฟ้องกลับได้ เท่ากับว่า นอกจากเราจะเป็นโจทก์แล้ว ฝ่ายเราก็ต้องกลายเป็นจำเลยด้วย นั่นหมายถึง ทนายความก็จะมีหน้าที่มากขึ้น ไม่ใช่แค่เตรียมข้อหาเพื่อฟ้องเขา แต่ต้องเตรียมคำให้การไปสู้ที่เขาฟ้องกลับมาด้วย

ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่ามีอะไรบ้าง หรือสรุปว่าจะฟ้องร้องอะไรกัน และฟ้องร้องเพื่ออะไร (กำหนดเป้าหมายที่แน่ชัด) เช่น จะฟ้องคดีเรื่องหนี้ เพื่อนำสืบว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์จริงหรือไม่? มีพยานกี่ปาก? และที่สำคัญคือ กำหนดวันนัดที่จะมาขึ้นศาล ซึ่งจะกำหนดล่วงหน้า 2-3 เดือนเป็นส่วนมาก หรืออาจนานกว่านั้น เช่น 6 เดือน

ระหว่างที่รอวันจะไปขึ้นศาล ทนายความก็มีหน้าที่เตรียมคดี เตรียมข้อมูล เตรียมพยาน แต่อย่าลืมว่า ทนายความ 1 คนไม่ได้ดูแลคดีเดียว ต้องทำคดีอื่นๆ ด้วย เพราะฉะนั้นต้องจัดสรรเวลาให้ลงตัว

ขึ้นศาล อย่างพี่ฮะเป็นทนายความที่อยู่ฝ่ายว่าความ เฉลี่ยแล้วใน 1 เดือน จะมาที่ศาลประมาณ 15 วัน(เรียกว่าวันเว้นวันทีเดียว) บางคดีก็ต้องมาขึ้นศาลบ่อย ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของคดีหรือจำนวนพยาน

อย่างวันนี้ที่เราตามไปสัมภาษณ์ พี่ฮะมาว่าความที่ ศาลแพ่ง รัชดา (กระเป๋าเดินทางที่ลากคือใส่เอกสารปึกใหญ่!!) โดยว่าความตั้งแต่เช้าและคาดว่าจะเสร็จประมาณเกือบๆ 4 โมง แต่ปรากฎว่าเสร็จก่อนเวลาเล็กน้อยค่ะ พี่ฮะบอกว่า บางทีเราเตรียมคำถามมาเผื่อไว้เยอะมาก แต่หากไม่ได้ใช้ หรืออีกฝ่ายไม่ได้ถามมา ก็อาจจะว่าความเสร็จก่อนเวลาก็เป็นได้ แต่ในบางวันก็ว่าความตั้งแต่เช้าถึง 4 โมงแบบไม่ได้พักเลยก็มี(ฟังแล้วเหนื่อยแทนเลย)

แล้วคุณสมบัติพิเศษของทนายความที่ต้องว่าความในศาลมีอะไรบ้าง? แน่นอนเลยว่าต้องมีสมาธิและมีไหวพริบที่ดีมาก เพราะระหว่างว่าความอยู่ อีกฝ่ายอาจซัดคำถามมา เราต้องสามารถโต้ตอบหรือโต้แย้งได้ทันที ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

อีกคำถามที่น้องๆ หลายคนอาจจะสงสัยคือ มีหลายคนมองว่า อาชีพทนายความที่ว่าความนั้น เหมือนการสร้างศัตรูหรือน่ากลัวว่าจะโดนเล่นนอกเกม จริงหรือเปล่า? พี่ฮะตอบว่า หากเราทำงานตามกฎตามกรอบ ไม่เล่นนอกเกม ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะมีเรื่องกับคนอื่น งานนี้ไม่ได้ถึงขั้นเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย เพราะหากเราทำหน้าที่ให้ถูกต้อง มันคือสิ่งที่คนทั่วไปยอมรับได้อยู่แล้ว

ทนายความ

ผู้พิพากษา อัยการ

นิติกรหรือนักกฎหมายในบริษัทต่างๆ

รับราชการตามกรมหรือกระทรวงต่างๆ เช่น นักการทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ

กระตือรือร้น ขวนขวายหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา เพราะกฎหมายเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เราต้องอัพเดตความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา

ละเอียด รอบคอบ อย่างการทำสัญญาในเอกสาร แค่ตกคำว่า not คำเดียว ชี้ชะตาได้เลย ลูกความจะอยู่จะรอดขึ้นอยู่กับความรอบคอบของเราล้วนๆ

ซื่อสัตย์ ลูกความต้องสามารถไว้ใจเราได้ มีจรรยาบรรณยึดมั่นในวิชาชีพ

มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เพราะต้องติดต่อประสานงานกับคนจำนวนมาก หากใครเป็นคนขี้อาย ต้องปรับตัวยกใหญ่

เป็นยังไงบ้างคะ A day in life of Attorney อีกหนึ่งอาชีพในฝันของเด็กไทย อาจไม่ได้พาน้องๆ ไปเจาะลึกทุกซอกทุกมุมเพราะเนื้อหางานนั้นเป็นข้อมูลส่วนตัวของลูกความ แต่ก็พอจะเห็นภาพกันแล้วใช่มั้ยว่า การทำงานของทนายความเป็นอย่างไรบ้าง^^ ทีมงานเว็บไซต์ Dek-D.com ต้องขอขอบพระคุณพี่ๆ ทนายความทั้ง 3 ท่านที่ให้โอกาสพวกเราไปตามติดอย่างใกล้ชิด ส่วนตอนหน้าจะเป็นอาชีพอะไร ต้องรอติดตาม หรืออยากให้ไปตามติดอาชีพอะไร ก็บอกกันมาได้เลย

**ของรางวัลคือนิยายแปล The Brass Verdict กระสุนพิพากษา** ประกาศผล 18 พ.ค. สำหรับผู้ที่สนใจวรรณกรรมแปลหลากหลายแนวจากแพรวสำนักพิมพ์ หาซื้อได้ที่ร้านนายอินทร์และร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ  หรือ ผ่านทางเว็บไซด์ naiin.com หรือ LINE ID : Naiinfanclub หรือ จากแฟนเพจแพรวสำนักพิมพ์ “แพรวนิยายแปล

พี่เป้
พี่เป้ - Columnist มนุษย์บ้างานและบ้านวด ผู้ตกหลุมรักปลาแซลมอน การนอน และและออฟฟิศ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Anonymous 12 พ.ค. 58 19:29 น. 16
เรานิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ อินเตอร์ ปี1 จะขึ้นปี2ละ โปรโมทคณะแป๊ป555 ก็รู้มาบ้างว่าทนายทำอะไรบ้าง อัยการ ผู้พิพากษา บลา บลา มี4สายให้เลือก แบบพี่ทนายคนแรกก็แนวกฎหมายบริษัท คนที่สองก็ทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากนั้นก็ภาษีกับการค้าระหว่างประเทศ สารภาพเลยไม่เค้ยไม่เคยอยากเรียนนิติ แต่พอหลุดเข้ามาเท่านั้นละติดใจเลย55 ถ้าใครอยากเป็นทนายลองดูซีรี่ย์Suits ส่วนI hear your voice เป็นแนวอัยการเนาะ ส่วนแนวศาลนั้นไม่ค่อยมี ลองlaw and orderละกัน CSI นี่คือนิติเวชนะ ดูซะแล้วจะติดใจ คุณจะได้รู้ว่ามันใช่มั้ยที่คุณอย่กเป็น ปล.ตัวใหญ่ๆ ชีวิตจริงไม่เหมือนในหนังทั้งหมดนะ ค้นหาตัวเองให้เจอเพราะสายนี้สนุกมาก! อ้อ ใครอยากเป็นนักการทูต กระทรวงต่างประเทศ ให้ไปสมัครทริปทัวร์กระทรวงกับAlsa พาไปทุกปี ขอให้ทุกคนโชคดี ใครสนใจคณะเราติดต่อหลังไมค์เนาะ เริ่ดและเจ๋งมากๆๆๆ ไม้ยมกล้านตัว :)
2
เด็กชายชานนท์ Member 13 พ.ค. 58 00:08 น. 16-1
กำลังดู i hear your voice อยู่เลย เข้ามาเจอกระทู้นี้ ชอบมาก เข้าเรื่องเลยล่ะกัน 5555 ตอนนี้ก็กำลังแอดเข้าคณะนิติอยู่พอดี อยากรู้เหมือนกันว่าอาชีพเหล่านี้จะมีอะไรให้เราค้นคว้าอีกมาก ส่วนตัวก็ชอบเรียนกฎหมายอะ >< หวังว่าการเรียนนิติจะทำให้กฎหมายในประเทศเราจะดียิ่งขึ้นไปเรื่อยนะค่ะ เยี่ยม
0
กำลังโหลด

30 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
fah 11 พ.ค. 58 16:29 น. 3
พออ่านบทควาทนี้แล้วทำให้รู้ว่าการเรียนคณะนิติศาสตร์นั้นมีความกว้างขวางในหน้าที่การงานมากขึ้น เพราะจากที่รู้จากสังคมบ้านเรา จากละครหลังข่าวบ้างเรามองแค่มุมมองแคบทำให้เกิดความจำกัดในอาชีพนั้นๆ พออ่านแล้วความคิดเปลี่ยนเลยค่ะ มาสายงานนี้มันไปได้กว้างกว่าที่คิด และอาชีพที่พี่กล่าวมาน่าสนใจมากเลยค่ะ ต้องขอบคุณพี่ๆมากนะค่ะ
0
กำลังโหลด
fah_pcc.nst Member 11 พ.ค. 58 16:35 น. 4

เมื่อกี้ข้อความข้างบนลืม log in ค่ะ 

            จากที่น้องอ่านบทควาทนี้แล้วทำให้รู้ว่าการเรียนคณะนิติศาสตร์นั้นมีความกว้างขวางในหน้าที่การงานมากขึ้น เพราะจากที่รู้จากสังคมบ้านเรา จากละครหลังข่าวบ้างเรามองแค่มุมมองแคบทำให้เกิดความจำกัดในอาชีพนั้นๆ พออ่านแล้วความคิดเปลี่ยนเลยค่ะ มาสายงานนี้มันไปได้กว้างกว่าที่คิด และอาชีพที่พี่กล่าวมาน่าสนใจมากเลยค่ะ ต้องขอบคุณพี่ๆมากนะค่ะ

เยี่ยม

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
FARANAT Member 11 พ.ค. 58 18:08 น. 6

พออ่านจบแล้วทำให้มั่นใจว่าจะเรียนนิติศาสตร์จริงๆ จากที่ตอนแรกยังไม่ค่อยแน่ใจว่าจะเรียนนิติศาสตร์ดีมั๊ย ใจนึงก็ชอบแต่อีกใจนึงก็กลัวเราอาจจะช่วยคนผิด หรือไม่ก็อาจจะไม่เป็นกลางแต่พอมาอ่านแล้วรู้สึกแบบเห้ยจริงๆแล้วอาชีพนี้ก็เป็นอาชีพที่ดี จริงๆแล้วมันก็ขึ้นอยู่ที่"ตัวเราเอง"ว่าจะทำให้มันออกมาแบบไหน ถ้าเราซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ก็ไม่เห็นต้องกลัวในสิ่งที่เราคิดไว้ตอนแรก เหมือนที่พี่ฮะบอกไว้ว่า'หากเราทำงานตามกฎกรอบไม่เล่นนอกเกม ก็ไม่ต้องมีเรื่องกับคนอื่นงานนี้ไม่ได้ถึงขั้นเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย เพราะหากเราทำถูก ทุกคนยอมรับอยู่แล้ว' ขอบคุณบทความนี้นะคะที่ทำให้เข้าใจอาชีพทนายมากขึ้น ทำให้ได้เห็นมุมมองของพี่ๆทนายหลายๆคนยิ่งทำให้รู้สึกชอบอาชีพนี้มากขึ้นอีก สู้สู้
fara_faranat@hotmail.com


 



 

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
suthitnee 11 พ.ค. 58 21:50 น. 9
พอได้อ่านข้อมูลที่dex-dนำมาให้ ความคิดเห็นส่วนตัวเราอยากเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ มันน่าตื่นเต้นดีนะ พอมาอ่านบทความนี้ทำให้ความอย่กเรียรที่มาทุนเดิมอยู่เเล้วมีเพิ่มขึ้นมาอีก เป็นการเเชร์ประสบการณ์ขอพี่ๆที่จบจากคณะนิติฯที่ได้ไปทำงานในที่ต่างๆสานงานต่างๆว่ามันต้องทำอะไรยังไงถึงจะไปถึงจุดๆนั้นได้ เเล้วยังได้ข้อคิด เเนวทาง ที่ได้มาจากปากของคนที่ทำอาชีพนี้จริงๆ หาไม่ได้จากหนังสือทั่วไป มันเป็นประโยชน์กับคนที่อยากจะทำอาชีพในอนาคตเกี่ยวกับด้านนี้ได้ดีมากๆ สู้สู้
0
กำลังโหลด
Burong 11 พ.ค. 58 22:29 น. 10
การที่ได้อ่านบทความนี้ยิ่งทำให้รู้สึกว่าตัวเราเองได้เลือกทางที่ถูกแล้ว ตอนนี้เรากำลังจะเข้าปีหนึ่งคณะนิติศาสตร์ ตลอดเวลามาเราเลือกทางนี้มาโดยตลอด แม้ว่าผู้ใหญ่จะไม่ให้การสนับสนุนทางนี้เท่าไหร่ ว่าจะตกงาน มีงานทำที่มั่นคงหรือป่าว แต่เมื่อเราตัดสินใจมาตั้งแต่ต้นแล้ว จึงได้ตั้งใจอ่านหนังสือแล้วเข้ามาคณะนี้ได้ในที่สุด แล้วยิ่งมาอ่านบทความนี้ ได้รู้ถึงการทำงานที่แท้จริง ถึงแม้การที่จะได้มาถึงจุดนั้นเหมือนพี่ๆจะต้องมีความมุ่งมานะจริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับตัวของเราเอง ยิ่งเป็นแรงผลักดันที่อยากจะไปถึงจุดนั้นเหมือนพี่ๆทั้ง3คนให้ได้คะ meng-kw@hotmail.com
0
กำลังโหลด
JaJar'z Member 12 พ.ค. 58 01:45 น. 11

หลังจากอ่านบทความจบ

รู้สึกดีใจมากที่เรียนในสายนี้ ถึงแม้ในบางครั้งท้อแท้กลัวไม่ถึงฝั่งฝัน การเรียนกฎหมายไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถของคน หนูรู้สึกอยากจะเก่งให้ได้อย่างพี่เขา อยากจะได้ทุนไปเรียนต่อนอกมากๆ อ่านบทความนี้ทำให้รู้สึกมีกำลังใจในช่วงสอบที่จะถึงมากๆ มีแรงฮึดที่จะอ่านหนังสือเพื่อจะได้เป็นอย่างพี่เขา ขอขอบคุณที่เป้ที่เขียนบทความดีๆแบบนี้ มาเป็นแนวทางให้หนูว่าหลังจากจบนิติศาสตร์จะประกอบอาชีพอะไร 

e-mail: love_love02221@hotmail.com

รักเลยเย้

0
กำลังโหลด
lovecaramel Member 12 พ.ค. 58 10:33 น. 12

รู้สึกทึ่ง และได้ความรู้มากค่ะ เพราะจากบทความตามที่คิดตอนแรกของคนที่เรียนด้านนี้คิดว่าต้องขึ้นศาลว่าความอย่างเดียว หรือเกี่ยวกับปรึกษาทางกฏหมาย แต่เมื่อตามอ่านถึงได้รู้ว่าไม่ใช่แค่นั้น มีการดูการทำสัญญาให้แก่ลูกความด้วย อย่างเช่นต้องการลงทุนในต่างประเทศ แล้วก็ได้รู้ว่าอาชีพนี้ต้องใช้ความสามารถมาก

veity1@hotmail.com

0
กำลังโหลด
อัฐพล 12 พ.ค. 58 11:18 น. 13
ผมเป็นคนที่เรียนกฎหมาย และไม่คิดที่จะอยากเป็นทนาย เพราะมองว่าอาชีพทนายต้องไปศาลอย่างเดียว แต่พอได้ลองอ่านบทความนี้ดู ความรู้สึกกับเปลี่ยน อยากลองเป็นทนายดูบ้าง รู้สึกถึงความท้าทายบางอย่าง หัวใจเต้นเหมือนพบเจอสิ่งใหม่ๆ เหมือนมีหนทางที่จะเดินต่อไป รู้สึกขอบคุณบทความนี้ ถ้าผมได้อ่านบทความนี้ตอน ม.6 หรือ ปี1 ผมคงจะตั้งใจเรียนเพื่อที่จะเหมือนกับพวกพี่ๆเขา คือมีงานทำที่ดี ขอบคุณบทความนี้ที่ทำให้ความคิดผมเปลี่ยน
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
P-Kungmama Member 12 พ.ค. 58 17:30 น. 15

ลอว์เฟิร์มเงินเยอะมากแน่ๆ และก็ต้องยากมากแน่ๆ อยากเป็นแบบพี่ๆบ้าง จะตั้งใจอ่านหนังสือ จะทำให้ดีที่สุด นอกจากกฎหมายแล้วก็ต้องได้ภาษาด้วย สู้ๆ

0
กำลังโหลด
Anonymous 12 พ.ค. 58 19:29 น. 16
เรานิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ อินเตอร์ ปี1 จะขึ้นปี2ละ โปรโมทคณะแป๊ป555 ก็รู้มาบ้างว่าทนายทำอะไรบ้าง อัยการ ผู้พิพากษา บลา บลา มี4สายให้เลือก แบบพี่ทนายคนแรกก็แนวกฎหมายบริษัท คนที่สองก็ทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากนั้นก็ภาษีกับการค้าระหว่างประเทศ สารภาพเลยไม่เค้ยไม่เคยอยากเรียนนิติ แต่พอหลุดเข้ามาเท่านั้นละติดใจเลย55 ถ้าใครอยากเป็นทนายลองดูซีรี่ย์Suits ส่วนI hear your voice เป็นแนวอัยการเนาะ ส่วนแนวศาลนั้นไม่ค่อยมี ลองlaw and orderละกัน CSI นี่คือนิติเวชนะ ดูซะแล้วจะติดใจ คุณจะได้รู้ว่ามันใช่มั้ยที่คุณอย่กเป็น ปล.ตัวใหญ่ๆ ชีวิตจริงไม่เหมือนในหนังทั้งหมดนะ ค้นหาตัวเองให้เจอเพราะสายนี้สนุกมาก! อ้อ ใครอยากเป็นนักการทูต กระทรวงต่างประเทศ ให้ไปสมัครทริปทัวร์กระทรวงกับAlsa พาไปทุกปี ขอให้ทุกคนโชคดี ใครสนใจคณะเราติดต่อหลังไมค์เนาะ เริ่ดและเจ๋งมากๆๆๆ ไม้ยมกล้านตัว :)
2
เด็กชายชานนท์ Member 13 พ.ค. 58 00:08 น. 16-1
กำลังดู i hear your voice อยู่เลย เข้ามาเจอกระทู้นี้ ชอบมาก เข้าเรื่องเลยล่ะกัน 5555 ตอนนี้ก็กำลังแอดเข้าคณะนิติอยู่พอดี อยากรู้เหมือนกันว่าอาชีพเหล่านี้จะมีอะไรให้เราค้นคว้าอีกมาก ส่วนตัวก็ชอบเรียนกฎหมายอะ >< หวังว่าการเรียนนิติจะทำให้กฎหมายในประเทศเราจะดียิ่งขึ้นไปเรื่อยนะค่ะ เยี่ยม
0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
Piachen Member 12 พ.ค. 58 20:37 น. 18

หลังจากอ่านบทความ A day in life of Attorney จบแล้วรู้สึกมีความมั่นใจกับสายการเรียนและอาชีพในฝันที่ตัวเองเลือกมากขึ้น เพราะตอนนี้เรากำลังจะเข้าศึกษาในคณะนิติศาสตร์ ซึ่งตอนแรกเราตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเข้าศึกษาที่ มหาลัยธรรมศาสตร์ หรือ จุฬาฯ ด้วยความที่เราได้ยินมาว่างานlaw firmหนักและยากมาก เราเลยถอดใจในงานนี้และสละสิทธิ์คณะนิติศาสตร์ จุฬาไป(เพราะเราต้องเลือกเอกตอนปี3 ซึ่งเรากลัวว่าถ้าเราเลือกไปแล้วพอได้ทำงานlaw firm ถ้าเกิดงานนี้ไม่ใช่สำหรับเรา เราจะหางานอื่นได้ยาก เลยเลือกนิติ มธที่เรียนรวมๆไม่มีเลือกเอก) แต่พอเราได้มาเห็นกระทู้นี้ทำให้เรามีกำลังใจที่จะทำตามความฝันต่อไป ที่สำคัญกระทู้นี้ยังทำให้เห็นว่าไม่ว่าจะจบจากมหาลัยไหน ถ้าเรามีความสามารถ หมั่นฝึกฝนตัวเอง เราก็สามารถทำงานในบริษัทlaw firm ชั้นนำของประเทศได้ 

E-mail : Piyanuch_for_work@hotmail.com
2
mook law cu 12 พ.ค. 58 22:25 น. 18-1
ของเราสลับกับเธอเลย55 ตอนนั้นลังเลอยุ่เหมือนกันว่าจะเลือก ฬ หรือ มธ คิดไปคิดมา ฬ ตอบโจทย์ด้านระหว่างประเทศกับธุรกิจมากกว่าเพราะได้จะเลือกสายเรียนลึกไปเลย เราก้เลยสละสิทธิ์นิติ มธ แต่ถูกอย่างที่ คห.18 บอกว่าถ้าเลือกสายผิดไปแล้วไม่ใช่อาจจะมีปัญหาภายหลังใครที่ยังไม่แน่ใจก็เพลย์เซฟไว่ดีกว่าเนอะของขวัญ
0
กำลังโหลด
iiii 12 พ.ค. 58 22:13 น. 19
ภูมิใจที่ได้อยุ่เป็นส่วนหนึ่งของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซักวันผมจะขอเป็นแบบพวกพี่ๆให้ได้ครัช เยี่ยม #law cu 58
0
กำลังโหลด
ฯ (Paiyanleg) ไปยาลเล็ก Member 12 พ.ค. 58 22:24 น. 20

ความรู้สึกหลังจากอ่าน A day in life of attorney 

อ่านหลายรอบมากครับ ยิ่งตรงที่พี่ๆเขาแนะนำว่าควรทำยังไง ลงเรียนเลือกอะไร ยิ่งเพ่งครับ อยากประกอบอาชีพเป็น Law Firm ก่อนเป็น ผู้พิพากษา 

ได้กำลังใจและแรงกระตุ้นมากๆ จนทำให้อยากอ่านหนังสือขึ้นมาเลยซะทีเดียว และแน่นอนว่าไม่ผลาดที่จะส่งต่อสิ่งดีๆอย่างนี้ให้กับเพื่อนๆแน่นอนครับเยี่ยม

jaabza2013@gmail.com

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด