ลองเลย! เปลี่ยนมาทำ 30 อย่างนี้แทน ช่วยให้เป็นคนเลิกติดโซเชียลฯ ได้

ใครเป็นบ้าง ? ว่างไม่ได้ เป็นต้องไถโทรศัพท์

เชื่อว่าทุกวันนี้โทรศัพท์มือถือแทบจะกลายเป็นปัจจัยที่ 5 ที่ขาดไม่ได้ของหลาย ๆ คนไปแล้ว ว่างปุ๊ป เป็นต้องหยิบมาไถปั๊ป ทั้ง ๆ ที่เราก็รู้อยู่เต็มอกว่าเล่นมากไปมันไม่ดี มีแต่ผลเสีย แต่มันก็หยุดที่จะห้ามใจตัวเองไม่ได้ รู้ตัวอีกทีก็ตอนแบตใกล้จะหมดแล้ว วันนี้มีพี่แคทเลยมีเคล็ดลับที่จะช่วยทำให้น้อง ๆ เลิกติดโซเชียลฯ มาฝากกันค่ะ

ปัจจุบันมีงานวิจัยหลายชิ้นได้พิสูจน์แล้วว่าการใช้สื่อโซเชียลมีเดียมากเกินไปมีผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพจิตของผู้ใช้งาน ทั้งทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล ความเหงา ภาวะซึมเศร้า หรือแม้กระทั่งคิดทำร้ายตัวเองถึงขั้นฆ่าตัวตาย

จากการสำรวจการศึกษานําร่องในปี 2021 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 68 คน พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่หลังจากหยุดพักจากโซเชียลมีเดียมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ไปในเชิงบวก วิตกกังวลน้อยลง และมีการนอนหลับที่ดีขึ้น

เล่นโซเชียลมีเดียมีข้อเสียอย่างไรบ้าง

  • Cyberbullying ปัจจุบันทุกคนสามารถเข้าถึงโซเชียลฯ ได้อย่างอิสระ อยากจะเข้าไปคอมเมนต์แสดงความคิดเห็นในพื้นที่ของใครก็สามารถทำได้ง่ายดาย นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้หลายคนต้องเกิดบาดแผลในใจจากคำพูดของคนอื่น จนนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้
  • นำไปสู่ความรู้สึกอิจฉาคนอื่น เมื่อเราเปรียบเทียบตัวเองกับคนในโลกโซเชียลฯ อยู่ตลอดเวลา ก็จะรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอจนทำให้เกิดความอิจฉา และอยากมีอยากเป็นเหมือนคนอื่นอยู่เสมอ
  • เสียเวลาชีวิต การที่เรากลัวว่าจะพลาดเรื่องสำคัญ จนต้องคอยเช็กหน้าจอมือถืออยู่ตลอดเวลา ทำให้เราเสียเวลามหาศาลไปกับการนั่งเลื่อนฟีด ซึ่งส่งผลทำให้ไม่มีสมาธิกับงาน แถมยังทำให้นอนดึก และเสียโอกาสในการทำกิจกรรมอื่น ๆ ด้วย
  • ทำให้รู้สึกเหงามากกว่าเดิม หลายคนคิดว่าการใช้โซเชียลฯ นั้นช่วยบรรเทาความเหงา แต่ในปัจจุบันได้รับการพิสูจน์แล้วว่าการใช้งานโซเชียลฯ มีแต่จะทำให้ความรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยวเพิ่มขึ้น
  • ทำให้เราละเลยปัญหาที่แท้จริง เวลาที่เบื่อหน่าย รู้สึกเหงา หรือประสบปัญหาในชีวิต คนส่วนใหญ่ก็มักจะหาทางออกโดยการหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาและเปิดสื่อโซเชียลฯ ซึ่งอาจทำให้รู้สึกดีขึ้นชั่วคราวจริง แต่ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แถมยังปล่อยให้มันสะสมขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย

มาเปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนเลิกติดโซเชียลฯ กันเถอะ

ก่อนอื่นเวลาที่เรากำลังจะหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมา เราต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าจะเอามาใช้เพื่อทำอะไร หากได้คำตอบแล้วว่าไม่ได้เอามาใช้เพื่อทำงาน หรือธุระสำคัญให้ลองทำสิ่งต่อไปนี้แทน รับรองว่าจะช่วยให้น้อง ๆ ห่างไกลจากโซเชียลฯ ได้อย่างแน่นอน!

ถ้าหยิบมาใช้เพื่อผ่อนคลาย

ช่วงเวลาพัก หรือว่างจากงาน แล้วรู้ตัวว่ากำลังจะเอื้อมมือไปหยิบโทรศัพท์มาเล่นผ่อนคลายเพื่อฆ่าเวลา ให้ลองเปลี่ยนมาทำสิ่งเหล่านี้แทน 

1. ออกไปเดินเล่นข้างนอก

2. เปิดเพลงฟัง

3. จุดเทียนหอม

4. จิบเครื่องดื่มร้อน ๆ 

5. อ่านหนังสือ

6. วาดรูป

7. หาของอร่อยทาน

8. เล่นกับสัตว์เลี้ยง

9. ฝึกโยคะ หรือนั่งสมาธิ

10. ดูอัลบั้มรูปถ่ายเก่า ๆ

ถ้าหยิบมาใช้เพื่อติดต่อกับผู้อื่น

ปกติเวลาที่เราเหงาแล้วอยากมีเพื่อนคุยซักคน ก็จะหยิบโทรศัพท์จะมาแชตหาเพื่อน หรือมาเลื่อนหน้าฟีดดูเรื่องราวชีวิตของคนอื่นใช่ไหมคะ ต่อจากนี้ก็ให้ลองเปลี่ยนมาทำสิ่งเหล่านี้แทน 

1. โทรหาเพื่อน หรือคนในครอบครัว

2. ชวนเพื่อนออกไปกินข้าวนอกบ้าน

3. ทำขนมแจกเพื่อนบ้าน

4. ไปช็อปปิ้งกับเพื่อน

5. เข้าร่วมกลุ่มกับคนที่มีความชอบเหมือนกัน

6. ไปเป็นอาสาสมัคร

7. เข้าร่วมกิจกรรม Workshops 

8. ลงเรียนภาษาแบบกลุ่ม

9. เข้าร่วมกิจกรรมชุมชน

10. ไปออกกำลังกายที่สวนสาธารณะ

ถ้าหยิบมาใช้เพื่อความความบันเทิง

จากที่เคยชอบเลื่อนดูคลิปสั้น ๆ บนแพลตฟอร์ม TikTok หรือดู YouTube ก็ให้ลองเปลี่ยนมาทำสิ่งเหล่านี้แทน 

1. ไปฟังดนตรีสด

2. ลงเรียนเต้น

3. ไปเดินป่า

4. เที่ยวพิพิธภัณฑ์

5. ทำสวน

6. ฟังพอดแคสต์

7. เล่นบอร์ดเกม

8. เล่นดนตรี

9. ดูทีวี

10. เล่นกีฬา

เป็นยังไงกันบ้างคะน้อง ๆ ต่อจากนี้ก่อนที่จะเอื้อมมือไปหยิบโทรศัพท์ ก็อย่าลืมถามตัวเองก่อนนะว่าเราจะหยิบมาใช้ทำอะไร ถ้าไม่ใช่เรื่องด่วน เรื่องสำคัญอะไรก็ห้ามใจตัวเองแล้ววางมันลงก่อน เปลี่ยนมาทำกิจกรรมพวกนี้แทนดีกว่า มีประโยชน์กว่าเยอะ น้อง ๆ คนไหนที่อยากพักจากโซเชียลฯ ก็ลองเอาวิธีนี้ไปใช้กันดูได้ ผลลัพธ์เป็นยังไงอย่าลืมมารีวิวกันด้วยนะ

ข้อมูลจาก : https://www.healthline.com/health/mental-health/the-benefits-of-a-socialhttps://www.helpguide.org/articles/mental-health/social-media-and-mental-health.htmรูปภาพจาก :https://www.freepik.com/free-photo/skeptical-asian-modern-girl-holding-smartphonehttps://www.freepik.com/free-photo/female-showing-mobile-phone-pink-shirt-looking

 

 

Dek-D Team ทีมคอลัมนิสต์ Dek-D

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น