Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

รีวิวประสบการณ์ได้ทุน Asean-Australia Youth Mental Health Fellowship 2024 !

ตั้งกระทู้ใหม่

รีวิวประสบการณ์ได้ทุน Asean-Australia Youth Mental Health Fellowship 2024 !


ขอแนะนำทุนก่อนสักนิด

Asean-Australia Youth Mental Health Fellowship จัดโดย Orygen Global สนับสนุนโดย รัฐบาลออสเตรเลีย เป็นทุนอบรมที่จะช่วยเราพัฒนาสกิลการ advocate ประเด็น mental health โดยการเรียนออนไลน์ 4 เดือนและบินไป workshop ที่กรุง Jakarta ประเทศ Indonesia 4 วัน 3 คืน แบบฟรีทุกอย่าง! เราจะได้ไป pitch ต่อหน้าทูตและเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการอาเซียน แถมพอ pitch เสร็จทูตออสเตรเลียประจำอาเซียนเปิดบ้านจัดงานเลี้ยงให้ด้วย นอกจากนี้เราจะยังได้เพื่อนจากอีก 9 ประเทศอาเซียนและมัลดีฟส์ สำหรับเราแล้วบอกเลยว่าเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่ามาก ๆ 

เด็กดีเคยแนะนำทุนนี้ด้วยนะ >> สมัครเลย! ทุนฟรีอบรมด้านสุขภาพจิต ‘ASEAN-Australia Youth Mental Health Fellowships’ (อายุ 18-30 ปี)


มีอะไรบ้างที่ประทับใจ

เราชอบที่ Staff น่ารักและใส่ใจมาก คือเราจะ advocate เรื่องสุขภาพจิต เราก็ต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของตัวเราเองด้วย เราประทับใจตั้งแต่ให้เราเลือก pronoun ตอนสมัคร และบอกตลอดว่าถ้าพวกเราติดตรงไหนหรือกังวลอะไร พวกเราสามารถปรึกษาหรือสื่อสารได้ตลอด เราที่ขี้กังวลมากรู้สึกว่านี่คือ safe space ได้ ซึ่งเรา appreciate ในจุดนี้มาก และเพื่อนคือน่ารักแบบงง เขาเลือกคนมาเหมือนรู้ว่าคนพวกนี้จะเข้ากันได้ดีมาก 55555555 ตอนเจอกันตัวจริงคือจอยยยย ถึงเวลาบินกลับคือกลั้นน้ำตากันสุด ๆ ทุกวันนี้เรายังคุยกับบางคนอยู่เลย


เขียนใบสมัครยังไงให้โดนใจกรรมการ

เราว่าตอนเขียนสิ่งที่เราคิดตลอดเลยคือ “เขาอยากได้คนมา advocate เรื่องสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชน” แล้วฉันจะตอบคำถามยังไงให้ฉันดูเป็นคนที่ทำแบบนั้นได้  

ประสบการณ์ไม่ตรงมากก็ไม่เป็นไร

เราพยายามเอาประสบการณ์ที่มีมาเขียนให้มันดูเข้ากับประเด็นนี้  เราเองก็ไม่เคยทำโปรเจคอะไรเกี่ยวกับสุขภาพจิตเด็กและเยาวชนตรง ๆ เหมือนกัน แต่เราจบจิตวิทยา เคยทำกิจกรรมมหาลัยมาบ้าง เคยฝึกงานที่ศาลเยาวชนและครอบครัว (ซึ่งฝึก 2 เดือนและได้ทำอะไรไม่มากเท่าไหร่ 55555555) แล้วก็มีประสบการณ์ทำงานอาสากับ NGO ที่ advocate เรื่อง gender-based violence เราก็เอาตรงนี้มาเขียนแล้วบอกว่าถึงแม้มันจะไม่เกี่ยวกับ youth mental health แต่เราว่าเราพอมีประสบการณ์นะ

เพื่อน fellow ของเราก็มี background หลากหลายมาก บางคนจบด้านการสื่อสารและเคยทำงาน agency แต่ตอนนี้ทำ NGO เรื่องผู้พิการ บางคนเป็นนักเต้นที่อยากประยุกต์การเต้นกับการส่งเสริมสุขภาวะ บางคนเป็นดีไซน์เนอร์ที่กำลังปริญญาเรียนจิตวิทยาอีกใบและอยากทำหนังสือเล่มเล็กแชร์ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต เขาไม่ได้เคร่งว่าเราต้องเรียนหรือทำงานมาตรงเป๊ะกับ youth mental health ขนาดนั้น แน่นอนว่าตรงก็ดี แต่ไม่ตรงก็ไม่ได้หมายความว่าเราหมดสิทธิ ตราบใดที่เรามีประสบการณ์ที่มันพอเชื่อมโยงได้ ลองเขียนดูก่อน!

ทำให้ความสนใจกลายเป็น Project 

ถึงประสบการณ์จะไม่ค่อยตรง เราว่าการเขียนว่าเราสนใจประเด็นนี้จริง ๆ และเราอยาก address ประเด็นนี้ยังไงมันช่วยได้เหมือนกันนะ ยิ่งประเด็นเฉพาะเจาะจงยิ่งเริ่ด เช่น ของเรา เราบอกว่าเราไม่ชอบจิตวิทยากระแสหลักที่คณะเราสอนเท่าไหร่ เราไม่ชอบที่มันปักเจ๊กปัจเจก เราเลยไปเรียนวิชาโทที่รัฐศาสตร์เพื่อให้เราเข้าใจฟากสังคมมากขึ้น แล้วเราก็ชอบจิตวิทยากระแสรอง เราว่ามัน address ปัญหาสุขภาพจิตของกลุ่มคนที่มีอัตลักษณ์ชายขอบหลายอัตลักษณ์ได้ดีกว่า (แล้วคนกลุ่มนี้ก็เช่น เยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ อะ ลากให้เกี่ยวกับเยาวชนได้ละ 5555555555) เราเลยอยากสร้างความตระหนักเรื่องอัตลักษณ์และอำนาจทับซ้อน (intersectionality) ให้กับคนในวงการสุขภาพจิต เพื่อให้เขามีเครื่องมือในการทำความเข้าใจกลุ่มคนชายขอบแล้วก็ไม่ใช้องค์ความรู้ทางจิตวิทยาไปสืบสานระบบที่มันกดทับคนเหล่านั้นอยู่ เราจะทำสิ่งนี้ผ่านโปรเจคที่ชื่อว่า Minding the Crossroad ซึ่งจะเป็นการจัด workshop ให้ความรู้ โดยคนกลุ่มแรกที่เราอยากโฟกัสคือนิสิตนักศึกษาจิตวิทยาในมหาลัย เพราะเป็นกลุ่มที่เราเองก็เคยเป็นและเราเข้าใจคนกลุ่มนี้ที่สุด ตรงนี้เราว่าใส่ passion ได้เต็มที่ โปรเจคใหญ่ไว้ก่อน ปรับเปลี่ยนรายละเอียดทีหลังได้เขาไม่ว่า

เข้าสู่รอบสัมภาษณ์ 

ปีเราสัมภาษณ์ 20 นาที กรรมการใจดีทุกคน มีกรรมการเป็น Director ขององค์กรคนนึง Co-founder ของโครงการคนนึง และ fellowship alum ที่เคยทำ project คล้ายเราคนนึง ตอนสัมเราตื่นเต้นมาก แต่เขาคือไม่จี้ ไม่กดดัน ไม่ตีว่าความคิดเรามันไม่ดี 
ทีแรกเราเตรียมแนะนำตัวเองเหมือนที่เขียนในใบสมัครเลยแต่ลงรายละเอียด พยายามเชื่อมโยงประสบการณ์ ความสนใจ กับ project ที่อยากทำมากขึ้น เพื่อให้เขาเห็นว่าเราสม่ำเสมอกับความสนใจนี้ เราสนใจแล้วเราไปทำอะไรสักอย่างด้วยไม่ได้แค่สนใจเฉย ๆ นะ 
แล้วก็เตรียมลงรายละเอียด project ที่อยากทำ แต่เขาไม่ถามเกี่ยวกับตัวเราเลยนะ ถามแต่โปรเจค ก็คือ 50% ที่เตรียมมาไม่ได้พูด 555555555555

เราเกริ่นก่อนว่าอะไรคือปัญหาที่เราเห็น เราอยากสร้าง project เรามาแก้ปัญหานี้ ซึ่งเราคิดมาแล้วว่า project ของเราจะทำ/จัดกิจกรรมอะไร กลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร ultimate goal ของเราคืออะไร 
คำถามที่เราไม่ได้เตรียมไปจริงจังแต่โดนถาม คือ แล้วการจะทำ project นี้คุณคิดจะร่วมมือกับใครบ้าง ตรงนี้เขาอยากให้เราโชว์ connection ของเราแหละ เพราะการจะเป็น mental health advocate ได้เราต้องสามารถหาความร่วมมือเพื่อมาผลักดันเป้าหมายที่เราตั้งไว้ได้ เราทำคนเดียวไม่ได้ ซึ่งเราไม่ค่อยมี connection 55555555 แต่เราก็บอกไปว่า เราเคยเป็นกรรมการนิสิตของคณะ เราจะไป collab กับพวกคณะกรรมการนิสิตจิตวิทยาในไทย ทำได้ไม่ได้ไม่รู้ ตอบไปก่อน 555555555

ตอนสัมภาษณ์จบเขาถามว่าเรามีคำถามไหม เราถามเลยว่าเราขอ feedback ได้ไหม เรามีแผนจะสมัครทุนนี้อีกต่อให้เราไม่ได้ปีนี้ เราอยากฟังไว้ปรับก่อนสมัครใหม่ปีหน้า แล้ว interviewers คือใจดี บอกว่าเรา articulate แต่ตอนนั้นเราคิดว่าเขาไนซ์ ไม่กล้าฟันว่าเขาชอบเราจริงไหม 55555555 แล้วก็ถามว่า process ต่อไปจะเป็นยังไง (แปล: แกจะประกาศผลเมื่อไหร่) เขาก็บอกเดี๋ยวจะประกาศผลอีก 2-3 อาทิตย์ (ปีเราประกาศช้า เขาก็มีเมลมาบอกก่อนว่าจะเลื่อนประกาศผล ไม่ปล่อยเรารอแบบเคว้งคว้าง) ตอนสัมเสร็จคือหัวโล่งมาก โนไอเดียเลยว่าจะได้มั้ย แต่สรุปก็ได้ เย้

ถึงเวลาเข้าเรียน Online Learning Module

เราจะเรียนสัปดาห์ละ 1 - 2 ชั่วโมง ของเราเป็นทุกวันพฤหัสบดี ตอน 17:30 น. เราจะเจอเพื่อนอีกจาก 10 ประเทศ และ speaker ที่หลากหลายมาก ส่วนมากเราว่าบทเรียนจะเน้น storytelling เพราะเขาคิดว่าทุกคนมีไฟและมีสิ่งที่อยากทำ แต่จะเล่าออกมายังไงให้มันกระชับ สอดคล้องกัน คนฟังเข้าใจ คล้อยตาม เห็นความสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อต้องไปเล่าให้คนที่เราอยากชวนให้มาจับมือกับเราหรือคนที่จะให้ funding เรามาทำ project และเราจะได้ฟังประสบการณ์จาก fellowship alumni ที่ตอนนี้ทำ project สเกลใหญ่ ๆ จากหลายประเทศในอาเซียนด้วย
แล้วก็นอกจากเรียนแล้วจะมี social hours ให้เราได้ทำความรู้จักเพื่อน ๆ ประเทศอื่น ซึ่งจะช่วยให้เราสนิทกันมากขึ้นจากที่เคยเขิน ๆ กัน คนไทยจะได้เปรียบมาก เพราะทุกคนจะมาคุยกับเราเรื่องอาหาร ที่เที่ยว และซีรีส์วาย 555555555 เพื่อนทุกคนน่ารักและนิสัยดีมากสมกับที่เป็นคนที่ผลักดันประเด็นสุขภาพจิตเลย
นอดจากนี้เรายังมี peer mentoring session ด้วย เราได้อยู่กับเพื่อนสิงค์โปร 2 คน ซึ่งเพื่อนน่ารักมากกกกก เขามี guildline ให้ว่าเราควรคุยอะไรกัน แต่พวกเราทำให้มันกลายเป็น session คุยสัพเพเหระ แลกเปลี่ยน mental health situation ในประเทศแต่ละคน คุยว่าเรียนจบอะไรมา ตอนนี้ทำงานอะไร บลา ๆๆ เป็นการคุยแบบ casual ไม่กดดัน และทำให้สนิทกันไวขึ้นมาก

ช่วงเวลาที่รอคอย In-person forum @Jarkatar Indonesia !

เป็น 4 วันที่ Magical มากสำหรับเรา แถมเป็นการไปต่างประเทศคนเดียวครั้งแรก ตื่นเต้นสุด ๆ 
ใน 4 วันส่วนมากเราจะอยู่โรงแรมทำ Workshop มีได้ออกไปเดินดูเมืองกับกินข้าวเย็นที่ร้านอาหารข้างนอก (ส่วนมากเป็นอาหารอินโด) วันที่ตื่นเต้นที่สุดคงหนีไม่พ้นวันที่ได้ไปสำนักเลขาธิการอาเซียนเพื่อ pitch และเย็นวันนั้นก็ไปเข้าร่วมงานเลี้ยงต้อนรับที่บ้านทูตออสเตรเลียประจำอาเซียน 


มี Workshop อะไรบ้าง

ของปีเราจะมี Public speaking workshop, Policy workshop, Project incubator, Fundraising workshop, Design sprint แล้วก็ itching and networking workshop
จะมีทั้ง workshop ที่ Orygen staffs เป็น speaker แล้วก็มี workshop ที่เชิญ speaker จากข้างนอกมา
บอกเลยว่าเข้มข้น แต่ไม่กดดันนะ 5555555

ส่วนตัวเราประทับใจ Fundraising workshop ที่สุดเพราะวิทยากรคือ Founder ของ Sati app ซึ่งเขามาเล่าแบบหมดเปลือกตั้งแต่เริ่มทำ เป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่ามาก เป็น workshop ที่เพื่อน ๆ เรายกมือถามกันเยอะที่สุดเลย


ถึงเวลาต้อง Pitch

เราจะได้ pitch สั้น ๆ 3 นาทีเกี่ยวกับ project ของเรา ซึ่งเขาให้เขียน script ตั้งแต่ก่อนบิน และ guide พวก structure ไว้ให้ แต่เราไม่ว่างเลยไม่ได้เขียน มานั่งเขียนบนเครื่อง 55555555 ของปีเราพอ staff เห็นว่าพวกเราเครียดกันมากกับ pitch เขาเลยจัด session feedback pitch ให้พวกเราด้วย

เรื่องตลกคือ เรากับเพื่อนสิงค์โปรกังวลกับ pitch เลยตกลงกันว่าเดี๋ยวไอไปนั่งเขียนสคริปห้องยู ไป ๆ มา ๆ มีเพื่อนร่วมอุดมการณ์เยอะขึ้น กลายเป็นจัดเวทีฝึก pitch ทีละคนแล้วไล่วนไปคนละสี่ห้ารอบ ซึ่งมันช่วยมากกกกก เราต้อง trust the process รอบแรกอาจจะเละ แต่รอบที่ห้าคือโปรขึ้นทุกคน พวกเราถึงขั้นบอก Co-founder ของทุนนี้ว่า ยูควร add pitch marathon ไปใน forum program ของ cohort หน้านะ แล้วให้เครดิตพวกเราด้วย 5555555555555

วัน pitch จริงทุกคนทำได้ดีมากกก ภูมิใจในตัวเพื่อน ๆ สุด เราได้พูดต่อหน้าทูตแล้วก็ head ของคนในสำนักเลขาอาเซียน ซึ่งทุกคนไนซ์ ฟังเราแบบตั้งใจและสนใจ แต่ละคนจะได้ตอบคำถาม (ไม่ใช่คำถามตีงานเรา ไม่ต้องกังวล) แล้วก็ได้ feedback กลับมาเล็กน้อย


งานเลี้ยงปิดโครงการที่บ้านทูต

ตกเย็นหลัง pitch เราจะได้ไป closing reception and dinner ที่บ้านทูตออสเตรเลียประจำอาเซียน ในงานจะมีทูตหรือตัวแทนจากประเทศต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการอาเซียนมาร่วมด้วย ซึ่งนี่ตื่นเต้นมาก แบบในชีวิตเราจะได้มีโอกาสพูดกับทูตต่างประเทศกี่ครั้งกัน แต่ไม่ใช่ว่ามีตำแหน่งแล้วเขาจะไว้ตัว Co-founder ทุนบอกเลยว่าพวกยูเข้าไปคุยได้นะ ส่วนมากทุกคนใจดีและอยากรู้เรื่องราวของเรา เขาสนใจประเด็น youth mental health กันอยู่แล้วเขาเลยมา point ของงานนี้คือเขาจะฝึกให้เรา networking กับทูตหรือเจ้าหน้าที่ที่เขาเชิญมานั่นแหละ เราชอบบรรยากาศที่ทุกคน appreciate เรามาก เขามองว่า project ของเรามีคุณค่า เราเป็น leader ด้าน mental health จริง ๆ (เราไม่เคยคิดว่าเราเป็นผู้นำเลย 55555555) ที่สำคัญอาหารอร่อย มีเชฟและพนักงานบริการตลอด เชฟเดินมาถามว่าอาหารเป็นไงบ้าง พนักงานสบตาเราและถามว่ารับอะไรเพิ่มมั้ยตลอด รู้สึกเป็นคนสำคัญสุด ๆ 555555555

พองานเลี้ยงทางการจบ ปาร์ตี้ประสาวัยรุ่นก็เริ่ม พวกเราไปคาราโอเกะกันต่อ จองห้องใหญ่สุด ร้องเพลงสากลยุค 2010s กันแบบจอยมากกกก เราอึ้งมากที่เรารู้จักเพลง 80% ที่เพื่อน ๆ เลือกมาร้อง เป็นการจบวันที่แฮปปี้สุด ๆ 
 

Forum จบแต่โครงการ (ยัง) ไม่จบ

กลับประเทศแล้วเรายังมี online session กันอยู่อีกประมาณสองสามครั้ง มีกิจกรรมออนไลน์ให้เราได้เจอ fellowship alunmi  จาก cohort ก่อนหน้าเพื่อหา connection แล้วก็ถ้าเราทำ project ที่ scale ใหญ่และคล่องภาษาอังกฤษ ทาง Orygen จะเชิญเราไปแชร์ประสบการณ์ให้คนในองค์กรของเขาฟังด้วย ที่สำคัญเขาจะ keep connection กับเราไว้ Co-founder พูดกับเราเลยว่าเราสามารถมาขอให้เขาเขียน reccomendation letter ให้ได้ถ้าเราอยากสมัครเรียนต่อ ซึ่งมี alumni หลายคนที่ได้ไปเรียนต่อที่ออสเตรเลียหรือประเทศอื่น ๆ มาแล้ว ถ้าใครสนใจเรียนต่อต่างประเทศ การเข้าร่วมทุนอบรบแบบนี้เป็นแต้มต่อที่ดีมาก ๆ 

อ่านจบแล้ว สนใจสมัครไหม? 

ทุนนี้ให้เยาวชนที่อายุตั้งแต่ 18 - 30 ปี จะเปิดให้สมัครช่วงปลายธันวาคม - มกราคม และพิเศษสำหรับชาวไทยเพราะถึงแม้จะต้องแข่งขันกับคนหลักสิบนิด ๆ แต่ก็ถือว่า competitive น้อยกว่าบางประเทศมาก ๆ  เพื่อนเราจากบรูไนสมัครตั้ง 3 รอบถึงจะได้ ดังนั้นถ้าสนใจรีบคว้าโอกาสนี้ไว้นะ! เราขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่อยากสมัคร ถ้าอยากถามอะไรเพิ่มเติม ทักมาคุยกันที่ Instagram @minding_the_crossroad ได้นะคะ

แสดงความคิดเห็น