Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

โต้วาที: สถาบันกวดวิชา จำเป็นต่อเด็กไทย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
"สถาบันกวดวิชา จำเป็นต่อเด็กไทย"
สนับสนุน หรือ เห็นต่าง แสดงความคิดเห็นกันได้เลย

สนับสนุน
เห็นต่าง
สถาบันกวดวิชาจำเป็น 
สถาบันกวดวิชาไม่จำเป็น
167 โหวต
71 โหวต

แสดงความคิดเห็น

26 ความคิดเห็น

Tangsomejung 24 ก.ย. 56 เวลา 17:23 น. 1

การที่ทุกคนเห็นว่ากวดวิชาจำเป็น เป็นเพราะไม่รู้จักพึ่งตัวเองหรือเปล่า ลองอ่านหนังสือเอง ไม่เข้าใจก็ถามครู-เพื่อนเป็นเรื่องๆ ซื้อหนังสือเสริมมาอ่าน ทำข้อสอบเก่าเยอะๆ จัดสรรเวลาให้เหมาะ แค่นี้เราก็ไม่ต้องพึ่งกวดวิชาแล้ว ที่สำคัญคนที่สอบได้อันดับต้นๆของประเทศ หรือเด็กต่างจังหวัดที่สอบได้มหาวิทยาลัยชั้นนำเขาก็ไม่ไปกวดวิชากันทั้งนั้น ฝากไว้ให้คิดด้วย

0
ซ่อนนาม 24 ก.ย. 56 เวลา 21:04 น. 2

ถ้าพูดถึงวิถีชีวิตของเด็กในอุดมคติ สถาบันกวดวิชา ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น
แต่หากพูดถึง "เด็กไทย" ในบริบทปัจจุบัน ที่ระบบการศึกษาไทยห่วยแตก ถือว่าจำเป็น

เพราะอะไร ?

เพราะสังคมไทยในปัจจุบัน ผู้ที่ไม่จบสูง ๆ เกรดดี ๆ มหาลัยมีชื่อ แทบจะเรียกได้ว่าไม่มีโอกาสในสังคม
หลายคนอาจจะซึนเดเระ บอกว่าที่จริงบริษัทเขาดูความสามารถกัน ไม่ได้ดูเกรดดูมหาลัยกันหรอก
ขอถามกลับว่า... แล้วความสามารถมันจะดูยังไง ?
ในเมื่อเด็กจบใหม่ไม่เคยไปทำงานที่ไหน มันจะดูความสามารถได้ยังไง ? สุดท้ายก็ต้องดูสิ่งที่การันตรีเด็กที่จบใหม่คนนั้นแทน
นั่นก็คือใบวุฒิการศึกษา ว่าจบมาจากไหน เกรดเท่าไหร่
จริงอยู่ ว่าอาจจะไม่ใช่ทั้งหมดที่จะสรุปได้ถึงความสามารถของเด็กคนนั้น แต่มหาลัยที่มีชื่อมักจะเข้ายากจบยาก แล้วคนที่จบมาจากที่นั่นไม่คิดหรือว่าน่าจะมีโอกาสสูงที่จะเก่งกว่ามหาลัยไร้ชื่อที่เข้าง่ายจบง่าย ?

กระนั้นบางคนอาจจะแย้งว่า ผู้ที่ประสบความสำเร็จหลายคนก็ไม่ได้จบมหาวิทยาลัย
แต่ขอถามสักหน่อย คนที่ทำเช่นนั้นได้มีสักกี่คนกันแน่ ?
คนที่จบมหาลัยดี ๆ แล้วประสบความสำเร็จ เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้จบมหาลัยประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ ?
คนที่ไม่จบมหาลัยแล้วประสบความสำเร็จ เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้จบแล้วล้มเหลวคิดว่ามีเท่าไหร่ ?
บางคนอาจจะหลงกับคำที่ว่า "ไม่จบมหาลัยก็ประสบความสำเร็จได้" แต่นั่นเพราะคนผู้นั้นเขาเก่งจริงต่างหาก
ซึ่งไม่คิดหรือว่า หากเขาจบมหาลัยมาก่อนหน้า อาจจะทำให้เขาประสบความสำเร็จมากกว่านี้อีก


ด้วยเหตุนี้มันจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่เด็กไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนดีเรียนเก่ง เพื่อจะสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยดี ๆ ให้ได้

ทว่า... การศึกษาไทยถือว่ามีปัญหามาก
ครูที่สอน มีความรู้จริงในเรื่องที่สอนมากแค่ไหน ? ไม่มีใครรู้ เพราะไม่มีใครไปประเมินเลยสักครั้ง
ที่มีประเมินก็พบว่า แม้แต่ภาษาไทยง่าย ๆ ครูที่ทำการสอนนักเรียนก็ยังทำไม่ผ่าน !
อึ้ง!นักเรียน-ครู-ผู้บริหารรร.สอบเขียนภาษาไทยตกกราวรูด

ยังไม่รวมถึงหลายครั้งพบว่าครูเองก็ไม่ได้ทำการสอนในชั่วโมงเรียนอย่างเต็มที่ อู้บ้าง บ่นเรื่องตัวเอง+การเมืองบ้าง ซึ่งพบเจอเด็กที่บ่นเช่นนี้เป็นประจำ
ซ้ำร้าย สิ่งที่ครูสอนหลายครั้งก็ยังเป็นแค่เพียงพื้นฐาน แต่ที่ออกสอบเพื่อเข้ามหาลับคือระดับ"โอลิมปิกส์วิชาการ" ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะบอกว่าความรู้ที่ครูสอนในโรงเรียนย่อมไม่พออย่างแน่นอน

กลับกัน การเรียนพิเศษ จะช่วยให้เด็กสามารถทำข้อสอบได้ดีกว่า เพราะเขาเปิดมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ
เรียนเองยังไงก็มีข้อจำกัด ติวกับเพื่อนถ้าเพื่อนไม่เก่งก็ช่วยไม่ได้ ขอให้ครูช่วย... หากในชั่วโมงยังไม่รู้เรื่องแล้วให้ครูช่วยนอกชั่วโมงเรียนจะช่วยได้แค่ไหน ? ในหนังสือเรียนหรือข้อสอบเก่า มันบอกทริคงั้นรึว่าคิดเร็ว ๆ ให้ทำยังไง ? บอกรึว่าวิธีการตัดช้อยส์ทำยังไง ? หากไม่รู้ก็แปลว่าต้องเสียเวลาไปมากกว่าที่ควรเป็น ซึ่งขอถามหน่อย ข้อสอบพวกนี้ทำกันทันอย่างนั้นหรือ ? ถ้าให้เวลาถมเถก็ว่าไปอย่าง แต่ขอจริงมันไม่ใช่ ! มันมีเวลาจำกัด พวกทริคการทำข้อสอบเหล่านี้ไม่มีทางที่จะได้มาจากครู จากเพื่อน จากหนังสืออย่างเด็ดขาด มีแต่สถาบันกวดวิชาเท่านั้นที่จะให้เราได้ !


แน่นอน หากจะบอกว่า มีคนที่สอบระดับต้น ๆ ของประเทศยังไม่เห็นต้องเรียนพิเศษเลย
ขอถามกลับว่า.... เชื่อคำพูดนั้นได้แค่ไหน ?
และถึงเชื่อได้ ถามต่อว่าเขาเรียนอยู่ในโรงเรียนอะไร ? โรงเรียนชั้นนำของประเทศใช่ไหม ? ซึ่งคนที่จะอยู่ในโรงเรียนแบบนั้นได้คิดหรือว่าจะไม่เคยผ่านการติวเพื่อจะสอบเข้ามาก่อนเลย ? และโรงเรียนส่วนใหญ่ของประเทศมีคุณภาพมากพอที่สอนในความรู้ระดับที่สอบเข้ามหาลัยได้ง่าย ๆ อย่างนั้นหรือ ?
และถึงจะได้เรียนอยู่ในโรงเรียนชั้นนำ แต่คนที่สามารถเรียนเองติวเอง จนถึงขั้นนั้นได้มีสักกี่คน ?
ทำได้คนเดียว แต่อีกเป็นพัน ๆ คนที่เหลือล้วนแต่ต้องติวพิเศษหมด แปลว่าคนที่ไม่ต้องเรียนพิเศษคนนั้นเป็นคนเก่ง เป็นคนอัจฉริยะมาตั้งแต่ต้น
ดังนั้นหากคิดแค่ว่าเขาทำได้แล้วเราต้องทำได้ด้วย นั่นคือการฆ่าตัวตาย ! เพราะคนธรรมดาอย่างเรา ๆ ขืนไปใช้วิธีเดียวกันย่อมไม่มีทางประสบผลเหมือนกับเขาได้อยู่แล้ว !

และอีกสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ การเรียนเพื่อสอบที่มีประสิทธิภาพที่สุด ยังไงก็คือการเรียนกับสถาบันกวดวิชา เพราะเขาเกิดขึ้นเพื่อเหตุนี้โดยเฉพาะอยู่แล้ว การเรียนด้วยตัวเอง ติวกับเพื่อน ฟังจากครู อ่านจากหนังสือ ยังไงก็มีข้อจำกัด ดังนั้นหากต้องการจะสอบให้ได้คะแนนดี ๆ การเรียนกับสถาบันกวดวิชาก็น่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุดอยู่แล้ว ! ยกเว้นแต่ตัวเราคิดว่าความสามารถเท่านี้พอกับคณะในมหาลัยที่เราต้องการเข้าแล้ว เราก็เลยไม่มีความจำเป็นต้องเรียนพิเศษเพิ่ม มันก็ได้
...แต่ คนที่ทำเช่นนั้นได้จะมีสักกี่คน ? และมั่นใจแค่ไหนว่าจะได้ชัวร์ ? สู้เพิ่มความมั่นใจด้วยการติวเพิ่มไม่ดีกว่าหรือ ?


ด้วยเหตุนี้จากที่พูดมาทั้งหมด "เด็กไทย" มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกวดวิชา หาไม่แล้วโอกาสที่จะสอบเข้ามหาลัยดี ๆ ชั้นนำได้ ก็คงจะลางเลือนเต็มที

0
ซ่อนนาม 24 ก.ย. 56 เวลา 21:15 น. 3

#1
- โรงเรียนกวดวิชา มีเพื่อทางนี้อยู่แล้ว ดังนั้นการเรียนเพื่อสอบเข้าที่ได้ประสิทธิภาพที่สุด ยังไงก็ต้องเรียนกับสถาบันกวดวิชา
- ถ้าอ่านหนังสือเองแล้วทำได้ ก็ไม่ต้องมีโรงเรียนแล้ว
- ถ้าครูสอนแล้วเข้าใจ คงไม่ต้องมาเรียนต่อเองหลังชั่วโมงเรียนหรอก
- เพื่อนยังไงก็ไม่ใช่ครู ช่วยได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น
- หนังสือเสริม ข้อสอบเก่า ทำได้แค่วัดระดับของตัวเอง กับฝึกฝนอย่างถึก ๆ หากต้องการทริคการทำข้อสอบเร็วพวกนี้จะไม่มีบอก
- เด็กต่างจังหวัดที่สอบได้มหาลัยชั้นนำ เขาก็กวดวิชา เคยเจอขนาดนั่งรถเป็นชั่วโมง ๆ เพื่อมากวดวิชาในเมืองเลย (เคยเจอคนที่ทำงี้จริง ๆ แล้วเขาก็ติดบางมดไปแล้ว) ไม่ก็สอบเข้าเพื่อมาเรียนโรงเรียนในกรุงเทพ พูดตามตรงคิดไม่ออกเหมือนกันว่าที่อยู่ในเขตชนบทจริง ๆ จะเรียนเก่งได้ยังไงถ้าไม่มีอะไรบางอย่างที่ช่วยสอนให้เขาเก่งขึ้นได้ อย่างน้อยที่สุดหนังสือติวสอบอะไรพวกนี้ก็ต้องซื้อหามาอ่านแน่ ๆ ซึ่งคงไม่มีขายในเขตชนบทหรอก แต่ต้องขวนขวายมาหาซื้อถึงในตัวเมืองเป็นอย่างต่ำ
- คนที่สอบได้อันดับต้น ๆ ของประเทศโดยไม่ต้องกวดวิชา เรียนอยู่โรงเรียนไหน ? โรงเรียนระดับท็อปของประเทศหรือเปล่า ?
- คนที่สอบได้อันดับต้น ๆ ของประเทศโดยไม่ต้องกวดวิชามีกี่คนจากจำนวนคนเก่ง ๆ ทั้งหมด ? ถ้ามีแค่ไม่กี่คนนั่นคือเคสพิเศษ ไม่ใช่เคสปรกติ ซึ่งเลียนแบบไม่ได้แน่นอน

0
ซ่อนนาม 24 ก.ย. 56 เวลา 21:17 น. 4

หมายเหตุ ถ้าไม่ต้องการเรียนกวดวิชา แล้วยังประสบความสำเร็จในชีวิต
ก็ไม่ต้องสอบเข้ามหาลัย ไปเรียนสายวิชาชีพอะไรพวกนี้โดยตรงเลยดีกว่า
ถ้าเป็นสายสามัญ สายที่ต้องสอบเข้ามหาลัย ยังไงก็มีความจำเป็นที่จะต้องเรียนกวดวิชาสักทางหนึ่ง

0
หมียุนบริโภคมี้แจ-..- 24 ก.ย. 56 เวลา 23:38 น. 5
เราเป็นนักเรียนคนนึงที่ต้องนั่งเรียนพิเศษอย่างเอาเป็นเอาตายเพราะหลักสูตรของโรงเรียนมันเยอะเกินไปทำให้สอนไม่ลึก ไม่ครอบคลุมเนื้อหา แถมมีกิจกรรมที่ต้องทำให้ผ่านเยอะแยะมากมาย เข้าเรียนก็เร็วเลิกเรียนก็ช้า ถามจริงเถอะดูประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงค์โปรสิ เค้าเรียนหนักเท่าเราแต่เลิกเรียนไวยังฉลาดกว่าไทยก็งงเหมือนกันนะ=_= แต่ประเทศเค้าปลูกฝังให้นักเรียนอ่านหนังสือไง //เราเป็นคนนึงที่อ่านหนังสือนะ ยอมรับว่าปัจจุบันเด็กไทยไม่อ่านหนังสือจริงและมักจะกดจิ้มๆพวกไอโฟนไอแพดแล้วก็หาว่าครูสอนไม่ดีมั่งละ โง่มั่งละ ลดโซเชี่ยลลงบ้างหัวจะได้ฉลาดขึ้นอ่ะนะ 

เรากดเลือกเรียนเพราะการศึกษาไทยมัน"ห่วย"ครูไร้คุณภาพที่จะสอน ไม่มีจริยธรรม มัวแต่คิดว่ารายงานของฉันต้องเสร็จก่อนที่จะสอนเด็กๆ รีบๆเก็บคะแนนเด็ก หรือไม่ก็ตามงานเด็กๆเพราะกลัวให้คะแนน0กับนักเรียนแล้วผู้ปกครองจะตามมาด่า
เอาจริงๆนะ ครูควรจะให้นักเรียนมีความรับผิดชอบเองไม่ใช่ว่ามาไล่ตามงานงกๆ แล้วก็ให้ครึ่งคะแนนผ่าน ถ้ามีความเป็นครูจริง ต้องไม่ใช่สักแต่สอนควรให้แบบฝึกหัด เช่นพวกการบ้านไปด้วย(แต่ควรจะสั่งให้มันเพลาๆหน่อยไม่ก็ช่วยปรับเวลาเรียนจะดีมาก) การที่คุณให้นักเรียนไปอ่านเองมันจะเกิดผลไหมถ้านักเรียนอ่านไปก็เกิดแต่คำถามในหัว? เราว่าการที่ฝึกให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดเป็นอะไรที่ดีนะเพราะมันทำให้จำ ฝึกความขยันหมั่นเพียร เพราะพวกใบงาน วิเคระาห์บลาๆเนี่ย ก็อปมาจากgoogle ไม่ได้เรียบเรียงอะไรเลยแล้วก็ได้คะแนนเต็มไปอย่างง่ายๆ

เราไม่ได้เก็บกดแต่คิดว่าถ้าไม่อยากให้นักเรียนกวดวิชามันต้องแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุก็คือการศึกษา เรียนมากสุดท้ายคนเก่งๆก็โดนต่างประเทศชิงตัวไปหมด รัฐบาลควรให้ความสำคัญจะเข้าAECแล้วการศึกษาไทยยังดอกด๋อยอยู่เลยเหมือนเก่งIQ แต่โง่EQยังไงไม่รู้นะ

ฝากผู้ใหญ่หลายๆท่านช่วยปรับเปลี่ยนด้วยไม่ใช่มัวแต่มายุ่งกับการสอบเข้ามหาลัยลูกเดียว อย่าโลภเอาเงินมากขอร้อง
0
leodragon 25 ก.ย. 56 เวลา 08:53 น. 6

จากประสบการณ์เด็กที่เรียนกวดวิชา จะไม่ตั้งใจเรียนในห้อง พูดคุยเสียงดังอยู่หลังห้อง ไม่ฟังอาจารย์ แต่สอบที่ไรได้คะแนนดีทุกที
ซึ่งเราเป็นคนหนึ่งที่ไม่เรียนกวดวิชา เพราะมันเสียเงินเยอะและเสียเวลา และยอมรับว่าตัวเองสู้เด็กกวดวิชาไม่ได้ ในบางวิชาล่ะนะ พวกฟิสิก เคมี เป็นวิชาที่ไม่ได้ใช้ความจำอย่างเดียว
ถามว่าจำเป็นมั้ย จำเป็นเพราะมันทำให้เด็กเก่งกว่าเรียนในห้องเรียนแน่นอน แต่ขอถามคำเดียว 
ทำไมไม่สอนให้ห้องเรียนให้เหมือนเรียนโรงเรียนกวดวิชา จะให้เสียเงินหลายต่อไปทำเพื่อ? จะให้เสียเวลาเพิ่มไปอีกทำไม ในเมื่อตอนที่ทกกันเรื่องการบ้านก็แทบไม่มีเวลาหายใจกันแล้ว?
ปัญหานี้ไม่ได้อยู่ที่เด็ก แต่มัอยู่ที่...(?)...

0
` ด้งด้งด้ง? 25 ก.ย. 56 เวลา 17:39 น. 7

กด จำเป็น เพราะหลักสูตรไทยบีบบังคับ รวมทั้งหมดแสนแปด คือให้เด็กเรียนหมดทุกอย่าง สากกะเบือยันเรือรบ การบ้านก็เยอะ งานก็แยะ กิจกรรมก็บาน เวลาอ่านหนังสือแทบไม่มี เวลาในคาบไม่ได้น้อยนะ 1 ชั่วโมงได้ แล้วอาทิตย์หนึ่งแต่ละวิชาตีเป็นกี่ชั่วโมง แต่เพราะหลักสูตรมันเยอะจนสอนไม่ทันมากกว่าไง สอนก็ไม่ทันแล้วครูบางคนบ่นไปครึ่งคาบแล้วค่อยสอนงี้ก็ไม่ไหว โรงเรียนเราเรียนเก้าคาบ บางครั้งไม่ทันก็นัดเพิ่มคาบสิบ หลังเรียน ไม่ก็เสาร์อาทิตย์ มันไม่ต่างอะไรกับไปเรียนเสริมอยู่ดี

เพราะแบบนี้ คนส่วนมากถึงเห็นว่าการเรียนพิเศษสำคัญ แต่ครูบางคนก็หัวหมอ สอนนักเรียนในคาบไม่ให้เข้าใจ แล้วค่อยไปเรียนพิเศษกับครูด้านนอกเอา เงินเข้าตัวเองอีกด้าน เป็นไงล่ะ 

แต่โทษที่หลักสูตรทั้งหมดก็ไม่ได้ มันเป็นปัญหาที่บานปลายแล้วนะเราว่า เพราะเราถูกปลูกฝังให้เป็นแบบนี้ตั้งแต่เด็กจนชิน เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แค่เด็ก ม.ต้น ม.ปลาย แล้วที่เรียนพิเศษ เด็กอนุบาลก็มีเรียนแล้วด้วยซ้ำ แต่ถ้าจะแก้ไขมันแก้ได้ แต่ยากหน่อยละกัน ถ้าหากพวกผู้ใหญ่ยังคิดจะฉาบฉวยเอาผลประโยชน์อยู่

ถ้าพวกผู้ใหญ่ที่กำลังเห็นและเลือกที่จะคว้าประโยชน์ด้านนี้จากเด็กๆ คุณเลิกคิดได้แล้ว คิดว่าพวกหนูไม่เหนื่อยบ้างหรือไง หัดคิดบ้างสิ นี่หรือผู้ใหญ่ที่อาบน้ำร้อนมาก่อน เห็นแล้วน้ำตาจะไหล


0
![D]@rk_[E]mperor! 26 ก.ย. 56 เวลา 10:30 น. 8

ผมว่าก่อนจะมาพูดโทษโน่นโทษนี้กัน ทำไมไม่ลองดูตัวเองก่อนดีกว่าไหมครับ ว่าในชีวิตที่ผ่านมาเราวางแผนอะไรยังไงไว้บ้าง ผมยอมรับว่าผมก็เคยเรียนพิเศษแต่แค่ครั้งเดียวตอนปอหก เพราะหลังจากที่สอบเข้าม.1 ได้ก็รู้ว่ามันไม่ได้ช่วยอะไรเลย สุดท้ายก็ต้องพึ่งตนเอง แล้วเคยลองกลับมาคิดว่าทำไมทั้งๆที่เรียนพิเศษแล้วแต่ยังไม่เก่งขึ้น ผมลองแยกประเด็นดูนะครับ

- เราไม่ได้วางแผนการเรียนต่ออย่างจริงจังเลยใช่ไหม
- เรารู้ไหมว่าที่ๆเราจะไปสอบเข้ามันเป็นยังไง ข้อสอบจะออกแนวไหน รับกี่คน มีดีมานด์จากเด็กที่ไหนบ้าง
- เราทบทวนความรู้อยู่เสมอรึเปล่า
- เราวางตารางชีวิตอะไรบ้าง
- และประเด็นจากปัจจัยรอบๆ เช่น ความครอบคลุมในเนื้อหาที่ รร. และ สถาบันกวดวิชา สอน มันพอสอบไหม
- สภาพแวดล้อมในการเรียน การทำงาน การทำกิจกรรม
- สุขภาพของเรา และสภาพครอบครัว
- ฯลฯ

อาจจะมีมากกว่านี้ก็ได้นะครับแล้วแต่คน ถ้ามองในมุมที่ว่าสถานการณ์การศึกษาไทยตอนนี้เราจำเป็นต้องพึ่งกวดวิชาไหม ผมไม่ต้องตอบก็รู้ๆกัน หรือสมควรบอกว่านร.ทุกคนในประเทศไทยที่พอมีฐานะบ้างรู้ๆกันอยู่ ถ้ามันไม่จำเป็นมันจะเกิดสถาบันพวกนี้ขึ้นอย่างกับดอกเห็ดหรือ ขนาดที่ว่าแม่บอกว่า" ไม่เป็นไรลูกตังไม่มีเดี๋ยวแม่ยืมเพื่อนมาให้ลูกไปจ่ายค่าเรียนพิเศษ" , อ.ในรร. ว่า"อ่ะนี้นะ ถ้าพวกเธอมาลงเรียนที่กวดวิชาของครูนะ ครูจะสอน....บลาๆๆๆๆๆ แล้วครูจะบวกคะแนนพิเศษเพิ่มให้ (เอาตังซื้อเกรดนี้หว่า)" , เพื่อนว่า "เห้ยเอ็งมาเรียนที่นี้ดิ สอนดีนะเว้ย มันคลุมเนื้อหาที่เรียนทั้งหมดเลย ,เห้ยที่นั้นแม้งมีน้องแมว(นามสมมติ)มาเรียนด้วยไปลงเรียนกัน ,นี้จะสอบเข้าแพทย์(คณะสมมติ)นะต้องเรียนนี้เลยเว้ย อ.จบตรงจากคณะนี้ ได้เกียรตินิยมด้วย ,และอีกสารพันเหตุผล" , เห็นไหมครับว่ามันมีเหตุปัจจัยมากมายที่ทำให้เราหรือผู้ปกครองหลายๆท่านเข้าใจว่ากวดวิชามันสำคัญโฮกๆ

ทีนี้มาอีกมุมมองนึง
บางกลุ่ม(ซึ่งส่วนมากเป็นพวกข้าราชการ....ไม่ขออื่นสังกัด) กลับมองเห็นหรือนั่งเทียนเอาก็ไม่ทราบว่า เห้ย!!! กวดวิชามันจะเยอะไปแล้วนะ ไอพวกอ.ในรร.มันทำอะไรกันว่ะ ทำไมปล่อยเด็กไปเรียนเอาข้างนอกขนาดนี้ ขนาดที่มีบางคนเคยบอกผมว่า "การบ้านที่รร.ไม่เสร็จไม่เป็นไร แต่การบ้านที่.....(ไม่เอ่ยนาม)ต้องเสร็จ"
พวกคนบางกลุ่มมองว่า "ข้าก็ว่าการเรียนในห้องมันก็พอแล้ว เอ็งไม่เข้าใจตรงไหนก็มาถามอ.สิว่ะ เดี๋ยวนี้มันยุคโซเชียลนะเฮ้ย จะเฟสถามยังได้เลย เอ็งจะไปขวนขวายไปอีกทำไม"
หรือผู้ปกครองบางคน(ย้ำว่าบางคนจริงๆ) "ตั้งใจเรียนในห้องก็พอแล้ว จะไปเรียนซ้ำอีกทำไมให้เปลืองตังฮะ ยุคนี้ตังไม่ได้หาง่ายๆนะเว้ย หัดทบทวนความรู้ไปสิหนังสือก็ซื้อมาให้เยอะแยะ วันๆไม่เห็นทำอะไรนั่งเล่นแต่คอม เอาแต่เที่ยว หัดเอาเวลานั้นมานั่งอ่านสิฟร่ะ...."


ทีนี้พอเข้าใจมุมมองของทั้งสองฝ่ายบ้างรึยังครับ....

เราลองมองย้อนกลับไปอีกว่าทำไมถึงเกิดประเด็นดังข้างต้น
- ระบบการศึกษาไทย มันเป็นฟรัดอะไรฟร่ะ เปลี่ยนแม้งอยู่นั้น ตรูตามไม่ทันเฟ้ย หลักสูตรเปลี่ยนแม้งทุกปีทุกเทอมทำยังกับเปลี่ยนผ้าอ้อม การสอบเข้าแม้งก็แม้แต่พระพุทธเจ้ายังไม่อาจจะตรัสรู้ได้ว่ามันจะมายังไง ปีไหนมันอารมณ์ดีก็ดีไป ปีไหนมันนึกคึกดังโคถึกมันก็ออกมาเต้นเย้งๆบอกว่าระบบมันไม่ดีผม/อิฉันจะเปลี่ยนเคอะ แล้วเอ็งเคยถามพวกครู/นร./ผู้ปกครอง/สถาบันที่รับ(พวกตรู)ไหมว่าอยากได้แบบไหน ทำอะไรตามใจเป็นไทยแท้ จริงๆ แล้วอ้างว่าประเทศนู้นทำยังงี้แล้วดี เปลี่ยน..!! แล้วก็อ้าวแม้งล่มว่ะ งั้นเอาใหม่ไม่เป็นไร เรามันประเทศกำลังพัฒนา เราต้องค่อยๆปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็เข้าที่เอง (พ่อง...แล้วตรูต้องรอเอ็งเปลี่ยนให้เสร็จก่อนไหมค่อยมาเรียน)
ปล.พอแหละเดี๋ยวอารมณ์ขึ้น เชื่อว่ามีหลายคนอยากจะเพิ่มเนื้อหาในส่วนนี้อีกมาก

- รร. (รวมทั้งหมดในระบบรร.) ถามว่ารร. คุณตั้งขึ้นมาเพื่ออะไรให้ผอ.มันดูดตังเล่นเรอะ หรือเป็นแหล่งสังคมของพวกข้า หรือเป็นที่ประกาศล่าเด็กมาเรียนพิเศษ หรือเป็นที่มั่วสุม หรือๆๆๆๆๆอีกหลายหรือ ทำไมเราไม่มีจิตสำนึกเลยว่าเราคืออะไร เราตั้งมาเพื่ออะไร ด้วยความเคารพในตัวอ.หลายๆท่านและความหมั่นหน้าอ.อีกหลายท่าน ผมยังเห็นอ.เพียงหยิบมือเดียวเท่านั้นเองในสังคมไทยที่ยังคงมีจิตวิญญาณแห่งความเป็นอ.อยู่ บางคนมันมอดไปหมดแล้ว เราไม่ได้ให้ความสำคัญกับคำว่ารร.หรือ อาจารย์ (อาจารยา ท่านผู้ประศิตวิชา) ผมเชื่อว่าอ.ทุกท่านมีความสามารถมากพอจะเจียระไนเด็กให้เทพได้แต่ด้วยเหตุผลกลใดจึงไม่ทำ อ่านข้อต่อไป(เป็นเพียงเหตุผลเดียวนะ มันมีอีกเยอะ)

- เด็ก(ตัวเราเอง) ลองมองดูตัวท่านเองว่าท่านนะทำอะไรบ้างในวันๆนึง ยอมรับว่าทุกคนไม่เหมือนกัน แต่เราพยายามทำอะไรบ้างในชีวิตนี้ มีอะไรบ้างที่ได้มาด้วยความสามารถของเราจริงๆ เรานั้นไปรร.เพื่ออะไร เราไปกวดวิชาเพื่ออะไร เราเคยตั้งใจทำอะไรอย่างจริงๆจังๆบ้างไหม เคยตั้งใจเรียนในห้องอย่างจริงจังไหม เคยทบทวนเนื้อหาก่อนเรียน ก่อนสอบแบบจริงจังไหม เคยไหมที่สัญญากับตัวเองว่าถ้าอ่านบทนี้ไม่บรรลุจะไม่ออกไปทำอะไรอย่างอื่น เคยลองปิดคอมฯ ปิดโทรฯ ปิดอุปกรณ์สื่อสาร ซักวันมันจะอยู่ได้ไหม เอาเวลาไปทำกิจกรรมอย่างอื่นบ้างไหมให้ชีวิตมันได้พบเจอประสบการณ์ข้างนอกตำรา(ที่ดีนะ) ยอมรับไหมว่าพวกท่านก็ติดโซเชียลจนไม่เป็นอันทำอะไร ติดเกมส์จนยอมไม่กินข้าว ติดเที่ยวจนกลับบ้านดึกดื่น ติดสาว/หนุ่มจนยอมทำทุกอย่างให้ได้อยู่กับเธอ/เขา

- ผู้ปกครอง ด้วยวัยวุฒิและคุณวุฒิที่ต่างยุคต่างสมัยทำให้มุมมองต่างกันมากมาย บ้างครั้งบางอย่างเรามองว่ามันสมควรทำอย่างนั้นนะ แต่ท่านก็ค้านว่าไม่ใช่โดยที่ไม่ได้ดูเลยว่าโลกมันเปลี่ยนไปแค่ไหนแล้ว ยังคงยึดติดอยู่กับกะลาเดิมที่ที่เคยอยู่ ยัดเยียดมุมมองแนวคิดตนเองให้เด็กโดยไม่ได้ดูว่าเค้ากับเรามันคนละคน มองว่าสิ่งต่างๆที่เด็กทำมันไร้สาระ มันติ้งต้อง โดยที่ไม่เคยได้คุยกับเด็กอย่างจริงจังถึงความคิดและการกระทำของเค้าเลย บางคนไม่รู้เลยว่าลูกชอบอะไรบ้าง ลูกเรียนที่ไหน ลูกฝันอยากเป็นอะไร ลูกรู้สึกยังไง (ด้วยความหวังอันลมๆแล้งๆราวกับช่วงเวลาอันยาวนานบนพื้นทะเลทรายซาฮาร่า ว่าผู้ปกครองจะเข้ามาอ่านแล้วคิดได้ว่าตนต้องเปลี่ยนความคิดและหันหน้าเข้าไปคุยกับลูกอย่างเปิดอก ปล.ผมว่ามันควรทำบ่อยๆนะ)

สุดท้ายความเห็นนี้ก็คงเป็นเพียงสายลมที่พัดผ่านพื้นน้ำทำให้เกิดคลื่นเพียงเล็กน้อยที่พัดเข้ากระทบฝั่งที่เรียกว่าประเทศไทย ให้ได้ตระหนักว่าเกิดอะไรขึ้น แต่แล้วมันก็จะจางหายไปตามกาลเวลา โดยความหวังลึกๆว่าฝั่งนั้นจะถูกเซาะออกบ้างไม่มากก็น้อยให้พอที่ลูกเต่าตัวน้อยๆที่เรียกว่าเยาวชนอันเป็นอนาคตของชาติ ได้มีโอกาสรอดจากฝูงนกกาที่เป็นตัวทำลายเด็ก และลงไปผจญชีวิตเอาตัวรอดในน้ำที่เปรียบดังชีวิตจริงๆหลังเรียนจบ แม้มันจะเป็นเพียงความหวังอันเลือนลาง

ปล.อาจจะอ่านไม่เคยเข้าใจ ก็เพ้อไปตามประสาเด็กที่เคยผ่านจุดๆนั้นมา

0
ซ่อนนาม 26 ก.ย. 56 เวลา 12:53 น. 9

...วิธีการดูว่าปัญหาเกิดจากอะไร

ถ้าส่วนรวมมีปัญหาร่วมกัน ปัญหาจะเกิดจากภายนอก เช่นสภาพสังคม นโยบายรัฐ หรือค่านิยมของคนส่วนใหญ่ของสังคม

ถ้าปัญหานั้นเกิดขึ้นแค่ส่วนบุคคลของคนไม่กี่คน ปัญหานั้นจะเกิดจากภายใน เช่นสภาพครอบครัวของคนผู้นั้น ตัวคนผู้นั้น

0
dow_chan 26 ก.ย. 56 เวลา 16:05 น. 10

โรงเรียนกวดวิชามันเป็นแค่ทางเลือกหนึ่งเท่านั้นค่ะ  แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องเลือก ขึ้นอยู่กับความต้องการมากกว่า

0
Chanyanuch 26 ก.ย. 56 เวลา 17:51 น. 11

ก็บางโรงเรียน  คุณครูบางคนสอนไม่รู้เรื่องไงคะ
เด็กไทยหลายๆคนต้องยอมเสียงเงินไปเรียนกวดวิชา

0
p'pan...g 26 ก.ย. 56 เวลา 19:54 น. 12

ไม่เรียนกับเรียนต่างกันมาก ในห้องเหมือนเสียเวลาไม่ได้อะไร วิชาไหนเรียนกวดวิชาก็จะได้ไม่เรียนก็ไม่ได้  จากชีวิตตอนนี้เองเป็นแบบนี้แหละ แต่ไม่ได้เรียนหมด เรียนเฉพาะวิชาที่อ่านเองไม่ได้เพราะไม่ถนัด เช่น ฟิสิกส์ เลข เคมี ส่วนชีวะ ไทย ไรงี้ก็อ่านเองค่ะ

0
เพียงเศษเสี้ยวใจ 27 ก.ย. 56 เวลา 17:39 น. 13

ความคิดเห็นส่วนบุคคล : จะโต้วาทีกันไปทำไมคะ สถาบันกวดวิชาจะจำเป็น/สำคัญหรือไม่อย่างไร เราคิดว่า มันขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุปัจจัย อาทิ เด็กในเมืองที่อยากหาความรู้เพื่อต่อยอดจากในห้องเรียนก็จะให้ความสำคัญกับสถาบันกวดวิชา หรือ เด็กที่คุณครูในโรงเรียนสอนไม่ค่อยเข้าใจ ก็เช่นกันจะสังเกตได้ว่าจะให้กับสถาบันกวดวิชา แต่ในทางกลับกัน เด็กที่ อยู่ชนบทไม่ค่อยมีโอกาสก็จะตั้งใจอ่านหนังสือหรือพยายามหาความรู้เองเนื่องจากคิดว่าสถาบันกวดวิชาเหล่านั้นไม่จำเป็น เพราะจะทำให้เสียเงินโดยใช่เหตุ 

  สรุป เราคิดว่า สถาบันกวดวิชาจะจำเป็นหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่ละเหตุการณ์และเหตุปัจจัยมากเสียกว่านะ
                         

0
dek-moe 27 ก.ย. 56 เวลา 21:09 น. 14

ความจริง ถ้าไม่เรียนโรงเรียนกวดวิชาก็คงไม่เปนไรนะ
จากที่เราคิดคือ
   การเรียนกวดวิชาจะทำให้เครียด เพราะเมืองไทยยิ่งเรียนเยอะมากพออยู่แล้ว
ยิ่งอัดเข้าไป โดยถ้าสมมติบางคนไม่อยากที่จะเรียน จิตใจไม่พร้อมที่จะเรียน ถึงจะเรียนพิเศษมากเท่าไรก็ผลการเรียนไม่ค่อยดีอยู่ดีนั้นล่ะ แหงล่ะ  (แต่ถ้าคนที่พร้อมจะเรียน มีความสุขที่จะเรียน การเรียนกวดวิชาก็เหมาะสำหรับเค้าแล้วล่ะนะ)

ในตัวเรามีความคิดที่แย้งด้วยเหตุเพียงเท่านี้ล่ะ

  

0
Neko chompu 28 ก.ย. 56 เวลา 13:09 น. 15

ความจริงจะบอกว่าไงดี ถ้ามีให้เป็นกลางเราเลือกนะ ความจริงเเค่เราทบทวนอ่านหนังสือนิดหน่อย ถ้าวิชาไหนไม่ค่อยได้ก็ไปติวเเค่วิชานั้น เรายอมรับว่าเราก็เรียนกวดวิชาเเต่เรียนเฉพาะเเค่วิชาที่ไม่ได้เท่านั้น วิชาที่ได้ก็เรียนที่โรงเรียนไปเพราะงั้นตั้งใจเรียน อ่านหนังสือทบทวนเเค่นี้ก็เก่งได้เเล้วละ

0
Kingzayn 28 ก.ย. 56 เวลา 14:54 น. 16

จริงๆก็ขึ้นอยู่กับการเรียนของแต่ละคนด้วย บางคนไม่กวดวิชาแต่ก็ยังสอบติด บางคนถ้าไม่กวดวิชาก็สอบไม่ติด
แต่ถ้าถามว่าทำไมนักเรียนไทยสมัยนี้นิยมกวดวิชากัน? มันจำเป็นขนาดนั้นจริงหรือ? ปัญหาของคำถามเหล่านี้มันคือ เพราะ"ระบบการศึกษาไทย"
ตราบใดที่ระบบการศึกษาไทยยังเน้นระบบ"ท่องจำ"อยู่ กวดวิชาก็ยังคงจำเป็นกับนักเรียนไทย(ส่วนมาก)

0
Palm Melody 28 ก.ย. 56 เวลา 15:06 น. 17
เราคิดว่า ถ้าเกิดเด็กเขาตั้งใจเรียนตอนอยู่ที่โรงเรียนอย่างหนัก อาจจะไม่ต้องการสถาบันกวดวิชาก็ได้นะ แต่ถ้าเป็นเด็กที่ไม่ค่อยขยันเนี่ย สถาบันกวดวิชาจะเพิ่มศักยภาพของเขาได้เลยนะ แต่ว่าบางทีมันก็แล้วแต่โรงเรียนน่ะแหละ ว่าเขาสนใจที่จะสอนเด็กแบบจริงๆจังๆหรือเปล่า
    
0
Karamelly 28 ก.ย. 56 เวลา 18:26 น. 19

เราว่ากวดวิชาสำหรับเพิ่มเติมความรู้ที่เราสนใจ อยากรู้ อยากต่อยอดความรู้อยากเรียนมากกว่าไปใช้เพื่อสอบแข่งขันนะค่ะ

เพราะถ้าเราสนใจเรียน อ่านหนังสือเรียนหลายๆเล่มไม่ใช่แค่ในหนังสือเรียนของโรงเรียนเราก็สามารถเก่งได้นะ เพราะการศึกษาไทยเค้า ครูเอาเงินจากเด็กมากกว่า^-^

แต่บางคนบอกว่ากวดวิชามีโจทย์เยอะ สอนล่วงหน้า เนื้อหาลึก ไม่ก็เรียนอยู่ ม.1 แต่เรียนเนื้อหาของ ม.2 ไปแล้ว แต่ถ้าเราไปอ่านเองในห้องสมุด หาโจทย์ในเน็ตไม่ก็ห้องสมุดมาฝึกทำเยอะๆ 

เพราะบางคนเรียนกวดวิชาไม่สนใจเพราะโดนพ่อแม่บังคับแล้วเรียนไม่เก่ง ไม่ติด มีถมไป

ถ้ารักการเรียนจริงไม่ต้องพึ่งกวดวิชาหรอกค่ะ ถ้าเราอ่านเอง ฝึกเอง ค้นคว้าเอง คงไม่ยากหรอกค่ะ ที่จะประสบความสำเร็จ

  คคหสต นะค่ะ :)

0
Mystic Irie 28 ก.ย. 56 เวลา 23:39 น. 20

ทำความเข้าใจใหม่สักนิดนะครับ

นักเรียนที่ไม่จำเป็นต้องเรียนกวดวิชา แน่นอนว่าต้องมีแน่อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเพราะการเรียนในห้องเพียงพอ หรือสามารถทำความเข้าใจบทเรียนได้เอง ถ้าเป็นลักษณะนี้ก็ไม่จำเป็นต้องเรียนกวดวิชาใช่ไหม

แล้วเด็กส่วนที่เหลือล่ะ?

ก็ต้องเข้าใจเสียก่อนว่าคนเรามันไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น การเรียนการสอนในโรงเรียน การทำความเข้าใจของแต่ละคน

การจะให้เค้าคนนั้นนั่งเรียนในห้อง อ่านทบทวนตำราด้วยตัวเองก็เข้าใจแล้วเหมือนใครอีกคนมันเป็นไปไม่ได้ ตรงจุดนี้สถาบันกวดวิชาจึงจำเป็น ยิ่งการศึกษาไทยในตอนนี้แล้วด้วยยิ่งแล้วใหญ่เลยครับ

คำพูดที่ว่า "พยายามด้วยตัวเองแล้วหรือยัง" เจอมาหลายกระทู้แล้วครับ แต่ก็อย่างที่ว่าไป คนเรามันไม่เหมือนกัน การทำความเข้าใจในห้อง ให้เพื่อนติว อ่านหนังสือเอง นั่งค้นคว้าทำความเข้าใจเองมันก็มีขีดจำกัด ไม่ใช่ว่าจะใช้ได้ผลกับทุกคนเสมอไป

ไม่นับเรื่องวิชาเฉพาะด้านที่ไม่มีในหลักสูตรครอบจักรวาล แต่ดันมีในข้อสอบมหาวิทยาลัย

การมีอยู่ของสถาบันกวดวิชา นักเรียนในสังคมยุคนั้นๆ จะเป็นคนตัดสินเองครับ ถ้าหากหลักสูตรยังไม่ได้มาตราฐาน ความรู้ที่เรียนไม่ตรงกับข้อสอบ นักเรียนส่วนมากก็จำเป็นต้องพึ่งสถาบันกวดวิชาอยู่ดี

แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากการเรียนการสอนในห้องดี ได้คุณภาพ นักเรียนก็สามารถทำความเข้าใจบทเรียนเองได้มากขึ้น บทบาทของสถาบันกวดวิชาก็จะน้อยลงไปเองนั่นแหละ

0