คณะเภสัชศาสตร์ CU
ตั้งกระทู้ใหม่
https://www.facebook.com/1010298832318090/photos/a.1014416081906365/1014416071906366/?type=3
รู้จักคณะเภสัชศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย ร่วมพัฒนาการดูแลการใช้ยาของประชาชนและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยาในประเทศให้มีศักยภาพและนวัตกรรม เปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิตและระดับบัณฑิตศึกษา ในสาขาวิชาซึ่งสังกัดภาควิชาต่าง ๆ อาทิ ภาควิชาเภสัชกรรมและเภสัชอุตสาหกรรม อาหารและเภสัชเคมี เภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ เภสัชวิทยาและสรีรวิทยา ฯลฯ รวมทั้งเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ Pharmaceutical Technology และ Social and Administrative Pharmacy ในระดับบัณฑิตศึกษาด้วย
ภาควิชาของคณะเภสัชศาสตร์ (Faculty of Phamaceutical Science)
คณะเภสัชศาสตร์ประกอบด้วย 7 ภาควิชา ได้แก่
-
วิทยาการเภสัชกรรมและเภสัชอุตสาหกรรม (Pharmaceutics and Industrial Pharmacy)
-
เภสัชกรรมปฏิบัติ (Pharmacy Practice)
-
อาหารและเภสัชเคมี (Food and Pharmaceutical chemistry)
-
เภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ (Pharmacognosy and Pharmaceutical Botany)
-
เภสัชวิทยาและสรีรวิทยา (Pharmacology and Physiology)
-
ชีวเคมีและจุลชีววิทยา (Biochemistry and Microbiology)
-
เภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร(Social and Administrative Pharmacy)
หลักสูตรปริญญาตรี ที่รับผิดชอบโดยคณะ
เภสัชศาสตรบัณฑิต (ภ.บ.) Doctor of Pharmacy (Pharm. D.) หลักสูตร 6 ปี 2 สาขาวิชา ได้แก่
-
เภสัชศาสตร์ (Pharmaceutical Sciences)
-
การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical Care)
หลักสูตรปริญญาโท ที่รับผิดชอบโดยคณะ
1. เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.) Master of Science in Pharmacy (M.Sc. in Pharm.) 3 สาขาวิชาได้แก่
-
1.1 เภสัชกรรมอุตสาหการ (Industrial Pharmacy)
-
1.2 การบริบาลทางเภสัชกรรม (Clinical Pharmacy)
-
1.3 เภสัชวิทยาและพิษวิทยา (Pharmacology and Toxicology)
2. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) Mater of Science (M.Sc.) 4 สาขาวิชา ได้แก่
-
2.1 วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง (Cosmetic Science)
-
2.2 เภสัชศาสตร์และเทคโนโลยี (Pharmaceutical Sciences and Technology)
-
2.3 เภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร (นานาชาติ) (Social and Administrative Pharmacy)
-
2.4 การวิจัยสำหรับธุรกิจ (Research For Enterprise)
หลักสูตรปริญญาเอก ที่รับผิดชอบโดยคณะ
1. เภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภ.ด.) Doctor of Philosophy (Ph.D.) 3 สาขาวิชา ได้แก่
-
1.1 เภสัชกรรมอุตสาหการ (Industrial Pharmacy)
-
1.2 การบริบาลทางเภสัชกรรม (Clinical Pharmacy)
-
1.3 เภสัชวิทยาและพิษวิทยา (Pharmacology and Toxicology)
2. วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.) Doctor of Philosophy (Ph.D.) 2 สาขาวิชาได้แก่
-
2.1 เภสัชศาสตร์และเทคโนโลยี (Pharmaceutical Sciences and Technology)
-
2.2 เภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร (นานาชาติ) (Social and Administrative Pharmacy)
แสดงความคิดเห็น