Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ถ้าหากว่า พวกคุณคือ อาจารย์สอนนวนิยาย จะสอนอะไรครับ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

คือ ผมอยากรู้ว่า หากว่าพวกคุณทีี่เขียนนวนิยาย กลายเป็นคนที่สอนเขียนนักเขียนรุ่นใหม่ จะสอนอะไรครับ หรือคำแนะนำที่สอนแก่คนที่พึ่งหัดเขียน


ปล. ผมก็อยากรู้เหมือนกันว่า พล็อตจะมีรูปแบบยังไง เพราะว่าเขียนแล้ว ไม่ค่อยดี  และอยากรู้เขียนหลายร้อนตอนได้ยังไงครับ

แสดงความคิดเห็น

17 ความคิดเห็น

สอน ๆ 8 พ.ค. 67 เวลา 20:11 น. 2

ให้ฝึกจินตนาการเรื่องราว

ทักษะการเขียนล้างไปนานได้สามารถฟื้นมันขึ้นมาใหม่ได้

แต่หากไม่จินตนาการ นาน ๆ เข้า จะทำไม่ได้อีกเลย

1
Sla_Sipsongpeng 8 พ.ค. 67 เวลา 20:25 น. 3

สอนให้เขาค้นพบตัวเองว่าชอบอ่านหนังสือแนวไหนแล้วเน้นอ่านแนวนั้นมากๆครับ แล้วให้เขาจินตนาการไปด้วย พอมีข้อมูลความรู้ในหัวมากๆก็จะลงมือสร้างพล็อตใหม่ขึ้นมาได้เองและเดินเรื่องแบบราบรื่นไปได้เรื่อยๆครับ

1
Sambaboy 8 พ.ค. 67 เวลา 21:44 น. 4

อย่ามัวติดความเพอร์เฟคเลย ไม่มีใครสมบูรณ์แบบตั้งแต่ต้น ลงมือเขียนออกมาสักทีเถอะ

1
Asayhero 8 พ.ค. 67 เวลา 21:51 น. 4-1

ขอบคุณมากครับ และชอบประโยคมากเลยนะครับ

0
ของดีพี่เก็บไว้เถอะ 9 พ.ค. 67 เวลา 05:05 น. 5

อย่างแรกคือตัวผู้สอนต้องมีผลงานที่ประสบความสำเร็จในพอร์ตประดับโปรไฟล์ก่อน จะแนวไหนก็ได้และต้องมีหลายเรื่อง รวมถึงงานในระยะเวลาใกล้เคียงกับปัจจุบัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะของนักเขียนที่ประสบความสำเร็จแล้ว ก็ยังไม่อาจละจากความพยายาม และเส้นทางที่คุณจะได้เผชิญต่อจากนี้ มันไม่มีเส้นทางลัดหรือกลีบกุหลาบโรยเอาไว้


ลำดับถัดมา


สิ่งจะนำมาอบรบก็คือประสบการณ์ตรงที่ไม่มีในตำรา 50% พื้นฐานของนักเขียนซึ่งหาอ่านได้ทั่วไป 25% และการทำให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนในคลาสอีก 25% ซึ่งตรงนี้จะไม่ตายตัวครับ อาจส่งให้เป็นงานนิยายลองทำ เพราะอย่างไรคนที่ประสบความสำเร็จคือต้องลงมือทำเท่านั้น


วันสุดท้ายก่อนจบอบรมผมจะทวงโปรเจ็คที่ให้ไปแต่ละคนในวันแรก แล้วทยอยตรวจพร้อมส่งเป็นอีเมลไปในภายหลัง เพื่อให้คำแนะนำเป็นครั้งสุดท้ายก่อนปล่อยให้เขาไปเผชิญหน้ากับความเป็นจริง ที่มันไม่ง่ายของโลกใบนี้


แต่สิ่งที่อยากจะบอกให้ลุกศิษย์ทุกคนเข้าใจและตระหนักจริงๆ คือ เราอาจจะท้อได้แต่ต้องไม่หยุดอยู่กับที่ ความสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเร็ว แต่มันขึ้นอยู๋กับความแม่นยำของจังหวะชีวิต ทำต่อไปสู้เพื่อสิ่งที่เรารักไขว่คว้าในสิ่งที่เราฝัน


โดยรวมก็จะเน้นให้ลูกศิษย์เรามีมาตราฐานและพื้นฐานของการเป็นนักเขียนที่ดีก่อน สิ่งใดที่เป็นปัจจัยซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเองแล้ว เราต้องรีบควบคุมมันเอาไว้ เพื่อเป็นแต้มต่อในการเผชิญกับปัจจัยภายนอก ซึ่งเราไม่อาจควบคุมมันได้


นักเรียนจบคอร์สปุ๊บ โฆษณาสอนการตลาดยุคโซเชียลมีเดียต่อเลย,ตามมาติดๆด้วยคอร์สการขายออนไลน์สมัยใหม่ที่ใครๆก็เป็นเถ้าแก่ 555+


อาจารย์เอาเวลาที่ไหนไปเขียนนิยายขายเนี่ย ปรับปรุงตำราสามคอร์สกับควบเวลาสอนก็หมดแล้ว หลักๆรายได้จากนักเรียนทั้งนั้น 555+

1
อฟำพเ 9 พ.ค. 67 เวลา 12:54 น. 6

ความรู้น่ะ มันถ่ายทอดกันได้ นิยายก็เช่นกัน คุณจะยอมเสียเวลาเดาผิดเดาถูกเอง หรือยินดีจ่ายประสบการณ์กว่าล้านปี ที่สืบทอดกันมาระหว่างนักเขียนล่ะ คุณเลือกถูกแล้วที่มาเรียนกับเรา นอกจากชั้นเรียนนี้แล้ว เรายังมีคอร์สเฉพาะทางระดับ VIP หรือ VVIP อีกมากมาย...


ถ้าผมเป็นอาจารย์ผมจะสอนแบบนี้ล่ะ ล้างสมองเอ้อ! ผิดๆ สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้เรียน

1
DaWrite 9 พ.ค. 67 เวลา 15:10 น. 7

เข้ามาในห้องแล้วโยนกระดาษลงบนโต๊ะ "ไปคิดคาร์ตัวละครมา 10 ตัว ส่งอาทิตย์หน้า ผมต้องการรายละเอียดที่ชัดเจน ไม่ว่าจะพื้นหลังตัวละคร รูปร่างหน้าตา ที่มา แล้วก็ปมต่าง ๆ ใส่ภาพมาด้วยจะดีมาก" แล้วก็เดินออกจากห้องไป 5555555555

1
หมอกเหมย บนยอดดอย 9 พ.ค. 67 เวลา 20:13 น. 9

ย้อนเวลากลับไปได้ ฉันจะรีบเขียนค่ะ ไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านมานานแบบนี้ เมื่ออ่านและฟังแล้วการเขียนเท่านั้นที่จะช่วยให้เราพัฒนาค่ะ

1
ละอองมาร 9 พ.ค. 67 เวลา 21:24 น. 10

ถ้าเป็นอาจารย์สอนเลยคงจะยากเพราะคิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถในการถ่ายทอดหรือประสบความสำเร็จมากขนาดนั้นเมื่อเทียบกับนักเขียนท่านอื่นๆ

แต่พอจะแนะนำตามประสบการณ์ได้นิดหน่อย คืออยากให้อ่านมาให้มาก ยิ่งเป็นแนวที่ชอบและที่อยากจะเขียน อ่านแบบตกผนึกและวิเคราะห์งานเขียนด้วยซึ่งต้องค่อยๆ อ่าน มันจะแตกต่างจากอ่านเพื่อความบันเทิง เราจะได้คลังคำศัพท์ สำนวน กลวิธีในการดำเนินเรื่อง การผูกปม

แล้วก็อย่าตั้งความหวังเอาไว้สูงมากนักสำหรับนักเขียนหน้าใหม่ แค่มีคนอ่านก็เป็นเรื่องน่ายินดีแล้ว อย่าหยุดพัฒนาตัวเองและอย่าหยุดหาอะไรใหม่ๆ เข้าหัว

ส่วนเรื่องที่เจ้าของกระทู้ถามว่าเขียนยังไงให้ได้หลายตอน ก็ขอแนะนำให้วางพล็อตเอาไว้ให้กว้างและสเกลใหญ่มากขึ้น จากนั้นค่อยๆ แบ่งช่วงพล็อตออกมาว่าตัวเอกจะเริ่มต้นอย่างไร จากตรงไหน วางไปทีละจุด ทีละส่วน จากนั้นก็ค่อยจินตนาการปั้นแต่งมันขึ้นมา ในช่วงที่ดำเนินไปเพื่อไม่ให้นิยายน่าเบื่อก็ต้องมีอะไรตื่นเต้นหรือมีอะไรให้ลุ้นเป็นระยะๆ มันจะได้ไม่ดูเรื่อยๆหรือจืดชืดเกินไป ผมเองก็แน่ใจว่าสิ่งที่แนะนำจะถูกไหม แต่จากประสบการณ์ส่วนตัวก็ประมาณนี้ครับ

1
หนีไปไอ้หนู 9 พ.ค. 67 เวลา 21:37 น. 11

อย่าพึ่งใจร้อนรีบลงนิยาย เมื่อพึ่งเขียนเสร็จแค่ 1 ตอน

แนะนำให้เขียนต่อจนได้ 5 ตอน แล้วค่อยโปรโมทเปิดตัวนิยายอย่างเป็นทางการ การเขียนนิยายให้ได้หลายตอน ผู้เขียนต้องวางโครงเรื่องเอาไว้ล่วงหน้า กำหนดให้ชัดเจนว่าจะเล่าเหตุการณ์อะไรบ้าง วางโครงเรื่องเอาไว้ตั้งแต่ช่วงต้นเรื่อง กลางเรื่อง และตอนจบ จดเอาไว้เป็นฉากๆ เวลาเขียนจะได้ไม่สะดุด ไม่เช่นนั้นจะมืดมนเขียนต่อไปจนจบไม่ได้

1
Furinkazan 10 พ.ค. 67 เวลา 04:25 น. 13

ขอเป็นแนะนำแทนแล้วกันครับ

อย่ากลัวการเขียน... จงลงมือทำ

อย่ากลัวคำวิจารณ์ (คอมเมนต์)... รับไว้เฉพาะที่มีประโยชน์

อย่าขี้เกียจคิดพล็อตและทรีตเมนท์... ทำสั้น ๆ ก็ได้แต่ขอให้ทำ

ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ... ร่างแรกมันห่วยอยู่แล้วขอให้รู้ไว้ อ่านแล้วรีไรท์ เดี๋ยวก็ดีขึ้น

ลงแล้วไม่สนุกไม่ต้องกังวล... เรากลับไปแก้ไขได้


สุดท้าย


อย่าฝืนถ้าง่วง... ง่วงก็นอน เมื่อคืนเขียนเกือบเที่ยงคืน ฝืนไม่ไหว ตื่นตี 4 มาตอบกระทู้ก่อน จึงจะลงมือเขียนต่อ แล้วค่อยไปนอน


สวัสดี

1
Gasterious 10 พ.ค. 67 เวลา 11:21 น. 14

'ไปให้สุด เขียนที่ใจอยาก และไปจบลงด้วยการกอบกู้ 'ประชาธิปไตย' กลับคืนสู่ Automaton'


(ผิด ๆ ไม่ใช่)


สำหรับผมแล้วถ้าเป็นเรื่องของการสอนเกี่ยวกับการเขียนนวนิยาย คงเริ่มจากการทำ Free-Writing ก่อนเป็นอย่างแรกน่ะครับ สอนให้รู้จักคิดและพยายามหมั่นสร้างเสริมจินตนาการด้วยการทำสิ่งที่ 'นอกเหนือ' จากเพียงแค่การอ่านหนังสือ (แต่ก็ไม่ลืมที่จะบอกและแนะนำให้อ่านหนังสือนะ ไม่ใช่ว่าปล่อยผ่านไปเลย *สำคัญ* คือต้องเป็นหนังสือแบบเป็นเล่ม ๆ ด้วย)


การสอนให้เขียนนิยายเลยคงเป็นเรื่องยาก หากปราศจากการอ่านและการ 'ลงมือทำ' ด้วยตัวเอง


ส่วนรายละเอียดที่เหลือ...ก็คงขึ้นอยู่กับเรื่องของประสบการณ์ของนักเรียนแต่ละคนแล้วล่ะครับว่าจะไปทางแนวไหน หลักพื้นฐานสำคัญ ขอแค่เขียนออกมาให้สามารถอ่านจับใจความได้ หลีกเลี่ยงการใช้คำสะกดผิด รวมถึงมี 'จุดยืน' ในเรื่องราวของตัวเองที่ต้องการจะสื่อสารกับผู้อ่านเพื่อให้เข้าใจและเห็นภาพได้ว่าผู้เขียนต้องการจะสื่ออะไร เพราะหากแม้แต่ตัวผู้เขียนยังไม่เข้าใจสารที่ตัวเองต้องการสื่อ ก็เป็นเรื่องที่ยากมากว่า 'ผู้อ่าน' จะเข้าใจสาร ๆ นั้น


TL;DR - อ่านให้เยอะ คิดให้มาก ดราฟแรกออกมาแย่เสมอ แต่ดราฟท์หลัง ๆ มันจะเริ่มดีขึ้นเอง สำคัญคือ 'เวลา' 'การฝึกฝน' และ 'มีวินัยในตัวเอง' (อย่างที่สามสำคัญที่สุด) ส่วนหลังจากนี้คงขึ้นอยู่กับความสนใจของตัวผู้เขียนแล้วแล

1
สื่อศิลป์ 10 พ.ค. 67 เวลา 14:44 น. 15

คนอื่นผมไม่รู้นะ แต่ตัวผมจะสอนจะสั่งเรื่องจรรยาบรรณของนักเขียนเป็นอันดับแรกก่อน จะเก่งจะมีความสามารถแค่ไหนแต่ถ้าไม่มีจรรยาบรรณอาชีพ ผมจะไม่สนับสนุนอย่าว่าแต่สอนสั่งอะไรเลย


หลังจากนั้นก็ค่อยดูกันล่ะครับว่าลูกศิษย์ขาดอะไรบ้าง เพราะคนเราการรับรู้ไม่เท่ากัน มีสไตล์มีแนวทางเป็นของตัวเองดังนั้นหลักการสอนคนให้เป็นนักเขียนจึงไม่มีอะไรที่ตายตัว จริงๆเรื่องพวกนี้อย่าเรียกว่าการสอนเลยใช้คำว่าชี้แนะดีกว่า


การเขียนนิยายมันไม่ใช่เรื่องที่ต้องมีคนสอน แต่การเขียนนิยายให้มีคุณภาพอันนี้แหละครับที่ต้องมีคนชี้แนะ ส่วนคำชี้แนะถ้าพูดหมดในนี้ไม่ไหวล่ะครับ ที่สำคัญคนชี้แนะไม่จำเป็นต้องบอกทั้งหมด บอกในสิ่งที่ขาดไปเท่านั้น


สรุป

ถ้าเป๋็นผมก็จะสอนเรื่องจรรยาบรรณ กับชี้แนะในสิ่งที่ขาดเท่านั้นแหละ นอกนั้นคนที่อยากจะเป็นนักเขียนต้องไปสะสมทักษะประสบการณ์เอาเองครับ

1
11-12 11 พ.ค. 67 เวลา 21:23 น. 17

ด้นสดไปเลย ถ้ามันเป็นความสุขในช่วงเวลานั้นอะไรที่พลาดไปก็มาแก้ที่หลัง กับ อย่าไปยึดติดกับสิ่งที่ทำให้ตัวเองรู้สึกแย่ เช่น ยอดวิว เป็นต้น

1