สวัสดีครับ.. จะช้ำใจและอายแค่ไหน หากเราสอบได้ที่โหล่ของห้อง เพราะนอกจากจะโดนเพื่อนล้อ ครูมองติดลบ ยังอาจถูกพ่อแม่สวดถึงเช้าเลยก็เป็นได้ แต่เชื่อไหมครับว่าเหตุการณ์น่าอายแบบนี้ได้เกิดขึ้นกับประเทศไทยแล้ว ??? ล่าสุดมีข้อมูลการประชุมของ World Economic Forum (WEF) - The Global Information Technology Report 2013 ได้จัดอันดับคุณภาพการศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งประเทศไทยของเราถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 8 ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีคะแนนต่ำที่สุด รองจากประเทศเวียดนามที่ได้อันดับ 7 และประเทศกัมพูชาอันดับ 6 O_O"
โดยประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาดีที่สุดในกลุ่มอาเซียน เรียงตามลำดับที่ดีที่สุด ดังนี้ อันดับ 1 สิงคโปร์, อันดับ 2 มาเลเซีย, อันดับ 3 บรูไน ดารุสซาลาม, อันดับ 4 ฟิลิปปินส์, อันดับ 5 อินโดนีเซีย, อันดับ 6 กัมพูชา, อันดับ 7 เวียดนาม และอันดับ 8 ประเทศไทย
เกิดอะไรขึ้นกับการศึกษาของประเทศไทย เห็นทีประโยคที่ถูกปลูกฝังว่า "การศึกษาบ้านเราไม่เป็นสองรองใครในอาเซียน" คงจะพูดได้ไม่เต็มปากซะแล้ว วันนี้เว็บ Dek-D เลยขอรวบรวม 7 เหตุผล(โลกไม่สวย) ที่ทำให้การศึกษาไทยเดินทางมาถึงวันนี้ วันที่ถูกจัดอันดับเป็นที่ "โหล่" ของอาเซียน มาจากเหตุผลอะไรได้บ้างไปดูกัน
1.คนเก่งไม่ชอบเรียนครู
เป็นเรื่องจริงที่ปฏิเสธไม่ได้เลย ว่าการสอบเข้ามหาวิทยาลัยทุกวันนี้ เด็กเก่งจะไปกองอยู่ที่คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ หรือคณะวิศวกรรมศาสตร์ ส่วนทางด้านคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะที่ปั้นคนไปเป็นครู ผู้ที่เป็นรากฐานของการศึกษาไทยนั้น กลับไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร พี่ลาเต้ กล้าพูดได้เลยว่า 100% ของคนเรียนครู 30% คือคนที่อยากเรียนจริงๆ ส่วนอีก 70% คือคนตกหล่นจากคณะอื่นแล้วมาติดที่คณะครู พิสูจน์ได้แล้วจากแอดมิชชั่นแต่ละปีที่ผ่านมา
2.สอบมากสุด 28 วิชาเพื่อเข้ามหา'ลัย
O-NET 8 วิชา , GAT PAT 13 วิชา, วิชาสามัญ 7 วิชา นี่เป็นข้อสอบพื้นฐานที่เด็ก ม.6 ต้องขวนขวายสอบเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย นี่ยังไม่นับสอบกลางภาค ปลายภาค สอบเก็บคะแนน หรือการบ้านที่ต้องทำอีก เมื่อกฏเกณฑ์ทำให้เด็กต้องรับผิดชอบเยอะ เด็กหลายคนจึงต้องตัดใจทิ้งความรับผิดชอบบางอย่างไปเพื่อประคองตัวเองให้อยู่รอด พอถึงตรงนี้ก็คงตอบได้ว่า คงไม่มีเด็กคนไหนเลือกทิ้งการสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่เป็นอนาคตของตัวเอง และความหวังของพ่อแม่ ดังนั้นการที่เด็ก ม.6 หนึ่งคนต้องสอบมากสุดถึง 28 วิชาเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย คงเดาได้ไม่ยากว่าจะส่งผลต่อการเรียนในโรงเรียนขนาดไหน และการจัดอันดับดังกล่าวก็เอาผลคะแนนจากการเรียนในโรงเรียนเป็นตัวชี้วัดซะด้วย อิอิ
3.ครูไทย นักเรียนไทย คนละ GEN กัน
จะเกิดอะไรขึ้น ??? เมื่อวัยรุ่นสมัยนี้ผู้ที่โตมาพร้อมกับความอิสระและเทคโนโลยี ต้องมาอยู่ในกรอบของผู้เป็นวัยรุ่นเมื่อ 40 ปีที่แล้ว นอกจากการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป รูปแบบความสนใจก็เปลี่ยนตามด้วย ยกตัวอย่าง หากต้องการค้นหางาน 1 ชิ้น อาจารย์หลายท่านอาจจะวิ่งไปห้องสมุด แต่นักเรียนหลายคนอาจจะวิ่งกลับบ้านไปเปิดอินเทอร์เน็ต หรือมีคำสั่งให้ทำพานไหว้ครูประกวด นักเรียนหลายเลือกยึดเอาความคิดสร้างสรรค์แต่งพานเข้าสู้ แต่อาจารย์เน้นยึดความเป็นเอกลักษณ์สื่อความหมายในการตัดสิน ตราบใดที่ครูและนักเรียนยังพูดคนละภาษากันอยู่ การศึกษาไทยซึ่งเป็นตัวกลางของบุคคลทั้งสองก็คงยัง งง ไม่ต่างกัน
4.ภาษาที่ 2-3 ของเด็กไทยแพ้ราบคาบ
เหตุผลนี้อาจเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ เลยที่ทำให้การศึกษาไทยเรารั้งอันดับท้ายสุด เพราะต้องยอมรับว่าภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่ 3 เด็กไทยเราความสามารถในการสื่อสารแพ้ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนอยู่หลายช่วงตัว หลายปีผ่านมาประเทศไทยเรามักจะเอาการศึกษาบ้านเราไปเปรียบเทียบกับประเทศสิงค์โปร์ หรือมาเลเซีย แต่ความจริงแล้วผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านภาษาอังกฤษของ 3 ปีล่าสุด เราเป็นรองประเทศลาวอยู่ ซึ่งในการจัดอันดับคุณภาพการศึกษาของ WEF ในครั้งนี้ ประเทศลาว และพม่า ไม่ได้เข้าร่วมในการจัดอันดับ
5.เรียนหนัก เน้นท่องจำ
สมัยก่อนเด็กไทยเรียน 8 โมง - บ่าย 3 โมงครึ่ง แต่สมัยนี้มันไม่ใช่แบบนั้นซะแล้ว ยิ่ง ม.ปลาย บางแผนการเรียนเริ่มเรียน 7 โมง บางวันเลิกเรียน 5 โมง การเรียนเยอะไปของบางโรงเรียนเลยส่งผลให้นักเรียนล้าจนเกิดภาพติดลบในการเรียนในที่สุด ขณะที่การเรียนวิชาต่างๆ ก็จะเน้นการท่องจำ ท่องแล้วจำไปเรื่อยๆ ครูเคยจำมาแบบไหนก็ให้นักเรียนจำแบบนั้น ทั้งๆ ที่ความจริงนักเรียนอาจมีวิธีสร้างความเข้าใจในเรื่องนั้นได้ดีกว่า การท่องจำยังอยู่กับเด็กไทยเสมอวัดได้จากข้อสอบที่ออกมา ทั้งข้อสอบในชั้นเรียน และข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ที่หากใครเคยสอบจะบอกได้คำเดียวเลยว่า "ต่อให้มีความเข้าใจที่ดีเพียงใด ก็ต้องอาศัยการท่องจำอยู่ดี"
6.นักเรียนเร่งทำเกรด ครูเร่งทำผลงานวิชาการ
เป็นเรื่องจริงปฏิเสธไม่ได้ เมื่อนักเรียนต่างเร่งทำเกรดทุกวิถีทางให้ได้มากที่สุด ขณะที่ครูอาจารย์ต่างก็ต้องเร่งทำผลงานทางวิชาการเพื่อปรับฐานวิทยาฐานะของตนเอง เมื่อทั้งคู่มีเป้าหมายส่วนตัว จนลืมหรือละเลยการศึกษาที่เป็นส่วนกลาง บางโรงเรียนถึงขั้น คาบแรกอาจารย์พูดทักทายอยู่ 2 ประโยค คือ 1.ไปทำงานชิ้นนี้มา และ 2.เจอกันอีกทีคาบสุดท้ายนะ พร้อมส่งเก็บคะแนน = ="
เด็กไทยคิดเห็นยังไงกับข่าวนี้ ?
สัมภาษณ์ : ปราญชลี บุญสงเคราะห์ หรือ เอิน
นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
"การศึกษาไทยยัดความรู้ให้เด็กมากเกินไป อย่างน้องของหนูเรียนที่ประเทศสิงคโปร์ ที่นั้นเรียนกำลังพอดี นักเรียนแบ่งเวลาได้สบายๆ มีทั้งช่วงเรียน และช่วงเล่น ทำให้น้องเอินทั้งจัดเวลาเป็น แต่น้องคนเล็กเรียนที่ไทย ทุกวันเรียนเสร็จ เรียนพิเศษต่อ เรียนจนบางทีเบลอ กลายเป็นคนแบ่งเวลาไม่เป็น เพราะวันทุกวันมีแต่เรียน ทุกๆช่วงเวลามีเรียนเรียน เด็กกลายเป็นนกแก้วนกขุนทอง เพราะเรียนแบบท่องจำ วิเคราะห์และประยุกต์ใช้ไม่เป็น อีกอย่างเด็กได้รับความรู้ไม่เท่าเทียมกัน หรือไม่ได้มาตรฐาน บางโรงเรียนครูก็เก่งมากกก ขณะที่บางโรงเรียนนักเรียนเก่งกว่าครูอีก อาจารย์บางท่านก็สอนไม่ได้มาตรฐานไม่มีจรรยาบรรความเป็นครู สอนเพียงตามหน้าที่เท่านั้น"
เอาล่ะครับ ทั้งหมดนี้เป็นความจริงที่พูดออกมาแบบตรงๆ คงสะท้อนการศึกษาไทยได้ในระดับหนึ่งนะครับ ถึงแม้ ณ ปัจจุบันการศึกษาเราจะอยู่อันดับสุดท้ายของอาเซียน แต่ประเทศไทยเราก็มีข่าวดีให้น่าชื่นใจเกี่ยวกับการศึกษาอยูบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นน้องๆ ที่ได้ Top O-NET เต็ม 100 คะแนน , เด็กไทยที่ได้รางวัลชิงชนะเลิศวงโยธวาธิตระดับโลก หรือกลุ่มเด็กไทยคว้าเหรียญทองโอลิมปิกกลับมาแต่ปีละ ส่วนในระดับอาเซียนคงต้องให้เวลาแก้ไขซักนิด ช่วงนี้ก็เชียร์กีฬาไปก่อนแล้วกัน ประเภทนี้บ้านเรามือหนึ่งของจริงครับ ฮ่าฮา 555
ลาเต้ลิขิต : น้องๆ ชาวเด็กดี คิดว่าอะไรคือสาเหตุ ตรงกันไหม มาแชร์กันนะ
ใครเล่นทวิตเตอร์มา Follow ตามข่าวรับตรงแอดมิชชั่นจากพี่ได้นะ @lataedekd
182 ความคิดเห็น
ปัจจุบันไทยอยู่ในอันดับ 9 ของการจัดอาเซียนไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การศึกษา
น่าภูมิใจมั้ยล่ะ รัฐบาลไทย
1เรียนในแต่ละวันกี่วิชา
2เนื้อหาสามารถประยุกต์ใช้ได้จริงหรือป่าว
3ในห้องเรียน เรียนห้องละกี่คน น.ร.เยอะ อาจารย์คุมไม่อยู่
ด้วยเนื้อหาการเรียนที่ถูกสอนในโรงเรียนไม่เพียงพอที่จะใช้ในการสอบแอดมิดชั่น ทำให้เด็กหลายคนต้อง ไปเรียนพิเศษต่างจังหวัดบ้างเป็นต้น ทำให้ขาดความอบอุ่นจากครอบครัว เรื่องนี้ก้มีส่วน
จำนวนการเรียนของแต่ละคน ก้เยอะพอตัวเลยละ เรียนทั้งวันไม่ได้พัก
ค่านิยมการปลูกฝัง ของไทย จนผมคิดว่า หมอเต็มประเทศแล้วละ
1. ระบบมันห่วยจริง เราเรียนลูกเสือตั้งแต่ ป.1 ไม่รู้เรียนเพื่ออะไร ทั้งๆ ที่ควรเอาคาบนั้นมาเรียนภาษาให้ได้มากกว่า ส่วนเรื่องคุณครูทำรายงานวิชาการอันนี้เจอมาแล้วครับ เป็นอะไรที่รู้สึกเหมือนเราเป็น "สัตว์ทดลอง" ห่วยก็ด่า ดีก็เชิดชูเกินไป กิจกรรม การบ้านก็เยอะ อันนี้ยังพอทนกิจกรรมทำให้เราได้เรียนรู้นะ การบ้านด้วย แต่แทนที่จะมาสอนให้เด็กเก่ง วันๆ เอาแต่เรียนจนไม่ลืมหูลืมตา คิดไม่เป็น เห็นแก่ตัว เห็นว่าปีหน้าหลักสูตรก็จะเปลี่ยนอีก เปลี่ยนอยู่นั่นแหละ เอาเวลาเปลี่ยนหลักสูตรมาเปลี่ยนคนบริหารการศึกษาดีกว่ารึเปล่า เอาคนที่เค้าผ่านมันมาแล้วจริงๆ เข้ามจเด็กจริงๆ ไม่ใช่เอาคนชราปากมากเห็นแก่ได้มานั่งเก้าอี้
2. วันนี้คุณตั้งใจเรียนแล้วหรือยัง ?
อีกอย่าง โดยส่วนตัวแล้ว ไม่ได้คิดว่าเด็กไทยโง่หรอกนะคะ แต่ว่าเอาอะไรนักหนามายัดให้เรียน ซึ่งบางอันไม่จำเป็นด้วยซ้ำ อยากให้ทางผู้ใหญ่คิดๆดูว่า...นักเรียน อายุแค่ไม่เกิน 18 ปี แต่คุณนำเนื้อหามาให้ซึ่งเกินกว่าที่เด็กอายุแค่นี้จะรับได้ แล้วคุณก็ว่าเค้าโง่ มันถูกแล้วเหรอคะ?
ขอบคุณค่ะ
....
ยิ่งเดี๋ยวนี้ระบบการศึกษาไทยเรียนก็หนัก งานก็เยอะ บางครั้งก็ตรงกันข้ามแบบไม่มีเหตุผลเลยคือ งานไม่มี อาจารย์ไม่เข้าสอน ,,, ทั้งนี้ก็ต้องอยู่ที่ตัวผู้เรียนด้วยว่าคุณตั้งใจจะเรียนจริงไหม คุณเคยสนใจฟัง เคยอ่านหนังสือหาความรู้เพิ่มเติมบ้างหรือเปล่า?
< ทุกคนมีความพยายามเท่ากัน...แต่ใช่ไม่เท่ากัน > แค่นั้นเอง
(ผมเรียน คบ.ฟิสิกส์ ปี1) ผมก็ไม่ได้เก่งมากจากไหน แค่ผมพยายามทำให้สิ่งที่ชอบให้ดีที่สุดแค่นั้นเอง
สู้ๆครับ
นักเรียนเร่งทำเกรด ครูเร่งทำผลงานวิชาการ
เห็นด้วยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย
นี่ล่ะประเทศไทย
แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 4 กันยายน 2556 / 17:27
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 4 กันยายน 2556 / 17:28
1. ข้อสอบบางวิชาลึกเกินไปแต่พอเข้ามหาลัยได้แล้วก็ไม่ได้ใช้ ไม่ต่างจากท่องไปสอบ
หรือออกล้ำหน้าเกินหลักสูตร จนเด็กกลายเป็นเอเลี่ยน
2. การดำรงชีวิตในปัจจุบันลำบากมากขึ้น ทำให้คนต้องดื้นรนหาโอกาสที่ดีใส่ตัวมากตาม
บางครั้งแทนที่เด็กจะเดินในสิ่งที่ตัวเองชอบ กลับต้องคว้าโอกาสการงานที่มั่นคงไว้ก่อน
เพื่ออนาคตที่ดีของเขา จึงต้องขยันเรียนแบบไม่ลืมหูลืมตา คิดไม่เป็น เพราะไม่เห็นวี่แวว
ของงานรองรับในอาชีพที่เขาชอบ จนกลายเป็นค่านิยมในปัจจุบัน
3. ครูบางท่านชอบใส่กรอบความคิดให้นักเรียน ไม่ชอบให้เด็กเห็นต่าง
ในเชิงคิดสร้างสรรค์ จนเด็กขาดความเชื่อมั่นและมั่นใจ
4. ครูบางท่านสั่งงานเยอะ หลายๆวิชารวมกันเป็นภูเขา แล้วก็เข้า facebook ห้อง
มาแชร์จากห้องอื่นที่ทำเสร็จแล้วส่ง คุณภาพงานไม่ได้เลย
5. ครูบางท่านเข้าห้องแล้วพูดกับกระดาน
6. และข้อสุดท้าย แม้ว่าหลักสูตรการศึกษาไทยจะเปลี่ยนให้เหมาะสมหรือดีขึ้นแล้ว
แต่ก็ต้องอย่าลืมปลูกฝัง ความมีระเบียบวินัย และ จิตสำนึกที่ดี
ผิดพลาดประการใดขออภัย ณ ที่นี้
ชอบประโยคนี้มาก ทำไมตรงเเบบนี้
เบื่อเวลาครูพูดถึงตัวเองตอนสมัยเรียนที่สุด คือนั่นมัน40-50ปีมาเเล้ว กับตอนนี้เหมือนกันไหม- -?
เเละอะไรที่มันเเปลกใหม่ ครูจะชอบมองว่ามันคือสิ่งที่ไม่ได้เรื่องเสมอ เเล้วอะไรคือสิ่งที่สร้างสรรเเละเเปลกใหม่สำหรับครู- -?
ข้อ6นี่ก็ยิ่งใช่ คือรู้ว่ายังไงการบ้านต้องมี ไม่เกี่ยงหรอก เเต่ที่ให้เหมือนให้ส่งๆ ให้งานเยอะไว้ก่อน เวลาเอาไปยื่นให้ทางโรงเรียนดูเขาก็จะได้คิดว่า อืม..ครูคนนี้ตั้งใจสอน ครูจะได้เลื่อนขั้นสูงๆ อารมณ์เหมือนครูรอด นักเรียนไม่รอด เเต่ความจริงเเล้วมันใช่หรอ?
แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 4 กันยายน 2556 / 17:36
2.ระบบการศึกษาก็เปลี่ยนบ่อยมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ไม่รู้จะเปลี่ยนอะไรนักหนา
3.ในห้องเรียนแต่ละห้องนักเรียนเยอะโครตๆๆๆๆ 50 คน
4.ประถมต้นจริงๆแล้วน่าจะเน้นด้านภาษาอ่าน เขียน แล้วก็ภาษาที่3 เอาเป็นท่องศัพท์ก็ได้ แล้วก็วิชาอื่นๆที่พอจะรับไหวแบบเด็กเรียนแล้วรู้เรื่อง พอเราคิดว่าเราเรียนแล้วรู้เรื่องเดี๋ยวมันจะอยากเรียนเอง เกิดความสนุก
5.การศึกษาไทยเรียนหนักเกินไป เรียนหนักกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศอีกแต่เราก็พัฒนาไม่เท่าเค้า เรียนเท่าที่เด็กรับได้ก็พอ
6. การบ้านเยอะมากเกินไปไหนจะสอบเข้าอีกอะไรอีก เวลาอ่านหนังสือน้อย กิจกรรมอีก
ถ้าผู้ใหญ่ยังไม่รับฟังความเห็นของเด็กบ้างการศึกษาไทยก็เป็นเหมือนเดิม
เข้ามา ม.4 เรียนกับอาจารย์ที่ออกแนวไม่ค่อยสมประกอบสักเท่าไหร่ ไม่เคยสอน
ไม่เคยพูดอะไรที่เกี่ยวกับวิชานั้นเลย วันๆนึง ให้สอบข้อสอบเยอะมากกกกกกกกกกกกกก
ไม่สอนอะไรเลย จนกระทั่งจบ ม.4 อยากรู้ว่าเป็นครูได้ไง แล้วเอาเกรดหนูมาจากไหน ?
ในเมื่อข้อสอบที่สอบไป ไม่เอาคะแนน .
พอขึ้น ม.5 เจออาจารย์สอนดีขึ้นมาหน่อย
แต่สุดท้ายขึ้น ม.6 เจออาจารย์ที่สอนอยู่นิดเดียว ให้ทำแต่รายงาน พรีเซ้น อย่างเยอะ !!
แล้วไม่มาสอนบ่อยมาก พอวันที่เรียนไม่มีพรีเซ้นก็จะนั่งฟังอาจารย์พูดถึงการที่โดนครู
คนนั้นคนนี้ไม่ชอบ เด็กทั้งห้องก็นั่งว่างอยู่อย่างนั้นจนหมดคาบ แต่แน่นอนว่าได้เกรดวิชานี้ดี
เพราะอาจารย์ให้คะแนนที่พรีเซ้นงานแบบชิลๆ เลย อาจารย์ไม่ได้ออกสอบไม่ว่างสอนด้วย
เลยไม่เอาคะแนนสอบปลายภาค แต่ก็แบบ อยากได้เกรดที่มาจากฝีมือตัวเองเหมือนกัน
ไม่ใช่เกรดจากการที่อาจารย์ไม่สอนแล้วให้กันง่ายๆ (แต่ยากไปก็ไม่เอา -เรื่องมากเนอะ55)
สรุปเอือมมาก การศึกษาไทย ครูที่เราพูดเลยว่าสอนดี มีสัก 2 คนได้มั้งที่เจอมาในชั้นมัธยม
ขนาดครูที่แก่ๆดูหลักการ สอนมานานจนจะเกษียณอยู่แล้ว น่าจะสอนดี
แต่กลับไม่ใช่อย่างที่คิด นอกจากจะบ่นมาก ยังลืมอีกว่าสอนไรไปแล้วสอบไรไปบ้าง
บอกว่าอาทิตย์หน้าจะทำอันนั้นนะ พอมาุถึงก็ให้สอบ พอทวงว่าไม่ใช่สอบก็หาว่าเถียง = =;