มีใครเคยโทษตัวเองไหมคะว่า เพราะเราความจำไม่ดีเลยเรียนไม่เก่ง ถ้างั้นคนเรียนเก่งความจำดีมาตั้งแต่เกิด จริงเหรอ? พี่เมก้าเชื่ออย่างหนึ่งว่าคนเก่งแพ้คนขยัน อัจฉริยะที่ไม่ฝึกฝนตัวเองย่อมพ่ายแพ้ให้กับคนธรรมดาที่พัฒนาความสามารถของตัวเองอยู่เสมอค่ะ
ดังนั้น วันนี้เรามาลองทำตาม เทคนิคเพิ่มพลังความจำ กันดีกว่าค่ะ ว่ากันว่าวิธีนี้ทำให้เรา จำเก่ง จำแม่น จำนาน ได้มากขึ้นถึง 10 เท่าเลยนะคะ เพื่อไม่ให้เสียเวลา ตามไปดูกันเลย!
เทคนิคที่ 1 : ความสงบสยบทุกสิ่ง
จังหวะที่ดีเป็นสิ่งสำคัญในการจำค่ะ ถ้าน้องๆ เสียจังหวะ สติหลุด ความคิดฟุ้งซ่านต่างๆ ก็จะเข้ามาระหว่างที่เรากำลังเรียนหรืออ่านหนังสือเพื่อจดจำข้อมูลอยู่ ดังนั้น ถ้าอยากจำแม่น จำนาน ต้องบังคับตัวเองให้มีสมาธิจดจ่ออยู่กับเรื่องนั้นๆ อาจจะใช้ตัวช่วยด้วยการสร้างบรรยากาศที่ดี
เช่น พาตัวเองไปอยู่ในที่เงียบๆ ถ้าอยู่ในห้องเรียน ก็พยายามเลี่ยงเพื่อนที่ชอบชวนเราเม้าท์ หรือถ้าอ่านหนังสืออยู่ที่บ้าน ผลงานวิจัยออกมาแล้วนะคะว่า ช่วงเวลาเงียบๆ ก่อนนอน ช่วยให้สมองจดจำได้แม่นยำมากขึ้น! แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอ่านหนักๆ มาแล้ว ก็ต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอด้วยค่ะ
เทคนิคที่ 2 : ทวนความจำบ่อยๆ
ทุกครั้งก่อนเริ่มอ่านบทถัดไปให้น้องๆ ทวนบทเรียนที่อ่านไปก่อนหน้าด้วยว่า "เราอ่านอะไรไป จำข้อมูลสำคัญได้มากแค่ไหน" มันเหมือนการตรวจสอบความจำและความเข้าใจของเราด้วยค่ะ ยิ่งน้องๆ ทวนซ้ำ ก็ยิ่งเปลี่ยนถ่ายข้อมูลจากความจำระยะสั้นสู่ความจำระยะยาวที่บรรจุข้อมูลไว้ไม่อั้นได้
เทคนิคที่ 3 : ใช้ร่างกายช่วยจำ
น้องๆ คิดล่ะสิว่าการจำต้องใช้สมอง เราสมองไม่ดีเลยความจำสั้น ความจริงไม่ใช่แบบนั้นเสมอไปค่ะ อีกสิ่งที่ช่วยให้น้องๆ จดจำได้ดีขึ้นคือร่างกายของเรา วิธีง่ายๆ เช่น ทวนความจำด้วยการใช้มือเขียนและอ่านออกเสียงไปพร้อมๆ กัน หรือทวนความจำด้วยการฝึกทดลอง
เทคนิคที่ 1 : ความสงบสยบทุกสิ่ง
จังหวะที่ดีเป็นสิ่งสำคัญในการจำค่ะ ถ้าน้องๆ เสียจังหวะ สติหลุด ความคิดฟุ้งซ่านต่างๆ ก็จะเข้ามาระหว่างที่เรากำลังเรียนหรืออ่านหนังสือเพื่อจดจำข้อมูลอยู่ ดังนั้น ถ้าอยากจำแม่น จำนาน ต้องบังคับตัวเองให้มีสมาธิจดจ่ออยู่กับเรื่องนั้นๆ อาจจะใช้ตัวช่วยด้วยการสร้างบรรยากาศที่ดี
เช่น พาตัวเองไปอยู่ในที่เงียบๆ ถ้าอยู่ในห้องเรียน ก็พยายามเลี่ยงเพื่อนที่ชอบชวนเราเม้าท์ หรือถ้าอ่านหนังสืออยู่ที่บ้าน ผลงานวิจัยออกมาแล้วนะคะว่า ช่วงเวลาเงียบๆ ก่อนนอน ช่วยให้สมองจดจำได้แม่นยำมากขึ้น! แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอ่านหนักๆ มาแล้ว ก็ต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอด้วยค่ะ
เทคนิคที่ 2 : ทวนความจำบ่อยๆ
ทุกครั้งก่อนเริ่มอ่านบทถัดไปให้น้องๆ ทวนบทเรียนที่อ่านไปก่อนหน้าด้วยว่า "เราอ่านอะไรไป จำข้อมูลสำคัญได้มากแค่ไหน" มันเหมือนการตรวจสอบความจำและความเข้าใจของเราด้วยค่ะ ยิ่งน้องๆ ทวนซ้ำ ก็ยิ่งเปลี่ยนถ่ายข้อมูลจากความจำระยะสั้นสู่ความจำระยะยาวที่บรรจุข้อมูลไว้ไม่อั้นได้
เทคนิคที่ 3 : ใช้ร่างกายช่วยจำ
น้องๆ คิดล่ะสิว่าการจำต้องใช้สมอง เราสมองไม่ดีเลยความจำสั้น ความจริงไม่ใช่แบบนั้นเสมอไปค่ะ อีกสิ่งที่ช่วยให้น้องๆ จดจำได้ดีขึ้นคือร่างกายของเรา วิธีง่ายๆ เช่น ทวนความจำด้วยการใช้มือเขียนและอ่านออกเสียงไปพร้อมๆ กัน หรือทวนความจำด้วยการฝึกทดลอง
บางวิชาที่ต้องอาศัยการฝึกปฏิบัติด้วยตัวเองบ่อยๆ เช่น คณิต-วิทย์ ค่อยๆ สอนให้เราเป็นคนเก็บรายละเอียด เข้าถึงวิธีการค้นหาคำตอบ ด้วยการทดลองทำโจทย์หลายๆ แบบ หรือวิชาอังกฤษ หากเราฝึกฟัง ฝึกพูดบ่อยๆ ก็ใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่ว โดยไม่ต้องท่องจำเป็นนกแก้วนกขุนทองเลยค่ะ
เทคนิคที่ 4 : มโนทุกวันก็จำได้เอง
มโนในที่นี้คือ "มโนภาพ" นะคะ ที่ผ่านมาถ้าน้องๆ จำสิ่งที่ครูพูดไม่ได้เลย แนะนำว่าต่อไปนี้ให้ฟังแล้วนึกภาพตามในหัวค่ะ ถ้ากลัวภาพหายไปให้ร่างคร่าวๆ ลงในสมุด แล้วค่อยกลับมาวาดให้สมบูรณ์อีกครั้ง วิธีนี้เหมาะกับวิชาที่เรามักท่องจำเนื้อหากันมาตลอด เช่น ประวัติศาสตร์ ชีววิทยา ฯลฯ ภาพจะช่วยให้เราจำข้อมูลและรายละเอียดปลีกย่อย ที่อธิบายยากๆ ได้เข้าใจมากขึ้น แถมจำนานด้วยค่ะ
เทคนิคที่ 5 : ปลุกความสนุกให้ตัวเอง
"การเรียนมันคือยาพิษอันน่าขมขื่น" หากใครมีความคิดแบบนี้ รีบสลัดมันทิ้งไปเลยนะคะ เพราะวิธีเติมอารมณ์เป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ความจำเราดีขึ้น พี่เมก้าเคยสังเกตตัวเอง เรื่องที่เราอยากรู้และสนใจ แทบไม่ต้องใช้ความจำอะไรเลยค่ะ แค่นึกถึงก็จำได้เอง (ส่วนมากจะเป็นเรื่องไร้สาระ)
พอลองนำเทคนิคนี้มาปรับใช้ พยายามบิ้วต์ตัวเองให้สนุกกับการเรียน เวลาอาจารย์มีทริกช่วยจำหรือมีเรื่องเล่าตลกๆ มาฝาก โอ้โห! มันจำได้เองโดยอัตโนมัติเลยนะคะ ถ้าทำแบบนี้ได้กับทุกวิชา คงทำให้เราเข้าใจบทเรียนโดยไม่ต้องกลัวว่าจำอะไรไม่ได้ ไม่มีความรู้อะไรอยู่ในหัวเลย T T
เทคนิคที่ 6 : เจาะคีย์เวิร์ดให้จำ
เทคนิคที่ 4 : มโนทุกวันก็จำได้เอง
มโนในที่นี้คือ "มโนภาพ" นะคะ ที่ผ่านมาถ้าน้องๆ จำสิ่งที่ครูพูดไม่ได้เลย แนะนำว่าต่อไปนี้ให้ฟังแล้วนึกภาพตามในหัวค่ะ ถ้ากลัวภาพหายไปให้ร่างคร่าวๆ ลงในสมุด แล้วค่อยกลับมาวาดให้สมบูรณ์อีกครั้ง วิธีนี้เหมาะกับวิชาที่เรามักท่องจำเนื้อหากันมาตลอด เช่น ประวัติศาสตร์ ชีววิทยา ฯลฯ ภาพจะช่วยให้เราจำข้อมูลและรายละเอียดปลีกย่อย ที่อธิบายยากๆ ได้เข้าใจมากขึ้น แถมจำนานด้วยค่ะ
เทคนิคที่ 5 : ปลุกความสนุกให้ตัวเอง
"การเรียนมันคือยาพิษอันน่าขมขื่น" หากใครมีความคิดแบบนี้ รีบสลัดมันทิ้งไปเลยนะคะ เพราะวิธีเติมอารมณ์เป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ความจำเราดีขึ้น พี่เมก้าเคยสังเกตตัวเอง เรื่องที่เราอยากรู้และสนใจ แทบไม่ต้องใช้ความจำอะไรเลยค่ะ แค่นึกถึงก็จำได้เอง (ส่วนมากจะเป็นเรื่องไร้สาระ)
พอลองนำเทคนิคนี้มาปรับใช้ พยายามบิ้วต์ตัวเองให้สนุกกับการเรียน เวลาอาจารย์มีทริกช่วยจำหรือมีเรื่องเล่าตลกๆ มาฝาก โอ้โห! มันจำได้เองโดยอัตโนมัติเลยนะคะ ถ้าทำแบบนี้ได้กับทุกวิชา คงทำให้เราเข้าใจบทเรียนโดยไม่ต้องกลัวว่าจำอะไรไม่ได้ ไม่มีความรู้อะไรอยู่ในหัวเลย T T
เทคนิคที่ 6 : เจาะคีย์เวิร์ดให้จำ
น้องๆ ลองคิดดูว่าแต่ละวิชา เนื้อหาที่เรียนมีมากมายมหาศาล ไม่แปลกหรอกค่ะที่เราจะจำเรื่องที่เรียนได้บ้างจำไม่ได้บ้าง ถ้าอย่างงั้นจะทำยังไงให้จำได้เยอะๆ? ง่ายนิดเดียวค่ะ หาจุดสำคัญของเรื่องให้เจอก่อน ที่เราเรียกว่า Main Idea พอได้มันมาแล้ว ค่อยหาข้อมูลย่อยมาโปะ วิธีนี้อาจจะเสียเวลาในช่วงแรกๆ นะคะ แต่พอจับประเด็นได้แล้ว น้องๆ จะนำข้อมูลส่วนอื่นๆ มาอธิบายเสริมได้เป็นฉากๆ เลย
เทคนิคที่ 7 : อ่านเร็วจำคล่องกว่าอ่านช้า
มีงานวิจัยออกมาว่า การอ่านหนังสือช้าๆ ค่อยๆ จำอักษรทีละตัว ทำให้ข้อมูลที่สมองรับมาฝังรากอยู่แค่ผิวเผิน แต่ถ้าเราจำเนื้อหาทั้งหมดด้วยความเร็วแบบไฮสปีด ข้อมูลที่รับมาจะเข้าไปฝังลงในส่วนที่ลึก จำได้นานกว่า ดังนั้น ลองฝึกอ่านเก็บข้อมูล โดยการกวาดสายตาเร็วๆ ดูค่ะ
เทคนิคที่ 8 : เติมอาหารสมองช่วยจำ
อาหารสมองก็คือของกินหรือเครื่องดื่มที่ช่วยเพิ่มหน่วยความจำให้สมอง บำรุงสมองให้แข็งแรง และทำให้ความจำระยะยาวของเราดีขึ้นกว่าเดิมค่ะ เท่าที่น้องๆ เคยได้ยินก็คงจะเป็นปลาที่มีโอเมก้า 3 ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ช็อกโกแลตร้อน ชาเขียวจากธรรมชาติ ฯลฯ
นี่ก็เป็น "ซูเปอร์เทคนิคเพิ่มพลังความจำ 10 เท่า" ที่พี่เมก้านำมาฝากนะคะ ฝึกใช้เป็นประจำทุกวัน เชื่อว่าสมองน้องๆ ต้องโลดแล่น อ่านอะไรก็จำได้แน่นอน!
ขอบคุณข้อมูลจาก
หนังสือ "จำเก่ง จำแม่น จำนาน" by Masahiro Kurita แปลและเรียบเรียงโดย ธนัญ พลแสน
เทคนิคที่ 7 : อ่านเร็วจำคล่องกว่าอ่านช้า
มีงานวิจัยออกมาว่า การอ่านหนังสือช้าๆ ค่อยๆ จำอักษรทีละตัว ทำให้ข้อมูลที่สมองรับมาฝังรากอยู่แค่ผิวเผิน แต่ถ้าเราจำเนื้อหาทั้งหมดด้วยความเร็วแบบไฮสปีด ข้อมูลที่รับมาจะเข้าไปฝังลงในส่วนที่ลึก จำได้นานกว่า ดังนั้น ลองฝึกอ่านเก็บข้อมูล โดยการกวาดสายตาเร็วๆ ดูค่ะ
เทคนิคที่ 8 : เติมอาหารสมองช่วยจำ
อาหารสมองก็คือของกินหรือเครื่องดื่มที่ช่วยเพิ่มหน่วยความจำให้สมอง บำรุงสมองให้แข็งแรง และทำให้ความจำระยะยาวของเราดีขึ้นกว่าเดิมค่ะ เท่าที่น้องๆ เคยได้ยินก็คงจะเป็นปลาที่มีโอเมก้า 3 ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ช็อกโกแลตร้อน ชาเขียวจากธรรมชาติ ฯลฯ
นี่ก็เป็น "ซูเปอร์เทคนิคเพิ่มพลังความจำ 10 เท่า" ที่พี่เมก้านำมาฝากนะคะ ฝึกใช้เป็นประจำทุกวัน เชื่อว่าสมองน้องๆ ต้องโลดแล่น อ่านอะไรก็จำได้แน่นอน!
ขอบคุณข้อมูลจาก
หนังสือ "จำเก่ง จำแม่น จำนาน" by Masahiro Kurita แปลและเรียบเรียงโดย ธนัญ พลแสน
1 ความคิดเห็น
ปกติเป็นคนอ่านเร็วค่ะ อ่านนิยายแค่200-300เรื่องเองงงงงงงงงงง อ่านทุกอันที่มีให้อ่าน เพื่อน-เรียนน่าเบื่อว่ะ เรา-//ตั้งใจฟังครูแล้วพยักหน้าหงึกหงักตามเป็นช่วงๆ เพื่อนทุกคนอ่านยานคางหมดเลยค่ะ 55555 ต้นแบบอาจจะมาจากการที่มีเสียงประกาศตามสายในโรงเรียนก็เป็นได้ เด็กยังอ่านยาน อันนั้นไม่แปลก เพื่อนสวด ช้าาาาา ส่วนหนู สวดจบไปนานแล้ว 555555555