เริ่มจะเป็นจริงกันแล้วหลังจากคุยกันมานาน สำหรับหลักสูตรใหม่ ที่มีแนวคิดว่า "เรียนน้อยลง เข้าใจมากขึ้น" ล่าสุดผู้ใหญ่ที่ทำการร่างหลักสูตรนี้ออกมายืนยันแล้วว่าจะสามารถนำไปใช้ในปี 2552 ที่จะถึงนี้..รายละเอียดจะเป็นอย่างไรไป อัพเดท กันเลย สพฐ. ส่งร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปรับปรุงให้ รมว.ศธ.ลงนามแล้ว เผยเด็กเรียนน้อยลง ตัดเนื้อหาซ้ำซ้อน กำหนด เวลาเรียนแต่ละช่วงชั้น ประถมไม่เกิน 1,000 ชั่วโมงต่อปี ม.ต้น ไม่เกิน 1,200 ชั่วโมงต่อปี และม.ปลายรวม 3 ปี ไม่เกิน 3,600 ชั่วโมง นำร่อง 555 แห่งในปี 2552 ก่อนทยอยใช้จริง 2555 นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผอ.สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 7 ก.ค.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เสนอร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ศึกษาธิการพิจารณาลงนามก่อนประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา
ทั้งนี้ หลักสูตรใหม่นี้มี 8 กลุ่มเหมือนเดิมแต่เด็กจะเรียนน้อยลง เพราะกำหนดเวลาเรียนแต่ละช่วงชั้นไว้ชัดเจน ระดับประถมเรียนไม่เกิน 1,000 ชั่วโมงต่อปี ระดับม.ต้น ไม่เกิน 1,200 ต่อปี และม.ปลายรวม 3 ปี ไม่เกิน 3,600 ชั่วโมง หลักสูตรเก่าไม่มีการกำหนดชัดเจน และปรับลดมาตรฐานตัวชี้วัดจาก 76 เหลือ 67 โดยตัดมาตรฐานชี้วัดที่ซ้ำซ้อนกันออกไปนอกจากนี้ ยังกำหนดชัดเจนว่า แต่ละปีต้องมีเวลาเรียนขั้นต่ำในแต่ละสาระ เช่น ป.1 เรียนภาษาไทย 200 ชั่วโมง คณิตศาสตร์ 200 ชั่วโมง วิทยาศาสตร์ 80 ชั่วโมง สังคมศึกษา 80 ชั่วโมง สุขศึกษาและพลศึกษา 80 ชั่วโมง ศิลปะ 80 ชั่วโมง การงานอาชีพและเทคโนโลยี 40 ชั่วโมง และภาษาต่างประเทศ 40 ชั่วโมง กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 120 ชั่วโมง ขณะที่หลักสูตรเดิมไม่มีการกำหนดไว้ทั้งนี้ มีการกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนโดยในระดับประถมให้เน้นสอนวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์ เพราะเป็นพื้นฐานการเรียนทุกวิชา ส่วนระดับม.ต้น เน้นภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และภาษาต่างประเทศ ระดับ ม.ปลาย จะลดวิชาการเน้นทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมากขึ้น โดยหลักสูตรใหม่จะนำร่องใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 ในระดับ ป.1-ป.6 ,ม. 1 และ ม.4 ในโรงเรียนประถม มัธยม และโรงเรียนขยายโอกาสทั่วประเทศ 555 แห่ง เมื่อถึงปีการศึกษา 2553 เริ่มใช้จริงในทุกโรงเรียน จะเริ่มใช้ทีละชั้นปีจนครบทุกระดับชั้นปีในปี 2555ดร .สมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการกพฐ. กล่าวถึงการปรับปรุงการสอบวัดประเมินผลระดับชาติ (เอ็นที) ระดับชั้นป.3 ซึ่งสพฐ.จัดสอบเองว่า นอกจากสอบภาษาไทย กับ คณิตศาสตร์แล้ว จะเพิ่มวิชาวิทยาศาสตร์ด้วย ข้อสอบจะมีข้อเขียน และเลือกตอบเพื่อวัดการอ่าน คิดวิเคราะห์ความรู้ที่แท้จริงของเด็ก ไม่ให้เด็กเดาข้อสอบได้ได้อ่านรายละเอียดของหลักสูตรใหม่กันแล้ว ไม่รู้จะถูกใจผู้เรียนอย่างชาวเด็กดีดอทคอมกันบ้างหรือเปล่าเอ่ย คิดเห็นอย่างไร ส่งเสียงความคิดเห็นกันมาได้เลยครับ |
พพี่ลาเต้ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐพ |
37 ความคิดเห็น
เรียนน้อยจิงออ
ฮือๆๆ ปีรี้จะเอนแล้วอ่า
งานเยอะโคตรๆ อิจฉารุ่นน้องว้อยยยยย
ถ้าเปลี่ยนแล้วมันดีขึ้นก็ช่างเหอะ
หึๆๆ
เอาให้ดีแล้วกัน
- -+++
อยากให้หนูทดลองรุ่นสุดท้ายมาถึงเร็วๆ
o.0
นี่ขนาดเรียนเยอะ ๆ เด็กยังแค่นี้เล้ยย
เรียนเยอะอะดีแล้วจะได้ฉลาด ๆ กันบ้าง
เรียนมันเข้าไเหอะ มีแต่ได้กับได้
แต่แบบนี้คงถูกใจเด็กไทยล่ะสิ
ชอบกันล่ะสิ...เฮ้ออ
ประเทศไทย
ผมจะจบก่อนล่ะสิ
นี่ขนาดมีการศึกษานะ ประเทศ ยังเป็นได้กันขนาดนี้
แล้วถ้าไม่มี จะเป็นยังไงคะ
เรียนๆ ไปเถอะคะ เจ้าข้าเอ๊ย!!!
ช็อกก็มหาลัยแล้วง่า TT^TT
เหอะๆ ตอนนี้เรียนมาก ยังได้เท่านี้เลยอ่ะ
เราว่านะ ปรับให้มันดีๆหน่อย
ปัจจุบัน ไม่รู้ว่าเรียนหนังสือในห้องมันได้อะไร?
ส่วนมากก็ไปเรียนพิเศษเอา เพื่อ...อะ....ไร.....?
น่าจะปรับการเรียนการสอนในห้อง ให้เนื้อหาเข้ม ครูสอนเข้าใจ มีแบบฝึกเพิ่มเติม จนไม่ต้องไปเรียนพิเศษอ่ะนะ -_-
ประเทศญี่ปุ่น ใครว่าเรียนไม่เยอะ เลิกอย่างค่ำเลยล่ะ เราว่าอาจเท่าๆไทย เผลอๆมากกว่า (แต่ส่วนมากเค้ามีกิจกรรมอ่ะนะ อยู่ชุมนุมจนดึกจนดื่น ไรงี้อ่ะ) มันเป็นที่เด็ก อ่านะ -0-
แต่นี่ขนาดเรียนเยอะยังไม่เข้าใจเลย =___=''
เรียนเยอะการบ้านมากมาย ทีนี้ประสบการรณ์ชีวิตก้อไม่ต้องเรียนรู้กันพอดี เรียนไปเยอะยะใช้ความรู้จริงๆ ก้อค่การคิด วิเคราะห์ หาเหตุผลเท่านั้นละ อย่างอื่นอ่ะก้อค่ประดับบารมีเท่านั้นเอง
เครียด
โอ้ยเรียนๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ถ้าคิดจะเปลี่ยนขอให้พัฒนาไปในทางที่ดี
เด็กไทยหัวจะฝังหนังสืออยู่แล้ว
อย่าทะนงตัวนักเลยว่าการศึกษาของไทยน่ะดีแล้ว