ฟองมัน (๏) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตาไก่" เป็นเครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมใช้ในหนังสือไทยสมัยโบราณ เมื่อขึ้นต้นบท ตอน หรือเรื่อง ทั้งคำประพันธ์ร้อยกรองและร้อยแก้ว

       การใช้ฟองมันนั้น แม้จำแนกหลายลักษณะ แต่มีลักษณะร่วมอย่างเดียวกัน คือ ใช้กำกับ เมื่อจะขึ้นเนื้อความใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องย่อหน้า หรือขึ้นบรรทัดใหม่

       อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ นิยมใช้ฟองมันเมื่อขึ้นต้นบทร้อยกรองเท่านั้น เช่น

๏ เดือนสิบเอ็ดเสร็จธุระพระวสา
รับกฐินภิญโญโมทนา
ชุลีลาลงเรือเหลืออาลัย
              จาก นิราศภูเขาทอง

       ฟองมันเป็นเครื่องหมายที่ไม่ปรากฏอยู่บนแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีด หรือคอมพิวเตอร์ การใช้เครื่องหมายฟองมัน จึงต้องกดรหัสพิเศษ (ASCII 139) โดยการกดปุ่ม Alt แช่ แล้วกดแป้นตัวเลขด้านขวามือ พิมพ์ 139 (ในโหมดพิมพ์ภาษาไทย) ก็จะได้เครื่องหมายฟองมัน (๏)

       เป็นที่น่าสังเกตว่า ในหนังสือเขมร มีเครื่องหมายแบบเดียวกับฟองมันของเรา และเรียกชื่อว่า (กกฺกุฎเนตฺร)"กอก กต ต เนต" ซึ่งแปลว่า ตาไก่ เช่นเดียวกัน

       อนึ่ง นอกจากเครื่องหมายฟองมันที่เป็นรูปวงกลมแล้ว ในสมัยโบราณยังนิยมใช้เครื่องหมาย "ฟองมันฟันหนู" นั่นคือ มีเครื่องหมาย ฟันหนู (รูปอย่างนี้ ") วางอยู่บน "ฟองมัน" ใช้กำกับเมื่อจะขึ้นต้นบท หรือตอน โดยมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น "ฟันหนูฟองมัน" หรือ "ฝนทองฟองมัน" บางแห่งใช้เครื่องหมาย วงกลมเล็ก (๐) มีฟันหนูวางอยู่ข้างบน เรียกว่า "ฟองดัน" ก็มี


:: ( S O U R C E : สารานุกรมเสรี วิกิพีเดีย )* ::

Dek-D Team ทีมคอลัมนิสต์ Dek-D

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

13 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
ข้าได้แต่หยามไม่ได้ Member 7 มี.ค. 49 11:31 น. 3
*เจ้าเครื่องหมายฟองมันเราก็ได้เรียนมาล่ะ เรื่องอิเหนาอ่ะ ของม.4 ฟองมันเต็มเลย
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
‹‰‰‹‰œš77XY 21 มี.ค. 49 22:35 น. 8
&#9786;&#9787;&#9829;&#9830;&#9827;&#9824;•&#9688;&#9675;&#9689;&#9794;&#9792;&#9834;&#9835;&#9788;&#9658;&#9668;&#8597;&#8252;&para;&sect;&#9644;&#8616;&#8593;&#8595;&#8594;&#8592;&#8735;&#8596;&#9650;&#9660; !"#$%&'()*+,-./0123456789:;< ก็ลองกดaltแช่แล้วกดเลขต่างๆกัน ก็จะได้เครื่องหมายต่างกันด้วยนะครับ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด