พูดถึงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มีอยู่ตัวนึงที่เป็นขาประจำของฤดูฝน นั่นก็คือ "กบ" อ๊บๆไงล่ะ ฮี่ฮี่...ถึงแม้ว่าพี่จะไม่ค่อยถูกชะตากับมันซักเท่าไหร่ แต่วันนี้พี่มีความรู้ดีๆเกี่ยวกับเจ้าตัวเขียวนี่มาเล่าให้ฟังจ้า

เคยสงสัยกันบ้างรึเปล่าว่า "ทำไมกบต้องมีสีเขียวด้วย?" นอกจากนี้แล้ว "ทำไมกบถึงเปลี่ยนสีได้ตามสภาพแวดล้อมที่มันอยู่?" (น้องๆ : ไม่สงสัยเลย!! ) อ่าจ้ะๆ จะสงสัยหรือไม่ก็ตาม พี่มีที่มาของปรากฎการณ์นี้มาเฉลยล่ะ : D
ที่ชั้นผิวหนังของกบนั้น จะมีเม็ดสีอยู่ 3 แบบด้วยกัน เรียกรวมๆว่า "โครมาโตโฟร์ (chromatophores)" ซึ่งทำงานร่วมกันเพื่อให้เจ้ากบออกมาเป็นสีเขียวได้ โครมาโตโฟร์แต่ละชนิดจะเรียงซ้อนกันอยู่เป็น 3 ชั้น ชั้นล่างสุดเค้าเรียกว่า "เมลาโนโฟร์ (melanophores)" ชั้นนี้จะประกอบด้วย "เมลานิน" ซึ่งก็คือเม็ดสีที่ให้สีน้ำตาลเข้มหรือดำ เมลานินนี้ยังมีอยู่ในชั้นผิวหนังของคนอีกด้วย (คุ้นๆชื่อจากโฆษณาไวท์เทนนิ่งบ้างเปล่า?)
ถัดจากชั้นเมลาโนโฟร์ขึ้นไปเค้าเรียกว่า "เออริโดโฟร์ (iridophores)" ชั้นนี้ไม่ได้ให้แสงสีอะไรออกมามากมาย แต่เมื่อแสงผ่านผิวหนังกบลงมาถึงชั้นนี้ แสงจะไปสะท้อนกับผลึก purine ซึ่งอยู่ภายในเจ้าเออริโดโฟร์อีกที ทำให้เกิดแสงสะท้อนแบบสีเงินวาว นี่แหละที่ทำให้เรามองเห็นผิวของพวกกบ รวมถึงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และปลาต่างๆมีความมันวาวไง
สำหรับกบตัวเขียวๆทั้งหลายแล้ว แสงแดดจะส่องทะลุผิวหนังของพวกมันลงไปถึงกระจกสะท้อนแสงเล็กๆในเออริโดโฟร์นี้ และแสงที่สะท้อนกลับออกไปจะเป็นสีน้ำเงิน แสงสีน้ำเงินจะเดินทางกลับไปถึงเม็ดสีที่อยู่ชั้นบนสุด ที่เรียกว่า "แซนโตโฟร์ (xanthophores)" ซึ่งเป็นเม็ดสีที่ให้สีเหลือง เพราะฉะนั้นแล้วเมื่อแสงสีน้ำเงิน (ที่สะท้อนขึ้นมาจากเออริโดโฟร์) มาวิ่งผ่านสีเหลือง (ในชั้นแซนโตโฟร์) เลยทำให้ได้สีเขียวออกมานั่นเอง ทำให้กบบางประเภทที่ไม่มีชั้นแซนโตโฟร์จึงมีผิวเป็นสีน้ำเงินวาวเฉยๆ

นอกจากนี้แล้วกบส่วนมากสามารถปรับเปลี่ยนสีผิวของมันได้เพื่อป้องกันตัวจากศัตรูต่างๆ เพราะว่าความหนาแน่นของเม็ดสีแต่ละชั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามการทำงานของฮอร์โมนในตัวกบ ทำให้กบมีสีได้ตั้งแต่สีเขียวอ่อนไปจนถึงน้ำตาลเข้มเลยทีเดียว เช่น ถ้ามีเม็ดสีชั้นบนสุดเยอะมากๆ กบก็จะออกมาเป็นสีเขียวอ่อน แต่ถ้ามีชั้นบนสุดน้อยๆเลย กบก็จะออกมาเป็นสีน้ำเงิน หรือถ้ามีทั้งชั้นบนและชั้นกลางน้อย กบก็จะออกมาเป็นสีน้ำตาลไงจ๊ะ
ด้วยความสามารถแบบนี้นี่เองทำให้กบสามารถซ่อนตัวได้ตั้งแต่บนใบไม้สีเขียวๆไปจนถึงในโคลนตมสีน้ำตาลเข้มเลยทีเดียว ....ว้าว!! น่าทึ่งมั้ยล่ะ ^ ^
ขอขอบคุณความรู้ดีๆแบบนี้จาก www.livescience.com ค่ะ
14 ความคิดเห็น
เพิ่งรู้นะเนี่ยว่ามันเปลี่ยนสีได้ด้วย แล้วมันคล้ายๆคางคกป่ะ จำได้เคยเดิน ไปเท้าเนี่ยบนเนื้อคางคก รีบหนีเลย มันก้อตกใจเราด้วยเหมือนกัน
อิอิ ........!!!!! กบ อ้บๆๆๆ น่าสนใจจัง อย่าลืมมาดูของหนูบ้างนะ ของหนูขำก่าอีก มั้ง ถ้าไม่ขำให้จ๊บ 1 ที อิอิ
เหอๆ แจ่มจริงๆ
เปนความรู้ใหม่ครับ
แต่รู้ไว้ก็ดี อิอิ อยากเป็นสั ตวแพทย์
เกลียดกบ...- -*
ความรู้ใหม่เลยนะเนี้ย
ความรู้ใหม่เลยนะเนี้ย