ความรักคืออะไร? นี่คือคำถามที่นักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ค้นคว้าหาความหมายกันมานานแสนนาน นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน Robert Sternberg ก็คิดค้น Triangular theory of love ทฤษฎีสามเหลี่ยมแห่งความรักขึ้นมา โดยความรักจะประกอบไปด้วย ความสนิทสนม ความหลงใหล และความผูกพัน หลังจากนั้นก็นำไปสู่ความรัก 7 รูปแบบ
1. หลงใหล (Infatuation)
ความหลงใหลจะเกิดจากคนที่แทบจะไม่รู้จักกัน แต่รู้สึกถึงแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน อยากจะอยู่ใกล้ชิดกันถึงแม้จะยังไม่รู้จักกันดีมากก็ตาม ซึ่งความหลงใหลนี้สามารถพัฒนาไปสู่ความรักที่ลึกซึ้งมากขึ้นได้แต่ก็ไม่ใช่เสมอไป และหลายๆ คู่รักก็ไม่เคยรู้สึกแบบนี้ แต่ไม่ใช่เรื่องแปลกนะ
2. ชอบ (Liking)
ความสัมพันธ์แบบนี้มักเกิดจากการเป็นตัวของเอง คนที่ชอบกัน มักมีความชอบเหมือนๆ หัน มีความสนใจเหมือนๆ กัน มีมุมมอง และความเข้าใจที่ตรงกัน จนทำให้เกิดความใกล้ชิด ส่วนใหญ่ความรักรูปแบบนี้จะนำพาไปสู่มิตรภาพที่ดี มากกว่าความรักแบบคู่รัก
3. รักที่ว่างเปล่า (Empty love)
หลายคู่ที่พบเจอกับความรักแบบนี้ คือการมีพันธะผูกพัน แต่ไม่มีความใกล้ชิด ความหลงใหล ซึ่งความสัมพันธ์นี้มักจะเกิดขึ้นรักจากมีความรักที่ยิ่งใหญ่และรุนแรง ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ รักมากกก จนตกลงปลงใจเป็นแฟน หรือถึงขั้นแต่งงาน แต่หลังจากนั้นก็ความรัก ความใกล้ชิด และความหลงใหลลดลงจนว่างเปล่า เหมือนพ่อแม่ ปู่ย่า ตายายที่แต่งงานกันมานาน นานซะจนไม่มีความหลงใหลใคร่รัก แต่ก็อยู่ด้วยกันได้อย่างดี แต่ไม่ต้องตกใจไปนะ เพราะความว่างเปล่าที่เกิดขึ้นก็สามารถเติมความหลงใหลลงไปให้เต็มเหมือนเดิมได้
4. รักหัวปักหัวปำ (Fatuous Love)
ความรักประเภทนี้เป็นการรวมความหลงใหลและตกลงปลงใจ ผูกพันธสัญญา ซึ่งเกิดขึ้นได้กับความรักหลายๆ คู่ คือเจอกัน หลงใหลซึ่งกันและกัน และผูกมัดกันอย่างรวดเร็ว อาจนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งมากกว่านั้น จนถึงขั้นแต่งงาน แต่สิ่งที่ขาดไปคือความใกล้ชิดอย่างแท้จริง แต่นักจิตวิทยาก็บอกว่าคู่รักแบบนี้ก็มีแนวโน้มจะรักกันได้นานและมีความสุขกับความสัมพันธ์แบบนี้ด้วยนะ
5. รักโรแมนติก (Romantic love)
รักโรแมนติกคือรักที่รวมความหลงใหลและความใกล้ชิดเข้าด้วยกัน คือดึงดูดกัน อยู่เคียงข้างกันแล้วสบายใจ แฮปปี้ แต่ก็ยังไม่พร้อมถึงขั้นผูกมัด ให้คำมั่นสัญญา ว่าจะแต่งงานหรือใช้ชีวิตคู่ร่วมกันอย่างจริงจัง
ความรักประเภทนี้รวมถึงความหลงใหลและความใกล้ชิด ผู้คนในคู่รักเหล่านี้ดึงดูดกันและกันและรู้สึกสบายใจที่จะอยู่เคียงข้างกัน แต่พวกเขายังไม่พร้อมที่จะให้คำมั่นสัญญาอย่างจริงจัง ความสัมพันธ์ประเภทนี้มักจะไม่ถึงระดับของการอยู่ร่วมกันหรือการแต่งงาน
6. รักแบบมิตรคู่ใจ (Companionate Love)
เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ใจ เป็นความรักที่ลึกซึ้งกว่าการเป็นเพื่อนธรรมดาๆ แข็งแกร่งกว่ามิตรภาพทั่วไป แต่มีการผูกมัดและใกล้ชิด ผูกพันกันแบบคู่รักอย่างแท้จริง แต่สิ่งที่ไม่มีคือความหลงใหล ง่ายๆ ก็คือรูปแบบนี้เป็นความรักของคู่รักที่คบกันมานานๆ นานจนผูกพันกันเหมือนเพื่อน ถึงจะไม่หลงใหล ไร้แพสชั่น แต่ยังมีความปรารถนาดีให้กันเสมอ
7. รักที่สมบูรณ์ (Consummate love)
ความรักหลายๆ รูปแบบที่ผ่านมา หลักๆ จะมี 2 องค์ประกอบ แต่กับรักที่สมบูรณ์จะต้องมี 3 องค์ประกอบด้วยกัน ความสนิทสนม + ความหลงใหล + ความผูกพัน ทั้ง 3 สิ่งนี้อาจจะมีส่วนไหนเยอะหรือน้อยกว่าก็ได้ คือรู้จักกันดี เข้าใจกัน ยังอยากอยู่ใกล้ชิด หลงใหลกัน และผูกพันกันมากๆ ดูเหมือนจะเกิดขึ้นยากนะ แต่มันมีอยู่จริง และถ้าใครเจอความรักแบบนี้ก็มีแนวโน้มจะมีชีวิตรักที่ยืนยาวและมีความสุข
ใครที่รู้สึกว่าไม่เคยเจอความรักแบบไหนเลย ก็อย่าเพิ่งเศร้าใจไป ถึงจะไม่ใช่ความรักแบบคู่รัก ก็สามารถเป็น รักพ่อแม่ รักเพื่อน รักครอบครัวก็ได้ แต่ยังไงก็ขอให้ชาว Dek-D ได้เจอความรักในรูปแบบที่ทำให้มีความสุขนะคะ
ข้อมูลจากhttps://brightside.me/inspiration-relationships/psychologists-defined-7-types-of-love-and-only-few-people-experience-the-last-one-603360/http://www.robertjsternberg.com/love/
1 ความคิดเห็น