ไหน...มีน้องม.ปลายคนไหนที่ยังไม่รู้ตัวเองว่าชอบอะไร อยากเรียนต่ออะไร อยากทำอาชีพอะไรในอนาคตบ้าง ยอมรับมาซะดีๆ ยกมือ!
ไม่เป็นไรครับ ไม่ต้องอายที่จะยอมรับความจริงข้อนี้ พี่แทรกเตอร์ก็เคยเป็นมาก่อนครับ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ตอนขึ้นม. 6
"พี่! ผมม.6 แล้วก็ยังไม่รู้เลยครับ"
อาจจะมีน้องบางคนอยากแข่งทำลายสถิติการรู้ตัวช้ากับพี่ใช่มั้ยครับ 555 พี่ว่ามีแหละ แต่วันนี้เราจะมาสำรวจตัวเองพร้อมเรียนรู้กระบวนท่าสำคัญในการค้นหาตัวตน รู้เส้นทางที่ใช่ การเรียนที่ชอบ รับรองว่าต่อให้น้องอยู่ ม.6 แล้วก็ยังไม่สายที่จะรู้ตัวเองและเตรียมตัวซะตั้งแต่เดี๋ยวนี้
ว่าแล้วก็ไปดูกันทีละกระบวนท่าเลยครับ
ไม่เป็นไรครับ ไม่ต้องอายที่จะยอมรับความจริงข้อนี้ พี่แทรกเตอร์ก็เคยเป็นมาก่อนครับ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ตอนขึ้นม. 6
"พี่! ผมม.6 แล้วก็ยังไม่รู้เลยครับ"
อาจจะมีน้องบางคนอยากแข่งทำลายสถิติการรู้ตัวช้ากับพี่ใช่มั้ยครับ 555 พี่ว่ามีแหละ แต่วันนี้เราจะมาสำรวจตัวเองพร้อมเรียนรู้กระบวนท่าสำคัญในการค้นหาตัวตน รู้เส้นทางที่ใช่ การเรียนที่ชอบ รับรองว่าต่อให้น้องอยู่ ม.6 แล้วก็ยังไม่สายที่จะรู้ตัวเองและเตรียมตัวซะตั้งแต่เดี๋ยวนี้
ว่าแล้วก็ไปดูกันทีละกระบวนท่าเลยครับ
1) ฝ่ามือลิขิตชีวิต
น้องๆ ลองก้มมองฝ่ามือทั้งสองข้างดูสิครับ ลายมือที่ลากผ่านตัดกันไปมานั้น...
ไม่ได้บอกอะไรหรอกครับ!
แต่พี่จะให้น้องลองนึกดูดีๆ ครับว่าสองมือนี้เคยทำอะไรมาบ้างที่เรามีความสุข เพลิดเพลินไปกับสิ่งที่ทำได้ทั้งวัน อยู่กับมันได้แบบลืมเวลา ลืมกินก็ไม่หิว ลืมนอนก็ไม่ง่วง...
"เล่นเกมไงพี่"
เอ่อ...เอาอันนั้นเก็บไว้ก่อน ลองนึกถึงอย่างอื่นสิครับ อย่างอื่นที่เราทำแล้วไม่เบื่อเหมือนการบ้าน ทำแล้วไม่ง่วงเหมือนอ่านหนังสือเรียน (เว้นซะแต่ว่าน้องจะชอบเล่นเกมแล้วอยากกลายมาเป็นนักพัฒนาเกมที่ยิ่งใหญ่ ก็ถือว่าเป็นคำตอบที่ดีด้วย)
"ชอบเขียนนิยายลง Dek-D"
"ชอบวาดภาพ ถ่ายภาพ"
"ชอบลุยทำโจทย์ฟิสิกส์ย้อนหลังเป็นสิบปีอย่างเมามัน"
"ชอบทำสรุปวิชาเรียน ชอบติวเพื่อน ติวรุ่นน้อง"
นั่นไงมันเริ่มสะท้อนออกมาแล้วใช่มั้ย พี่เชื่อว่ายังมีคำตอบอีกมากมายที่แตกต่างกันจากน้องๆ แต่ละคน จดจำคำตอบที่ผุดขึ้นมานี้ไว้ให้ดีครับ บางคนอาจมีหลายคำตอบแต่พี่ขอให้โฟกัสที่คำตอบแรก หรือคำตอบที่เราพูดออกมาได้อย่างมั่นใจที่สุด ภูมิใจที่สุดที่ได้ทำสิ่งนั้น
น้องๆ ลองก้มมองฝ่ามือทั้งสองข้างดูสิครับ ลายมือที่ลากผ่านตัดกันไปมานั้น...
ไม่ได้บอกอะไรหรอกครับ!
แต่พี่จะให้น้องลองนึกดูดีๆ ครับว่าสองมือนี้เคยทำอะไรมาบ้างที่เรามีความสุข เพลิดเพลินไปกับสิ่งที่ทำได้ทั้งวัน อยู่กับมันได้แบบลืมเวลา ลืมกินก็ไม่หิว ลืมนอนก็ไม่ง่วง...
"เล่นเกมไงพี่"
เอ่อ...เอาอันนั้นเก็บไว้ก่อน ลองนึกถึงอย่างอื่นสิครับ อย่างอื่นที่เราทำแล้วไม่เบื่อเหมือนการบ้าน ทำแล้วไม่ง่วงเหมือนอ่านหนังสือเรียน (เว้นซะแต่ว่าน้องจะชอบเล่นเกมแล้วอยากกลายมาเป็นนักพัฒนาเกมที่ยิ่งใหญ่ ก็ถือว่าเป็นคำตอบที่ดีด้วย)
"ชอบเขียนนิยายลง Dek-D"
"ชอบวาดภาพ ถ่ายภาพ"
"ชอบลุยทำโจทย์ฟิสิกส์ย้อนหลังเป็นสิบปีอย่างเมามัน"
"ชอบทำสรุปวิชาเรียน ชอบติวเพื่อน ติวรุ่นน้อง"
นั่นไงมันเริ่มสะท้อนออกมาแล้วใช่มั้ย พี่เชื่อว่ายังมีคำตอบอีกมากมายที่แตกต่างกันจากน้องๆ แต่ละคน จดจำคำตอบที่ผุดขึ้นมานี้ไว้ให้ดีครับ บางคนอาจมีหลายคำตอบแต่พี่ขอให้โฟกัสที่คำตอบแรก หรือคำตอบที่เราพูดออกมาได้อย่างมั่นใจที่สุด ภูมิใจที่สุดที่ได้ทำสิ่งนั้น
2) ดัชนีพลิกพสุธา
ด้วยนิ้วมือทั้งสิบของเรานี่แหละครับที่ทรงพลังพอจะพลิกพสุธาได้
พี่ไม่ได้หมายถึงไปฝึกวิทยายุทธ์ยกแผ่นดินอะไรนะครับ แต่หมายถึงพลิกพสุธาค้นหาข้อมูลต่างหาก
ใช่แล้วครับ! ค้นหาข้อมูล
จำคำตอบที่จากข้อที่แล้วได้มั้ยครับ เมื่อเรารู้แล้วก็ลองค้นหาจากสิ่งนั้นเลยครับ ว่าถ้าชอบสิ่งนั้นจะเหมาะกับการเรียนคณะหรือสาขาอะไร และอาจต่อเนื่องไปถึงอาชีพที่ทำโดยใช้ทักษะในสิ่งที่เราชอบทำหรือมีความสามารถอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น บางคนที่ชอบติวชอบสอน พอไปลองค้นข้อมูลก็อาจจะเจอคำแนะนำจากกระทู้ที่เคยมีคนตั้งถามไว้แล้ว หรือบอร์ดแนะแนวทางการศึกษาที่จะบอกว่าเราเหมาะกับการเป็นครูหรือติวเตอร์ ทีนี้ก็ต้องลองถามใจตัวเองแล้วแหละว่าอยากสอนตามหลักสูตร สอนในโรงเรียน นั่งตรวจการบ้านเด็กหรือเปล่า ถ้าในใจลึกๆ ส่งเสียงมาว่า "นั่นแหละใช่เลย" ก็เป็นไปได้ว่าเราอยากเป็นครูจริงๆ ก็เหมาะที่จะเรียนต่อทางสายครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ หรือบางคณะบางสาขาที่มีแขนงสำหรับการสอนวิชานั้นๆ
แต่ถ้าตอบตัวเองว่าไม่ได้เป็นแบบนั้น ไม่ได้อยากสอนแบบครูในโรงเรียน ไม่อยากมานั่งเขียนแผนการสอน ไม่อยากตรวจการบ้านนักเรียนทุกอาทิตย์ หรือไม่อยากเป็นข้าราชการก็อาจจะเหมาะกับติวเตอร์เปิดศูนย์กวดวิชาอะไรทำนองนี้ ทีนี้หากเป็นอย่างหลังก็ต้องดูต่ออีกทีว่าเราชอบหรืออยากสอนวิชาอะไรเป็นพิเศษ เวลาติวเพื่อนเรามักติววิชาอะไร ก็เน้นเรียนไปในสาขาที่ได้เรียนรู้สิ่งนั้นโดยเฉพาะ เช่น ชอบสอนฟิสิกส์ก็เรียนต่อวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ หรืออีกทางเลือกคือเรียนวิศวะ เราก็จะมีความรู้ด้านฟิสิกส์มากขึ้น กว้างและลึกพอ พร้อมที่จะมาเป็นติวเตอร์สอนฟิสิกส์ได้อย่างเต็มตัว
แต่ทีนี้หากน้องค้นหาข้อมูลมาแล้วก็ยังรู้สึกว่าไม่ใช่ หรือไม่แน่ใจว่าเราจะเหมาะกับการเรียนหรือการทำอาชีพแบบนั้นจริงๆ หรือไม่ ก็ใช้สิบนิ้วของเรานี่แหละประนมขึ้น...
"สวัสดีครับคุณครูแนะแนว คุณครูครับ ผมมีเรื่องจะปรึกษาคุณครูครับ"
แล้วก็เล่าให้ท่านฟัง คุณครูแนะแนวก็จะชวนเราคุยต่อเรื่อยๆ เพื่อประเมินความสนใจของเราหรือหาแบบทดสอบความสนใจ/อาชีพในอนาคตให้เราลองทำแล้วประเมินผลดู คุณครูก็มักจะมีแบบทดสอบพวกนี้เก็บไว้เป็นกุรุสอยู่แล้วแหละ แต่นักเรียนไม่ค่อยไปขอมาลองทำดูเท่านั้นเอง
ด้วยนิ้วมือทั้งสิบของเรานี่แหละครับที่ทรงพลังพอจะพลิกพสุธาได้
พี่ไม่ได้หมายถึงไปฝึกวิทยายุทธ์ยกแผ่นดินอะไรนะครับ แต่หมายถึงพลิกพสุธาค้นหาข้อมูลต่างหาก
ใช่แล้วครับ! ค้นหาข้อมูล
จำคำตอบที่จากข้อที่แล้วได้มั้ยครับ เมื่อเรารู้แล้วก็ลองค้นหาจากสิ่งนั้นเลยครับ ว่าถ้าชอบสิ่งนั้นจะเหมาะกับการเรียนคณะหรือสาขาอะไร และอาจต่อเนื่องไปถึงอาชีพที่ทำโดยใช้ทักษะในสิ่งที่เราชอบทำหรือมีความสามารถอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น บางคนที่ชอบติวชอบสอน พอไปลองค้นข้อมูลก็อาจจะเจอคำแนะนำจากกระทู้ที่เคยมีคนตั้งถามไว้แล้ว หรือบอร์ดแนะแนวทางการศึกษาที่จะบอกว่าเราเหมาะกับการเป็นครูหรือติวเตอร์ ทีนี้ก็ต้องลองถามใจตัวเองแล้วแหละว่าอยากสอนตามหลักสูตร สอนในโรงเรียน นั่งตรวจการบ้านเด็กหรือเปล่า ถ้าในใจลึกๆ ส่งเสียงมาว่า "นั่นแหละใช่เลย" ก็เป็นไปได้ว่าเราอยากเป็นครูจริงๆ ก็เหมาะที่จะเรียนต่อทางสายครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ หรือบางคณะบางสาขาที่มีแขนงสำหรับการสอนวิชานั้นๆ
แต่ถ้าตอบตัวเองว่าไม่ได้เป็นแบบนั้น ไม่ได้อยากสอนแบบครูในโรงเรียน ไม่อยากมานั่งเขียนแผนการสอน ไม่อยากตรวจการบ้านนักเรียนทุกอาทิตย์ หรือไม่อยากเป็นข้าราชการก็อาจจะเหมาะกับติวเตอร์เปิดศูนย์กวดวิชาอะไรทำนองนี้ ทีนี้หากเป็นอย่างหลังก็ต้องดูต่ออีกทีว่าเราชอบหรืออยากสอนวิชาอะไรเป็นพิเศษ เวลาติวเพื่อนเรามักติววิชาอะไร ก็เน้นเรียนไปในสาขาที่ได้เรียนรู้สิ่งนั้นโดยเฉพาะ เช่น ชอบสอนฟิสิกส์ก็เรียนต่อวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ หรืออีกทางเลือกคือเรียนวิศวะ เราก็จะมีความรู้ด้านฟิสิกส์มากขึ้น กว้างและลึกพอ พร้อมที่จะมาเป็นติวเตอร์สอนฟิสิกส์ได้อย่างเต็มตัว
แต่ทีนี้หากน้องค้นหาข้อมูลมาแล้วก็ยังรู้สึกว่าไม่ใช่ หรือไม่แน่ใจว่าเราจะเหมาะกับการเรียนหรือการทำอาชีพแบบนั้นจริงๆ หรือไม่ ก็ใช้สิบนิ้วของเรานี่แหละประนมขึ้น...
"สวัสดีครับคุณครูแนะแนว คุณครูครับ ผมมีเรื่องจะปรึกษาคุณครูครับ"
แล้วก็เล่าให้ท่านฟัง คุณครูแนะแนวก็จะชวนเราคุยต่อเรื่อยๆ เพื่อประเมินความสนใจของเราหรือหาแบบทดสอบความสนใจ/อาชีพในอนาคตให้เราลองทำแล้วประเมินผลดู คุณครูก็มักจะมีแบบทดสอบพวกนี้เก็บไว้เป็นกุรุสอยู่แล้วแหละ แต่นักเรียนไม่ค่อยไปขอมาลองทำดูเท่านั้นเอง
3) ก้าวขาเข้าโอเพ่นเฮ้าส์
หลังจากเราได้ค้นข้อมูลหรือฟังคำแนะนำจากครูแนะแนวมาแล้วว่าเรา "น่าจะ" เหมาะกับคณะไหน เราก็ลองค้นหาหลักสูตรคณะนั้นๆ มานั่งอ่านดูครับว่าแต่ละวิชาที่เขาสอนเรารู้สึกว่าเราอยากเรียนบ้างมั้ย ถ้าดูแล้วรู้สึกว่า…
"นี่แหละที่อยากรู้"
"นี่แหละที่อยากเรียน"
ก็บอกตัวเองได้เลยว่ามาถูกทางแล้ว ที่เหลือก็แค่ทำตัวเองให้เข้าไปตรงนั้นให้ได้
แต่ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจจริงๆ รู้จริงอย่างที่สำนวนที่ว่า "สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น" หรือคนที่ยังลังเลในหลักสูตรนั้น หลายวิชายังไม่แน่ใจว่าจะอยากเรียนจริงๆ มั้ย หรือไม่ค่อยสนใจเท่าไร ก็ลองไปดูงานโอเพ่นเฮ้าส์ของคณะนั้นก่อน
ซึ่งในงานโอเพ่นเฮ้าส์มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจตรงที่เขาจะมีโชว์ผลงานนักศึกษาหรือการจำลองบรรยากาศการเรียน เช่น ของวิศวะก็จะมีโชว์ผลงานประดิษฐ์นวัตกรรมเท่ๆ การสร้างสรรค์อุปกรณ์ล้ำๆ มาให้ดู หรือคณะแพทย์สถาบันต่างๆ ก็มักจะมีการโชว์พวกอวัยวะดอง ตัวอย่างชิ้นเนื้อมะเร็ง เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าเวลาเรียนจริงจะต้องเจอกับอะไรบ้าง รวมถึงบางทีก็มีการนำร่างอาจารย์ใหญ่ออกมาสาธิตการศึกษาด้วยนะ จะได้รู้ไปเลยว่าคนอยากเป็นหมอจะใจถึงกล้ายืนอยู่ต่อหน้าร่างอาจารย์ใหญ่มั้ย ด้วยการไปดูงานโอเพ่นเฮ้าส์เหล่านี้แหละที่ทำให้เราได้สัมผัสความเป็นคณะนั้นๆ และการเรียนคณะนั้นๆ ได้มากที่สุด พอช่วยให้ตัดสินใจได้มากขึ้น ว่าเราอยากเป็นแบบนั้น อยากมีผลงานอย่างนั้น อยากได้เข้าไปเรียนแบบนั้น และอยากทำงานอยากทำอาชีพแบบนั้นจริงๆ มั้ย
หลังจากเราได้ค้นข้อมูลหรือฟังคำแนะนำจากครูแนะแนวมาแล้วว่าเรา "น่าจะ" เหมาะกับคณะไหน เราก็ลองค้นหาหลักสูตรคณะนั้นๆ มานั่งอ่านดูครับว่าแต่ละวิชาที่เขาสอนเรารู้สึกว่าเราอยากเรียนบ้างมั้ย ถ้าดูแล้วรู้สึกว่า…
"นี่แหละที่อยากรู้"
"นี่แหละที่อยากเรียน"
ก็บอกตัวเองได้เลยว่ามาถูกทางแล้ว ที่เหลือก็แค่ทำตัวเองให้เข้าไปตรงนั้นให้ได้
แต่ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจจริงๆ รู้จริงอย่างที่สำนวนที่ว่า "สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น" หรือคนที่ยังลังเลในหลักสูตรนั้น หลายวิชายังไม่แน่ใจว่าจะอยากเรียนจริงๆ มั้ย หรือไม่ค่อยสนใจเท่าไร ก็ลองไปดูงานโอเพ่นเฮ้าส์ของคณะนั้นก่อน
ซึ่งในงานโอเพ่นเฮ้าส์มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจตรงที่เขาจะมีโชว์ผลงานนักศึกษาหรือการจำลองบรรยากาศการเรียน เช่น ของวิศวะก็จะมีโชว์ผลงานประดิษฐ์นวัตกรรมเท่ๆ การสร้างสรรค์อุปกรณ์ล้ำๆ มาให้ดู หรือคณะแพทย์สถาบันต่างๆ ก็มักจะมีการโชว์พวกอวัยวะดอง ตัวอย่างชิ้นเนื้อมะเร็ง เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าเวลาเรียนจริงจะต้องเจอกับอะไรบ้าง รวมถึงบางทีก็มีการนำร่างอาจารย์ใหญ่ออกมาสาธิตการศึกษาด้วยนะ จะได้รู้ไปเลยว่าคนอยากเป็นหมอจะใจถึงกล้ายืนอยู่ต่อหน้าร่างอาจารย์ใหญ่มั้ย ด้วยการไปดูงานโอเพ่นเฮ้าส์เหล่านี้แหละที่ทำให้เราได้สัมผัสความเป็นคณะนั้นๆ และการเรียนคณะนั้นๆ ได้มากที่สุด พอช่วยให้ตัดสินใจได้มากขึ้น ว่าเราอยากเป็นแบบนั้น อยากมีผลงานอย่างนั้น อยากได้เข้าไปเรียนแบบนั้น และอยากทำงานอยากทำอาชีพแบบนั้นจริงๆ มั้ย
4) วาจาปรึกษารุ่นพี่
นอกเหนือจากข้อมูลที่ได้มาจากการค้นหา ปรึกษาคุณครูแนะแนว และการไปสัมผัสด้วยตัวเองในงานโอเพ่นเฮ้าส์แล้ว จะดีมากยิ่งขึ้นหากเราได้มีโอกาสพูดคุยกับรุ่นพี่ที่เรียนทางด้านนั้นๆ หรือคณะ/สาขานั้นๆ ในงานโอแพ่นเฮ้าส์เป็นเพียงบางฉากจากการเรียน แค่รุ่นพี่ที่เรียนอยู่ตรงนั้นแล้วจะเป็นคนที่มาเล่าชีวิตจริงฉบับไม่อิงนิยายโลกสวยให้เราฟังได้ทั้งหมด ซึ่งการถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนจากพวกเขาจะช่วยให้เราเห็นภาพการเรียนในด้านนั้นมากขึ้นยิ่งกว่าหลักสูตรที่เราได้อ่านมา ทั้งในด้านวิชาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เราจะได้ฟังแง่มุมที่สดใสรวมถึงอุปสรรคหรือความยากลำบากในการเรียนด้วย และตรงนี้เองที่ย้ำความมั่นใจของเราอีกครั้งว่าพร้อมที่จะอยู่กับคณะหรือสาขานั้นไปตลอดระยะเวลา 4 ปี 5 ปี หรือ 6 ปี ของการเรียนมั้ย
ซึ่งรุ่นพี่ที่น้องจะพูดคุยด้วยนี้พี่เชื่อว่าหาไม่ยากหรอกครับ บางทีก็มีรุ่นพี่ศิษย์เก่าโรงเรียนเดียวกับน้องที่เรียนมหา'ลัยแล้วในคณะที่น้องอยากรู้ อาจจะเป็นคนรู้จักที่เรียนจบออกมาและได้ประกอบอาชีพแล้ว หรือเป็นรุ่นพี่ที่น้องได้รู้จักจากการไปค่ายหรือในงานโอเพ่นเฮ้าส์นั่นแหละ หาโอกาสถามคนที่มีประสบการณ์จริงแล้วให้ได้ครับ
นอกเหนือจากข้อมูลที่ได้มาจากการค้นหา ปรึกษาคุณครูแนะแนว และการไปสัมผัสด้วยตัวเองในงานโอเพ่นเฮ้าส์แล้ว จะดีมากยิ่งขึ้นหากเราได้มีโอกาสพูดคุยกับรุ่นพี่ที่เรียนทางด้านนั้นๆ หรือคณะ/สาขานั้นๆ ในงานโอแพ่นเฮ้าส์เป็นเพียงบางฉากจากการเรียน แค่รุ่นพี่ที่เรียนอยู่ตรงนั้นแล้วจะเป็นคนที่มาเล่าชีวิตจริงฉบับไม่อิงนิยายโลกสวยให้เราฟังได้ทั้งหมด ซึ่งการถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนจากพวกเขาจะช่วยให้เราเห็นภาพการเรียนในด้านนั้นมากขึ้นยิ่งกว่าหลักสูตรที่เราได้อ่านมา ทั้งในด้านวิชาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เราจะได้ฟังแง่มุมที่สดใสรวมถึงอุปสรรคหรือความยากลำบากในการเรียนด้วย และตรงนี้เองที่ย้ำความมั่นใจของเราอีกครั้งว่าพร้อมที่จะอยู่กับคณะหรือสาขานั้นไปตลอดระยะเวลา 4 ปี 5 ปี หรือ 6 ปี ของการเรียนมั้ย
ซึ่งรุ่นพี่ที่น้องจะพูดคุยด้วยนี้พี่เชื่อว่าหาไม่ยากหรอกครับ บางทีก็มีรุ่นพี่ศิษย์เก่าโรงเรียนเดียวกับน้องที่เรียนมหา'ลัยแล้วในคณะที่น้องอยากรู้ อาจจะเป็นคนรู้จักที่เรียนจบออกมาและได้ประกอบอาชีพแล้ว หรือเป็นรุ่นพี่ที่น้องได้รู้จักจากการไปค่ายหรือในงานโอเพ่นเฮ้าส์นั่นแหละ หาโอกาสถามคนที่มีประสบการณ์จริงแล้วให้ได้ครับ
ด้วย 4 กระบวนท่านี้พี่เชื่อว่าน้องๆ จะมองเห็นตัวเองและเส้นทางของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น รวมถึงเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่มากพอ และมั่นใจได้ว่าเราพร้อมจะเดินไปบนเส้นทางนั้นจริงๆ
หากน้องๆ ยังลังเลหรือไม่แน่ใจว่าจะใช่สิ่งที่อยากเรียน อยากทำเป็นอาชีพจริงๆ มั้ย ให้ลองตั้งต้นตั้งแต่กระบวนท่าแรกใหม่ จัดลำดับตัวเลือกที่ปรากฏในความคิด ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรานึกถึงเป็นอันดับแรกๆ แล้วใช้กระบวนท่าที่เหลือตามลำดับ ซึ่งนอกเหนือจากการคิดถึงการเรียนต่อแล้วยังต้องคิดถึงว่าหากสิ่งที่เราชอบทำหรือมีความถนัดอยู่นี้ต้องทำเป็นอาชีพ อยู่กับมันจันทร์-ศุกร์ เช้าถึงเย็น หรือบางอย่างต้องอยู่กับมันทุกวัน และอาจทั้งวันทั้งคืนด้วย เราพร้อมมั้ยที่จะให้มันเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิตในอนาคต
สุดท้ายนี้พี่ก็หวังว่าวิธีการที่นำมาฝากข้างบนจะช่วยให้น้องๆ ค้นหาตัวเองได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น และทำตามเส้นทางของตัวเองได้อย่างที่ตั้งใจ วันนี้สวัสดีครับ
สุดท้ายนี้พี่ก็หวังว่าวิธีการที่นำมาฝากข้างบนจะช่วยให้น้องๆ ค้นหาตัวเองได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น และทำตามเส้นทางของตัวเองได้อย่างที่ตั้งใจ วันนี้สวัสดีครับ
2 ความคิดเห็น
หืมมมมมมมม~
จะพยามหาให้เจอก่อนจบให้ได้