จุดเปลี่ยนครั้งนึงในชีวิตของเด็กวัยเรียน คงเป็นการเปลี่ยนแปลงจากการเป็นเด็ก ”นักเรียน” เข้าสู่การเป็น “นิสิตนักศึกษา” ที่น้องๆ หลายคนกังวลกันไปต่างๆ นานา จากคำที่พูดต่อๆ กันมาว่า ชีวิตในมหาวิทยาลัยจะมีอะไรหลายๆ อย่าง หรือเกือบทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ต่างกับตอนที่เรียนอยู่ในโรงเรียน
ความกังวลเหล่านั้น เกิดจากที่น้องๆ ต้องเจอทั้งสังคมใหม่ เพื่อนใหม่ อาจารย์ใหม่ และการใช้ชีวิตแบบใหม่ เลยทำให้สงสัยว่า สิ่งต่างๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงไปจะเป็นอย่างไร และต้องเตรียมตัวรับมืออะไรกันบ้าง วันนี้พี่แนนนี่เลยจะมาไขข้อสงสัยให้น้องๆ กันค่ะ
เรื่องหลักๆ ที่น้องๆ จะต้องปรับตัวกัน จะแบ่งออกเป็น 3 เรื่อง ได้แก่ การเรียนการสอบ การใช้ชีวิตประจำวัน และเพื่อน ค่ะ
การเรียนการสอบ
จัดตารางเรียนเอง
มหาวิทยาลัยจะไม่ออกตารางสอนให้น้องเหมือนที่โรงเรียน น้องๆ จะต้องวางแผนและลงทะเบียนเรียนในวิชา วัน และเวลาที่น้องเลือกเอง (อยากให้น้องๆ เลือกวิชาที่สนใจและคาดว่าจะเป็นประโยชน์กับตัวเองในอนาคต อย่าไปเรียนตามเพื่อนเลย)
ซึ่งบางมหาวิทยาลัยอาจจะกำหนดวิชาที่ต้องเรียนไว้ให้ หรือบางหลักสูตร บางมหาวิทยาลัยอาจจะเปิดวิชาเดียวกัน แต่หลายวัน หลายเวลา และมีอาจารย์ผู้สอนหลายคน หรือบางหลักสูตร บางมหาวิทยาลัยอาจจะกำหนดวิชาที่ต้องเรียนแตกต่างกัน อาจจะมีกำหนดให้เรียนวิชานี้ เมื่ออยู่ชั้นปีนี้ หรือผ่านอีกวิชาก่อน หรือบางหลักสูตร บางมหาวิทยาลัยอาจจะเปิดในจำนวนที่จำกัด เป็นต้น จากนั้นก็บังคับตัวเองให้เข้าเรียนตามตารางที่วางไว้ค่ะ
ซึ่งบางมหาวิทยาลัยอาจจะกำหนดวิชาที่ต้องเรียนไว้ให้ หรือบางหลักสูตร บางมหาวิทยาลัยอาจจะเปิดวิชาเดียวกัน แต่หลายวัน หลายเวลา และมีอาจารย์ผู้สอนหลายคน หรือบางหลักสูตร บางมหาวิทยาลัยอาจจะกำหนดวิชาที่ต้องเรียนแตกต่างกัน อาจจะมีกำหนดให้เรียนวิชานี้ เมื่ออยู่ชั้นปีนี้ หรือผ่านอีกวิชาก่อน หรือบางหลักสูตร บางมหาวิทยาลัยอาจจะเปิดในจำนวนที่จำกัด เป็นต้น จากนั้นก็บังคับตัวเองให้เข้าเรียนตามตารางที่วางไว้ค่ะ
Tip: น้องๆ ต้องศึกษาวิชาที่ต้องเรียน ตามแผนการเรียนของหลักสูตรที่เรียนให้ดีดี แล้ววางแผนล่วงหน้า (ทุกเทอมจนจบเลยก็ได้) + แผนสำรอง (กรณีวิชาไม่เปิด/ที่นั่งเต็ม) ไว้ด้วยนะคะ
เรียนแบบ Lecture (บรรยาย)
การเรียนการสอนจะแตกต่างจากที่โรงเรียนอย่างสิ้นเชิง คือ ใน 1 วิชา มีจำนวนผู้เรียนหลักสิบถึงหลักร้อย ไม่ค่อยมีหนังสือให้ถือไปเรียน ส่วนมากเป็นเอกสารประกอบการเรียนเป็นปึกๆ (บางทีถ่ายเอกสารเองด้วย) แถมน้องๆ ยังจะจดตามแต่บนกระดาน หรือ Slide อย่างเดียวไม่ได้นะ ไม่มีทางได้หัวข้อครบถ้วนแน่ (บางทีที่ออกสอบไม่ได้อยู่ใน Slide) จะต้องคอยฟังที่อาจารย์สอน หรือบรรยาย (ข้อสอบเพียบ) และจด Note เป็นของตัวเองค่ะ ซึ่งแต่ละคนจะมีสไตล์ หรือรูปแบบการจดที่แตกต่างกัน พอใกล้สอบคนที่จดและสรุปได้ละเอียด เข้าใจง่าย มักจะมีเพื่อนๆ มาขอถ่ายรูป/ถ่ายเอกสารเยอะแน่ๆ
Tip: บางทีการฟังในห้องเรียน น้องๆ อาจจะจดจดไปแบบไม่ได้โฟกัสมาก ลองกลับไปอ่านทบทวน และจดไล่เป็นหัวข้อใหม่ ตามความเข้าใจ ก็จะทำให้ตอนสอบอ่านได้ง่ายขึ้น หรืออาจจะลองหาเคล็ดลับมาปรับใช้กับตัวเอง
การบ้านตัวร้าย รายงานตัวแสบ
การบ้านอาจจะไม่ได้มีมากชิ้นเหมือนตอนเรียนมัธยม แต่ระดับความยากความหินของแต่ละชิ้นนี่แทบจะพลิกแผ่นดินหาคำตอบกันเลยล่ะ แต่ละชิ้นก็ใช้เวลาในการทำค่อนข้างนาน แล้วก็อย่าได้คิดว่าจะมานั่งลอกกันตอนเช้าก่อนส่งอาจารย์นะคะ ไม่มีทางเลยค่ะ
ส่วนการทำรายงานก็เช่นกัน ทั้งงานเดี่ยวงานกลุ่ม แต่ละชิ้นทำกันทีเป็นเดือนๆ อาจารย์สั่งไว้ตั้งแต่ต้นเทอม ส่งอีกทีปลายเทอมก็มี แล้วอย่าได้หวังว่าจะหาจากอากู๋ (google) แล้วมาตัดแปะ ตัดแปะส่งนะ เพราะน้องๆ จะต้องเข้าห้องสมุดนู้น ออกห้องสมุดนี้ หาข้อมูลมาทำกันจ้าล่ะหวั่น แถมยังต้องมาคิดวิเคราะห์สรุปเป็นสำนวนการเขียนของตัวเองอีกด้วยนะ
ส่วนการทำรายงานก็เช่นกัน ทั้งงานเดี่ยวงานกลุ่ม แต่ละชิ้นทำกันทีเป็นเดือนๆ อาจารย์สั่งไว้ตั้งแต่ต้นเทอม ส่งอีกทีปลายเทอมก็มี แล้วอย่าได้หวังว่าจะหาจากอากู๋ (google) แล้วมาตัดแปะ ตัดแปะส่งนะ เพราะน้องๆ จะต้องเข้าห้องสมุดนู้น ออกห้องสมุดนี้ หาข้อมูลมาทำกันจ้าล่ะหวั่น แถมยังต้องมาคิดวิเคราะห์สรุปเป็นสำนวนการเขียนของตัวเองอีกด้วยนะ
Tip: อาจจะช่วยกันหาแหล่งข้อมูลกันกับเพื่อน จากหลายๆ ที่ก่อน จะแยกกันไปทำงานของตัวเอง รวมถึง List รายชื่อห้องสมุดของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ใกล้เคียง หรือแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เตรียมไว้ให้พร้อม
Exam Crisis
จะมานั่งอ่านหนังสือกันหน้าห้องสอบไม่ได้แล้วนะ จะสอบในมหาวิทยาลัยแต่ละที บางคนอ่านหนังสือกันหามรุ่งหามค่ำ หรือบางคนก็อ่านหนังสือโต้รุ่งไม่หลับไม่นอนกัน เพราะนอกจากเนื้อหาจะเยอะ คำถามจะซับซ้อนแล้ว ข้อสอบส่วนใหญ่ยังต้องเขียนตอบกันเป็นหน้าๆ ไม่ใช่กาตัวเลือกอีก คือถ้าไม่มีอะไรอยู่ในหัวล่ะก็ ได้ส่งกระดาษเปล่าแน่ๆ ละนี่ยังไม่นับพวก Quiz ในห้องเรียน ที่บอกก่อนล่วงหน้าบ้าง เซอร์ไพรส์บอกเดี๋ยวนั้นบ้าง โธ่ บันเทิงเริงใจกันทีเดียวล่ะ ซึ่งน้องๆ ปี1 ที่ยังปรับตัวไม่ได้ เกรดเฉลี่ยก็จะร่วงตามๆ กันไป (เกรดร่วงที กว่าจะกลับขึ้นมาได้มันยากนะ//ช้ำใจ)
Tip: ทางที่ดีน้องๆ อาจจะตั้งใจเรียนในห้องให้เข้าใจ และหมั่นทบทวนบทเรียนในแต่ละวัน ทีละเล็กทีละน้อย จะได้ไม่ไปหนักตอนใกล้สอบ
การใช้ชีวิตประจำวัน
ความเป็นอยู่
พอเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว หลายคนต้องย้ายมาอยู่หอ ไม่ว่าจะเป็นหอในมหาวิทยาลัย หรือหอนอกบริเวณรอบๆ มหาวิทยาลัยก็ตาม ซึ่งน้องๆ ก็จะต้องรับผิดชอบตัวเองทุกอย่าง ตั้งแต่การเรียนยันงานบ้าน ทำให้เป็นเรื่องกังวลใจ
สำหรับน้องๆ ที่ไม่เคยห่างจากบ้านไปไกล ถึงแม้ว่าจะนอนหอในแล้วมีรูมเมทคอยช่วยเหลือกัน หรือนอนหอนอกคนเดียว ก็ต้องมีความรับผิดชอบในตัวเองกันหมด จะต้องจัดการบริหารเวลาให้ดี เพราะลำพังแค่เรียนในแต่ละวันก็เหนื่อยมากแล้ว ไหนจะมีกิจกรรมนับไม่ถ้วนต่ออีก รับรองว่าเห็นที่นอนเมื่อไหร่ อยากจะนอนให้ได้เดี๋ยวนั้นเลย แต่กว่าจะได้นอนจริงๆ หลายคนก็ต้องทำการบ้าน (ถ้ามี) หรือทบทวนบทเรียนก่อน รวมไปถึงซักเสื้อผ้าและทำความสะอาดห้องอีกด้วยนะ
สำหรับน้องๆ ที่ไม่เคยห่างจากบ้านไปไกล ถึงแม้ว่าจะนอนหอในแล้วมีรูมเมทคอยช่วยเหลือกัน หรือนอนหอนอกคนเดียว ก็ต้องมีความรับผิดชอบในตัวเองกันหมด จะต้องจัดการบริหารเวลาให้ดี เพราะลำพังแค่เรียนในแต่ละวันก็เหนื่อยมากแล้ว ไหนจะมีกิจกรรมนับไม่ถ้วนต่ออีก รับรองว่าเห็นที่นอนเมื่อไหร่ อยากจะนอนให้ได้เดี๋ยวนั้นเลย แต่กว่าจะได้นอนจริงๆ หลายคนก็ต้องทำการบ้าน (ถ้ามี) หรือทบทวนบทเรียนก่อน รวมไปถึงซักเสื้อผ้าและทำความสะอาดห้องอีกด้วยนะ
Tip: จัดตารางเวลาสำหรับการทำงาน/กิจกรรมในแต่ละวันให้เรียบร้อย รวมถึงแทรกเวลาพักผ่อนเอาไว้ด้วยนะคะ รวมไปถึงสำรวจสถานที่ต่างๆ เพื่อทำความคุ้นเคย
เรื่องปากเรื่องท้อง
จากที่กลับถึงบ้านแล้วกลิ่นหอมของอาหารเย็นฝีมือคุณแม่ก็ลอยมาเตะจมูกทันที ก็คงต้องกลายเป็นคนที่เข้าครัว ทำอาหารกินเอง แต่จะกินได้ไม่ได้นั่นอีกเรื่อง ถ้าใครทำอาหารเป็น ก็โชคดีไป แต่ถ้าให้ใครทำไม่เป็นล่ะก็.....หาร้านอาหารอร่อยๆ สะอาดและราคาดี ใกล้หอแล้วผูกปิ่นโตเป็นลูกค้าประจำไปเลยก็ได้ค่ะ
Tip: ฝึกทำอาหารก่อนที่จะย้ายมาอยู่หอ อาจจะเริ่มจากเมนูไมโครเวฟง่ายๆ ก็ได้นะ
เงินเงินทองทอง
ไม่มี ATM ส่วนตัว (คุณพ่อคุณแม่) ตามมาให้แบมือขอเงินใกล้ๆ แล้ว ถ้าเงินหมดก็คงจะขอยากหน่อย ขั้นตอนจะเยอะขึ้น อาจจะต้องให้โอนผ่านบัญชีกันไป แล้วน้องๆ ก็ไปกดจากตู้ ATM แต่ใครได้เป็นรายเดือน รายสัปดาห์ก็คงจะต้องวางแผนการใช้เงินกันหน่อย ไม่งั้นปลายสัปดาห์ หรือปลายเดือนคงได้กินมาม่าทุกวันแน่ๆ
Tip: ลองวางแผนการใช้เงิน จดรายรับรายจ่าย และแยกเงินออม หรือเงินเผื่อฉุกเฉินเอาไว้ก่อน ทันทีที่ได้เงินมา
เพื่อน
เพื่อนเก่าซี้ปึ๊ก
เชื่อว่า "เข้ามหา'ลัยแล้ว ต้องนัดเจอกันให้ได้นะ อาทิตย์ละครั้งก็ยังดี" เป็นคำพูดของน้องๆ ม.6 หลายคนที่ไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัยเดียวกันกับเพื่อนสมัยมัธยม เพราะต่างคนก็ต้องต่างไปทำหน้าที่ของตัวเอง ขอบอกไว้ตรงนี้เลยค่ะว่า แสนยากแสนเย็นเหลือเกินค่ะ กว่าจะรวมตัวกันได้แต่ละที คนนั้นติดสอบ คนนี้ติดเรียนชดเชย คนโน้นติดซ้อมหลีด คนนู้นติดแฟน บลาๆๆๆ ก็ไม่ได้เจอกันสักที...เอาเป็นว่า ต้องอดทนและเข้าใจกันมากๆ เพราะเพื่อนยังไงก็เพื่อนนะ
Tip: ถ้าคิดถึงอยากเม้าท์มอย ก็ส่งผ่าน Social Media ไปก่อน เดี๋ยวค่อยเจอกัน (ปีละครั้ง2ปีครั้งก็ยังดี)
เพื่อนใหม่แกะกล่อง
หลายคนกังวลกับการเข้าหาเพื่อนใหม่ กลัวว่าจะไม่มีเพื่อน ไม่รู้จักรุ่นพี่ แถมยังมีกระแสบอกมาอีกว่า "หาเพื่อนมหา'ลัยดีดเหมือนเพื่อนมัธยมไม่ได้เลย" "เพื่อนมัธยมดีที่สุดแล้ว" ก็ทำให้ยิ่งกังวลกันไปอีก เพราะจริงๆ ไม่ต้องกังวลกันเลย เปิดใจให้กว้าง พร้อมสร้างมิตร ย้งไงทุกคนก็ใหม่เหมือนกันหมด ดังนั้นหันหน้าเข้าหากัน คุยกัน ช่วยเหลือกัน จริงใจต่อกันน่าจะดีกว่า และถ้าคนไหนคุยแล้วไม่คลิก lifestyle ไม่ตรงกัน ก็อาจจะเปลี่ยนหมุนเวียนไป ไม่มีใครผิดใครถูก ค่อยๆ เรียนรู้ปรับตัวกันไป
Tip: ทำกิจกรรมคณะ/มหาวิทยาลัยที่หลากหลาย และฝึกทำอะไรด้วยตัวเองคนเดียวให้ได้ เพราะบางครั้งเราไม่จำเป็นจะต้องมีเพื่อนอยู่ด้วยในทุกๆ ที่ค่ะ
การปรับตัวให้เข้ากับมหาวิทยาลัยไม่ใช่เรื่องยาก และน่ากังวลเลย ค่อยๆ เรียนรู้และปรับตัวกันไปนะคะ
0 ความคิดเห็น