สวัสดีค่ะ ตั้งแต่ช่วงปลายเดือน มิ.ย. มีข่าวที่ดังไปทั่วโลกเลยก็คือ ข่าวเด็กๆ นักฟุตบอลและโค้ช ทีมหมูป่าอะคาเดมี จังหวัดเชียงราย ติดอยู่ในถ้ำหลวงนานกว่า 10 วัน จนเกิดทีม #ถ้ำหลวง เพื่อค้นหาน้องๆ ตลอดตั้งแต่รู้ว่าติดในถ้ำจนเจอตัว บอกเลยว่าใช้ทีมงานหลายฝ่ายมาก
ฝ่ายหนึ่งที่เป็นแรงสำคัญมากๆ คือทีมที่ดูแลเรื่องภูมิศาสตร์ ลักษณะของถ้ำและบริเวณรอบๆ รวมทั้งการจัดการเพื่อเปิดทางในส่วนต่างๆ ด้วยความเป็นถ้ำที่ค่อนข้างซับซ้อน ทำให้ทุกแผนของการค้นหาต้องมีการเตรียมการเรื่องพื้นที่อย่างรอบคอบ
แต่น้องๆ หลายคนไม่รู้จักสาขานี้ ไม่รู้ว่าจะเรียนไปทำไม เรียนแล้วได้อะไร ทำงานอะไรได้บ้าง คณะในฝันเดือนนี้เลยจะพาน้องๆ มารู้จักกับ “สาขาภูมิศาสตร์” บอกเลยว่าสาขานี้เปิดสอนเยอะมากกกกกกก พร้อมแล้วไปกันเลยค่ะ!
“สาขาภูมิศาสตร์” เรียนเกี่ยวกับอะไร
ในระดับประถมถึงมัธยมเราจะได้เรียนเกี่ยวกับภูมิศาสตร์(Geography) ในวิชาสังคมกันอยู่แล้ว แต่ภูมิศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัยจะไม่ใช่แบบที่เรียนมาในโรงเรียน นิยามคร่าว ๆ ของ “สาขาภูมิศาสตร์” เรียนเกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของสิ่งที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก สภาพแวดล้อม ธรรมชาติในด้านต่างๆ รวมทั้งความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ เกี่ยวข้องกันด้วย
ซึ่งการเรียนในสาขานี้ไม่ได้เรียนเพื่อรู้ทฤษฎีแล้วจบ แต่เป็นการเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงกับแขนงอื่นๆ เช่น ภูมิศาสตร์เศรฐกิจ ภูมิศาสตร์การขนส่ง ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว ภูมิศาสตร์ประชากร เป็นต้น สรุปง่ายๆ คือเรียนเพื่อรู้ เชื่อมโยง ค้นหาสิ่งที่เหมือนหรือแตกต่าง และนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิ์ภาพมากที่สุด ซึ่งสิ่งที่เรียนก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวของโลกนั่นแหละค่ะ
แต่ถ้าลงลึกไปอีกจะพบว่า ภูมิศาสตร์มีแขนงเยอะมาก ทุกอย่างคือสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน เช่น ภูมิศาสตร์กายภาย จะเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โลก เพื่อเข้าใจลักษณะและปัญหาของธรณีภาค อุทกภาค บรรยากาศ ชีวภาค อันนี้คือเรียนแบบกายภาพล้วนๆ แต่ถ้าเป็น ภูมิศาสตร์มนุษย์ จะเรียนเกี่ยวกับรูปและกระบวนการอันเกิดจากสังคมมนุษย์ เช่น วัฒนธรรม การท่องเที่ยว ศาสนา ประวัติศาสตร์
อีกแขนงที่หลายสถาบันก็แยกเป็นสาขาเลยก็คือ ภูมิสารสนเทศศาสตร์ หรือ ภูมิศาสตร์สารสนเทศ เป็นการเรียนเรื่องภูมิศาสตร์ที่มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาบูรณาการ หรือเข้ามาช่วยให้เข้าใจง่านขึ้น เช่น การมีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(GIS) ที่เป็นระบบเชื่อมโยงพิกัดภูมิศาสตร์และรายละเอียดของวัตถุบนผิวโลก หรือ ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก(GPS) ที่เป็นระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกโดยใช้ดาวเทียมและเครื่องรับ
จะเห็นได้ว่าไม่ว่าด้านใดของภูมิศาสตร์ ล้วนเกี่ยวข้องกับเราทั้งนั้น เป็นสิ่งที่แทรกอยู่ในทุกอย่าง เช่น การเดินสายไฟฟ้าก็ต้องใช้ความรู้ด้านภูมิศาสตร์ในการกำหนดพื้นที่วางสายไฟ การทำแผนที่ให้เราได้ใช้ ก็ต้องมีความรู้ด้านภูมิศาสตร์เพื่อกำหนดจุด หรือแม้แต่การทำการสอบสวนคดีของตำรวจ ก็ต้องมีฝ่ายที่ดูแลเรื่องพื้นที่ ซึ่งก็ใช้ความรู้ด้านภูมิศาสตร์ นั่นเอง
จบ “สาขาภูมิศาสตร์” ทำงานอะไรได้บ้าง?
งานในสาขาภูมิศาสตร์มีเยอะมาก งานใดก็ตามที่ต้องใช้ความรู้ด้านพื้นที่ ลักษณะเฉพาะทางของพื้นที่ รวมทั้งเรื่องดิน ฟ้า อากาศ สิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องมีฝ่ายที่ดูแลเรื่องภูมิศาสตร์ทั้งสิ้น พี่แป้งยกตัวอย่างมาให้คร่าวๆ ดังนี้
นักออกแบบแผนที่
นักวิเคราะห์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
เจ้าหน้าที่แผนที่ภาพถ่าย / ภาพถ่ายทางอากาศ
ที่ปรึกษาด้านภูมิสารสนเทศ
นักวางแผนการขนส่ง
นักพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์
เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน
เจ้าหน้าที่กรมแผนที่ทหาร
เจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ
ส่วนงาน GIS (ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์)
เจ้าหน้าที่บริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อม
เจ้าหน้าที่บริษัทจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
เจ้าหน้าที่บริษัทสำรวจทรัพยากร
นักผังเมือง
นักสิ่งแวดล้อม
เจ้าหน้าที่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (การปะปา / การไฟฟ้า)
เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ / กรมชลประทาน / กรมโยธาฯ / กรมอุตุฯ
ครู อาจารย์
เจ้าหน้าที่ที่ดินจังหวัด
เจ้าหน้าที่รังวัดและสำรวจ
เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้
เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร / กรมส่งเสริมการเกษตร
เจ้าหน้าที่แผนที่และภาพถ่าย กรมสอบสวนคดีพิเศษ
ฯลฯ
มีมหาวิทยาลัยไหนเปิดสอน “สาขาภูมิศาสตร์” บ้าง?
คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สาขาภูมิศาสตร์ ม.นเรศวร
คณะวิทยาการสารสนเทศ สาขาภูมิสารสนเทศ ม.มหาสารคาม
คณะอักษรศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์ ม.ศิลปากร
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
คณะอักษรศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ จุฬาฯ
คณะสังคมศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
คณะวิทยาศาสตร์ สาขาภูมิสารสนเทศศาสตร์ ม.ขอนแก่น
คณะสังคมศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์ / ภูมิสารสนเทศศาสตร์ ม.เชียงใหม่
คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาภูมิศาสตร์ ม.ทักษิณ
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาภูมิสารสนเทศ ม.เทคโนโลยีสุรนารี
คณะศิลปศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์ / ภูมิสารสนเทศศาสตร์ ม.บูรพา
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาภูมิสารสนเทศศาสตร์ ม.พะเยา
คณะศึกษาศาสตร์ ม.รามคำแหง
มหาวิทยาลัยราชภัฏฯ
มหาวิทยาลัยเอกชน
พอจะรู้จักสาขาวิชาภูมิศาสตร์ได้มากขึ้นแล้วใช่มั้ยคะ? บอกเลยว่ากว่าจะจบ 4 ปีคือโหดมาก รายละเอียดเยอะแยะไปหมด ในสัปดาห์หน้าพี่แป้งจะพาไปรู้จักกับสาขานี้มากขึ้น รอติดตามกันนะคะ :)
6 ความคิดเห็น
ถ้าอยากเป็นนักข่าวรายงานสภาพอากาศจำเป็นต้องเรียนด้านนี้ไหมคะ
อยากเป็นนักข่าวเรียนนิเทศก็ได้ครับ
ตอนนี้ผมอยู่ม.5เเละสนใจมาสาย ภูมิศาสตร์ ควรเน้นความรู้เรื่องใดบ้างครับ ข่วยเเนะนำ มหาวิทยาลัยด้วยน่ะครับ
พี่จะแนะนำการสอบเข้านะคะ
สาขานี้ยังเป็นสาขาที่ในประเทศไทยยังไม่ได้มีงานรองรับมากนัก เพราะฉนั้นพี่อยากให้น้องเลือกเข้ามหาวิทยาลัยที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงค่ะ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ค่ะ
รอบ Admission คะแนนแกทแพทที่ใช้ยื่นส่วนมากจะใช้ GAT PAT1 และ PAT2 ค่ะ
- จุฬา กับ ธรรมศาสตร์ ใช้ GAT + PAT1 (พี่แนะนำ GAT 250+ และ PAT1 150+)
- เกษตรศาสตร์ ใช้ GAT+ PAT1 + PAT2 (พี่แนะนำ GAT 220+ PAT1 100+ PAT2 80+)
***ในกรณีนี้เกรดกับคะแนนโอเน็ทน้องต้องค่อนข้างดีด้วยนะคะ***
ขอให้โชคดีน้าาา <3
มศว ก็มีนะคะ คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ
ม.ทักษิณ คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์
อาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์ที่จุฬาน่ารักมาก ๆ ค่ะ อิอิ - /// -
ขอบคุณ