สวัสดีค่ะ คณะยอดฮิตอันดับหนึ่งในใจนักเรียน ม.ปลาย ก็คงหนีไม่พ้นคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุดเด่นของคณะนี้ไม่ใช่แค่มุมมองของความเข้มแข็ง นักนวัตกรเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องของความทันสมัยเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะปัจจุบัน หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตหลายแห่ง ได้ปรับเนื้อหาให้เข้ากับเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น ทำให้ยังคงเป็นคณะที่อยู่สายตาของเด็ก ม.ปลาย มาทุกยุคทุกสมัย และยังมีสาขาใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายที่ผู้หญิงเรียนได้ ผู้ชายเรียนดี

เพื่อต้อนรับน้อง #dek65 พี่ๆ เด็กดีจึงได้รวบรวมข้อมูลการเตรียมตัวสอบเข้าของกลุ่มคณะต่างๆ ไว้ โดยเริ่มต้นที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ไปดูกันว่า คณะนี้มีเกณฑ์การรับอย่างไร ค่าเทอมประมาณเท่าไหร่ และมีสาขาที่น่าสนใจอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

เตรียมความพร้อม TCAS65 คณะวิศวกรรมศาสตร์
เตรียมความพร้อม TCAS65 คณะวิศวกรรมศาสตร์

เตรียมความพร้อม TCAS65 สู่คณะวิศวกรรมศาสตร์

คณะนี้เรียนอะไร

ถ้าพูดถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็คงไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะสาขานี้เรียนและทำงานเกี่ยวข้องกับทุกอย่างรอบตัวเลย ไม่ว่าจะเป็นตึกอาคารบ้านช่อง ถนน รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ  ระบบออโตเมติก หุ่นยนต์ เทคโนโลยีต่างๆ 

เพราะคณะนี้เรียนเกี่ยวกับการนำความรู้ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ทั้งฟิสิกส์ เคมี ไปประยุกต์หรือพัฒนา ให้เป็นเครื่องมือหรือโครงสร้างต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ดังนั้นคณะนี้จึงมีสาขาเฉพาะทางมากมายให้ได้เลือกเรียนตามความสนใจเลยค่ะ

คณะนี้เหมาะกับใคร

1. เหมาะกับคนที่สามารถเรียนวิชาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้ เพราะเมื่อเข้ามาเรียนจะต้องเรียน 2 วิชานี้แทบจะเป็นวิชาหลักเลยทีเดียว

2. มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบคิดอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ ชอบทดลอง ชอบลงมือทำสิ่งต่างๆ  เพราะเป็นคณะที่เน้นการลงมือทำมากกว่าทฤษฎี

3.  มีระบบความคิดที่เป็นระบบ มีความรอบคอบ แก้ไขปัญหาด้วยเหตุผล

4. ส่วนใหญ่ คณะนี้จะเปิดรับนักเรียนสายวิทย์-คณิต หรือ นักเรียนที่มีหน่วยกิตวิชาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ครบตามที่กำหนด แต่บางสาขาอาจเปิดรับสายศิลป์ได้ในบางรอบ ต้องศึกษาจากข้อมูลของสาขาและคณะของมหาวิทยาลัยนั้นๆ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีสาขาอะไรบ้าง

หลักสูตร : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่
  • สาขาวิชาวิศวกรรมพอลิเมอร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลเรือ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมระบบอัตโนมัติ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเลียม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเคมี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและเครือข่าย
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน
  • สาขาวิชาวิศวกรรมระบบวัดคุมและเครื่องมือวัด
  • สาขาวิชาวิศวกรรมชลประทาน
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุและนาโนเทคโนโลยี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา-ทรัพยากรน้ำ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมวิศวกรรมคอนเสิร์ตและมัลติมีเดีย
  • สาขาวิชาวิศวกรรมระบบราง
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการเชื่อม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคมและโครงข่าย
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสมองกลฝังตัว
  • สาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์

หลักสูตร : วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร (คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม.ศิลปากร)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม.ศิลปากร)
  • สาขาวิชาเครื่องจักรกลอุตสาหกรรมเกษตร (คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม.กาฬสินธุ์)
  • สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการบิน (คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน และ ว.กำแพงแสน)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์ (คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน)

*นอกจากนี้อาจมีหลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ที่เป็นวุฒิวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) แต่จะไปอยู่ในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ม.วลัยลักษณ์, ม.แม่ฟ้าหลวง เป็นต้น

หลักสูตร : เทคโนโลยีบัณฑิต  (ทล.บ.)

  • สาขาวิชาธุรกิจวิศวกรรม (คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม.ศิลปากร)

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ม.เกษตรศาสตร์
  • ม.ขอนแก่น
  • ม.เชียงใหม่
  • ม.ธรรมศาสตร์
  • ม.เทคโนโลยีสุรนารี
  • ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ม.ทักษิณ
  • ม.นเรศวร
  • ม.บูรพา
  • ม.พะเยา
  • ม.มหิดล
  • ม.มหาสารคาม
  • ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
  • ม.แม่ฟ้าหลวง
  • ม.แม่โจ้
  • ม.ศิลปากร
  • ม.สงขลานครินทร์
  • ม.วลัยลักษณ์
  • ม.สวนดุสิต
  • ม.อุบลราชธานี
  • ม.กาฬสินธุ์
  • ม.นครพนม
  • กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ เช่น มรภ.สวนสุนันทา (คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม),  มรภ.มหาสารคาม,  มรภ.เพชรบุรี ฯลฯ
  • กลุ่มมหาวิทยาลัยราชมงคล เช่น มทร.ธัญบุรี, มทร.พระนคร, มทร.รัตนโกสินทร์ ฯลฯ
  • กลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน เช่น  สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น, ม.กรุงเทพ, ม.หอการค้าไทย ฯลฯ

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 21,000 บ. / ภาคการศึกษา
  • ม.เชียงใหม่ 16,000 บ. (ภาคปกติ), 35,000 บ. (ภาคพิเศษ), 50,000 บ. (นานาชาติ) / ภาคการศึกษา
  • ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 19,000 - 25,000 บ. /  ภาคการศึกษา
  • ม.ธรรมศาสตร์ 18,200 บ. / ภาคการศึกษา
  • ม.มหิดล 30,000 บ. / ภาคการศึกษา

ตัวอย่างโครงการที่เปิดรับแต่ละรอบ (อ้างอิงข้อมูลจาก TCAS64)

รอบมหาวิทยาลัยเกณฑ์คัดเลือกคะแนนต่ำสุดปี 64
รอบ 1 Portfolioม.เกษตรศาสตร์  
โครงการช้างเผือก
GPAX + Portfolio + สัมภาษณ์-
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 โครงการนักเรียนโอลิมปิก
คุณสมบัติ + Portfolio + สัมภาษณ์-
ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
โครงการเด็กดีมีที่เรียน
Portfolio + สัมภาษณ์-
ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 
โครงการความสามารถด้านสิ่งประดิษฐ์
คุณสมบัติ + Portfolio + สัมภาษณ์-
    
รอบ 2 โควตาม.ศิลปากร 
โควตา 28 จังหวัด
วิชาสามัญ + GAT/PAT-
ม.เชียงใหม่ 
โควตาภาคเหนือ
PAT3 + วิชาสามัญ 7 วิชาหลักคลิก
ม.ขอนแก่น 
โควตาภาคอีสาน
วิชาเฉพาะ ม.ขอนแก่น-
ม.มหิดล 
โครงการโควตา
GPAX +  GPA + วิชาสามัญ (4-6 วิชา) + PAT 3-
    
รอบ 3 Admissionจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
สาขาวิศวกรรมศาสตร์
GAT + PAT1 + PAT361.6753
ม.เกษตรศาสตร์ 
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
GAT + PAT1 + PAT36,400
ม.เทคโนโลยีสุรนารี 
กลุ่มวิศวกรรมศาสตร์
GPAX + วิชาสามัญ (คณิต 1, ฟิสิกส์, อังกฤษ)5.00
ม.ธรรมศาสตร์  
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
PAT1 + PAT334.8900

อาชีพหลังจบการศึกษา

  • วิศวกร ตามสาขาที่จบการศึกษา เช่น วิศวกรโยธา, โปรแกรมเมอร์, วิศวกรไฟฟ้า ฯลฯ
  • งานด้านวิชาการ เช่น อาจารย์, คุณครู, ที่ปรึกษา
  • ธุรกิจส่วนตัว

รู้หรือไม่! วิศวกร เป็นอีกหนึ่งวิชาชีพที่มีใบประกอบวิชาชีพด้วย หรือที่เรียกว่า ใบ ก.ว. แต่มีเฉพาะบางสาขาเท่านั้น โดยเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และทรัพย์สิน เพราะต้องมีความปลอดภัย จึงต้องสอบใบประกอบวิชาชีพเพื่อรับรองมาตรฐานนั่นเองค่ะ  โดยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม จะออกโดย สภาวิศวกร  ประกอบไปด้วยสาขาวิชาดังนี้ วิศวกรรมโยธา, วิศวกรรมเครื่องกล, วิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้ากำลัง, วิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้าสื่อสาร, วิศวกรรมอุตสาหการ, วิศวกรรมเหมืองแร่, วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม, วิศวกรรมเคมี, วิศวกรรมเหมืองแร่ งานเหมืองแร่ และวิศวกรรมเหมืองแร่ งานโลหะการ  น้องๆ สามารถตรวจสอบหลักสูตรที่ได้รับการรับรองว่าจบไปแล้ว สามารถสอบใบ ก.ว. ได้ ที่เว็บไซต์สภาวิศวกร คลิก

จากข้อมูลเกณฑ์การคัดเลือกข้างต้น เป็นเกณฑ์ของรอบ Admission เกณฑ์ Admission 1 นะคะ ซึ่งในปีหน้า รอบ Admission จะไม่มีเกณฑ์ Admission 2 หรือเกณฑ์ของ ทปอ. ดังนั้น รอบ Admission จะเป็นรอบที่มหาวิทยาลัยออกเกณฑ์กันเอง โดยคาดว่าเกณฑ์น่าจะไม่เปลี่ยนแปลงจาก Admission 1 ค่ะ ดังนั้น น้องๆ ที่อยากเข้าวิศวกรรมศาสตร์ ก็เตรียมตัววิชา GAT, PAT1 และ PAT3 รวมทั้งวิชาสามัญวิชาหลักอีก 7 วิชา ไว้ได้เลย ได้ใช้แน่นอนค่ะ^^

 

ขอขอบคุณรูปภาพจากBanner vector created by katemangostar - www.freepik.com

 

พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น