สวัสดีค่ะน้องๆ ถ้าพูดถึงการเรียนการสอนกลุ่มคณะแพทยศาสตร์ เมื่อ TCAS63 มีเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตใหม่ อยู่ 1 หลักสูตร ก็คือ "หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์" เป็นหลักสูตร 7 ปี 2 ปริญญา โดยมีการเปิดรับสมัครต่อเนื่องมาจนถึง TCAS66 และใน TCAS67 นี้ก็ยังคงเปิดรับสมัครอยู่ แต่มีการปรับหลักสูตรการเรียนการสอน และรูปแบบการรับสมัคร ซึ่งก็มีการประกาศรายละเอียดหลักสูตรใหม่มาให้ติดตามกันแล้ว
ด่วน! หลักสูตรแพทย์ จุฬาภรณ์ฯ 2 ปริญญา ปรับเป็น ตรีควบโท เรียนในไทย 7 ปี
สำหรับหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ยังคงเป็นหลักสูตร 7 ปี 2 ปริญญา เช่นเดิม แต่มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดการเรียนการสอนหลายประเด็น ซึ่งสามารถเปรียบเทียบออกมาเป็นตารางได้ ดังต่อไปนี้
รายละเอียด | หลักสูตรเดิม (พ.ศ. 2563) | หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2567) |
---|---|---|
วุฒิการศึกษา | 7 ปี 2 ปริญญา (วิทยาศาสตรบัณฑิต (iBSc) จาก University College London และ แพทยศาสตรบัณฑิต จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์) | 7 ปี 2 ปริญญา (แพทยศาสตรบัณฑิต จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และหลักสูตรบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท*) จากมหาวิทยาลัย/สถาบันที่เลือก) |
แผนการศึกษา | ปี 1 - 3 : เรียนที่วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย ปี 4 : ศึกษาและปฏิบัติงานวิจัย ที่ "University College London (UCL)" เป็นเวลา 1 ปี โดยมี 23 สาขาวิชาให้เลือกเรียนตามที่สนใจ ปี 5 - 7 : เรียนรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์ทางคลินิก และฝึกทักษะทางคลินิก ที่รพ.ตำรวจ (สถานฝึกปฏิบัติทางคลินิกหลัก) และรพ.สมทบในการเรียนการสอน ได้แก่ รพ.จุฬาภรณ์ รพ.เพชรบูรณ์ และรพ.พนมไพร (ร้อยเอ็ด) | ปี 1 - 3 : เรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐาน แบบบูรณาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปี 4 : ศึกษาและปฏิบัติงานวิจัย ที่ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ หรือสถาบันในประเทศไทยที่มีข้อตกลงความร่วมมือ โดยสามารถเรียนควบบัณฑิตศึกษาในสาขาวิชาที่สนใจ (8 สาขาวิชา) ปี 5 - 7 : เรียนรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก และฝึกทักษะทางคลินิก ในโรงพยาบาลในความร่วมมือ (ไม่มีข้อมูลชื่อโรงพยาบาล) |
การจัดการเรียนการสอน | ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย | ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย |
การเปิดรับสมัคร | รอบ 1 Portfolio รอบ 2 Quota | รอบ 1 Portfolio รอบ 2 Quota รอบ 3 Admission (รับผ่าน กสพท) |
*สาขาวิชาปริญญาโทที่เปิดให้เรียนควบได้
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล
- สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม (นานาชาติ)
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- วิทยาลัยการจัดการ หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสุขภาพแบบองค์รวม (นานาชาติ)
- คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ปริวรรต (นานาชาติ)
- วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (นานาชาติ)
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลชีวการแพทย์
- คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
นอกจากนี้หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2567 ยังมีประเด็นอื่นๆ เพิ่มเติมอีก ดังนี้
- การเรียนการสอนในหลักสูตรนี้ สามารถกู้ กยศ. ได้ และมีทุนการศึกษา ได้แก่ ค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีวิต และค่าหอพัก
- หลังจบการศึกษา จะต้องใช้ทุนการศึกษาเป็นระยะเวลา 3 ปี ที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ หรือหน่วยราชการ/หน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล ตามที่กำหนด
- ค่าเทอมหลักสูตรแพทย์ ปีการศึกษาละ 100,000 บาท ส่วนค่าเทอมชั้นปีที่ 4 ขึ้นอยู่กับแต่ละสาขาวิชาที่เลือกเรียน
สำหรับใครที่สนใจอยากเข้าเรียนในหลักสูตรใหม่นี้ ต้องรอระเบียบการการรับสมัครรอบ Quota และรอบ Admission (ผ่าน กสพท) ที่มหาวิทยาลัยจะประกาศออกมาอีกครั้งนึง เพราะตอนนี้ราชวิทยาลัยฯ ปิดรับสมัครรอบ Portfolio ไปเรียบร้อยแล้ว
2 ความคิดเห็น
คะแนนประมาณไหนที่ยื่นได้แล้วคิดว่าจะได้เรียน