เปลี่ยนวิชายาก ๆ ให้เข้าใจง่าย ๆ ด้วยการจดเลคเชอร์ 3 ขั้นตอน เพื่อสร้างสมองที่สองในสมุดบันทึก

เปลี่ยนวิชายาก ๆ ให้เข้าใจง่าย ๆ ด้วยการจดเลคเชอร์ 3 ขั้นตอน เพื่อสร้างสมองที่สองในสมุดบันทึก

การจดเลคเชอร์เป็นการบันทึกความรู้จากการฟังบรรยาย ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับการเรียนทุกระดับชั้น แต่รู้ไหมว่า...ไม่มีใครที่สามารถจดเลคเชอร์ได้สมบูรณ์แบบหรอก เพราะผู้สอนมักพูดเร็วมาก และคนเราก็พูดได้เร็วกว่าเขียนถึงหกเท่า (พูดได้ 120 คำต่อการเขียน 20 คำในหนึ่งนาที) ดังนั้น การจดเลคเชอร์ที่ดีจึงต้องอาศัยการย่ออย่างชาญฉลาด ถ้าแบบนั้นมาลอง เปลี่ยนวิชาง่าย ๆ ให้เข้าใจง่าย ๆ ด้วยการจดเลคเชอร์ 3 ขั้นตอน เพื่อสร้างสมองที่สองในสมุดบันทึก กันดีกว่า !

 1. เตรียมพร้อมในการจด !

การเตรียมพร้อมดูจะเป็นรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ  แต่จะช่วยให้ไม่ว่อกแว่กระหว่างฟังบรรยาย  หากไม่ใส่ใจรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อาจทำให้เสียสมาธิได้เช่นกัน
การเตรียมพร้อมดูจะเป็นรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ  แต่จะช่วยให้ไม่ว่อกแว่กระหว่างฟังบรรยาย  หากไม่ใส่ใจรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อาจทำให้เสียสมาธิได้เช่นกัน

ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีสิ่งที่ต้องใช้ครบหรือไม่ มีเทคนิคง่ายๆ มาแบ่งปันทุกคนด้วยเช่นกัน ใครถนัดเลคเชอ์แบบไหนก็ใช้แบบนั้นได้เลย

  1. อย่าใช้ดินสอถึงแม้จะลบได้แต่ก็ทำให้เปื้อนอยู่ดี (อาจจะทำให้สมุดเลคเชอร์ของเราอ่านยากด้วยนะ)
  2. หากจดบันทึกในแล็ปท็อปหรือแท็บเล็ต ให้เตรียมโฟลเดอร์แยกสำหรับจดบันทึก สแกนเอกสารกระดาษเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดเพื่อให้อยู่ในที่เดียวกัน
  3. หากจดบันทึกด้วยการเขียน ให้เตรียมสมุดบันทึกแยกเล่มแต่ละวิชา และใช้แบบมีช่องสำหรับใส่เอกสาร
  4. หากได้รับแบบฝึกหัดหรือโจทย์จากห้องเรียนก็ให้เก็บแยกไว้เพื่อให้บันทึกมีความต่อเนื่อง

แต่สำหรับเพื่อนๆ ที่ยังไม่เคยเตรียมอุปกรณ์สำหรับการฟังบรรยายมาก่อน ให้ทำรายการของที่ต้องใช้ โดยสร้างนิสัยให้คิดทุกคืนว่า “พรุ่งนี้ต้องไปฟังบรรยายหรือไม่” แล้วเชื่อมโยงคำถามนี้กับกิจกรรมบางอย่างที่ทำในทุกคืน เช่น การชาร์จโทรศัพท์          หากคำตอบคือต้องไป ให้เตรียมของใช้จำเป็นสำหรับการฟังบรรยายวันรุ่งขึ้นไว้เลย หากมีนิสัยชอบจัดเตรียมอยู่แล้ว แต่มักลืมไว้ที่บ้าน ให้วางของไว้ที่หน้าประตูจะได้เห็นเวลาออกจากบ้าน

ส่วนแนวคิดการใช้ปากกาแดงสำหรับคำนิยามและไฮไลต์สีฟ้าสำหรับคำอธิบาย อาจไม่ทำให้การจดบันทึกมีประสิทธิภาพมากนัก เพราะต้องใช้เวลาและสมาธิในการเปลี่ยนสีปากกา แค่จดบันทึกให้เป็นระเบียบก็มีประโยชน์มากขึ้นแล้ว โดยเขียนวันที่และวิชาไว้ด้านบนหน้ากระดาษ เว้นขอบให้กว้างทั้งด้านซ้ายและขวา เพื่อให้มีพื้นที่จดข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง

หากจดบันทึกในแล็ปท็อป ให้ใช้ไฟล์ใหม่สำหรับจดบันทึกทุกวัน แล้วตั้งชื่อไฟล์ด้วย ปี-เดือน-วัน (เช่น 24-03-18) วิธีนี้จะทำให้คอมพิวเตอร์เรียงลำดับไฟล์ในโฟลเดอร์ไปตามวัน แล้วค่อยระบุหัวข้อของไฟล์นั้นไว้หลังวันที่ และขอให้ใช้โปรแกรมซิงก์ที่ช่วยแบ็กอัปไฟล์อัตโนมัติด้วย

หากเป็นไปได้ ควรไปถึงห้องบรรยายก่อนเวลาอย่างน้อยห้านาที เพื่อให้มีเวลาพักหายใจ เตรียมอุปกรณ์ และปิดโทรศัพท์ หากได้ทบทวนเอกสารก่อนฟังบรรยายก็จะยิ่งดี (หรืออ่านบันทึกที่จดไว้จากการบรรยายครั้งก่อนคร่าว ๆ) เพื่อเตรียมสมองให้พร้อมกับเรื่องที่จะฟัง

2. เริ่มจดเลคเชอร์ !

หากการบรรยายมีรายละเอียดมากแต่เข้าใจได้ง่าย ให้จดบันทึกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่หากสาระสำคัญของการบรรยายเป็นเรื่องนามธรรม ให้เน้นที่ความเข้าใจ จดบันทึกให้น้อยลง และใช้สำนวนภาษาของตัวเอง
หากการบรรยายมีรายละเอียดมากแต่เข้าใจได้ง่าย ให้จดบันทึกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่หากสาระสำคัญของการบรรยายเป็นเรื่องนามธรรม ให้เน้นที่ความเข้าใจ จดบันทึกให้น้อยลง และใช้สำนวนภาษาของตัวเอง

การทำความเข้าใจต้องใช้สมาธิมากจึงทำให้จดบันทึกได้น้อยลง ดังนั้นให้คิดไว้ก่อนว่าคาดหวังอะไรจากการเรียนเรื่องนี้ แล้วพิจารณาว่ามีอะไรที่จะช่วยได้อีก โดยพิจารณาก่อนจะฟังและจดบันทึกว่าจะให้ความสำคัญกับอะไร ระหว่างการทำความเข้าใจกับการเก็บรายละเอียดก่อน ส่วนใหญ่การทำความเข้าใจมักสำคัญกว่าการเก็บข้อมูล เพราะเรายังหารายละเอียดของเนื้อหาจากที่อื่นได้ ขณะที่วัตถุประสงค์ของการบรรยายคือ มีคนตัวเป็น ๆ มาอธิบายความหมายของข้อมูลเหล่านั้น แต่ถ้าพบว่าการบรรยายมีข้อเท็จจริงจำนวนมากที่ไม่อาจหาข้อมูลจากที่อื่นได้ก็ควรเตรียมจดให้รวดเร็ว

หากเน้นเก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กลยุทธ์ก็จะตรงไปตรงมา นั่นคือ ต้องเขียนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความเข้าใจหรือแปลงความให้เป็นคำพูดของเราเอง หรือพูดได้ว่าอย่าจดสิ่งที่ไม่เข้าใจ ต่อให้คิดว่า “ฉันไม่แน่ใจว่า” แต่จะจดไว้ก่อนแล้วค่อยถามเพื่อน ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่เข้าใจมากขึ้น ดังนั้นหากทำได้ ควรถามผู้สอนทันทีเพื่อความชัดเจนหรือจดบันทึกไว้เพื่อถามในโอกาสต่อไป

หากวางแผนว่าจะมุ่งทำความเข้าใจการบรรยายก็ยังต้องเขียนให้เร็ว แต่ต้องแปลงคำบรรยายให้เป็นภาษาของตัวเอง กลยุทธ์ที่ง่ายที่สุดคือ ทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้พูดกำลังสอน แล้วเขียนสิ่งที่คิด ไม่ใช่สิ่งที่ผู้สอนพูด กลยุทธ์นี้จะช่วยให้จดจ่อกับสิ่งที่ผู้สอนจะสื่อ และช่วยลดเวลาทำความเข้าใจพร้อมช่วยเรื่องความจำได้อีกด้วย

3. ประเมินเลคเชอร์ที่จดทันที !

ขอให้ใช้เวลาสักเล็กน้อยประเมินบันทึกหลังจบการบรรยาย เพราะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการมองหารูรั่วในบันทึก เพราะการบรรยายจะยังคงอยู่ในหัว  และหากมีคำถาม ผู้สอนก็อาจยังอยู่ตรงนั้นและพร้อมจะตอบคำถาม
ขอให้ใช้เวลาสักเล็กน้อยประเมินบันทึกหลังจบการบรรยาย เพราะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการมองหารูรั่วในบันทึก เพราะการบรรยายจะยังคงอยู่ในหัว  และหากมีคำถาม ผู้สอนก็อาจยังอยู่ตรงนั้นและพร้อมจะตอบคำถาม

จำไว้เสมอว่า ตัวเราในอนาคตจะมาอ่านเลคเชอร์นี้ ดังนั้นควรจดเพื่อตัวเราในอนาคตที่ต้องการบริบทและคำอธิบาย ซึ่งอาจจดไม่ง่ายนักหากขณะนั้น

จะรู้ได้อย่างไรว่าเลคเชอร์ของเรากระชับและชัดเจนหรือไม่ เมื่อผู้สอนเปิดโอกาสให้ถาม ขอให้ใช้ช่วงเวลานั้นประเมินบันทึกที่จดว่าจะอ่านรู้เรื่องในอนาคตหรือไม่ ลองดูว่าข้อเท็จจริงมากมายของการบรรยายเชื่อมโยงกับข้อเท็จจริงอื่นที่เป็นประเด็นใหญ่หรือไม่

ควรตรวจสอบด้วยว่าเลคเชอร์นั้นได้รวบรวมความเข้าใจของเราไว้ครบถ้วนแล้วหรือยัง อย่างน้อยที่สุดก็ตรวจหาแนวความคิดที่ยังไม่สมบูรณ์ ตัวย่อที่อ่านไม่เข้าใจ กราฟที่ไม่ระบุชื่อแกน ซึ่งอาจเข้าใจได้ในตอนนี้ แต่อาจไม่เข้าใจในอีกสองสามวันข้างหน้าก็ได้ ขอเน้นว่า ระหว่างฟังบรรยายมีหน้าที่สองอย่างคือ ทำความเข้าใจขณะฟังและจดบันทึก เพื่อให้มีสิ่งที่จะช่วยกระตุ้นความทรงจำในภายหลัง

 เทคนิคเลคเชอร์สนุก ๆ มาจากหนังสือ Outsmart Your Brain เคล็ดลับที่จะทำให้คุณเก่งเกินสมองกับ 94 วิธีที่จะทำให้ต้านโหมดดีฟอลต์ของสมองตัวเอง แล้วเปลี่ยนบทเรียนที่คุณเคยยี้ให้กลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นสำหรับคุณ !

หนังสือ Outsmart Your Brain
หนังสือ Outsmart Your Brain

สำหรับผู้ที่สนใจหนังสือ Outsmart Your Brain

สามารถหาซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป หรือสั่งซื้อทางเว็บไซต์ Amarinbooks.com

 

ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวประชาสัมพันธ์ - Columnist ข่าวประชาสัมพันธ์ภายในเว็บไซต์ Dek-D.com

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น