Science Fiction หรือนิยายไซไฟเป็นงานเขียนที่เอาแนวคิดหรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ทั้งที่เป็นจริงอยู่แล้วในปัจจุบัน หรือน่าจะเป็นจริงในปัจจุบันมาสร้างเป็นเรื่องราวภายใต้หลักการที่ว่า "จะเกิดอะไรขึ้นถ้า..."
ไซไฟ เป็นซับย่อยของนิยายแฟนตาซี แต่มีแนวคิดตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง ในขณะที่แฟนตาซีมักจะเน้นไปที่เวทมนตร์ พลังงานที่อธิบายไม่ได้ และส่วนใหญ่จะใช้ฉากหลังเป็นยุคอดีต นิยายไซไฟจะเน้นความเป็นจริง หลักการ และเหตุผล ฉากหลังของนิยายไซไฟส่วนใหญ่คือโลกอนาคต เพราะกำลังพูดถึงเทคโนโลยีที่ "ยังไม่มี" ในปัจจุบัน
มาดูไอเดียในการเขียนนิยายแนวนี้กัน
ไซไฟ เป็นซับย่อยของนิยายแฟนตาซี แต่มีแนวคิดตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง ในขณะที่แฟนตาซีมักจะเน้นไปที่เวทมนตร์ พลังงานที่อธิบายไม่ได้ และส่วนใหญ่จะใช้ฉากหลังเป็นยุคอดีต นิยายไซไฟจะเน้นความเป็นจริง หลักการ และเหตุผล ฉากหลังของนิยายไซไฟส่วนใหญ่คือโลกอนาคต เพราะกำลังพูดถึงเทคโนโลยีที่ "ยังไม่มี" ในปัจจุบัน
มาดูไอเดียในการเขียนนิยายแนวนี้กัน
ไอเดียเขียนนิยายไซไฟ
1. อวกาศ, โลกคู่ขนาน, โลกในอนาคต
แน่นอนว่าจะสร้างนิยายสักเรื่องก็ควรจะวางฉากเสียก่อน อยากให้เรื่องมันเกิดขึ้นที่ไหน ถ้าเป็นนิยายไซไฟ ฉากหลังก็ควรจะเป็นโลกอนาคตที่วิทยาการได้ "พัฒนา" ไปไกลแล้ว อาจเป็นโลกเดิมของเราหรือจะวางไว้เป็นอีกดาวหนึ่งเลยก็ได้
ฉากหลังที่เป็นอวกาศก็น่าสนใจเหมือนกัน ให้ตัวละครอาศัยอยู่บนยานอวกาศ ท่องไปตามดาวต่างๆ ส่วนใหญ่จะเจอในนิยายแนว action เสียมาก
หรืออีกไอเดียคือวางพล็อตให้เป็นโลกคู่ขนาน ฟากหนึ่งอาจเป็นโลกที่เราอยู่ ส่วนอีกฟากอาจเป็นโลกที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปหมด เทคโนโลยีสมบูรณ์พร้อม แต่ทัศนคติของคนก็เปลี่ยนไป อะไรทำนองนี้
2. ตัวละครที่มีรูปลักษณ์พิเศษหรือมีพลังพิเศษ
นิยายไซไฟอาจจะเหมือนนิยายแฟนตาซีตรงที่เราสร้างตัวละครแปลกๆ ออกมาได้ แต่มีพื้นฐานต่างกันตรงเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ขึ้นมา สำหรับนิยายไซไฟสิ่งมีชีวิตเหล่านี้คือการ "กลายพันธุ์" หรือเกิดจาก "การประดิษฐ์" หรือเป็นสิ่งมีชีวิตจากดาวอื่นที่ในทางวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอาจจะมี
สิ่งมีชีวิตพวกนี้ก็เช่น
สิ่งมีชีวิตพวกนี้ก็เช่น
หุ่นยนต์: ไม่ว่าจะโรบอท ไซบอร์ก แอนดรอยด์ AI ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นให้มีรูปร่างเหมือนมนุษย์บ้าง ไม่เหมือนบ้าง และปฏิบัติตามคำสั่งที่พวกมันถูกโปรแกรมเอาไว้
- เอเลี่ยน: หรือสิ่งมีชีวิตจากดาวอื่นซึ่งมีรูปร่างผิดไปจากมนุษย์อย่างพวกเรา ส่วนใหญ่มักถูกวาดภาพให้เป็นแมลง และมักจะไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง แต่ทำตามสัญชาตญาณสัตว์
- มิวแทนท์ : คืออดีตมนุษย์ที่เจอการตัดต่อทางพันธุกรรม เจอเชื้ออะไรสักอย่างเข้าไปจนทำให้ร่างกายมีความผิดปกติ เปลี่ยนรูปร่าง หรือมีพลังพิเศษอย่างพวก X-men
- มนุษย์ที่มีพลังพิเศษ: พลังเหนือธรรมชาติที่ทางวิทยาศาสตร์ยอมรับคือพลังจิต พลังในการเคลื่อนย้ายสิ่งของ หรือสร้างปรากฏการณ์บางอย่างขึ้น โดยจะต้องมีคำอธิบายรองรับการมีอยู่ของพลังเหล่านี้ ไม่ใช่บอกสั้นๆ แค่ว่ามันคือเวทมนตร์
3. วิทยาการจากอนาคต
โดเรมอนเป็นตัวอย่างที่ดีของเทคโนโลยีจากอนาคตที่พวกเราใฝ่ฝัน นักเขียนนิยายไซไฟมักจะนึกถึงวิทยาการที่ก้าวล้ำกว่าปัจจุบันโดยมีพื้นฐานมาจากความรู้เดิมที่มีอยู่ เช่น ถ้าวันนี้เรามีรถที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง วันข้างหน้าเราอาจมีรถที่ใช้พลังงานจากรังสีความร้อนของดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดเป็นพลังงานสะอาด แถมยังดูดซับรังสีความร้อนที่แผ่มายังโลกได้ดีอีกด้วย
ตัวอย่างวิทยาการที่เราได้เห็นบ่อยๆ ในนิยายไซไฟก็เช่น
ตัวอย่างวิทยาการที่เราได้เห็นบ่อยๆ ในนิยายไซไฟก็เช่น
- ยานอวกาศทรงสวย ใช้พลังงานต่ำ เดินทางด้วยความเร็วแสงหรือเปิดวาร์ปได้
- เทคโนโลยีการสื่อสารที่เห็นหน้ากันได้แม้จะอยู่ดาวคนละดวง ภาพและเสียงคมชัด หรือฉายภาพเป็นสามมิติได้เลย (ในปัจจุบันเราก็มีเทคโนโลยีสื่อสารกันแบบเห็นหน้าแล้ว แต่ยังดีเลย์บ้าง กระตุกบ้างอยู่เลย)
- การคมนาคมด้วยยานพาหนะที่ใช้พลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ เดินทางอย่างรวดเร็ว ปลอดภัย หรือการเคลื่อนที่ด้วยกระสวยแบบพิเศษ
- อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ก้าวล้ำ เช่น ดาบเลเซอร์ใน Star Wars ปืนเลเซอร์ที่มีคุณสมบัติแยกองค์ประกอบของสสาร ถุงมือเพิ่มพละกำลัง
เมื่อเรามีองค์ประกอบเหล่านี้แล้ว เราก็จะได้โลกแห่งอนาคตที่สมบูรณ์พร้อมด้วยเทคโนโลยีอำนวยความสะดวก แต่โลกที่แสนดี ไร้ปัญหาใดๆ แบบนี้ใครจะอยากอ่าน มันก็ต้องมีความขัดแย้ง มีอุปสรรค ที่คนต้องดิ้นรนต่อสู้เหมือนโลกปัจจุบันเราต่อไป
ใส่ความขัดแย้ง
ความขัดแย้งหรือ conflict ที่เราเห็นได้บ่อยๆ ในนิยายไซไฟก็เช่น
1. สงคราม
- ความเหลื่อมล้ำทางสังคมก่อให้เกิดความขัดแย้งในมวลชนด้วยกันเอง เช่น มีเพียงคนรวยที่ได้เข้าถึงวิทยาการต่างๆ ได้อยู่ในเมืองอันสมบูรณ์พร้อม ส่วนคนจนต้องมาอาศัยอยู่นอกเมือง เสี่ยงจะโดนสัตว์ประหลาดข้างนอกกินเป็นอาหาร โดนดูถูกเหยียดหยาม ต้องทำงานเพื่อสร้างพลังงานต่างๆ ให้คนรวยได้ผลาญเล่น ฯลฯ สุดท้ายความอดทนก็หมดลง กลายเป็นสงครามระหว่างสองชนชั้น
- มนุษย์ต่างดาวบุก อันนี้เป็นพล็อตคลาสสิกสำหรับนิยายแนวนี้ เมื่อโลกอันสงบสุขตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกมนุษย์ต่างดาวยึดครอง ถ้าเบื่อกับอะไรแบบนี้แล้ว ลองอ่านเรื่อง Ender's Game ดู อาจจะทำให้เราได้มุมมองใหม่ในการเขียนสงครามระหว่างมนุษย์กับชนต่างดาว
- ถ้าสงครามระหว่างคนกันเอง สงครามระหว่างคนกับมนุษย์ต่างดาวยังไม่แย่พอ ลองเป็นสงครามระหว่างคนกับ AI หรือหุ่นยนต์ประดิษฐ์ที่ดันฉลาดจนทำเกินหน้าที่ นึกอยากปกครองมนุษย์ขึ้นมา
2. ทั้งหมดคือภาพลวง
- หากว่าเทคโนโลยีทั้งหมดที่อำนวยความสะดวกให้เรามีเบื้องลึกเบื้องหลัง ถ้าหากคนชราตายแล้วไม่ได้กลับสู่พื้นดินอย่างที่ควรจะเป็น แต่นอนทอดร่างอยู่บนสายพานลำเลียงเพื่อเข้าสู่กระบวนการทำเป็นอาหารชีวภาพให้พวกเรากินกันล่ะ?
- สังคมที่ถูกควบคุมเบ็ดเสร็จโดยรัฐบาล เราอาจจะใช้ชีวิตอย่างสงบสุข มีระเบียบแบบแผน ไม่ต้องเสี่ยงเลือกทางเดินชีวิตตัวเองแต่ให้ทางการเลือกให้ แต่นั่นคือสิ่งที่เราต้องการจริงหรือ ถ้าหากการควบคุมของรัฐบาลไม่ได้ควบคุมแค่ความประพฤติของเรา แต่ยังควบคุมไปถึงรสนิยม ความชอบ หรือความคิดที่อยู่ในสมองของเราเองล่ะ
สองพล็อตนี้เป็นพล็อตยอดนิยมสำหรับนิยายแนวไซไฟ และถ้าใครเคยอ่านบทความ Dystopian Literature ฝันร้ายในโลกจินตนาการ ของพี่ ก็คงพอคุ้นๆ ว่าพล็อตในข้อสองมันเหมือนกับนิยายแนวดิสโทเปียนเลยเนอะ ความจริงนิยายสองแนวนี้มันคาบเกี่ยวกันอยู่ คือ นิยายแนวไซไฟอาจจะมีเทคโนโลยี วิทยาการนู่นนี่นั่น แต่อาจจะไม่มีประเด็นเรื่อง "ภาพลวง" ในขณะที่นิยายแนวดิสโทเปียนอาจจะพูดถึงภาพลวงของสังคมอันสมบูรณ์แบบ แต่อาจไม่มีประเด็นเรื่องสงคราม การสู้รบ หรือไม่เน้นวิทยาการเลย
น่าแปลกที่นิยายไซไฟนั้นเริ่มมีมาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 17 แต่กลับไม่ได้ดังเปรี้ยงขึ้นมาเหมือนแนวรักหรือแฟนตาซีชั้นสูง คนเขียนนิยายแนวนี้แม้แต่ในต่างประเทศก็ยังมีน้อย พี่น้องเดาว่าน่าจะเป็นเพราะคนเขียนต้องรักและมีความรู้วิทยาศาสตร์พอสมควร ถึงจะสร้างโลกที่มี "พื้นฐาน" จากทฤษฎีต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ได้ เหมือนอย่างที่คนจะเขียนนิยายสืบสวนก็ต้องศึกษากระบวนการยุติธรรม กระบวนการพิสูจน์หลักฐาน ต้องมีความรู้ด้านกายภาพ จะได้วางแผนฆ่าคนได้ถูก (?)
และปัจจัยที่สำคัญก็คือคนอ่าน เหตุผลที่คนไม่ค่อยอ่านแนวนี้กันอาจเพราะมันเป็นเรื่องที่เข้าถึงยาก ส่วนใหญ่มีเนื้อหาหนัก ไม่ว่าจะด้วยความที่มันเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ก็ดี หรือธีมเรื่องที่ค่อนข้างหดหู่ อ่านนิยายแฟนตาซีชั้นสูงมันสบายใจกว่า
แต่พี่น้องก็หวังว่าบทความนี้อาจจะช่วยจุดประกายให้ชาว Dek-D บางคนหันมาสนใจเขียนแฟนตาซีแนวนี้บ้าง ไม่แน่นะ กระแสถัดจากนิยายแฟนตาซีออนไลน์ อาจจะเป็นนิยายแนวไซไฟก็ได้
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.readwritethink.org/files/resources/lesson_images/lesson927/SciFiDefinition.pdf
http://en.wikipedia.org/wiki/Technology_in_science_fiction
http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_science_fiction_themes
http://www.sff.net/people/james.van.pelt/wells/ideas.htm
ขอบคุณภาพประกอบจาก
www.grizzlybomb.com
screenshotsmovies.blogspot.com
www.imdb.com
www.obeygiant.com
20 ความคิดเห็น
น่าสนใจค่ะ แต่ต้องหลบไปศึกษาวิทยาศาตร์ให้ลึกซึ้งกว่านี้ซักหน่อย
ส่วนตัวแล้วเรื่องวิทยาศาสตร์ไม่ใช่แนวถนัดของเราเลย แต่ก็ยังดันทุรังเขียนต่อไป (ฮา) ต้องค้นคว้ากันอย่างหนักหน่วงทีเดียว
ต้องลองอ่าน Another History อีกหนึ่งตำนานอัน!? ดูค่ะ >w<
อยากให้คนไทยหันมาสนใจอ่านนิยายแนววิทยาศาสตร์ไซไฟกันบ้าง
คนไทยชอบอ่านพวกนิยายแนวพล็อตตลาดๆน้ำเน่าเข้าไปได้ยังไง
โทมินจุนนี่ใช่ไซไฟรึป่าว?555
มันยากตรง วิทยาศาสตร์ นี้แหละ - - มันต้องมีหลักเกนมาอ้างอิงไม่เหมือนแฟนซี ผีบ้าจ๋าที่เราดนสดหมดเลยก็ยังได้
แนวนี้สนใจนะคะ แต่ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีนี่ต่ำเตี้ยเรี่ยดินมากค่ะ
กำลังเขียนค่ะ^^
แต่ไปๆมาๆ ความเป็นไซไฟมันไม่ข้นเท่าที่ควร
กลายเป็นเหมือนดูหนังดูอนิเมะมากกว่า 555 (ดูบ่อย)
ชอบนิยายแนวนี้มากๆค่ะ มันสนุกแล้วก็น่าค้นหามากๆเลย ชอบโครงเรื่องที่ซับซ้อน มีเหตุผล สามารถนำไปบูรณาการณ์ต่อการศึกษาและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ นี่ล่ะมายสไตล์เลย
ยอมรับว่าหนังหรือนิยายประเภทนี้ บางเรื่องอาจเป็นแรงบันดาลใจในการศึกษาและต่อยอดวิทยาศาสตร์เลยทีเดียวค่ะ เจ๋งสุดๆ
แต่ความคิดเห็นส่วนตัวคือ ต้องขึ้นอยู่กับผู้ส่งสารและผู้รับสารด้วย ถ้าผู้ส่งสารและผู้รับสารมีการมองมุมต่างและเข้าใจเสน่ห์ของสารที่จะสื่อหรือถ่ายทอดระหว่างกัน แค่นั้นก็คิดว่าสารนั้นมีคุณค่าแล้ว
"ความบันเทิงที่บูรณาการณ์"
นี่ล่ะ คุณค่าที่พวกเราคู่ควร...
กุโระกับวิทยาศาตร์จะเข้ากันไหมครับ
ถ้าหนูจะแต่งคงเน้นเรื่องธรรมชาติ ไม่ก็ดาวเคราะห์ค่ะ
ไซไฟนี่ดีกว่าสามจีครับ เสถียรกว่า
ผมลองเขียนแล้ว แต่ไม่รู้จะให้ใครแนะนำได้บ้าง
ตั้งใจเรียนวิทย์เพราะนิยายแนวนี้ #ตอนอ่านไม่เข้าใจหลายอย่างเลยตั้งใจเรียน ยิ่งเฉพาะเกี่ยวกับดาราศาสตร์
ขอบคุณมากค่ะ เราก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบอ่านและแต่งแนวไซไฟ

อยากแนะนำนิยายไซไฟของคนไทยอย่าง กาลีสุตรา ของวินทร์ เลี้ยววาริณ ที่ถึงแม้จะแค่เรื่องสั้นแต่เป็นหนังสือที่ดีมาก(สำหรับผมน่ะ ไม่รู้มีคนอื่นคิดยังไง)เนื้อเรื่องที่ชวนติดตาม มีข้อคิดต่างๆ และตอนจบที่ผมถึงกับอ้าปากค้างแล้วร้องว่า ว้าว ที่เดียว อยากให้คนที่พึ่งสนใจนิยายไซไฟลองหาอ่านดู
ขอบคุณหรับข้อมูลในการเขียรค่ะกำลังเขียนนิยาย(แนวโลกอนาคตอยู่)เลยค่ะ