Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

5 ไอเดียเปิดเรื่องยังไง โดนใจคนอ่าน

 
        มีชาว Dek-D Writer คนไหนที่มีปัญหากับการเขียนนิยาย ไม่ได้เริ่มเขียนสักทีเพราะไม่รู้จะเริ่มยังไงหรือเปล่าคะ บางทีเรามีพล็อตเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบอยู่ในหัวแล้ว แต่ไม่รู้จะเริ่มด้วยฉากไหนก่อน ก็ติดอยู่ตรงนั้น ไม่ไปไหนสักที
        วันนี้พี่น้องจะมาสอนวิธีการเขียนฉากเปิดเรื่อง และวิธีเลือกฉากเพื่อให้เข้ากับงานของเรากันค่ะ

การเปิดเรื่อง

        สมัยก่อนงานเขียนประเภทเรื่องแต่งแบบนี้ มักมีกลวิธีไม่ซับซ้อน แพรวพราวเหมือนปัจจุบัน อย่างเทวตำนานหรือนิทานก็มีวิธีการเล่าเรื่องจาก 1 ไป 2 ไป 3 ด้วยสำนวนเรียบๆ เหมือนฟังคุณปู่เล่านิทานข้างเตียงอย่างไรอย่างนั้น
        แต่ปัจจุบันนี้สื่อบันเทิงมีมากมายหลายแขนง ในกลุ่มงานเขียนเองก็มีคู่แข่งอยู่เยอะ ทำให้นักเขียนต้องงัดกลวิธีแพรวพราวทั้งหลายออกมาใช้เพื่อดึงความสนใจคนอ่าน นอกจากพล็อตเรื่องน่าสนใจแล้ว การเปิดเรื่องที่ช่วยดึงคนอ่านก็สำคัญ
        เราจะไม่มาเล่าเรื่องแบบ "A เป็นเด็กชายอายุ 11 ปี อาศัยอยู่ในบ้านหลังน้อยกับคุณพ่อและคุณแม่" เพราะการเล่าเรื่องที่ตรงไปตรงมาแบบนี้ คงจะมีแต่เด็กเท่านั้นที่ยังไม่หาวใส่
        มาดูกันว่าเรามีวิธีเปิดเรื่องยังไงบ้าง แล้วแต่ละวิธีเหมาะกับพล็อตเรื่องแบบไหน ข้อดี-ข้อเสียของมันคืออะไร
 

1. เปิดเรื่องด้วยการแนะนำตัวละคร

        แบบเบสิกก็อย่างที่พี่น้องยกตัวอย่างไปก่อนหน้านี้ แต่อันนั้นมันเหมาะกับงานเขียนประเภทนิทาน ที่ไม่ต้องซ้บซ้อนตีความมากนัก เดี๋ยวเด็กตามไม่ทัน
        ถ้าเราอยากให้มันน่าสนใจ เราต้องเปิดเรื่องด้วยการแนะนำตัวละครแบบอ้อมๆ เช่น บทนำของเรื่องอาร์ทิมิส ฟาวล์ ผู้เขียนไม่ได้เปิดมาด้วยการบรรยายนิสัยหรือ 'ความพิเศษ' ของอาร์ทิมิสตรงๆ แต่เลือกใช้บันทึกของนักจิตวิทยาที่ดูแลอาร์ทิมิสอยู่ ให้เป็นตัวเล่าเรื่องแทน


 
        เมื่ออ่านปุ๊บ เราจะรู้เลยว่าเด็กผู้ชายที่ชื่ออาร์ทิมิสคนนี้ไม่ธรรมดาแน่ เขามีนิสัยบางอย่างที่ถึงกับทำให้นักจิตวิทยาต้องกุมขมับ และถ้าเราอยากรู้ว่า 'ทำไม' ดอกเตอร์คนนี้ก็ได้รวบรวมวีรกรรมของอาร์ทิมิสมาให้เราอ่านแล้ว
        การเปิดเรื่องด้วยการแนะนำตัวละครดูจะเป็นวิธีที่ใช้ได้ดีและได้ผลตลอดมา เพราะตัวละครเป็นองค์ประกอบสำคัญของเรื่อง นิยายส่วนใหญ่มักมีตัวเอกที่ 'แตกต่าง' จากคนทั่วไปอยู่แล้ว การเปิดเรื่องด้วยอะไร 'แปลกๆ' แบบนี้จึงดึงความสนใจคนอ่านได้
        แต่วิธีเปิดเรื่องแบบนี้จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อตัวละครของเรามีคุณสมบัติพิเศษ และนำเสนอได้น่าสนใจจริงๆ นะ
        เช่น พี่น้องจะเขียนนิยายเกี่ยวกับตำรวจคนหนึ่งที่ตาบอดสนิททั้งสองข้าง แต่กลับได้เป็นตำรวจที่ยิงปืนแม่นที่สุดของกรมตำรวจเพราะเขาหูดีมาก พี่จะไม่เปิดเรื่องด้วยการเขียนบอกคนอ่านไปโต้งๆ แบบนี้ แต่พี่น้องจะเขียนว่า...


 
        จากตัวอย่างพี่น้องก็ใช้ แม็กซ์ เพื่อนร่วมงานของอดัมมาพูดถึงตัวเอกของเราแทน คนอ่านจะได้รู้ว่าอดัมตาบอด และยิงปืนเก่งมาก รวมทั้งได้รู้ด้วยว่าแม็กซ์อิจฉาอดัมอยู่ลึกๆ และพยายามจะเอาชนะเขาด้วยการยิงปืนโดยไม่มองเป้า
        จะเห็นว่าเราไม่จำเป็นต้องให้ตัวเอกแนะนำตัวเองโดยตรง เราใช้ตัวละครอื่นแนะนำตัวละครหลักได้ หรือแม้แต่ใช้ตัวละครหลักแนะนำตัวละครอื่นเพื่อให้คนอ่านเห็นทัศนคติของเขาที่มีต่อคนรอบข้าง
 

2. เปิดเรื่องด้วยบทสนทนา

        เห็นได้บ่อยในนิยายรักหวานแหววหรือไลท์โนเวลที่เน้นบทสนทนามากกว่าการบรรยาย จู่ๆ ก็เปิดเรื่องมาเป็นบทสนทนาระหว่างตัวละครเลย โดยที่เรายังไม่รู้ว่าใครเป็นใคร หรือ ณ จุดนั้นเกิดอะไรขึ้น
        พี่น้องยกตัวอย่างจากนิยายชื่อดังอย่าง A Song of Ice and Fire เขียนโดยจอร์จ อาร์. อาร์. มาร์ติน หรือที่รู้จักกันในชื่อซีรี่ย์ A Game of Throne นะคะ (ไม่ใช่นิยายรักหวานแหววแต่อย่างใด)


 
        การเริ่มด้วยบทสนทนามีข้อดีคือคนอ่านจะรู้สึก "ตื่นตัว" กว่าการเริ่มด้วยบทบรรยาย และมักจะไม่ใช่เรื่องทั่วๆ ไป แต่เป็นหัวข้อที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่อมาของเรื่อง จากตัวอย่างที่พี่น้องให้มา ลุงมาร์ตินเริ่มเรื่องด้วยการลาดตระเวนของหน่วยไนท์วอช กลุ่มคนที่ทำผิดกฎของอาณาจักรและเลือกถูกเนรเทศมาประจำการที่กำแพงทางเหนือ จะได้ไม่ต้องโดนตัดมือ แต่แล้วระหว่างการลาดตระเวนก็ดันไปเจอสิ่งที่เรียกว่า 'ไวท์วอล์กเกอร์' ซึ่งคนในอาณาจักรส่วนใหญ่เชื่อว่าไม่มีอยู่จริง
        หน่วยลาดตระเวนคนหนึ่งหนีกลับมาได้ แต่การละทิ้งหน้าที่ถือว่าทำผิดกฎหน่วยไนท์วอช เขาจึงต้องโดนตัดหัว ซึ่งก็จะนำไปสู่ฉากเปิดตัว ตัวละครสำคัญคนหนึ่งของเรื่อง และนอกจากคนอ่านจะได้รู้ว่าเขาเป็นใคร เกี่ยวข้องอะไรกับหน่วยไนท์วอชแล้ว ยังช่วยให้รู้ด้วยว่าเขาเป็นคนที่ยึดมั่นในกฎที่ตัวเองสร้างขึ้นขนาดไหน
        ดังนั้น ถ้าเราเลือกเปิดเรื่องด้วยบทสนทนา ก็ต้องดูให้ดีว่าบทสนทนานั้นมันนำไปสู่เหตุการณ์ต่อไปหรือเปล่า คำพูดที่เราเลือกมาต้องมีที่มาที่ไป มีความหมาย ไม่ใช่แค่เอามาใส่เพื่อให้มันมีบทนำเฉยๆ นะ
 

3. เปิดเรื่องด้วยการพูดถึงสถานที่/วัตถุ/บางสิ่งที่สำคัญต่อเรื่องทั้งหมด

        ถ้าหากนิยายที่เราเขียนนั้นมีวัตถุบางอย่าง สถานที่บางอย่าง สิ่งมีชีวิตบางอย่าง หรือแม้แต่ระบบบางอย่างที่สำคัญต่อเรื่องตั้งแต่ต้นยันจบ เราก็เลือกพูดถึงสิ่งเหล่านั้นในบทนำก็ได้ เช่น มหากาพย์ไตรภาคอย่าง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อุทิศ 26 หน้า (ต้นฉบับภาษาไทย) ให้กับ...ฮอบบิท


 
        เราอาจจะสงสัยนะว่าทำไมไม่พูดถึง 'แหวน' ก็ในเมื่อแหวนเป็นวัตถุสำคัญของเรื่องนี้ แต่คุณโทลคีนเลือกเขียนถึงฮอบบิท
        ทำไมน่ะหรือ แหวนเป็นของเซารอนก็จริง แต่สุดท้ายเมื่อเซารอนพลาดท่า เมื่อมนุษย์พลาดท่า เมื่อเอลฟ์ทำเฉย ใครล่ะที่ได้แหวนไป ก็ฮอบบิทใช่ไหม ใครล่ะที่ทำลายแหวน ก็ฮอบบิท พูดง่ายๆ ว่าฮอบบิทคือเผ่าพันธุ์สำคัญที่ทำให้นิยายเรื่องนี้ 'เกิดขึ้น' และ 'จบลง' ก็เลยเปิดเรื่องด้วยการพูดถึงธรรมชาติของเผ่าพันธุ์นี้สักหน่อย
        มาดูอีกตัวอย่างดีกว่า อันนี้น่าจะเห็นได้ชัดอยู่แล้วคือนิยายออนไลน์ พี่น้องขอยกตัวอย่างบทนำของเรื่อง DWO 7 การ์ดราชันย์ครองพิภพ ของ Season Cloud ที่เปิดด้วยฉากเล่นเกมเลย


 
        เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอะไรคือ 'เกรดิออส' 'หญิงสาว' ที่กำลังเล่นเกมนี้อยู่คือใคร เรารู้แต่ว่าพวกเขากำลังเล่น 'การ์ดเกม' อยู่ และถ้าเราอยากจะรู้ว่าการ์ดเกมนี้คืออะไร สองคนนี้เป็นใคร ทำไมต้องมาสู้กัน ก็ต้องเปิดอ่านต่อไป
        ตัวอย่างสุดท้ายจากเรื่อง ไดเวอร์เจนท์ ของ เวโรนิก้า รอธ นิยายเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมวัยรุ่น (Young Adult) ธีมดิสโทเปีย จึงต้องสร้าง 'สังคมใหม่' สำหรับโลกนี้ ซึ่งแบ่งกันเป็น 'เผ่า' และจะมีการคัดเลือกคนเข้าเผ่าเมื่ออายุถึงเกณฑ์ คนที่จะเกริ่นถึงสังคมใหม่ให้เราเข้าใจก็คือ...ตัวนางเอกเองค่ะ



 
        เมื่อเราอ่านไป ที่เราสนใจไม่ใช่ตัวนางเอก ไม่ใช่แม่นางเอก แต่เป็นคำว่า 'เผ่า' ที่นางเอกพูดถึง ทำไมเผ่าถึงมีห้ามใช้กระจก ทำไมเผ่าถึงมีสิทธิห้ามไม่ให้ทำกิจกรรมส่วนตัวได้ เผ่าคืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับสังคมนี้นัก
 

4. เปิดเรื่องด้วยคำคม

        นิยายส่วนใหญ่ก็จะมีแก่นเรื่องหรือธีมเป็นของตัวเอง หรือข้อคิดบางอย่างที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอให้คนอ่านเอากลับไปคิด เช่น ธรรมะย่อมชนะอธรรม, ความโลภนำมาซึ่งการสูญเสีย หรืออะไรทำนองนี้ แต่ถ้าเรื่องไหนที่เน้นธีมของเรื่องเป็นหลัก ไม่ได้เน้นที่ตัวละคร วัตถุวิเศษ หรือฉากอลังการงานสร้าง ก็อาจจะเปิดเรื่องด้วยคำคมๆ หรือข้อคิดที่เกี่ยวกับธีมหลักของเรื่อง อย่างเช่น บทนำของเรื่อง Alive หัวหน้าผมเป็นยมทูต โดย ข้าเจ้า


 
        บทนำเปิดมาด้วยการพูดถึงตาบอด ตาไม่บอด แรกๆ อ่านก็อาจจะงง ต้องการสื่ออะไร แต่คนเล่าก็แค่จะบอกว่าคนที่ไม่มีจุดหมายในชีวิต ไม่รู้ว่าจะอยู่ไปทำไม ก็เหมือนคนที่ตาบอด มองไม่เห็นอะไร บางทีคิดว่าตายเสียได้ก็ดี แต่แล้วก็มีบางอย่างมาทำให้เขาคิดได้ บางอย่างที่ว่าก็คือ 'การได้เป็นยมทูตรับจ้าง' ส่วนการเป็นยมทูตรับจ้างคืออะไร ทำไมมันถึงทำให้เขาคิดได้นั้น คนอ่านก็ต้องไปตามอ่านต่อเอาเอง
 

5. เปิดเรื่องด้วยเหตุการณ์ซึ่งเป็นต้นเหตุของเรื่องทั้งหมด

        ถ้านิยายเรื่องนั้นไม่ได้มีตัวละครพิเศษ ไม่ได้อยู่ในสังคมพิเศษ ไม่ได้มีวัตถุพิเศษ เป็นเพียงเรื่องธรรมดาๆ ที่มี 'เหตุการณ์' พิเศษ เราก็ต้องเลือกเปิดด้วยเหตุการณ์นั้น เช่น ฉากเปิดของวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง เด็กชายในชุดนอนลายทาง เขียนโดย จอห์น บอยน์


 
        คนเขียนไม่ได้อธิบายให้เราฟังว่าบรูโน ตัวเอกของเรื่องเป็นคนยังไง แต่พูดถึงเหตุการณ์ที่ทำให้เรื่องทั้งหมดเกิดขึ้น นั่นคือ 'การย้ายบ้าน' ซึ่งเกิดจากพ่อของเขาที่เป็นทหารหน่วยเอสเอสต้องไปประจำการที่ค่ายกักกัน พอบรูโนย้ายไปเลยทำให้เขาได้รู้ความจริงเบื้องหลัง 'ฟาร์ม' และ 'บ้านใหม่' แห่งนี้
 
        ที่จริง ยังมีวิธีการเปิดเรื่องอีกหลายแบบมาก ขึ้นอยู่กับพล็อตเรื่องของเราเอง ดังนั้นเวลาที่เราจะเขียนนิยายสักเรื่อง อย่างน้อยเราควรจะมีรายละเอียดคร่าวๆ อยู่ในหัวแล้วว่านิยายของเราจะเกี่ยวกับอะไร เปิดเรื่องด้วยอะไรถึงจะเข้ากับพล็อตที่เราวางไว้มากที่สุด
        สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงคือการเปิดเรื่องขึ้นมาลอยๆ ไม่มีที่มา และไม่รู้จะไปที่ไหน คนเขียนก็งง คนอ่านก็งง บทนำ หรือบทแรกที่เปิดเรื่องควรจะเป็นเหมือนไฟฉายหรือป้ายบอกทาง ให้คนอ่านรู้ว่ากำลังจะเจอกับอะไร อย่าเป็นแค่กิ่งไม้ข้างทางที่ไม่รู้ว่ามีไว้ทำไมนะคะ
 
Dek-D Team ทีมคอลัมนิสต์ Dek-D

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

โซล Soul Member 20 ส.ค. 57 21:07 น. 15

มีประโยชน์มากเลยครับ การเริ่มเรื่องยังมีอีกเยอะแล้วแต่ไอเดียของแต่ละคน อย่างผมก็เป็นคนแต่งนิยายแฟนตาซี มักจะใช้อดีต(1,000 ปี)ขึ้นเป็นบทนำแล้วตอนต่อไปคือปัจจบัน หรือไม่ก็เป็นเหตุการณ์สำคัญของเรื่องที่โยงไปหาแก่นเรื่องเลยก็ได้

0
กำลังโหลด
phoenix66 Member 2 ก.ย. 57 00:35 น. 16

มีประโยชน์มากเลยครับ ตอนนี้ผมตันกับบทนำมากเลย มีพล็อตอยู่ในหัวหลายเรื่อง แต่ไม่รู้จะนำบทอย่างไร หรือนำจากอดีตสู่ปัจจุบัน กับปัจจุบันสู่อดีตดีเสียใจ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
I am ink Member 31 ก.ค. 57 14:40 น. 12

แสดงว่าการเปิดเรื่องนี่มันเป็นตัวแปรสำคัญมากสำหรับนิยายนะคะ แต่ถ้าตอนที่2 3 4 5 6.....ยันตอนจบดำเนินเรื่องดี แต่จั่วหัวมากลับดูไม่น่าสนใจ มันจะเป็นยังไงคะ?

แต่เทคนิคนี้หนูต้องขอลอกทุกตัวหนังสือซะแล้ว เพราะนิยายเรื่องต่อไป(ในอนาคต) มันจะได้ใช้ทันที555ปิ้งปิ้ง

1
editor_nong Member 4 ส.ค. 57 14:06 น. 12-1
การเราเปิดเรื่องมาเรียบๆ ไม่ดึงดูดคนอ่าน อาจจะไม่มีผลอะไรมาก ถ้าคนอ่านคนนั้นเป็นคนมีความอดทนสูง ทนอ่านไปจนกลางเรื่องที่เริ่มสนุก แต่บางทีเราก็เป็นใช่ไหมคะ อ่านไปแค่บทเดียวพอไม่สนุกก็ไม่อยากอ่านต่อแล้ว ทั้งๆ ที่เนื้อเรื่องต่อไปจะสนุกแน่ๆ ดังนั้นถ้าทำให้ดีได้ตั้งแต่เปิดเรื่องเลยจะดีกว่าค่ะ
0
กำลังโหลด

27 ความคิดเห็น

เด็กหญิงบีนี่ Member 11 ก.ค. 57 16:28 น. 1

เป็นปัญหามากเพราะไม่รู้จะเริ่มยังไงให้มันน่าติดตาม ; - ;

แต่ตอนนี้พอเข้าใจแล้วค่ะ ภาษาสวย เทคนิคดี มีชัยไปกว่าครึ่งจริงๆ เยี่ยม 

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
GoodByeDeadMan Member 11 ก.ค. 57 18:32 น. 3

รู้สึกว่าผมชอบแบบที่ 5 แฮะ

เปิดด้วยต้นเหตุ แต่ปาไป 4 ตอนนี่ดิ

(เอิ่ม...นี่ใช่เปิดเรื่องมั้ย...)

คำถามคือ...นิยายทุกเรื่องควรมีบทนำก่อนเริ่มเรื่องใช่รึเปล่าฮะ

ทำไมหลายๆ เรื่องที่เคยอ่านส่วนมากมีบทนำมาก่อนตลอด

เราจะไม่เขียนบทนำ หรือนับบทนำเป็นบทแรกเลยได้มั้ย

และจำกัดบทของบทนำไว้กี่บทดี

คือสงสัยมากๆ หวังว่าพี่น้องจะเข้าใจคำถามครับ เขิลจุงเขิลจุง

2
editor_nong Member 11 ก.ค. 57 21:27 น. 3-1
ปกติแล้วบทนำในนิยายมันก็คือตอนนึงของเรื่องนั่นแหละค่ะ เพียงแต่ที่ตั้งชื่อว่า "บทนำ" ไม่ได้เรียกว่า "ตอนที่ 1" ไปเลยเพราะคนเขียนอยากให้มันมีความพิเศษ โดดเด่นออกมา ไม่เหมือนตอนปกติอื่นๆ หรืออยู่เป็นอิสระจากตอนอื่นๆ เช่น มีขนาดสั้นกว่าตอนทั่วๆ ไป อย่างตอนปกติเราอาจจะเขียนสัก 4-5 หน้า แต่บทนำเราจะมีแค่หน้าเดียว หรือปกติเราเขียนสัก 20 หน้าต่อตอน แต่บทนำอาจจะมีแค่ 5 หน้า หรือบทนำอาจจะมีเนื้อหาที่ไม่ได้ทำให้เรื่องดำเนินไปข้างหน้าเลย เป็นแค่คำคมๆ พูดถึงอะไรก็ไม่รู้ แล้วพอเข้าตอนหนึ่งค่อยเข้าเรื่องอีกที บางทีเราอาจจะเจอนิยายที่ทั้งเรื่องเขียนด้วยมุมมองบุคคลที่ 1 (เล่าด้วย "ฉัน" หรือ "ผม") แต่บทนำคนเขียนจะไม่ใช่มุมมองนี้ แต่เปลี่ยนไปใช้มุมมองบุคคลที่ 3 เพื่อพูดถึงภาพรวมๆ ของเรื่องให้คนอ่านเข้าใจก่อนเริ่มเรื่องก็มี เราจะมีหรือไม่มีบทนำก็ได้ เลือกใช้บทนำให้เข้ากับพล็อตเรื่องของเราดีที่สุดค่ะ เยี่ยม
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เฮอร์เปอร์เองจ้า!!! Member 13 ก.ค. 57 21:12 น. 6

ขอบคุณค่ะสำหรับคำแนะนำดีๆ ทีแรกมีปัญหาอยู่กับการเปิดเรื่องพอดี แต่ตอนนี้รุ้แล้วค่ะว่าต้องทำอย่างไงยิ้มยิ้มยิ้มยิ้มยิ้ม

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
I am ink Member 31 ก.ค. 57 14:40 น. 12

แสดงว่าการเปิดเรื่องนี่มันเป็นตัวแปรสำคัญมากสำหรับนิยายนะคะ แต่ถ้าตอนที่2 3 4 5 6.....ยันตอนจบดำเนินเรื่องดี แต่จั่วหัวมากลับดูไม่น่าสนใจ มันจะเป็นยังไงคะ?

แต่เทคนิคนี้หนูต้องขอลอกทุกตัวหนังสือซะแล้ว เพราะนิยายเรื่องต่อไป(ในอนาคต) มันจะได้ใช้ทันที555ปิ้งปิ้ง

1
editor_nong Member 4 ส.ค. 57 14:06 น. 12-1
การเราเปิดเรื่องมาเรียบๆ ไม่ดึงดูดคนอ่าน อาจจะไม่มีผลอะไรมาก ถ้าคนอ่านคนนั้นเป็นคนมีความอดทนสูง ทนอ่านไปจนกลางเรื่องที่เริ่มสนุก แต่บางทีเราก็เป็นใช่ไหมคะ อ่านไปแค่บทเดียวพอไม่สนุกก็ไม่อยากอ่านต่อแล้ว ทั้งๆ ที่เนื้อเรื่องต่อไปจะสนุกแน่ๆ ดังนั้นถ้าทำให้ดีได้ตั้งแต่เปิดเรื่องเลยจะดีกว่าค่ะ
0
กำลังโหลด
Arbeno Siemie Member 3 ส.ค. 57 18:49 น. 13

เราเปิดด้วยข่าวง่ะ ไม่รู้ว่าจะน่าสนใจมั้ย ประมาณว่าเล่าเหตการณ์สำคัญด้วยข่าวต่างๆที่รวบรวมมา

แบบ

วันที่ xx เดือน xx ค.ศ. xx

      เกิดเหตุการณ์บลาๆๆๆๆๆ

วันที่ xxx เดือน xx ค.ศ. xx

    หลังจากที่ผ่านไปได้ xx ก็เกิดการประท้วงบลาๆๆๆๆ

เอามาเฉพาะใจความสำคัญในส่วนที่เราต้องการจะบอก แล้วก็จบด้วยพล็อตเรื่องที่เราจะส่งต่อไปในบทแรก 

ไม่รู้ว่ามันจะใช้ได้มั้ยง่ะ ว่าแล้วก็แปะลิ้งค์สักหน่อย ปล.เป็นฟิคที่เน้นความสมจริงนะแจ้

Intro 

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
โซล Soul Member 20 ส.ค. 57 21:07 น. 15

มีประโยชน์มากเลยครับ การเริ่มเรื่องยังมีอีกเยอะแล้วแต่ไอเดียของแต่ละคน อย่างผมก็เป็นคนแต่งนิยายแฟนตาซี มักจะใช้อดีต(1,000 ปี)ขึ้นเป็นบทนำแล้วตอนต่อไปคือปัจจบัน หรือไม่ก็เป็นเหตุการณ์สำคัญของเรื่องที่โยงไปหาแก่นเรื่องเลยก็ได้

0
กำลังโหลด
phoenix66 Member 2 ก.ย. 57 00:35 น. 16

มีประโยชน์มากเลยครับ ตอนนี้ผมตันกับบทนำมากเลย มีพล็อตอยู่ในหัวหลายเรื่อง แต่ไม่รู้จะนำบทอย่างไร หรือนำจากอดีตสู่ปัจจุบัน กับปัจจุบันสู่อดีตดีเสียใจ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
แทรกรูปจากแกลเลอรี่ - Dek-D.com
L o a d i n g . . .
x
เรียงตาม:
ใหม่ล่าสุด
ใหม่ล่าสุด
เก่าที่สุด
ที่กำหนดไว้
*การลบรูปจาก Gallery จะส่งผลให้ภาพที่เคยถูกนำไปใช้ถูกลบไปด้วย

< Back
แทรกรูปโดย URL
กรุณาใส่ URL ที่ขึ้นต้นด้วย
http:// หรือ https://
กำลังโหลด...
ไม่สามารถโหลดรูปภาพนี้ได้
*เมื่อแทรกรูปเป็นการยืนยันว่ารูปที่ใช้เป็นของตัวเอง หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และลงเครดิตเจ้าของรูปแล้วเท่านั้น
< Back
สร้างโฟลเดอร์ใหม่
< Back
ครอปรูปภาพ
Picture
px
px
ครอปรูปภาพ
Picture