สำหรับพี่ จะแบ่งคำผิดออกเป็นสองกลุ่ม คือ

1. คำผิดที่เกิดจากการพิมพ์ผิด
อันนี้จะผิดมากผิดน้อยก็ขึ้นอยู่กับความแม่นยำในการพิมพ์สัมผัสของน้องๆ ถ้าน้องๆ มัวแต่มองแป้น ไม่มองจอ ก็มีโอกาสพิมพ์ผิดโดยไม่รู้ตัวสูง ดังนั้นควรฝึกพิมพ์สัมผัสให้ได้โดยไม่ต้องมองแป้น แล้วใช้สายตาจับที่จอคอมพิวเตอร์ไปเลย เวลาเราพิมพ์ผิดมันจะเห็นทันที เป็นการตรวจทานนิยายไปในตัว
2. คำผิดที่เกิดจากการสะกดผิด
นั่นคือเราเข้าใจว่าสะกดแบบนี้จึงพิมพ์แบบที่เราเข้าใจ แต่ความจริงสะกดอีกแบบ คำผิดในกลุ่มนี้พี่น้องยังแบ่งออกเป็น คำผิดที่ผิดแล้วพอเข้าใจได้ เช่น กระตือรือร้น, ผัดวันประกันพรุ่ง, อะลุ้มอล่วย ฯลฯ พวกนี้ลักษณะการสะกดคำมันทำให้เราสับสนได้
แต่คำผิดอีกกลุ่มคือคำผิดที่ไม่น่าให้อภัย เป็นคำง่ายๆ และใช้กันทั่วไปทั้งในนิยายและในชีวิตประจำวัน เช่น คะ, ค่ะ, น่า, หน้า, เกลียด, เกียจ, นั่น, นั้น ฯลฯ คำพวกนี้ถ้าเรายังใช้ผิดๆ ถูกๆ อยู่ พี่น้องว่าต่อให้เราเขียนนิยายสนุกแค่ไหน เรื่องของเราก็จะไม่มีวันผ่านการพิจารณาแน่นอนค่ะ
ดังนั้นใครที่กำลังเขียนนิยายอยู่ และไม่รู้ว่าตัวเองเขียนคำพวกนี้ผิดมาตลอดหรือเปล่า ลองดูรายการคำที่มักเขียนผิดต่อไปนี้ แล้วปรับปรุงให้ไวเลยค่ะ
คะ VS ค่ะ
สองคำนี้แม้แต่ในโลกออนไลน์ก็ยังเคยเป็นกระแสมาแล้ว พี่ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมถึงพิมพ์ผิดกัน หลายๆ คนพยายามทำภาพอธิบายความแตกต่างของสองคำนี้ให้เข้าใจและเอาไปแชร์กัน แต่ก็ยังมีพิมพ์ผิดหลงมาอยู่
สำหรับพี่น้องก็ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร นอกจากบอกว่า
คะ [คะ] เป็นเสียงสูง (โปรดออกเสียงตาม) เช่น ได้แล้วนะคะ, ไปหรือยังคะ
ค่ะ [ขะ] เป็นเสียงต่ำ (โปรดออกเสียงอีกรอบ) เช่น ได้แล้วค่ะ, ไปค่ะ
จ้ะ VS จ๊ะ
สองคำนี้ไม่ค่อยมีใครพูดถึง แต่ก็ใช้ผิดกันเยอะ หลายๆ คนจะใช้ "จ่ะ" แบบนี้ ซึ่งไม่มีในภาษาไทย
จ้ะ เช่น เรียบร้อยแล้วจ้ะ, ได้เลยจ้ะ
* คำนี้สับสนนิดหนึ่ง เพราะว่า จ เป็นอักษรกลาง ซึ่งควรจะออกเสียงตามวรรณยุกต์ได้ปกติ แต่เพราะมันไปรวมกับสระเสียงสั้น (สระอะ) เสียงที่ออกเลยเกือบจะใกล้กับคำว่า "จะ"
จ๊ะ เช่น ไปไหนจ๊ะคนสวย, หิวข้าวไหมจ๊ะ
สัก VS สะ
สะหน่อย ไม่มีในภาษาไทย เรามีแต่ สักหน่อย หรือ เสียหน่อย ซึ่งเวลาพูดจริงๆ มันจะฟังเหมือน "ซะหน่อย" หรือ "ซักหน่อย แต่พยายามใช้คำเดิมของมันในการเขียนดีกว่านะคะ
เช่นเดียวกันกับ สักที หรือ เสียที ไม่มี สะที นะคะ
น่า VS หน้า
คำนี้ใครเขียนผิดอีกจะสั่งคัดพันจบ
น่า ใช้เป็นคำขยายของกริยาอีกทีเพื่อบอกว่าอยากทำสิ่งนั้น หรือสิ่งนั้นมีคุณสมบัติที่ทำให้เราอยากทำ เช่น น่ารัก, น่าทะนุถนอม, น่าเอ็นดู, น่าตี, น่ารังเกียจ, น่าดีใจ
* จำง่ายๆ ว่า น่า + กริยา (รัก, เอ็นดู, ตี, ตบ, เหยียบ, ฟัด)
หน้า ใช้เป็นคำนามในความหมายว่า ใบหน้า หรือบอกตำแหน่งว่าอยู่ข้างหน้าก็ได้ เช่น หน้าตา, หน้าห้องเรียน
* จำง่ายๆ ว่า หน้า + คำนาม (ตา, ห้อง, เขา, เธอ)
กรอก VS กลอก
กรอก เป็นกริยาหมายถึงการเติมอะไรลงไปในช่องแคบๆ เช่น กรอกน้ำลงขวด, กรอกอาหารผ่านกระบวย
กลอก เป็นกริยาหมายถึงกลิ้งไปมา เคลื่อนไปมาเป็นวงกลม เช่น กลอกตา, กลับกลอก (ไม่ซื้อตรง แต่ปรับตัวตามสถานการณ์ไปมา)
กลับ VS กับ
สองคำนี้ก็ใช้สลับกันเป็นว่าเล่นเลย
กลับ หมายถึงหันหรือย้อนไปในทิศทางตรงข้าม เช่น กลับหลังหัน, กลับตัวกลับใจ, กลับกลอก, กลับบ้าน, กลับกัน (สำนวนเชื่อมประโยคว่าในทางตรงข้าม)
กับ หมายถึง "และ" หรือ "คู่ไปด้วย" เช่น ไปกับเธอ, ฉันกับเขา, กับข้าว (อาหารที่กินคู่กับข้าว)
เกลียด VS เกียจ
เกลียด ใช้เดี่ยวๆ ไม่เคยเอาไปผสมกับคำใด เช่น ฉันเกลียดเธอ, เธอเกลียดแมงมุม
เกียจ ไม่ค่อยเจอเดี่ยวๆ แต่จะใช้ผสมกับคำอื่น เช่น รังเกียจ, ขี้เกียจ
นั่น VS นั้น
เราจะใช้ นั่น กับพวกคำสร้อยท้ายประโยค เช่น นั่นแหละ, นั่นไง, นั่นเอง, นั่นสินะ
แต่ นั้น จะเจอเป็นคำขยายนามมากกว่า เช่น เขาคนนั้น, ใครคนนั้น บางทีก็อาจจะเจอขยายเป็นประโยคย่อย เช่น การกลับมาของเขานั้น ทำให้เธอแทบจะลืมทุกความเจ็บปวดที่เจอมา
เนี่ย VS เนี้ย
เนี่ย กร่อนมาจาก นี่ไง, นี่อ่ะ
เนี้ย ก็กร่อนมาจาก อันนี้ไง
สองคำนี้ถ้าจะเขียนก็เขียนเป็นภาษาเขียนไปเลยดีกว่า เช่น
"เนี่ย เขาไปมาแล้ว" ก็เป็น "นี่ไง เขาไปมาแล้ว"
"อะไรกันเนี่ย" ก็เป็น "อะไรกันนี่"
"จะเอาอันเนี้ย" ก็เป็น "จะเอาอันนี้"
การเขียนคำผิดพวกนี้ไม่เหมือนกับการใช้ภาษาวิบัติในโลกออนไลน์ ภาษาวิบัติพวกนั้นเราเห็นชัดเลยว่าคนเขียนตั้งใจเขียนให้ผิด ใครใคร่ใช้ในโลกออนไลน์ก็ใช้ ตราบใดที่แยกแยะได้ว่าเวลาไหนควรใช้เวลาไหนไม่ควร
แต่คำที่พี่น้องให้มาพวกนี้เป็นการพิมพ์ผิดที่น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิด หรือไม่รู้วิธีการผันวรรณยุกต์มากกว่า
สุดท้ายนี้พี่น้องก็อยากจะฝากน้องๆ ที่เล่นโซเชียล มีเดียว่าเราจะเจอคนเขียนคำพวกนี้ผิดบ่อยมาก และเราอาจเตือนเขาไม่ได้ ก็ขอให้จำไว้ในใจแล้วกันว่าที่ถูกต้องเขียนยังไง เพราะนักเขียนคือ "ผู้ใช้ภาษาในการสื่อสาร" จะเขียนผิดเสียงเองไม่ได้นะคะ
40 ความคิดเห็น
ขอบคุณมากค่ะ คำพวกนี้ถึงจะไม่ถึงกับเรียกว่าภาษาวิบัติแต่มันก็ทำให้ภาษาไทยเราวิบัติได้หากมีการใช้แบบผิดๆ
บางทีพอเห็นคำที่ใช้ผิดที่ผิดทางแบบนี้ในนิยายบางเรื่องเรากดปิดทันทีเลย ขัดหูขัดตา
คะ ค่ะ นะคะ เห็นคนใช้ผิดบ่อยมากๆ
พอมีคนเข้าไปเตือนแบบหวังดีก็โวยวายหาว่าอีกฝ่ายเป็นครูสอนภาษาไทยแบบเหมารวม
ใน Pantip เคยมีกระทู้ดราม่าเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยค่ะ
ชอบมากค่ะ เจอพวกพิมพ์ผิดในเฟสบ่อยๆ เอียนเลยค่ะ หนูพยายามสอนแล้วนะ แต่ก็ไม่ทำกัน กับอีคำว่า เลย อ่ะค่ะ ชอบพิมพ์เป็น เรย - -" คือมันแบบ...เอือมจริงๆค่ะ และก็ขอขอบคุณความรู้ดีๆด้วยค่ะ หนูจะแชร์เต็มที่ แหะๆ! ^O^
พี่น้องคะ ถ้าจำไม่ผิดรู้สึกว่า 'ค่ะ' และ 'ข้ะ' จะเป็นเสียงวรรณยุกต์โท ส่วน 'ขะ' เป็นเสียงวรรณยุกต์เอกนะคะ
แล้วคำว่า 'มั้ย' นี่ก็ดูเหมือนจะเป็นภาษาพูด ควรจะเปลี่ยนเป็น 'ไหม' หรือเปล่าคะ (ข้อนี้สงสัยมากค่ะ ><)
คะ ค่ะ เห็นใช้ผิดกันบ่อยสุดๆทั้งๆที่มันก็ออกเสียงต่างกัน ==;
เวลาพูดก็ไม่เห็นจะมีใครพูด นะค่ะ อะไรแบบนั้นเลย
แต่ทำไมเวลาพิมพ์มันถึงกลายเป็นคำนั้นไปได้ล่ะ
เท่ กับ เท่ห์ ด้วยค่ะ
เดี๋ยวนี้ใช้กันแต่ เท่ห์ ทั้งที่เท่ห์ แปลว่าเทหวัตถุ อะไรเหล่านี้ ที่ถูกต้องเท่...
กดไลค์ ก็ใช้เป็น ไลท์ กันเสียทุกที
พริ้ว กับ พลิ้ว ด้วย ที่ถูกคือ พลิ้ว นะคะ
น่ากับหน้า คนก็ยังสับสนกันด้วย
ที่น่าหนักใจที่สุดคือ การที่นักวิจารณ์นิยายไปวิจารณ์นิยายที่ใช้คำว่าคะค่ะ หรือคำผิดอื่นๆ ผิดเสียตรึม แล้วบอกว่า "ไม่มีคำผิดเลยนะค่ะ" หรือจะเป็นบทความที่สอนเรื่องคะค่ะ แต่ก็บอกว่า "เรื่องนี้มันง่ายมากๆ เลยนะค่ะ"
บอร์ดนักเขียนก็รณรงค์กันทุกวี่วันแล้ว แต่นั่นก็เป็นเพียงสังคมปิด และแม้คอลัมน์นิสต์จะรณรงค์แต่คนที่เข้ามาส่วนใหญ่ก็ใช้ถูกกันอยู่แล้ว คนที่ใช้ผิดก็ยังคงผิดกันต่อไป
สวัสดี...
ป.ล.กรุณาอ่านให้ชัดก่อนนะคะ ว่าเรากล่าวว่าอะไรบ้างเนอะ
วิธีเราง่ายๆ
นะคะ โยคะ
ออกเสียงเหมือนกัน โอเคถูก
มันไม่ง่ายเลยที่เราจะไม่หงุดหงิดเวลาเจอคนเขียนผิด!! พอไปสอนมัน มันก็บอกว่า- - มันก็เหมือนๆกันนั่นแหละ หรือ อะไรนักหนา-_- พอแย้งไปว่าภาษาไทยก็ใช้ให้ถูกสิ - -นางก็บอกว่า จะเยอะอะไรนักหนามันก็เหมือนกันนั่นแหละ
จบ สวัสดี -__-
เคยเตือนเพื่อนแล้ว ว่าใช่คะ ค่ะ ให้ถูก ถึงจะในโซเชียลก็เถอะ ก็โดนตอกกลับมาว่าจะ"จริงจังอะไรนักหนา นี่ไม่ใช่นิยายเธอนะ"หรือไม่ก็ "เธอเป็นครูภาษาไทยหรือไง"
แม่เพื่อน1:ติวจีนคะ
แม่เพื่อน2:ติวจีนนะค่ะ
อ่านแล้วเซ็งจิตมาก
ฝันดี>>>ฝรรดี
ไหม >>> มั้ย
รถเมล์ >>> รถเมย์
เขิน >>> เขิล
บ้า >>> บร้า
มันพิมพ์ยากกว่ากันไหมลูก...
พี่น้องคะ อยากให้เขียนบทความเรื่องการรณรงค์การอ่านของคนไทยด้วยค่ะ อย่าว่าแต่อ่านหนังสือเลย อ่านอะไรไม่กี่อย่างก็แทบจะไม่อ่านกันแล้ว
"คะ" กับ "ค่ะ" นี่ใช้กันให้ถูกซักทีเถอะ
'นั่น' กับ 'นั้น' ด้วยนะคะ เช่น
เธอนั้นแหละ ปกติมันจะต้องเป็น เธอนั่นแหละ ไม่ใช่เหรอ??
'เหรอ' กับ 'หรอ' นี่ก็เห็นบ่อยมาก เหรอ นี่ก็เป็นคำพูดธรรมดาที่มักจะให้กันว่า เหรอครับ แต่หลายๆ คนไปลบสระเอออกให้กลายเป็น หรอครับ จึงทำให้คำพูดนั้นดูเป็นการประชดประชันทันที
แล้ว- 'ค่ะ' กับ 'คะ' เนี่ยยังใช้ผิดๆ ถูกๆ กันอยู่เลย โตป่านนี้แล้วนะคะ
'เกลียด' กับ 'เกียจ' ก็เหมือนกัน หลายๆ คนจะเปลี่ยนจากคำว่า น่ารังเกียจ ให้กลายเป็น น่ารังเกลียด จริงๆ แล้วคำว่าเกลียดมันควรจะใช้กับคำว่า ฉันเกลียดเธอ เป็นต้นไม่ใช่เหรอ
เซ็งมากกับการใช้คำผิดเนี่ย มันทำให้หมดอารมณ์ในการอ่าน ซึ่งหลายๆ คนไม่สนใจมันเลย
แล้วตกลงคำว่า "มั้ย" นี่ถือว่าถูกต้องหรือเปล่าคะ? เห็นบางคนบอกว่าให้ถูกต้องเป็น "ไหม" แต่เห็นตามเพลง ตามโฆษณา สื่อต่างๆและหลายๆเว็บก็ใช้คำว่า "มั้ย" กัน
เจอบ่อยค่ะ อ่านนิยายในเด็กดีนี่ล่ะ ชอบเขียน เกลียด เป็น เกียจ น่า เป็น หน้า บางคำก็ใช้ภาษาอินเตอร์เน็ต ติไปหลายเรื่อง แต่เมื่อเจอเยอะเกิน ก็ขี้เกียจไปทักท้วงเขา ในฐานะนักอ่าน เมื่อเจอคำที่พิมพ์ผิด มันทำให้เสียอรรถรสในการอ่านมาก ถึงแม้หลายคนบอก ไม่เป็นไร ช่างมันเถอะ
ยอมรับค่ะ ว่าตัวเองก็ใช้ภาษาไทยผิด แต่ถ้าเขียนงานส่งอาจารย์หรือบทความทางวิชาการณ์ อันนี้ผิดไม่ได้ แต่ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือในโลกโซเชียล มีบ้างที่จะวิวัติ เพื่ออรรถรสในการสนทนา