A Hero’s Journey เทคนิคการวางโครงเรื่องที่ทำให้นิยายสมบูรณ์แบบ

 

แก้ปัญหาโครงเรื่องตันด้วยเทคนิค A Hero’s Journey! 


 
สวัสดีค่ะน้องๆ ชาวนักเขียนเด็กดีทุกคน กลเม็ดเคล็ดลับฉบับนี้พี่น้ำผึ้งพาน้องๆ มาพบกับเทคนิควางโครงสร้างนิยายให้เรียลตามแบบฉบับของ “โจเซฟ แคมป์เบลล์” เราเรียกเทคนิคนี้ว่า “การเดินทางของวีรบุรุษ (A Hero’s Journey)” ค่ะ แค่ชื่อก็ฟังดูแฟนตาซี๊แฟนตาซีเนอะ (ฮา) แล้วแบบนี้คนเขียนนิยายแนวอื่นจะขอยืมไปใช้ได้หรือเปล่าน้า? พี่น้ำผึ้งขอตอบเลยว่าได้แน่นอนค่ะ แถมดีงามพระรามสี่ด้วย ไม่ว่าน้องจะเขียนนิยายแนวไหน แฟนตาซี รักหวานแหวว ดราม่า สะท้อนสังคม หรือนิยายจีนข้ามเวลาก็สามารถหยิบไปใช้ได้เลยโดยไม่มีปัญหาค่ะ! 
 
ความพิเศษของเทคนิคการเดินทางของวีรบุรุษก็คือ แคมป์เบลล์ได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับตำนานและศาสนาเข้ากับจิตวิทยาสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นซิกมุนด์ ฟรอยด์และคาร์ล จุง เพราะงั้นน้องๆ มั่นใจได้เลยว่าเทคนิคของเขาไม่เพียงแค่ทำให้การวางโครงเรื่องของเราง่ายขึ้น แต่ยังทำให้โครงเรื่องดูสมจริงและสะท้อนอารมณ์อีกด้วย

 

(via: pixabay)

 
ตัวอย่างที่โด่งดังที่สุดในการใช้ A Hero’s Journey คือภาพยนตร์ Star Wars ซึ่งผู้สร้างอย่างจอร์จ ลูคัสเองก็พูดว่าตนได้ใช้เทคนิคนี้ของแคมป์เบลล์ นอกจากนี้เรายังสามารถพบ A Hero’s Journey ได้ในนิยายหลายเรื่อง รวมทั้งงานเขียนของ J.K. Rowling ด้วยค่ะ
 
สำหรับ A Hero’s Journey มีทั้งหมด 17 ขั้นตอนด้วยกัน แบ่งออกเป็น 3 พาร์ทใหญ่ๆ ได้แก่ การแยกตัว, การเริ่มต้น และการกลับมา โดยการเดินทางของตัวเอกมักเริ่มขึ้นในโลกธรรมดาๆ และมีชีวิตที่แสนเรียบง่าย ก่อนที่จะออกผจญภัยไปยังโลกอันกว้างใหญ่ บอกเลยว่าเทคนิคนี้ดีต่อใจนักเขียนสายตันตอนวางโครงเรื่องนิยายมากๆ ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันเลยดีกว่าจ้า ^ ^

 

(via: Odyssey)

 
การแยกตัว (Separation) 
ในส่วนนี้จะเป็นเรื่องราวของตัวเอกที่ตัดสินใจยุติชีวิตเดิมๆ ของตน การแยกตัวเป็นสัญญาณที่สะท้อนถึงความหวาดกลัวของพวกเขา มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
 
เสียงเรียกร้องของการผจญภัย (The Call to Adventure - Acceptance of the Call)
นี่เป็นเหตุการณ์แรกที่เกิดขึ้นในเรื่องที่จะกระตุ้นให้ตัวเอกรู้สึกอยากทำอะไรบางอย่าง ในนิยายแฟนตาซี ตัวเอกอาจเพิ่งค้นพบว่าตัวเองมีพลังพิเศษ เช่น แฮร์รี่ พอตเตอร์รู้ว่าตัวเองสามารถพูดภาษาพาร์เซลได้ เพิ่งรู้ตัวว่าตัวเองเป็นพ่อมด อะไรประมาณนี้ ขณะที่ในนิยายโรแมนติก นี่อาจเป็นฉากแรกที่นางเอกได้เจอกับคนที่เธอกำลังจะตกหลุมรักต่อไปในอนาคต เช่นใน Me Before You ลูอิซ่าเจอกับวิลล์ เทรย์เนอร์ครั้งแรกในคฤหาสน์ของเขา ส่วนในนิยายสืบสวน ตัวเอกของเรื่องอาจเป็นนักสืบหน้าใหม่และเขาเพิ่งได้ลงมือสืบสวนเหตุอาชญากรรมเป็นครั้งแรก
 
ปฏิเสธเสียงเรียกร้องนั้นซะ และค่อยยิมรับมันทีหลัง! (Refusal of the Call)
เมื่อตัวเอกปฏิเสธที่จะออกผจญภัยก็จะทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาภายในเรื่อง และเมื่อมีความขัดแย้ง เรื่องราวต่างๆ ก็จะสามารถดำเนินไปได้โดยง่าย ในนิยายรัก นางเอกของเรื่องอาจจะตัดสินผู้ชายคนนั้นว่าเป็นตัวปัญหา เช่น ในเรื่อง Me Before You ลูแทบจะทนกับพฤติกรรมปากร้ายของวิลล์ไม่ไหว ไม่อยากจะทำงานเป็นคนดูแลเขาแล้ว! หรืออย่างในนิยายสืบสวน นักสืบรุ่นพี่อาจจะคิดว่านักสืบรุ่นน้องไม่ได้เตรียมพร้อมรับมือกับคดีฆาตกรรม เป็นต้นค่ะ
 
การช่วยเหลือที่เหนือธรรมชาติ (Supernatural Aid)
ข้อนี้อาจไม่เป็นปัญหาสำหรับนิยายแฟนตาซี เพราะเมื่อเป็นนิยายแฟนตาซี นั่นย่อมหมายความว่ามันต้องมีเรื่องเหนือธรรมชาติเกิดขึ้นแน่นอนอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่นแฮกริดมาพาตัวแฮร์รี่ พอตเตอร์ไปฮอกวอตส์ เป็นต้น ส่วนนักเขียนสายนอร์มอลอาจจะงอน เอ๊ะ ไหนพี่ว่านักเขียนสายไหนก็ใช้เทคนิคนี้ได้ไงล่ะ ทำไมข้อนี้ไม่เห็นใช้ได้เลย ใจเย็นๆ ค่ะน้องๆ พี่กำลังจะบอกให้ฟังอยู่นี่ไงว่าเราจะปรับมันได้ยังไง ^ ^
 
ในเมื่อนิยายของเราไม่มีเวทมนตร์ ไม่มีแฟนตาซี เราก็ปรับมันซะ เปลี่ยนความช่วยเหลือที่เหนือธรรมชาติให้กลายเป็นความช่วยเหลือจากเมนเทอร์ จากที่ปรึกษา จากพี่เลี้ยง หรือจากความรู้อันทรงคุณค่า แค่นี้ก็เป็นไปตามสเต็ปแล้วจ้า
 
ข้ามประตูนั่นไปซะ แล้วออกผจญภัยกัน! (Crossing of the First Threshold)
เอาล่ะค่ะ นี่คือจุดที่ตัวละครกำลังจะเปิดประตูออกไปผจญภัยและไม่กลับมาอีก (ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง) ง่ายๆ ก็คือฉากนี้เป็นฉากที่ตัวละคนของเราจะออกไปผจญภัยแล้ว เอาอะไรมารั้งก็รั้งไม่อยู่แล้วล่ะ เช่น ใน The Lord of the Rings โฟรโดตัดสินใจก้าวออกจากบ้านเล็กๆ และเดินทางไปยังป่า ในสตาร์วอร์ส ลุคตัดสินใจทิ้งดาวของเขา 
 
สำหรับนิยายสืบสวน นี่เป็นจุดที่นักสืบต้องทำอะไรสักอย่างเพราะเขาไม่สามารถเพิกเฉยต่อคดีนี้ได้ เช่น เชอร์ล็อค โฮล์มส์และหมอวัตสันออกจากบ้าน 221 บี บนถนนเบเกอร์เพื่อมุ่งหน้าไปยังเหตุการณ์อาชญากรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ขณะที่ในนิยายรัก นางเอกของเรื่องอาจจะเริ่มรู้สึกแล้วว่านี่ฉันกำลังรักเขานะ อะไรประมาณนี้
 
ติดอยู่ในท้องปลาวาฬ (Belly of the Whale)  
เช่นเดียวกับเรื่องราวของโจนาห์ผู้ให้ความช่วยเหลือในพระคัมภีร์ได้ก้าวข้ามประตูแห่งความหลัวและออกเดินทาง นี่เป็นจุดที่ตัวเอกของเรากำลังมุ่งหน้าเข้าสู่โซนอันตราย ตัวเอกจะรู้สึกอับจนหนทาง ไม่รู้ว่าจะไปทางไหนดี นี่อาจเป็นเหตุการณ์ที่เริ่มทันทีที่ตัวเอกตัดสินใจออกเดินทางก็ได้ค่ะ ยกตัวอย่างเช่น เชอร์ล็อค โฮล์มส์ สืบหาความจริงด้วยการปลอมตัวและแฝงเข้าไปอยู่ในคดีนั้นๆ เป็นต้น 

 

ลูและวิลล์จาก Me Before You
(
via: ABC News)

 
การเริ่มต้น (Initiation)
นี่คือพาร์ทหลักของเรื่องราวของตัวเอกของเรา ในส่วนนี้จะแสดงให้เห็นถึง “ความเป็นฮีโร่” ของตัวเอกด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบ พิธีกรรมแปลกๆ และการต่อสู้ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้ตัวละครของเราเติบโตขึ้นอย่างกล้าหาญค่ะ
 
ถนนของการทดสอบ (The Road of Trials) 
เมื่อออกจากท้องปลาวาฬได้แล้ว ตัวเอกของเราจะต้องเจอบททดสอบความสามารถทางกายและใจของตัวเองหลายครั้ง แต่มันก็เป็นแค่การทดสอบเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้นแหละ ไม่ทำให้บาดเจ็บมากเท่าไหร่ ในช่วงต้นของการทดสอบ ตัวละครของเราไม่จำเป็นต้องไขปริศนาหรือเอาชนะได้ตลอดเวลา ตัวเอกของเราอาจล้มเหลว ผิดพลาด ท้อแท้ แต่ก็นั่นแหละนี่คือพาร์ทของการเริ่มต้นเติบโต เช่น ใน Lord of the Ring โฟรโดและเหล่าคณะเดินทางต้องเจอการทดสอบมากมายเพื่อกว่าจะทำลายแหวนได้
 
พบกับผู้ช่วยเหลือ (The Meeting with the Goddess or Mentor)
เมื่อล้มแล้วพระเจ้าก็เห็นใจ ส่งเมนเทอร์มาช่วยเหลือสักหน่อย ตรงจุดนี้เมนเทอร์ของเราจะเป็นใครก็ได้ จะเป็นผู้มีพลังวิเศษ ผู้ทรงปัญญา หรือคนธรรมดาก็ได้ ขอแค่ให้เขายื่นมือเข้ามาช่วยเหลือตัวเอกของเราและสอนให้เขาได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่างก็พอ เช่น ใน Lord of the Rings โฟรโดได้พบกับเอลฟ์กาลาเดรียลผู้ที่บอกอนาคตให้แก่เขา ส่วนนิยายสายนอร์มอลโนแฟนตาซี ผู้ช่วยเหลืออาจเป็นใครก็ได้ที่ตัวเอกรู้สึกซาบซึ้งและรู้สึกว่าตนเป็นหนี้บุญคุณเขาค่ะ
 
สิ่งล่อใจ (Temptation) 
แคมป์เบลจินตนาการว่านี่ควรเป็นผู้หญิง แต่เอาเข้าจริงๆ มันอาจเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถล่อลวงตัวเอกให้ออกจากเส้นทาง อาจเป็นอะไรที่ปั่นหัวตัวเอก ทำให้ตัวเอกไขว้เขวสุดๆ ในนิยายแฟนตาซีอาจเป็นด้านมืด ในนิยายสืบสวนอาจเป็นข้อมูลปลอมๆ ส่วนในนิยายโรแมนติก ตัวเอกอาจถูกล่อลวงด้วยเหตุการณ์ชีวิตอื่นๆ จนเลือกที่จะละทิ้งความรัก เป็นต้น
 
การชดใช้ (Atonement) 
จริงๆ แล้วแคมป์เบลล์เขียนไว้ว่านี่คือการชดใช้ให้แก่พ่อ (Atonement with a father) ซึ่ง “พ่อ” ในที่นี้เปรียบเสมือนความคิดหรือบุคคลที่มีอิทธิพลต่อตัวเอก เป็นคนที่รู้จักควบคุม ออกคำสั่ง มีพลังและทำให้ตัวเอกเกิดความรู้สึกขัดแย้ง แต่ไม่ว่าพ่อในที่นี้จะเป็นอะไร ขอให้เขาเป็นคนที่มีอิทธิพลต่อตัวเอกมากเข้าไว้ ที่สำคัญของขั้นตอนนี้ก็คือ ตัวเอกจะต้องเผชิญหน้ากับการทดสอบที่สาหัสเล่นเอาท้อแท้เกือบตายจากอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุด! ซึ่งมักจะให้อยู่กลางเรื่องและมักแสดงถึงความขัดแย้งทางจิตวิทยาของตัวละครค่ะ
 
อ่ะฮ่า โมเมนต์ (Apotheosis) 
ในส่วนนี้ตัวเอกจะต้องเต็มใจเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ต่างๆ เช่นการตายหรือการทำลายล้าง และพยายามทำความเข้าใจไปกับมัน ตัวละครจะต้องยอมรับในความรู้ใหม่ๆ รวมทั้งพร้อมที่จะเผชิญหน้าไปกับการผจญภัยครั้งใหม่ที่เกิดขึ้น ซึ่งส่วนมากแล้วมันมักจะแตกต่างไปตามประเภทของนิยาย เช่น ตัวเอกของนิยายสยองขวัญอาจจะต้องตกอยู่ในอันตรายขั้นสุด ขณะที่ในนิยายรัก ตัวละครอาจจะต้องยอมละทิ้งคนรักในอุดมคติไป เป็นต้น ยกตัวอย่างฉากนี้ก็เช่น เชอร์ล็อค โฮล์มส์มีช่วงเวลา “อ่ะฮ่า” เมื่อเขาตระหนักได้ว่าใครเป็นคนร้ายตัวจริงในอาชญากรรมนี้ 
 
ได้รับความดีงามขั้นสูงสุดสักที (The Ultimate Boon)
หลังจากผ่านการทดสอบต่างๆ มามากมาย ในที่สุดตัวเอกของเราก็เอาชนะทุกอย่างได้! นี่เลยเป็นโมเมนต์เมื่อตัวละครทำสำเร็จแล้ว พวกเขาประสบความสำเร็จขั้นสูงสุด ได้รับคำชมเชย คำยกย่อง เป็นต้น เหตุการณ์นี้อาจได้รับหลงจากที่ชนะสงครามหรือในนิยายรักก็เกิดจากการเอาชนะใจคนที่แอบชอบได้ เช่น ใน Lord of the Rings หลังจากผ่านเควสมามากมาย แหวนก็ถูกทำลายในที่สุด อารากอนยังได้ครองบัลลังก์แห่งกอนดอร์ในฐานะทายาทแห่งอิสซิลดูร์

 

เชอร์ล็อค โฮล์มส์
(via: bbc)


 
การกลับมา (Return)
“หมดเวลาสนุกแล้วสิ” คงเป็นประโยคบ่นเสียดายของตัวเอกหลังจากทำภารกิจสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เมื่อทำภารกิจเสร็จแล้ว สถานีต่อไปก็คือกลับบ้านเราเถอะ รักรออยู่ สำหรับพาร์ทนี้จะมี 6 อย่างด้วยกัน ได้แก่ 
 
ปฏิเสธการกลับมา (Refusal of the Return) 
บางครั้งตัวเอกอาจลังเลที่จะกลับมาสู่ชีวิตปกติ ตัวเอกอาจรู้สึกผูกพันและไม่อยากออกจากดินแดนที่เขาหลงใหล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนั่นหมายความว่าพวกเขาจะไม่มีทางได้กลับไปยังสถานที่นั้นอีกแล้ว นั่นแหละค่ะ ตัวเอกของเราจะไม่รู้สึกอยากกลับบ้านเลย
 
หลบหนีด้วยเวทมนตร์ (The Magic Flight)  
ถึงจะไม่อยากกลับเท่าไหร่แต่ก็ต้องกลับไปอยู่ดี นี่เป็นส่วนที่ตัวละครของเราตัดสินใจยอมกลับบ้านพร้อมกับชัยชนะของตัวเอง อย่างไรก็ตาม ตรงจุดนี้หากตัวละครของเราเผลอทำอะไรผิดพลาด พวกเขาอาจจะไม่ได้กลับบ้านดีๆ พวกเขาอาจถูกไล่ล่าและต้องหลบหนี โดยมักใช้สิ่งวิเศษหรือเวทมนตร์ในการหลบหนี
 
ได้รับการช่วยเหลือจากภายนอก (Rescue from Without)
ถ้าตัวเอกไม่ต้องการกลับบ้าน มันเป็นเรื่องจำเป็นมากที่ต้องมีสิ่งของหรือบุคคลที่กระตุ้นให้เขาเดินทางกลับสู่โลกเดิมให้ได้ สำหรับแคมป์เบลล์ ตัวเอกจำเป็นต้องกลับบ้าน ตัวเอกจำเป็นต้องนำสิ่งดีงามสูงสุดที่เขาได้รับกลับไปพัฒนาโลกเดิมเพื่อให้คนได้รับประโยชน์ด้วย
 
ก้าวข้ามประตูเพื่อกลับบ้านเรากันเถอะ (The Return Threshold)
ตัวเอกของเราอาจรู้สึกอิดออด ไม่อยากกลับไปสู่ “โลกแห่งความเป็นจริง” ดังนั้นก่อนกลับ ตัวเอกจะต้องปรับสภาพจิตใจและเตรียมความพร้อมต่อการกลับคืนสู่โลกเดิมเพื่อให้เขาสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ อีกทั้งตัวเอกยังต้องรู้จักนำความรู้ที่ได้รับจากการผจญภัยมาผสมผสานด้วย ตัวอย่างเช่นในนิยายสืบสวน ตัวเอกอาจจะต้องสู้เพื่อโน้มน้าวผู้อื่นให้แก้ปัญหาอาชญากรรม เป็นต้น
 
จ้าวแห่งสองโลก (Master of Two Worlds) 
มันคือการสร้างประโยชน์ให้แก่โลกเดิมของตัวเอกนั่นเอง! เมื่อตัวเอกของเรารู้จักผสมผสานสิ่งที่ได้รับจากการผจญภัยเข้ากับสิ่งที่เขารู้อยู่แล้วในโลกเดิมของเขา เมื่อนั้นตัวเอกของเราก็จะกลายเป็นจ้าวแห่งสองโลก เช่น ใน Lord of the Rings อารากอนได้ครองบัลลังก์แห่งกอนดอร์ เขาได้รับผิดชอบในการปกป้องโลกขณะที่แกนดัล์ฟเดินทางจากมิดเดิลเอิร์ธ 
 
สำหรับนิยายสายนอร์มอล นี่อาจเป็นจุดที่แสดงให้เห็นถึง “ความเป็นมนุษย์” เราอาจแสดงให้เห็นว่าตัวละครได้เติบโตขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปตามผลงานของเรื่องอย่างไรบ้างค่ะ
 
อิสระในการใช้ชีวิต (Freedom to Live) 
ขั้นตอนนี้อาจเหมาะกับนิยายมหากาพย์หรือแฟนตาซีมากกว่านิยายประเภทอื่นๆ เนื่องจากนิยายบางเล่มก็เว้นขั้นตอนสุดท้ายนี้ไว้ มันคือขั้นตอนที่ตัวเอกประสบความสำเร็จในการเรียนรู้และสามารถถ่ายทอดความรู้ความสามารถไปสู่คนอื่นได้ ดีงามพระรามสี่มากค่ะ เช่น ใน Lord of the Rings เหล่าฮอบบิทกลายเป็นผู้นำในไชร์ อารากอนเป็นพระราชาที่ปกครองเมืองยาวนานและมีชีวิตที่สงบสุข ส่วนโฟรโดก็เลือกออกเดินทางไปกับกานดัล์ฟ

 

อารากอน
(via: Reddit)


 
เป็นอย่างไรบ้างคะกับเทคนิคดีๆ ที่พี่น้ำผึ้งหยิบมาฝากในวันนี้ กระซิบก่อนว่าน้องๆ ไม่จำเป็นต้องมีให้ครบ 17 ขั้นตอนก็ได้นะคะ แค่เอาไว้ใช้เป็นไกด์ให้ไม่ช่วยตันก็พอแล้ว นอกจากนี้น้องๆ ยังสามารถเพิ่มเสริมเติมแต่งได้ตามต้องการด้วย! พี่ก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้น้องๆ เข้าใจการวางโครงเรื่องมากขึ้นนะคะ ^o^ 

 
 พี่น้ำผึ้ง :)

 
ขอบคุณข้อมูลจาก
changingminds.org
nownovel.com
Campbell, J. (1949). The Hero With a Thousand Faces, New York: Bollingen
Deep Sound แสดงความรู้สึก
พี่น้ำผึ้ง
พี่น้ำผึ้ง - Columnist นักเขียนที่ชอบส่งต่อพลังบวกให้ทุกคน

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

2 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
แทรกรูปจากแกลเลอรี่ - Dek-D.com
L o a d i n g . . .
x
เรียงตาม:
ใหม่ล่าสุด
ใหม่ล่าสุด
เก่าที่สุด
ที่กำหนดไว้
*การลบรูปจาก Gallery จะส่งผลให้ภาพที่เคยถูกนำไปใช้ถูกลบไปด้วย

< Back
แทรกรูปโดย URL
กรุณาใส่ URL ที่ขึ้นต้นด้วย
http:// หรือ https://
กำลังโหลด...
ไม่สามารถโหลดรูปภาพนี้ได้
*เมื่อแทรกรูปเป็นการยืนยันว่ารูปที่ใช้เป็นของตัวเอง หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และลงเครดิตเจ้าของรูปแล้วเท่านั้น
< Back
สร้างโฟลเดอร์ใหม่
< Back
ครอปรูปภาพ
Picture
px
px
ครอปรูปภาพ
Picture