How to : เขียนนิยายด้วย 16 ขั้นตอนละเอียดสุดๆ
ตั้งแต่วางแผนการเขียนจนนิยายเผยแพร่ให้คนอ่าน
พร้อมแล้วใช่ไหมที่จะเขียนนิยาย มาเลยวันนี้เรามาพร้อม 16 ขั้นตอน ให้คุณเริ่มเขียนนิยายได้ตั้งแต่ต้นจนจบ รับรองไม่ยากเกินไป และแน่นอนว่าไม่ง่ายจนเกินไปเช่นกัน
1 เขียนข้อมูลทั้งหมดออกมา
ทุกเรื่องราวเริ่มจากการสร้างสมมติฐานของข้อมูลต่างๆ และวิธีการสร้างข้อมูลเหล่านี้มักมีองค์ประกอบสำคัญห้าอย่าง : ตัวละคร เหตุการณ์ วัตถุประสงค์ ศัตรู และหายนะ เขียนถึงสิ่งที่นึกออกเกี่ยวกับห้าองค์ประกอบนี้ออกมา ถ้าทำได้ ก็บรรยายออกมาด้วย เมื่อทำเสร็จแล้ว ได้เวลาเขียนชื่อตัวละครหลัก อายุ อาชีพ ลงลึกถึงรายละเอียดต่างๆ บรรยายเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิต ที่อยู่อาศัย บ้าน นิสัยหลัก ความชอบต่างๆ แล้วก็เขียนเอ๊าท์ไลน์คร่าวๆ และสิ่งที่ผลักดันพวกเขา อาจเป็นความรัก เงินทอง ครอบครัว อะไรก็ได้ ลงลึกถึงรายละเอียดต่างๆ เขียนออกมาให้ครบทั้งหมด
2 เปลี่ยนข้อมูลทั้งหมดเป็นเอ๊าท์ไลน์
หลังจากเขียนข้อมูลหมดแล้ว ก็ต้องสร้างเอ๊าท์ไลน์ ลองหาวิธีที่เหมาะสมกับตัวเองว่าจะเขียนอย่างไร โดยแน่นอนว่าควรจะต้องมีฉาก เหตุการณ์ ตัวละคร และผลสรุปตอนจบของเรื่อง องก์ที่ 1 หรือช่วงแรก ต้องมีบทนำ สถานการณ์ที่นำไปสู่การกระทำ แรงกระตุ้น และตัวนำเข้าสู่ความขัดแย้ง องก์ที่ 2 แนะนำตัวละครอื่นๆ นำไปสู่เหตุการณ์ท้าทาย และแรงกระตุ้นของคนร้าย เป้าหมายที่ทำให้พวกเขาทำเรื่องไม่เหมาะสม ส่วนองก์ 3 คือบทสรุปตอนจบ
3 เปิดฉากของตัวละคร
เวลาตัวละครเข้าฉาก ก็จะต้องเขียนให้คนอ่านสัมผัสถึงจุดเด่นของตัวละครตัวนั้นๆ เล่นกับอารมณ์ของคนอ่าน ยิ่งแนะนำตัวละครใหม่ๆ มากเท่าไหร่ ควรยิ่งทำให้คนอ่านจดจำตัวละครนั้นได้ด้วยจุดเด่นที่แตกต่าง เวลาสร้างตัวละครแนะนำให้ลองทำบทสัมภาษณ์ของตัวละครดู เริ่มจากถามตัวเองเลยว่าเราอยากรู้อะไรเกี่ยวกับตัวละครตัวนั้น
4 เขียนคำโปรยที่ดึงดูดใจ
ลองเขียนเรื่องย่อออกมาก่อน โดยเขียนให้น่าสนใจดึงดูดใจ เขียนแบบง่ายๆ เอาให้คนอ่านรู้สึกว่าอยากอ่านต่อ อย่าคิดว่ากระบวนการนี้เป็นเรื่องง่ายเพราะมันไม่ง่ายเลย พยายามสร้างเป้าหมายที่ชัดเจนว่านิยายสื่ออะไร เป็นแนวไหนอย่างไร อย่าคิดมาก แต่ก็อย่าคิดน้อย เขียนให้สนุกดึงดูดน่าสนใจ เพื่อให้คนอ่านสนใจอยากคลิกอ่านต่อ
5 ยืดคำโปรยออกจะได้กลายเป็นเรื่องย่อขนาดยาว
เมื่อได้คำโปรยที่น่าสนใจแล้ว เราสามารถนำเอาคำโปรยนี้มาทำเป็นเรื่องย่อได้ด้วย ถามว่าทำเรื่องย่อทำไม บางทีมันก็สำคัญเผื่ออนาคตจะส่งสนพ. หรือไปส่งค่ายละคร แถมยังทำให้เราไม่งงไม่สับสนด้วย ลองเริ่มใส่รายละเอียดลงในคำโปรยให้มากขึ้น แล้วก็สร้างเรื่องย่อที่น่าอ่านขึ้นมานะ และบางที พอเขียนย่อได้แล้ว มันขยายออกมาเป็นพล็อตเรื่องได้เลย
6 พัฒนาเป้าหมายในการเขียน วางแผนการเขียน
ต่อจากนี้ได้เวลาสร้างพล็อตเรื่องแล้ว อาจจะต้องเขียนให้ละเอียด และสร้างพัฒนาการตัวละครตั้งแต่ต้นจนจบ คุณต้องหาเป้าหมายตัวละคร และดูว่าความขัดแย้งอะไรที่ตัวละครต้องเผชิญ แล้วทำให้ไปสู่เป้าหมายได้อย่างไร ระหว่างที่ตัวละครพบกับอุปสรรค มันเปลี่ยนเขาหรือเธอไปอย่างไรได้บ้าง เขียนให้ตัวละครได้เจอกับเหตุการณ์ต่างๆ จนไปสู่ตอนจบของเรื่อง
7 สร้างบุคลิกของตัวละครที่เหมือนกับคนจริงๆ
เมื่อมาถึงจุดนี้ คุณจะรู้แล้วว่าตัวละครเป็นอย่างไร ก็ได้เวลาสร้างนิสัยตัวละครให้น่าสนใจ ควรจะทำข้อมูลตัวละครขึ้นมา ถ้าไม่รีบสามารถค่อยๆ เขียนลงไปได้ว่าตัวละครเป็นคนแบบไหนอย่างไร หน้าตาแบบไหน ความชอบความไม่ชอบต่างๆ ยิ่งทำละเอียดมากเท่าไหร่จะทำให้ตัวละครมีมิติและน่าอ่านมากขึ้น รวมถึงเข้าถึงคนอ่านได้มากขึ้นด้วย
8 ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ในเรื่อง
ในนิยายแต่ละเรื่องก็ต้องมีหลากหลายสถานที่ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของคุณที่จะต้องหาข้อมูลเพื่อจะได้ใส่รายละเอียดให้น่าอ่าน น่าสนใจ และควรจะเขียนบรรยายบรรยากาศโดยรอบๆ ด้วย เขียนให้ชัดเจน เพื่อให้คนอ่านเห็นภาพ ใส่รายละเอียดปัจจัยเล็กๆ น้อยๆ ที่น่าสนใจ ทำให้คนอ่านจดจำเกี่ยวกับสถานที่ของคุณ
9 วางแผนย่อยกระจายพล็อต
เมื่อได้พล็อตหลักมาแล้ว ก็ได้เวลาเขียนพล็อตย่อยต่อ พยายามเขียนโดยอิงจากนิสัยของตัวละครเป็นหลัก เพราะสุดท้ายแล้ว ตัวละครคือคนที่ทำให้เนื้อเรื่องดำเนินต่อไปได้
10 ลองมองหามุมมองที่แตกต่าง
เวลาเขียนฉากต่างๆ ก็อยากให้ลองคิดพิจารณาจากมุมอื่นๆ ดูบ้างว่า เมื่อตัวละครตัวหนึ่งทำบางอย่างมันส่งผลกระทบอย่างไรต่อตัวละครอื่นๆ ในฉากนั้น ยิ่งพวกฉากกดดันเคร่งเครียด จะต้องดูว่ามุมมองของแต่ละครเป็นอย่างไร ลองพิจารณาการกระทำและความคิดของตัวละครทั้งหลัก รอง ย่อย และอื่นๆ ด้วยให้ครบถ้วน
11 ทิศทางของแต่ละฉาก
สำหรับฉากสำคัญ แนะนำให้เขียนสรุปบทสนทนาต่างๆ และการกระทำต่างๆ ก่อน แล้วค่อยลงมือเขียน ลองคิดถึงบทสนทนาและการกระทำต่างๆ ที่ควรจะเป็นออกมา ก่อนลงมือ
12 เขียนฉากแรก
หลังจากวางแผนมากมายมาถึงตอนนี้ ก็คือคุณได้ฝึกฝนการเขียนมากมายก่อนจะลงมือจริง เพราะฉะนั้น ก็ได้เวลาลงมือเขียนแล้ว เริ่มจากการเขียนร่างแรก โดยไม่ต้องไปคิดมากอะไรกับมัน ร่างแรกไม่ต้องสมบูรณ์แบบอะไร ก็แค่เขียนออกมา แล้วเดี๋ยวไปรีไรท์เอาได้
13 ธีมที่หลากหลาย
ก่อนจะเริ่มแก้ไขร่างแรกที่เขียนไปแล้ว ก็อยากจะให้คุณพิจารณาดูว่าอะไรที่ขาดไปในร่างแรก แล้วจดออกมาว่ามีกี่ธีม มีอะไรที่มันไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเขียนบ้าง แล้วพยายามหาจุดรวมที่ลงตัวให้ได้ เมื่อคิดออกมาแล้วก็เขียนออกมาใหม่ดูว่าโอเคไหม
14 แก้ไขรอบแรก
แน่นอนนี่คืองานหินที่สุด การรีไรท์รอบแรก โหดที่สุด หนักที่สุด คุณต้องพึ่งพาตัวเองและจะต้องเหนื่อยมากทีเดียว ทุกอย่างอยู่ที่คุณแล้วว่าจะจัดการอย่างไรแบบไหน
15 เขียนร่างสุดท้ายจบ
มาถึงร่างสุดท้ายจนได้ คุณแก้ไขนิยายจนสมบูรณ์ไม่ต้องแก้อะไรแล้ว ก็ลองเอาให้คนอื่นอ่านดู เพื่อขอคำแนพนำเพิ่มจากเขา แล้วนำมาแก้ไขให้ชัดเจน ต้องปรับแก้โครงเรื่องตรงไหน อะไรไม่เข้าพวกก็ตัดออก อะไรไม่โอเคก็ทิ้งๆ ไป แก้ชื่อ แก้สถานที่ แก้อะไรที่จุกจิกออกให้หมด
16 ลงนิยายให้อ่าน
เมื่อพร้อมแล้วได้เวลาลงนิยายทั้งหมด บางคนอาจจะชอบแบบเขียนไปลงไปหรือลงก่อนค่อยรีไรท์ก็ได้เหมือนกัน แต่สำหรับนักเขียนหน้าใหม่เราแนะนำเขียนให้จบก่อนก็ดี แล้วลงนิยายทั้งหมด จากนั้นก็ค่อยๆ ทยอยอัปนิยายขึ้น ตั้งเวลาให้คนอ่านได้ทดลองอ่าน แล้วรอเก็บข้อมูลความเห็นทั้งหมด เพื่อนำมาแก้ไขอีกรอบ สำหรับนิยายที่สมบูรณ์แบบของคุณ
ทีมงานนักเขียนเด็กดี
7 ความคิดเห็น
ขอบคุณนะคะ ช่วยได้มากเลยค่ะ พออ่านดูแล้วก็รู้สึกว่าตัวเองยังเป็นนักอยากเขียนที่อ่อนด้อย น่าอายจังเลยค่ะ ต้องขอบคุณจริงๆ นะคะ
ขอบคุณมากครับ เป็นบทความที่เขียนได้อย่างเป็นขั้นตอน และอธิบายได้ดีมากเลยครับ ให้เป็นเดอะเบสของกูรูเทคนิความรู้เกี่ยวการแต่งนิยายครับ
เป็นบทความที่ดีมากคะ
ราคาน้องเเมวน่ารักน้องมลค่ะลูกเเมวน่ารักคุณเเม่ค่ะไปที่ยวด้วยกันค่ะเจอกันค่ะเเม่นํ้า
อีตุ๋ยคุณเเม่ค่ะกับน้องมลค่ะมารับคุณเเม่ค่ะอยู่บ้านเดี่ยวไปเที่ยวด้วยกันค่ะมารับคุณเเม่ค่ะ
เจ๊เพ็ญพิมลเสรีวัฒน์พี่TEEM.น้องมลค่ะเก่ง
อยากแต่งนิยายแต่ไม่รู้จะเริ่มจากไหน เข้ามาอ่านแล้วฮึดสู้อีกครั้งค่ะ